แฟนบอลรู้ดีว่าถ้าไทยเราจะไปเตะฟุตบอลโลกให้ได้ต่อเนื่องจริงๆ ก็ควรเน้นการพัฒนาศักยภาพทีมและนักเตะตั้งแต่ระดับเยาวชน
ระยะ 5 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่ผมพอจะได้เห็นผ่านๆตาเกี่ยวกับฟุตบอลระดับเยาวชนในลีกไทย ก็จะมีเช่น
- เด็กชลบุรีคว้าแชมป์ทั้งในไทยและต่างประเทศ (แต่โตมาขายทีมอื่นหมด อันนี้มีคนแซวมา)
- เด็กบุรีรัมย์ เมืองทอง BEC เทโร ก็เป็นทีมอันดับต้นๆที่คว้าแชมป์เยาวชนในประเทศ
- ระบบการคัดกรองและพัฒนาเด็กของอคาเดมีบุรีรัมย์นี่ครบวงจรทั้งความเป็นมืออาชีพและการใช้ชีวิต (ดูในทีวี)
- เจ้าของเลสเตอร์และเจ้าของบุรีรัมย์เป็นเพื่อนกัน และมีการศึกษาแนวทางจากเลสเตอร์มาพัฒนาหลายๆอย่างในบุรีรัมย์ (ตอนนี้แซงแล้วยังผมไม่รู้)
- (เก่ากว่า 5 ปี แต่พอเห็นอะไรรางๆ) ลีซอ ธีรเทพ เป็นเด็กปั้นของ คริสตัลพาเลซ เด่นมากๆตอนนั้น ตอนอายุ 14 ติดทีมชาติ U17 ไปเตะบอลโลกที่ออสเตรเลีย(มั้ง) เป็นคนเดียวที่ยิงประตูให้ไทยได้ในทัวร์นาเม้นต์นั้น (ไทยแพ้รวดเพราะตอนคัดเลือกเราโกงอายุ เวลาส่งจริงกลัวเจอตรวจกระดูก เปลี่ยนเด็กยกทีม)
แน่นอนครับ การจะเป็นนักฟุตบอลที่ดีนั้นมันไม่ได้จบที่แค่อคาเดมี่ แต่มันต้องได้พิสูจน์ในลีกที่แข็งแกร่งกว่า แต่ผมก็ยังอยากเห็นจุดแข็งจุดอ่อนในการพัฒนาเด็กในอคาเดมี่ เผื่ออนาคตพ่อแม่ที่มีลูกอยากเป็นนักฟุตบอลอาชีพจะได้สนับสนุนลูกได้ถูกทาง การส่งลูกไปต่างประเทศจะดีกว่าฝึกในไทยจริงหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน
จึงขอความกรุณาผู้ติดตามวงการนี้ ช่วยวิเคราะห์ อาจเทียบจุดแข็งจุดอ่อนเป็นหัวข้อหลักๆ เช่น
- การพัฒนาด้านร่างกาย
- การพัฒนาทักษะฟุตบอล
- การพัฒนาทัศนคติในการเป็นนักกีฬาอาชีพ รวมถึงความมีน้ำใจนักกีฬา
- การพัฒนาสมอง สติปัญญา และ sense ฟุตบอล
- การพัฒนาความรู้ที่จำเป็นในการจัดการชีวิตหลังเลิกค้าแข้ง
- ค่าใช้จ่าย
- คุณภาพชีวิต
- ผลกระทบจากสภาพอากาศ ทั้งตอนที่ฝึกและตอนกลับไทย
- ความกดดันทางสังคม เช่น การเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ ฯลฯ
เอาเฉพาะ Academy ของสโมสรทั้งไทยและต่างประเทศ ที่เด็กไทยกำลังไปฝึกฝนอยู่ในขณะนี้ก็พอครับ ขอบคุณครับ
ถ้าอนาคตมีการจัดแข่งทัวร์นาเมนต์กระชับมิตรระหว่างเด็กๆในอดาเดมีชั้นนำเหล่านี้ก็คงน่าสนใจไม่น้อย
อยากเห็นการเทียบศักยภาพ Academy ของสโมสรทั้งไทยและต่างประเทศ
ระยะ 5 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่ผมพอจะได้เห็นผ่านๆตาเกี่ยวกับฟุตบอลระดับเยาวชนในลีกไทย ก็จะมีเช่น
- เด็กชลบุรีคว้าแชมป์ทั้งในไทยและต่างประเทศ (แต่โตมาขายทีมอื่นหมด อันนี้มีคนแซวมา)
- เด็กบุรีรัมย์ เมืองทอง BEC เทโร ก็เป็นทีมอันดับต้นๆที่คว้าแชมป์เยาวชนในประเทศ
- ระบบการคัดกรองและพัฒนาเด็กของอคาเดมีบุรีรัมย์นี่ครบวงจรทั้งความเป็นมืออาชีพและการใช้ชีวิต (ดูในทีวี)
- เจ้าของเลสเตอร์และเจ้าของบุรีรัมย์เป็นเพื่อนกัน และมีการศึกษาแนวทางจากเลสเตอร์มาพัฒนาหลายๆอย่างในบุรีรัมย์ (ตอนนี้แซงแล้วยังผมไม่รู้)
- (เก่ากว่า 5 ปี แต่พอเห็นอะไรรางๆ) ลีซอ ธีรเทพ เป็นเด็กปั้นของ คริสตัลพาเลซ เด่นมากๆตอนนั้น ตอนอายุ 14 ติดทีมชาติ U17 ไปเตะบอลโลกที่ออสเตรเลีย(มั้ง) เป็นคนเดียวที่ยิงประตูให้ไทยได้ในทัวร์นาเม้นต์นั้น (ไทยแพ้รวดเพราะตอนคัดเลือกเราโกงอายุ เวลาส่งจริงกลัวเจอตรวจกระดูก เปลี่ยนเด็กยกทีม)
แน่นอนครับ การจะเป็นนักฟุตบอลที่ดีนั้นมันไม่ได้จบที่แค่อคาเดมี่ แต่มันต้องได้พิสูจน์ในลีกที่แข็งแกร่งกว่า แต่ผมก็ยังอยากเห็นจุดแข็งจุดอ่อนในการพัฒนาเด็กในอคาเดมี่ เผื่ออนาคตพ่อแม่ที่มีลูกอยากเป็นนักฟุตบอลอาชีพจะได้สนับสนุนลูกได้ถูกทาง การส่งลูกไปต่างประเทศจะดีกว่าฝึกในไทยจริงหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน
จึงขอความกรุณาผู้ติดตามวงการนี้ ช่วยวิเคราะห์ อาจเทียบจุดแข็งจุดอ่อนเป็นหัวข้อหลักๆ เช่น
- การพัฒนาด้านร่างกาย
- การพัฒนาทักษะฟุตบอล
- การพัฒนาทัศนคติในการเป็นนักกีฬาอาชีพ รวมถึงความมีน้ำใจนักกีฬา
- การพัฒนาสมอง สติปัญญา และ sense ฟุตบอล
- การพัฒนาความรู้ที่จำเป็นในการจัดการชีวิตหลังเลิกค้าแข้ง
- ค่าใช้จ่าย
- คุณภาพชีวิต
- ผลกระทบจากสภาพอากาศ ทั้งตอนที่ฝึกและตอนกลับไทย
- ความกดดันทางสังคม เช่น การเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ ฯลฯ
เอาเฉพาะ Academy ของสโมสรทั้งไทยและต่างประเทศ ที่เด็กไทยกำลังไปฝึกฝนอยู่ในขณะนี้ก็พอครับ ขอบคุณครับ
ถ้าอนาคตมีการจัดแข่งทัวร์นาเมนต์กระชับมิตรระหว่างเด็กๆในอดาเดมีชั้นนำเหล่านี้ก็คงน่าสนใจไม่น้อย