จากกรณีสถาบันราชภัฏออกมาตรการตอบโต้ธนาคารSCB ผมว่าการทำแบบนี้มันแก้ปัญหาไม่ตรงจุดรึเปล่า?

จากกรณีที่เป็นประเด็นขึ้นมาว่า ทางธนาคารเลือกปฏิบัติ กำหนดคุณสมบัติรับพนักงานที่จบเฉพาะมหาวิทยาลัยชั้นนำ
ทำให้ทางสถาบันราชภัฏรวมตัวกันออกมาตรการตอบโต้โดยการงดทำธุรกรรมกับทางธนาคารนั้น

โอเค ในแง่ของความสะใจ คุณได้สิ่งนั้น แล้วในสายตาประชาชนทั่วไปล่ะ มันทำให้ภาพลักษณ์สถาบันคุณดีขึ้นได้รึเปล่า?
นี่ก็มีข่าวห้างเซ็นทรัลเลือกรับพนักงานจากมหาวิทยาลัยชั้นนำขึ้นมาอีก แล้วต่อไป จะให้อาจารย์, นศ. งดไปเดินห้าง
เซ็นทรัลอีกด้วยรึเปล่า?  การที่ไปไล่บอยคอตแบบนี้ มันเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุรึเปล่า? ทำไมไม่ไปแก้ไขที่ต้นเหตุล่ะ

ทำไมไม่มองย้อน หรือนำมาวิเคราะห์ดูว่า เพราะอะไร ธนาคาร หรือบริษัทชั้นนำ เค้าถึงมีทัศนคติแบบนั้น?
ทำไมไม่เน้นการแก้ไขไปที่การปรับปรุงคุณภาพการศึกษาและคุณภาพบัณฑิตของสถาบันล่ะ

เช่น เริ่มต้นจากระบบคัดกรองนักเรียน ที่ไม่ใช่เน้นแต่ปริมาณ แต่ให้เน้นคุณภาพด้วย เริ่มแรก อาจจะได้คนมาเรียนน้อยลง
เพราะคัดกรองเข้มงวดมากขึ้น แต่วันข้างหน้า เมื่อมหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับแล้วว่า บัณฑิตที่จบจากที่นี่มีคุณภาพจริงๆ
อีกหน่อยคนก็จะแห่มาสมัครเรียนเอง อย่างเช่น ABAC เป็นต้น ที่แม้เป็น ม.เอกชน แต่ก็สามารถสร้างเครดิตให้สังคมยอมรับได้

รวมถึงการไม่ปล่อยให้บัณฑิตจบง่ายๆ หากไม่มีคุณภาพจริง เรื่องนี้สถาบันทำได้ทันทีอยู่แล้ว แค่ปรับเกณฑ์การประเมินให้สูงขึ้น
เข้มงวดไปเลย ว่าถ้าคุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์ ก็จะไม่ให้จบ เมื่อนศ.ที่จบออกไปมีคุณภาพจริงๆแล้วล่ะก็ ทาง HR ของบริษัทหรือ
องค์กรต่างๆ เค้าก็จะบอกกันแบบปากต่อปากเองแหล่ะว่า เด็กที่จบจากสถาบันนี้ มีคุณภาพจริงๆ

อย่าลืมว่า เรื่องการจัดอันดับสถาบันการศึกษา เค้าก็มีการจัดกันทุกปี และก็มีโอกาสที่อันดับจะขึ้นลงได้ตลอดเช่นกัน
หากมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า ภายในเวลาไม่กี่ปี อันดับก็จะสูงขึ้น และสามารถทำให้สังคมยอมรับได้อย่างแน่นอน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่