ยกเครื่องใหม่แผนธุรกิจฮัลโหล "168" หลังเปิดตัวทำตลาดได้แค่เดือนเดียว กลุ่มทุนใหม่ "พานิชชีวะ" คุมเองหมด ไร้เงาเจ้าของ "จีเนท" ยอมรับกลยุทธ์เดิมไม่ชัด-แข่งโกยลูกค้าแมสสู้ค่ายมือถือไม่ไหว ขอเวลาปรับแผนและวางระบบใหม่อีกรอบ หันโฟกัสลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ย้ำชัดไม่คิดถอดใจ แค่ตั้งหลักใหม่ ฟาก "แคท" เผยสัญญา MVNO การันตีรายได้ขั้นต่ำ 2 ปีแรกไว้แล้ว เตรียมเคลียร์หนี้ค้างจ่าย 100 กว่าล้านบาท
นายนที พานิชชีวะ ประธานกรรมการคณะบริหาร บริษัท 168 คอมมูนิเคชั่น จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทอยู่ระหว่างการปรับรื้อแผนธุรกิจ รวมถึงกลยุทธ์การทำตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้แบรนด์ "168" ใหม่ทั้งหมด โดยจะหันมาเน้นการทำตลาดในลูกค้าเฉพาะกลุ่มแทนลูกค้ากลุ่มแมส เพราะในฐานะน้องใหม่ในรูปแบบ MVNO (ผู้เช่าโครงข่ายมาขายต่อบริการ) คงไม่สามารถสู้กับค่ายมือถือทั้ง 3 รายใหญ่ได้ จึงต้องปรับแผนใหม่ แต่ขอยืนยันว่ายังคงเดินหน้า ธุรกิจต่อไป
"168 ยังเดินหน้าต่อไป แต่แผนการตลาดเปลี่ยน ที่ผ่านมากลยุทธ์เดิมอาจ ไม่ชัดเจนจึงต้องปรับใหม่หมด ต้องยอมรับว่าเราเข้ามาในตลาดในรูปแบบการเป็น MVNO เป็นน้องใหม่ ไม่สามารถจะไปทำตลาดแมสสู้กับ 3 ค่ายใหญ่ได้ ต้องยอมรับข้อเท็จจริงนี้ แล้วหันไปทำในสิ่งที่ถนัด โดยจะไปกับพาร์ตเนอร์ของเรา จับกลุ่มตลาดให้ถูกว่าบริการของเราเหมาะกับตลาดไหน เช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวหรือกลุ่มลูกค้าองค์กรที่เป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจกันอยู่ แล้วค่อยมาวางกลยุทธ์และวางคนของเราให้เหมาะสม ตอนนี้กำลังเริ่มต้นปรับ ซึ่งทีมงานเองก็ต้องปรับใหม่ แต่ไม่ถึงกับมีทีมขายลาออกยกทีมเป็น ร้อยคนอย่างที่มีกระแสข่าวแต่อย่างใด"
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารที่คุมทีมการตลาดเดิมมี นายฑัศ เชาวนเสถียร เจ้าของ เฮาส์แบรนด์มือถือ "จีเนท" นั่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดและขาย แต่เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำตลาดใหม่ แบ่งตามกลุ่มลูกค้า และ ใช้วิธีพาร์ตเนอร์ชิป จึงไม่จำเป็นต้องมี คนที่ทำการตลาดในทุกเรื่อง สำคัญที่ การวางระบบทั้งด้านเทคนิค การเงิน และการตลาดทั้งหมดมากกว่า ซึ่งตนกำลัง เข้ามาดูแลในส่วนนี้เอง
"ลูกค้าทั่วไปที่เป็นลูกค้าเราอยู่แล้ว ยังให้บริการต่อเนื่อง แต่หลังจากนี้จะไม่ได้ ทำตลาดแบบแมส และโฆษณาแบบ ปูพรมอีก เพราะได้ปูพรมสร้างแบรนด์ในช่วงแรกเพื่อให้คนรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ไปก่อนแล้ว ในฐานะที่เราเป็นผู้ให้บริการหน้าใหม่ และตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ต้องเจาะตลาดที่เหมาะสมมากกว่า"
นายนทีกล่าวต่อว่า จากนี้คงต้องใช้ เวลาอีกราว 6 เดือน ในการตั้งหลัก พัฒนาระบบงานของทั้งบริษัทให้ลงตัว และปรับจูนให้สอดคล้องกันทั้งระบบงานหน้าบ้านและหลังบ้าน รวมถึงการแก้ไขปัญหาภายในของบริษัท ทั้งเรื่องหนี้ค่าเช่าโครงข่ายในฐานะผู้เช่าใช้โครงข่าย (MVNO) กับ บมจ.กสท โทรคมนาคม และการขอเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จากเดิมที่มีอยู่ราว 60,000 เลขหมาย
"ปัญหาทั้งหมดกำลังพยายามเคลียร์ ซึ่งผมถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาในการทำธุรกิจที่อาจเจอปัญหาได้ และไม่ใช่ปัญหาที่จะจัดการไม่ได้ เพียงแต่ต้องใช้เวลาในการจัดการ การทำธุรกิจไม่ใช่เริ่มต้นปั๊บไม่มีปัญหาเลย เชื่อว่าทุกคนที่เข้ามาสู่วงการโทรคมนาคม ถ้าย้อนกลับไปดูในช่วงเริ่มต้น ไม่มีใครตั้งต้นธุรกิจได้เต็มที่ก่อน 6 เดือน จึงเป็นเรื่องธรรมดามาก แต่ยืนยันได้ว่ายังไม่คิดถอดใจจากธุรกิจนี้ เพราะปัญหามีไว้แก้"
สำหรับการลงทุนในบริษัท จากเดิม ลงไปแล้ว 500 ล้านบาท ในการจดทะเบียนตั้งบริษัท และจากนี้คงต้องดูความจำเป็นในการลงทุน
"สภาวะเศรษฐกิจตอนนี้ไม่ว่าจะไม่ดีอย่างไรก็ตาม แต่ในเรื่องการสื่อสาร การทำ การค้าผ่านระบบไอที และการสื่อสารต่าง ๆ ยังคงมีความจำเป็นอยู่ สามารถใช้ระบบพวกนี้มาลดต้นทุนการทำธุรกิจได้ แทนที่การที่จะต้องใช้เงินเพิ่มต้นทุนการเดินทาง พวกนี้ทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางน้อยลง และประหยัดต้นทุนได้ เราจึงมองว่า นี่เป็นจุดที่บริษัทสามารถเข้าไปซัพพอร์ตการลดต้นทุนด้านนี้ได้"
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สัญญา MVNO ที่ทำไว้กับ บริษัท 168 คอมมูนิเคชั่น จำกัด มีระยะเวลา 15 ปี โดยเริ่มเปิดระบบให้ตั้งแต่วันที่ 17 มิ.ย. 2557 ที่ผ่านมา โดยในช่วง 2 ปีแรกได้ทำสัญญาการันตีปริมาณความจุโครงข่ายที่จะซื้อ และรายได้ขั้นต่ำที่จะให้กับแคทไว้ด้วย ซึ่งเท่าที่เช็กดูปัจจุบันบริการ 168 มีลูกค้าใช้บริการอยู่ประมาณ 4,000 ราย น้อยกว่าความจุที่ซื้อไว้มาก แต่ตามสัญญาถือว่าเป็นการซื้อเหมาความจุไปแล้ว ทำให้มีค่าเช่าที่ต้องจ่าย โดยมีหนี้ที่ค้างไว้ตามสัญญา MVNO มากกว่า 100 ล้านบาท
"ตอนทำสัญญาบริษัทก็ได้วางแบงก์การันตีไว้ประมาณ 50 ล้านบาท แต่เมื่อต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ทาง 168 ได้แจ้งมาว่า ยังมีความตั้งใจจะทำธุรกิจนี้ต่อไป แต่เนื่องจากบริษัทอยู่ในช่วงเปลี่ยนโครงสร้างภายใน มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหม่ จึงต้องการขอผ่อนจ่ายการชำระหนี้ แต่ยังไม่ได้มีความคืบหน้าในการเจรจากับบริษัท ซึ่งแคทเองกำลังติดตามการดำเนินงานของ 168 อย่างใกล้ชิด"
ก่อนหน้านี้ นายนทีกล่าวว่า เตรียมเงินลงทุนไว้ 3,000 ล้านบาทสำหรับ 3 ปีแรก พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและบริการหลังการขาย โดยตั้งเป้าลูกค้าปีแรกไว้ที่ 1 ล้านราย และเป็น 10 ล้านรายภายใน 5 ปี
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
'พานิชชีวะ' รื้อใหญ่แผนธุรกิจ 168 ปรับโฟกัสเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม-เคลียร์หนี้ 'แคท'
ยกเครื่องใหม่แผนธุรกิจฮัลโหล "168" หลังเปิดตัวทำตลาดได้แค่เดือนเดียว กลุ่มทุนใหม่ "พานิชชีวะ" คุมเองหมด ไร้เงาเจ้าของ "จีเนท" ยอมรับกลยุทธ์เดิมไม่ชัด-แข่งโกยลูกค้าแมสสู้ค่ายมือถือไม่ไหว ขอเวลาปรับแผนและวางระบบใหม่อีกรอบ หันโฟกัสลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ย้ำชัดไม่คิดถอดใจ แค่ตั้งหลักใหม่ ฟาก "แคท" เผยสัญญา MVNO การันตีรายได้ขั้นต่ำ 2 ปีแรกไว้แล้ว เตรียมเคลียร์หนี้ค้างจ่าย 100 กว่าล้านบาท
นายนที พานิชชีวะ ประธานกรรมการคณะบริหาร บริษัท 168 คอมมูนิเคชั่น จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทอยู่ระหว่างการปรับรื้อแผนธุรกิจ รวมถึงกลยุทธ์การทำตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้แบรนด์ "168" ใหม่ทั้งหมด โดยจะหันมาเน้นการทำตลาดในลูกค้าเฉพาะกลุ่มแทนลูกค้ากลุ่มแมส เพราะในฐานะน้องใหม่ในรูปแบบ MVNO (ผู้เช่าโครงข่ายมาขายต่อบริการ) คงไม่สามารถสู้กับค่ายมือถือทั้ง 3 รายใหญ่ได้ จึงต้องปรับแผนใหม่ แต่ขอยืนยันว่ายังคงเดินหน้า ธุรกิจต่อไป
"168 ยังเดินหน้าต่อไป แต่แผนการตลาดเปลี่ยน ที่ผ่านมากลยุทธ์เดิมอาจ ไม่ชัดเจนจึงต้องปรับใหม่หมด ต้องยอมรับว่าเราเข้ามาในตลาดในรูปแบบการเป็น MVNO เป็นน้องใหม่ ไม่สามารถจะไปทำตลาดแมสสู้กับ 3 ค่ายใหญ่ได้ ต้องยอมรับข้อเท็จจริงนี้ แล้วหันไปทำในสิ่งที่ถนัด โดยจะไปกับพาร์ตเนอร์ของเรา จับกลุ่มตลาดให้ถูกว่าบริการของเราเหมาะกับตลาดไหน เช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวหรือกลุ่มลูกค้าองค์กรที่เป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจกันอยู่ แล้วค่อยมาวางกลยุทธ์และวางคนของเราให้เหมาะสม ตอนนี้กำลังเริ่มต้นปรับ ซึ่งทีมงานเองก็ต้องปรับใหม่ แต่ไม่ถึงกับมีทีมขายลาออกยกทีมเป็น ร้อยคนอย่างที่มีกระแสข่าวแต่อย่างใด"
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารที่คุมทีมการตลาดเดิมมี นายฑัศ เชาวนเสถียร เจ้าของ เฮาส์แบรนด์มือถือ "จีเนท" นั่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดและขาย แต่เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำตลาดใหม่ แบ่งตามกลุ่มลูกค้า และ ใช้วิธีพาร์ตเนอร์ชิป จึงไม่จำเป็นต้องมี คนที่ทำการตลาดในทุกเรื่อง สำคัญที่ การวางระบบทั้งด้านเทคนิค การเงิน และการตลาดทั้งหมดมากกว่า ซึ่งตนกำลัง เข้ามาดูแลในส่วนนี้เอง
"ลูกค้าทั่วไปที่เป็นลูกค้าเราอยู่แล้ว ยังให้บริการต่อเนื่อง แต่หลังจากนี้จะไม่ได้ ทำตลาดแบบแมส และโฆษณาแบบ ปูพรมอีก เพราะได้ปูพรมสร้างแบรนด์ในช่วงแรกเพื่อให้คนรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ไปก่อนแล้ว ในฐานะที่เราเป็นผู้ให้บริการหน้าใหม่ และตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ต้องเจาะตลาดที่เหมาะสมมากกว่า"
นายนทีกล่าวต่อว่า จากนี้คงต้องใช้ เวลาอีกราว 6 เดือน ในการตั้งหลัก พัฒนาระบบงานของทั้งบริษัทให้ลงตัว และปรับจูนให้สอดคล้องกันทั้งระบบงานหน้าบ้านและหลังบ้าน รวมถึงการแก้ไขปัญหาภายในของบริษัท ทั้งเรื่องหนี้ค่าเช่าโครงข่ายในฐานะผู้เช่าใช้โครงข่าย (MVNO) กับ บมจ.กสท โทรคมนาคม และการขอเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จากเดิมที่มีอยู่ราว 60,000 เลขหมาย
"ปัญหาทั้งหมดกำลังพยายามเคลียร์ ซึ่งผมถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาในการทำธุรกิจที่อาจเจอปัญหาได้ และไม่ใช่ปัญหาที่จะจัดการไม่ได้ เพียงแต่ต้องใช้เวลาในการจัดการ การทำธุรกิจไม่ใช่เริ่มต้นปั๊บไม่มีปัญหาเลย เชื่อว่าทุกคนที่เข้ามาสู่วงการโทรคมนาคม ถ้าย้อนกลับไปดูในช่วงเริ่มต้น ไม่มีใครตั้งต้นธุรกิจได้เต็มที่ก่อน 6 เดือน จึงเป็นเรื่องธรรมดามาก แต่ยืนยันได้ว่ายังไม่คิดถอดใจจากธุรกิจนี้ เพราะปัญหามีไว้แก้"
สำหรับการลงทุนในบริษัท จากเดิม ลงไปแล้ว 500 ล้านบาท ในการจดทะเบียนตั้งบริษัท และจากนี้คงต้องดูความจำเป็นในการลงทุน
"สภาวะเศรษฐกิจตอนนี้ไม่ว่าจะไม่ดีอย่างไรก็ตาม แต่ในเรื่องการสื่อสาร การทำ การค้าผ่านระบบไอที และการสื่อสารต่าง ๆ ยังคงมีความจำเป็นอยู่ สามารถใช้ระบบพวกนี้มาลดต้นทุนการทำธุรกิจได้ แทนที่การที่จะต้องใช้เงินเพิ่มต้นทุนการเดินทาง พวกนี้ทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางน้อยลง และประหยัดต้นทุนได้ เราจึงมองว่า นี่เป็นจุดที่บริษัทสามารถเข้าไปซัพพอร์ตการลดต้นทุนด้านนี้ได้"
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สัญญา MVNO ที่ทำไว้กับ บริษัท 168 คอมมูนิเคชั่น จำกัด มีระยะเวลา 15 ปี โดยเริ่มเปิดระบบให้ตั้งแต่วันที่ 17 มิ.ย. 2557 ที่ผ่านมา โดยในช่วง 2 ปีแรกได้ทำสัญญาการันตีปริมาณความจุโครงข่ายที่จะซื้อ และรายได้ขั้นต่ำที่จะให้กับแคทไว้ด้วย ซึ่งเท่าที่เช็กดูปัจจุบันบริการ 168 มีลูกค้าใช้บริการอยู่ประมาณ 4,000 ราย น้อยกว่าความจุที่ซื้อไว้มาก แต่ตามสัญญาถือว่าเป็นการซื้อเหมาความจุไปแล้ว ทำให้มีค่าเช่าที่ต้องจ่าย โดยมีหนี้ที่ค้างไว้ตามสัญญา MVNO มากกว่า 100 ล้านบาท
"ตอนทำสัญญาบริษัทก็ได้วางแบงก์การันตีไว้ประมาณ 50 ล้านบาท แต่เมื่อต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ทาง 168 ได้แจ้งมาว่า ยังมีความตั้งใจจะทำธุรกิจนี้ต่อไป แต่เนื่องจากบริษัทอยู่ในช่วงเปลี่ยนโครงสร้างภายใน มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหม่ จึงต้องการขอผ่อนจ่ายการชำระหนี้ แต่ยังไม่ได้มีความคืบหน้าในการเจรจากับบริษัท ซึ่งแคทเองกำลังติดตามการดำเนินงานของ 168 อย่างใกล้ชิด"
ก่อนหน้านี้ นายนทีกล่าวว่า เตรียมเงินลงทุนไว้ 3,000 ล้านบาทสำหรับ 3 ปีแรก พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและบริการหลังการขาย โดยตั้งเป้าลูกค้าปีแรกไว้ที่ 1 ล้านราย และเป็น 10 ล้านรายภายใน 5 ปี
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558