สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า 50 ประเทศจากทั้ง 5 ทวีป ลงนามในตราสารจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (เอไอไอบี) ที่นำโดยจีน อย่างเป็นทางการ ในช่วงเวลาที่จีนพยายามก้าวขึ้นมามีบทบาททางการทูตและเศรษฐกิจโลก โดยออสเตรเลียเป็นชาติแรกที่ลงนามในข้อบังคับสำหรับการจัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงานของเอไอไอบี ในพิธีที่จัดขึ้นที่มหาศาลาประชาชนในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ตามด้วยชาติสมาชิกก่อตั้งอีก 49 ประเทศ ขณะที่อีก 7 ประเทศคาดว่าจะลงนามภายในสิ้นปีนี้ ประกอบไปด้วยเดนมาร์ก คูเวต มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ แอฟริกาใต้ และไทย เนื่องจากยังไม่ได้ให้สัตยาบันในข้อตกลงสำคัญบางอย่าง
เอกสารจัดตั้งระบุว่า เอไอไอบีจะมีเงินทุนรวม 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะมี เงินทุนเริ่มแรก 20,000 ล้านดอลลาร์
ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงของจีนกล่าวหลังเสร็จสิ้นพิธีการว่า การลงนามนี้ทำให้การปฏิบัติและความพยายามอย่างเป็นรูปธรรมของทุกประเทศ ปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ด้วยเจตนารมณ์ความมุ่งมั่นของความสามัคคี ความเปิดกว้าง การมีส่วนร่วมและความร่วมมือกัน และยังระบุถึงนัยที่จีนจะรับบทบาทเป็นศูนย์กลาง ด้วยว่า "เรายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของคุณ"
เอไอไอบีถูกมองจากหลายฝ่ายว่าเป็นคู่แข่งของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ประเทศที่มีเขตเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 1 และอันดับ 3 ที่ปฏิเสธจะเข้าร่วมเอไอไอบี ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา นายเบน เบอร์แนงคี อดีตประธานกองทุนสำรองแห่งรัฐหรือธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตำหนิสมาชิกสภานิติบัญญัติของสหรัฐที่ทำให้เอไอไอบีเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา โดยการสกัดกั้นการปฏิรูปที่จะให้ประเทศกำลังพัฒนามีสิทธิมีเสียงมากขึ้นในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ข้อบังคับในการจัดตั้งเอไอไอบีที่โพสต์เผยแพร่บนเว็บไซต์กระทรวงการคลังของจีนระบุว่า ถึงตอนนี้ จีนจะถือหุ้นในเอไอไอบีมากที่สุดที่ราว 30 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่อินเดียเป็นอันดับ 2 ที่ 8.4 เปอร์เซ็นต์ และรัสเซียเป็นอันดับ 3 ที่ 6.5 เปอร์เซ็นต์ โดยโครงสร้างในการลงมติจะให้สมาชิกชาติเล็กๆ มีสิทธิในการออกเสียงมากขึ้นเล็กน้อย แถลงการณ์ที่แนบมากับข้อบังคับระบุว่า จีนจะมีเสียงในการลงมติคิดเป็น 26 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะไม่เพียงพอที่จะให้จีนมีอำนาจในการวีโต้ หรือสกัดกั้นการตัดสินใจของเอไอไอบี แต่ยังคงมีเสียงเพียงพอที่จะคัดค้านการลงมติบางกรณีที่ต้องการเสียงส่วนใหญ่ 75 เปอร์เซ็นต์ อาทิ การเลือกประธานเอไอไอบี การระงับสมาชิกภาพ และการเปลี่ยนกฎระเบียบต่างๆ
50 ชาติร่วมลงนามตราสารจัดตั้ง ′เอไอไอบี′ ไทยตกขบวน
เอกสารจัดตั้งระบุว่า เอไอไอบีจะมีเงินทุนรวม 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะมี เงินทุนเริ่มแรก 20,000 ล้านดอลลาร์
ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงของจีนกล่าวหลังเสร็จสิ้นพิธีการว่า การลงนามนี้ทำให้การปฏิบัติและความพยายามอย่างเป็นรูปธรรมของทุกประเทศ ปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ด้วยเจตนารมณ์ความมุ่งมั่นของความสามัคคี ความเปิดกว้าง การมีส่วนร่วมและความร่วมมือกัน และยังระบุถึงนัยที่จีนจะรับบทบาทเป็นศูนย์กลาง ด้วยว่า "เรายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของคุณ"
เอไอไอบีถูกมองจากหลายฝ่ายว่าเป็นคู่แข่งของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ประเทศที่มีเขตเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 1 และอันดับ 3 ที่ปฏิเสธจะเข้าร่วมเอไอไอบี ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา นายเบน เบอร์แนงคี อดีตประธานกองทุนสำรองแห่งรัฐหรือธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตำหนิสมาชิกสภานิติบัญญัติของสหรัฐที่ทำให้เอไอไอบีเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา โดยการสกัดกั้นการปฏิรูปที่จะให้ประเทศกำลังพัฒนามีสิทธิมีเสียงมากขึ้นในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ข้อบังคับในการจัดตั้งเอไอไอบีที่โพสต์เผยแพร่บนเว็บไซต์กระทรวงการคลังของจีนระบุว่า ถึงตอนนี้ จีนจะถือหุ้นในเอไอไอบีมากที่สุดที่ราว 30 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่อินเดียเป็นอันดับ 2 ที่ 8.4 เปอร์เซ็นต์ และรัสเซียเป็นอันดับ 3 ที่ 6.5 เปอร์เซ็นต์ โดยโครงสร้างในการลงมติจะให้สมาชิกชาติเล็กๆ มีสิทธิในการออกเสียงมากขึ้นเล็กน้อย แถลงการณ์ที่แนบมากับข้อบังคับระบุว่า จีนจะมีเสียงในการลงมติคิดเป็น 26 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะไม่เพียงพอที่จะให้จีนมีอำนาจในการวีโต้ หรือสกัดกั้นการตัดสินใจของเอไอไอบี แต่ยังคงมีเสียงเพียงพอที่จะคัดค้านการลงมติบางกรณีที่ต้องการเสียงส่วนใหญ่ 75 เปอร์เซ็นต์ อาทิ การเลือกประธานเอไอไอบี การระงับสมาชิกภาพ และการเปลี่ยนกฎระเบียบต่างๆ