28 มิ.ย. 58 นายนิพนธ์ บุญญามณี ประธานกรรมการบริษัท สยามอินเตอร์เนชั่นแนล อินเตอร์ฟูดส์ จ.สงขลา และนายก อบจ.สงขลา กล่าวว่า วันที่ 30 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการผ่อนปรนการจับกุมอาชญาบัตรผิดประเภท หรือไม่มีอาชญาบัตรมาแสดงกับเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์แจ้งเข้า-ออกตามมาตรการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เรือประมงจะหยุดทำการประมง เพราะกลัวถูกจับ จะส่งผลต่อธุรกิจเกี่ยวเนื่องจากประมง อุตสาหกรรมจะหยุดการผลิตหรือลดการผลิตลง ราคาสัตว์น้ำจะเพิ่มสูง ทุกฝ่ายควรหันหน้ามาแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะผลเสียตามมาจะส่งผลต่อเสถียรภาพรัฐบาลได้
นายประพร เอกอุรุ นายกสมาคมประมง จ.สงขลา กล่าวว่า ประมงใน จ.สงขลาและทุกจังหวัดร้อยละ 80-90 ได้รับความเดือดร้อนจากกฎเหล็ก 15 ข้อ ที่รัฐออกมาบังคับใช้ให้เรือประมงปฏิบัติ เรือประมงต้องจอดเรือเทียบท่า ไม่กล้าออกทำประมงเพราะกลัวถูกจับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม เพื่อให้มีเอกภาพ ในวันที่ 30 มิถุนายน สมาคมประมงสงขลาจะประชุมเจ้าของเรือ ตัวแทนธุรกิจต่อเนื่องจากประมง ที่ทำการสมาคม เพื่อให้เรือประมงทุกลำหยุดทำการประมง แม่ค้าสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือทุกคนหยุดซื้อสัตว์น้ำ จนกว่าได้รับการผ่อนปรนจากรัฐ ขอให้รัฐบาลคิดให้รอบคอบและมองด้วยสายตาก้าวไกล เรือประมงไม่ได้เลวร้ายทั้งหมด ที่ผิดกฎหมายร้ายแรงรัฐควรแจ้งให้เจ้าของเรือไปแก้ไขปรับปรุง ผมเสนอทางออกเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อน ไม่ให้เศรษฐกิจพังพินาศ ให้มีการประชุมร่วมกันและให้ผ่อนปรนกฎเหล็กทั้ง 15 ข้อ" นายประพรกล่าว
ประมงสมุทรสาครจอดเรือต่อ
นายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร กล่าวว่า ศูนย์ป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมายไอยูยู (ศปมผ.) ประกาศตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม จะมีผลการใช้กฎหมายบังคับเรือที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงกรณีตรวจสอบใบอาชญาบัตรเรือ โดยไม่ผ่อนผันปลอดล็อก ตามที่ร้องเรียนขอไปให้ปรับช่วยแก้ไขรอบใหม่ ซึ่งเรือประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน ในจังหวัดมีกว่า 1,000 ลำ และกว่า 50% น้ำหนักต่ำกว่า 30 ตันกรอส มีเอกสารไม่สมบูรณ์มากที่สุด
"หากเอาผิดจริงในวันที่ 1 กรกฎาคม จะส่งผลให้ในจังหวัดมีเรือใช้การไม่ได้และต้องหยุดทำมาหากินจอดทิ้งจากปัญหาดังกล่าวอย่างมาก ตลอดจนประมงชายฝั่งในจังหวัดเกินกว่าครึ่งต้องเดือดร้อนทันทั่วหน้า จากกฎเหล็ก 15 ข้อที่บังคับ รวมทั้งปัญหาใบอาชญาบัตรที่ยังไม่ได้ปลดล็อก และยังมีผลกระทบต่อถึงเรื่องแรงงานต่างด้าวในเรือต้องตกงาน ส่วนเจ้าของเรือก็ขาดรายได้เลี้ยงครอบครัว ทำให้ชาวประมงเดือดร้อนตามมา นอกจากนี้ลามไปถึงอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่อง ต้องหยุดชะงักเพราะไม่มีวัตถุดิบมาแปรรูป จากมาตรการที่เข้มงวดดังกล่าวที่ประชุมสมาคมจึงมีมติจอดเรือทิ้งโดยปริยายต่อไป" นายกำจรกล่าว
เรือประมงตราดประกาศจอด800ลำ
ที่ จ.ตราด นายอมรศักดิ์ วรวิจิตรพงษ์ นายกสมาคมประมง อ.คลองใหญ่ จ.ตราด นายอุบล ชลาลัย เจ้าของท่าเรือชลาลัย นายสุรพงษ์ อินทรประเสริฐ ที่ปรึกษาสมาคมประมง จ.ตราด และสมาคมประมงคลองใหญ่ และชาวประมงกว่า 100 คน ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์หยุดทำการประมงทั้งหมด 800 ลำ เนื่องจากข้อบังคับที่จะมีผลในวันที่ 1 กรกฎาคม ทำให้ไม่สามารถออกทำประมงได้ เพราะไม่สามารถปฏิบัติตามที่รัฐบาลประกาศไว้ได้ เช่นเดียวกับที่ท่าเรือประมงบ้านคลองมะขาม ต.หาดเล็ก ชาวประมงพื้นบ้านกว่า 100 ลำ รวมตัวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาเช่นเดียวกับเรือประมงพาณิชย์
นายอุบล ชลาลัย เจ้าของท่าเทียบเรือประมงชลาลัย อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ที่เป็นท่าเรือเพื่อการประมงที่ใหญ่ที่สุดของ จ.ตราด กล่าวว่า การที่รัฐบาลแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู) โดยจะเริ่มจับกุมวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ หากเรือประมงยังไม่ปฏบัติให้ถูกต้อง จะส่งผลกระทบกับเรือประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้านของ อ.คลองใหญ่กว่า 800 ลำ โดยเฉพาะเรือประมงพาณิชย์ที่มีกว่า 400 ลำ สร้างรายได้ให้กับ จ.ตราดกว่า 10,000 ล้านบาท/ปี และยังมีธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น การแปรรูปปลา ปลาแห้ง ปลาบ่น มีการจ้างแรงงานทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก
เจ้าของประกาศขายเรือทิ้งแล้ว
"หากเรือประมงทั้งใน อ.คลองใหญ่ และใน จ.ตราด รวมทั้งจังหวัดอื่นๆ ไม่สามารถออกทำประมงได้ จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างมาก อาจจะทำให้เกิดวิกฤตได้" นายอุบลกล่าว
นายอุบลกล่าวว่า เรือประมงพาณิชย์ส่วนใหญ่ไม่ถูกกฎหมาย ไต๋เรือยังเป็นคนกัมพูชา เพราะไต๋เรือคนไทยไม่ทำแล้ว และเรือประมงไม่มีอาชญาบัตร ซึ่งแก้ไขไม่ได้ หากรัฐบาลจะเอาผิดจริงเรือทุกลำไม่เรื่องใดเรื่องหนึ่งก็จะผิดกฎหมาย รวมทั้งแรงงานต่างด้าวที่มีทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้อง ความเสียหายครั้งนี้ใหญ่โตและอาจล่มสลาย เจ้าของเรือประมง 30-40% ประกาศขายเรือไปแล้ว ส่วนเรือที่เหลือถ้าแก้ไขไม่ได้ก็ต้องขายในที่สุด เจ้าของเรือจำนวนหนึ่งที่สายป่านไม่ดี เริ่มมีปัญหาเรื่องเงินหมุนเวียนแล้ว มีแนวโนมว่าเรือประมงพาณิชย์จำนวนมากอาจไม่ขึ้นปลาที่ อ.คลองใหญ่ แต่จะไปขึ้นปลาที่ จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชาแทน จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจประมงของ อ.คลองใหญ่ และ จ.ตราด รวมทั้งประเทศไทยด้วย
เปิดสอบใบอาชญาบัตรประมง
นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) กล่าวว่า ตามที่สมาคมประมงต่างๆ เสนอให้หน่วยงานรัฐขยายกรอบเวลาการผ่อนผันเรือประมงที่มีปัญหาอาชญาบัตรนั้น ต้องรอมติที่ประชุมศูนย์ป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมายไอยูยู (ศปมผ.) ที่มี พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะผู้บัญชาการ ศปมผ. คาดว่าน่าจะประชุมไม่วันที่ 29 มิถุนายนก็วันที่ 30 มิถุนายน เพื่อออกประกาศก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม ตามกำหนดการเดิม เนื่องจาก ศปมผ.มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมเจ้าท่าไม่สามารถจัดทำข้อสรุปได้เพียงหน่วยงานเดียว
"ส่วนของกรมจะออกใบอาชญาบัตร ลักษณะคล้ายๆ ใบขับขี่ให้กับคนที่ทำงานบนเรือประมงซึ่งมีอยู่ประมาณ 4 หมื่นลำ และ 65% เป็นเรือขนาดเล็ก ซึ่งกำหนดจะให้คนกลุ่มดังกล่าวมาอบรมและสอบใบอนุญาตระหว่างวันที่ 1-15 กรกฎาคมนี้ ใครว่างวันไหนก็ทยอยมาอบรมและสอบวันนั้น หากรายใดไม่ผ่านก็ต้องมาสอบใหม่ เพราะเป็นเรื่องความปลอดภัย" นายจุฬากล่าว
นายวันชัย สาครมณีรัตน์ ในฐานะคณะทำงานศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก รายงานความคืบหน้าโครงการบูรณาการเดินหน้าปรับทำฐานข้อมูลเรือประมงสมุทรสาคร ภายใต้มาตรการ ศปมผ.เพื่อควบคุมไม่ทำประมงผิดกฎหมายว่า ตั้งแต่วันที่ 16-24 มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเรือประมงนำเอกสาร พร้อมภาพถ่ายเรือ แจ้งผู้ครอบครองเรือ มียอดรับแจ้งไว้ให้ตรวจสอบประวัติ ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป รวมกว่า 400 ลำ และเป็นเรือขนาดใหญ่ประมงนอกน่านน้ำ 30 ลำ สำหรับการรับแจ้งเรือเข้า-ออกตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา พบมีเรือแจ้งออกพื้นที่ไว้กว่า 460 เที่ยว จำนวน 220 ลำ แจ้งเรือเข้าฝั่ง 241 เที่ยว จำนวน 136 ลำ แต่ละวันแจ้งเรือออกเฉลี่ยประมาณ 7-10 ลำ
JJNY : ชาวประมงนัดหยุดเดินเรือ ค้านกฎเหล็ก15ข้อแก้ปมไอยูยู
นายประพร เอกอุรุ นายกสมาคมประมง จ.สงขลา กล่าวว่า ประมงใน จ.สงขลาและทุกจังหวัดร้อยละ 80-90 ได้รับความเดือดร้อนจากกฎเหล็ก 15 ข้อ ที่รัฐออกมาบังคับใช้ให้เรือประมงปฏิบัติ เรือประมงต้องจอดเรือเทียบท่า ไม่กล้าออกทำประมงเพราะกลัวถูกจับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม เพื่อให้มีเอกภาพ ในวันที่ 30 มิถุนายน สมาคมประมงสงขลาจะประชุมเจ้าของเรือ ตัวแทนธุรกิจต่อเนื่องจากประมง ที่ทำการสมาคม เพื่อให้เรือประมงทุกลำหยุดทำการประมง แม่ค้าสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือทุกคนหยุดซื้อสัตว์น้ำ จนกว่าได้รับการผ่อนปรนจากรัฐ ขอให้รัฐบาลคิดให้รอบคอบและมองด้วยสายตาก้าวไกล เรือประมงไม่ได้เลวร้ายทั้งหมด ที่ผิดกฎหมายร้ายแรงรัฐควรแจ้งให้เจ้าของเรือไปแก้ไขปรับปรุง ผมเสนอทางออกเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อน ไม่ให้เศรษฐกิจพังพินาศ ให้มีการประชุมร่วมกันและให้ผ่อนปรนกฎเหล็กทั้ง 15 ข้อ" นายประพรกล่าว
ประมงสมุทรสาครจอดเรือต่อ
นายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร กล่าวว่า ศูนย์ป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมายไอยูยู (ศปมผ.) ประกาศตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม จะมีผลการใช้กฎหมายบังคับเรือที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงกรณีตรวจสอบใบอาชญาบัตรเรือ โดยไม่ผ่อนผันปลอดล็อก ตามที่ร้องเรียนขอไปให้ปรับช่วยแก้ไขรอบใหม่ ซึ่งเรือประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน ในจังหวัดมีกว่า 1,000 ลำ และกว่า 50% น้ำหนักต่ำกว่า 30 ตันกรอส มีเอกสารไม่สมบูรณ์มากที่สุด
"หากเอาผิดจริงในวันที่ 1 กรกฎาคม จะส่งผลให้ในจังหวัดมีเรือใช้การไม่ได้และต้องหยุดทำมาหากินจอดทิ้งจากปัญหาดังกล่าวอย่างมาก ตลอดจนประมงชายฝั่งในจังหวัดเกินกว่าครึ่งต้องเดือดร้อนทันทั่วหน้า จากกฎเหล็ก 15 ข้อที่บังคับ รวมทั้งปัญหาใบอาชญาบัตรที่ยังไม่ได้ปลดล็อก และยังมีผลกระทบต่อถึงเรื่องแรงงานต่างด้าวในเรือต้องตกงาน ส่วนเจ้าของเรือก็ขาดรายได้เลี้ยงครอบครัว ทำให้ชาวประมงเดือดร้อนตามมา นอกจากนี้ลามไปถึงอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่อง ต้องหยุดชะงักเพราะไม่มีวัตถุดิบมาแปรรูป จากมาตรการที่เข้มงวดดังกล่าวที่ประชุมสมาคมจึงมีมติจอดเรือทิ้งโดยปริยายต่อไป" นายกำจรกล่าว
เรือประมงตราดประกาศจอด800ลำ
ที่ จ.ตราด นายอมรศักดิ์ วรวิจิตรพงษ์ นายกสมาคมประมง อ.คลองใหญ่ จ.ตราด นายอุบล ชลาลัย เจ้าของท่าเรือชลาลัย นายสุรพงษ์ อินทรประเสริฐ ที่ปรึกษาสมาคมประมง จ.ตราด และสมาคมประมงคลองใหญ่ และชาวประมงกว่า 100 คน ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์หยุดทำการประมงทั้งหมด 800 ลำ เนื่องจากข้อบังคับที่จะมีผลในวันที่ 1 กรกฎาคม ทำให้ไม่สามารถออกทำประมงได้ เพราะไม่สามารถปฏิบัติตามที่รัฐบาลประกาศไว้ได้ เช่นเดียวกับที่ท่าเรือประมงบ้านคลองมะขาม ต.หาดเล็ก ชาวประมงพื้นบ้านกว่า 100 ลำ รวมตัวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาเช่นเดียวกับเรือประมงพาณิชย์
นายอุบล ชลาลัย เจ้าของท่าเทียบเรือประมงชลาลัย อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ที่เป็นท่าเรือเพื่อการประมงที่ใหญ่ที่สุดของ จ.ตราด กล่าวว่า การที่รัฐบาลแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู) โดยจะเริ่มจับกุมวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ หากเรือประมงยังไม่ปฏบัติให้ถูกต้อง จะส่งผลกระทบกับเรือประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้านของ อ.คลองใหญ่กว่า 800 ลำ โดยเฉพาะเรือประมงพาณิชย์ที่มีกว่า 400 ลำ สร้างรายได้ให้กับ จ.ตราดกว่า 10,000 ล้านบาท/ปี และยังมีธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น การแปรรูปปลา ปลาแห้ง ปลาบ่น มีการจ้างแรงงานทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก
เจ้าของประกาศขายเรือทิ้งแล้ว
"หากเรือประมงทั้งใน อ.คลองใหญ่ และใน จ.ตราด รวมทั้งจังหวัดอื่นๆ ไม่สามารถออกทำประมงได้ จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างมาก อาจจะทำให้เกิดวิกฤตได้" นายอุบลกล่าว
นายอุบลกล่าวว่า เรือประมงพาณิชย์ส่วนใหญ่ไม่ถูกกฎหมาย ไต๋เรือยังเป็นคนกัมพูชา เพราะไต๋เรือคนไทยไม่ทำแล้ว และเรือประมงไม่มีอาชญาบัตร ซึ่งแก้ไขไม่ได้ หากรัฐบาลจะเอาผิดจริงเรือทุกลำไม่เรื่องใดเรื่องหนึ่งก็จะผิดกฎหมาย รวมทั้งแรงงานต่างด้าวที่มีทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้อง ความเสียหายครั้งนี้ใหญ่โตและอาจล่มสลาย เจ้าของเรือประมง 30-40% ประกาศขายเรือไปแล้ว ส่วนเรือที่เหลือถ้าแก้ไขไม่ได้ก็ต้องขายในที่สุด เจ้าของเรือจำนวนหนึ่งที่สายป่านไม่ดี เริ่มมีปัญหาเรื่องเงินหมุนเวียนแล้ว มีแนวโนมว่าเรือประมงพาณิชย์จำนวนมากอาจไม่ขึ้นปลาที่ อ.คลองใหญ่ แต่จะไปขึ้นปลาที่ จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชาแทน จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจประมงของ อ.คลองใหญ่ และ จ.ตราด รวมทั้งประเทศไทยด้วย
เปิดสอบใบอาชญาบัตรประมง
นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) กล่าวว่า ตามที่สมาคมประมงต่างๆ เสนอให้หน่วยงานรัฐขยายกรอบเวลาการผ่อนผันเรือประมงที่มีปัญหาอาชญาบัตรนั้น ต้องรอมติที่ประชุมศูนย์ป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมายไอยูยู (ศปมผ.) ที่มี พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะผู้บัญชาการ ศปมผ. คาดว่าน่าจะประชุมไม่วันที่ 29 มิถุนายนก็วันที่ 30 มิถุนายน เพื่อออกประกาศก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม ตามกำหนดการเดิม เนื่องจาก ศปมผ.มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมเจ้าท่าไม่สามารถจัดทำข้อสรุปได้เพียงหน่วยงานเดียว
"ส่วนของกรมจะออกใบอาชญาบัตร ลักษณะคล้ายๆ ใบขับขี่ให้กับคนที่ทำงานบนเรือประมงซึ่งมีอยู่ประมาณ 4 หมื่นลำ และ 65% เป็นเรือขนาดเล็ก ซึ่งกำหนดจะให้คนกลุ่มดังกล่าวมาอบรมและสอบใบอนุญาตระหว่างวันที่ 1-15 กรกฎาคมนี้ ใครว่างวันไหนก็ทยอยมาอบรมและสอบวันนั้น หากรายใดไม่ผ่านก็ต้องมาสอบใหม่ เพราะเป็นเรื่องความปลอดภัย" นายจุฬากล่าว
นายวันชัย สาครมณีรัตน์ ในฐานะคณะทำงานศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก รายงานความคืบหน้าโครงการบูรณาการเดินหน้าปรับทำฐานข้อมูลเรือประมงสมุทรสาคร ภายใต้มาตรการ ศปมผ.เพื่อควบคุมไม่ทำประมงผิดกฎหมายว่า ตั้งแต่วันที่ 16-24 มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเรือประมงนำเอกสาร พร้อมภาพถ่ายเรือ แจ้งผู้ครอบครองเรือ มียอดรับแจ้งไว้ให้ตรวจสอบประวัติ ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป รวมกว่า 400 ลำ และเป็นเรือขนาดใหญ่ประมงนอกน่านน้ำ 30 ลำ สำหรับการรับแจ้งเรือเข้า-ออกตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา พบมีเรือแจ้งออกพื้นที่ไว้กว่า 460 เที่ยว จำนวน 220 ลำ แจ้งเรือเข้าฝั่ง 241 เที่ยว จำนวน 136 ลำ แต่ละวันแจ้งเรือออกเฉลี่ยประมาณ 7-10 ลำ