เศรษฐกิจจากการทำประมงของประเทศไทย (ที่ผิดกฏหมาย) มีมูลค่าเกือบ 230 ล้าน US ดอลลาร์ส ซึ่งเกือบประมาณ 10% จากมูลค่าความสูญเสียจากทั่วโลก โดยทั้งนี้ปริมาณผลผลิตจากการจับสัตว์น้ำที่ได้เกือบ 1 ใน 3 ของปริมาณการจับทั้งหมดในโลกได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย
ล่าสุด ทางสหภาพยุโรป หรืออียู ได้ให้มีการจัดระเบียบเรือประมงทูน่า และตั้งข้อสังเกตเห็นถึงความผิดปกติ พบว่า ปริมาณการส่งออกทูน่าสูงกว่าปริมาณนำเข้า เชื่อว่าจะมีการลักลอบถ่ายสัตว์นํ้าสวมปลาผิดกฎหมายเข้าประเทศนำไปขายในตลาดอียู และมีจำนวนเรือที่ที่มีอาชญาบัตรไม่ตรงกับเครื่องมือที่ใช้จำนวน 2,650 กว่า ซึ่งจำนวนเรือดังกล่าว ทางศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) จะซื้อเรือคืนส่วนหนึ่งเพื่อไปทำปะการังเทียมอีกด้วย
หากประเทศไทยเรามีระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่จับได้ (Traceability System) น่าจะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจต่อผู้บริโภคทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศให้มั่นใจว่า "
ประเทศไทยก็ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนทางอาหาร" เช่นกัน
อียูประเมินมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการทำประมงผิดกฎหมายทั่วโลกพุ่ง 10-23.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ขณะที่ไทยอยู่ที่ 230 ล้าน เร่งสกัด หวั่นลามอาชญากรรมข้ามชาติใช้เป็นเครื่องมือ ด้านวงใน ศปมผ. เผยอียูส่งสัญญาณต่อให้เร่งจัดระเบียบเรือจับปลาทูน่าผวาลักลอบ พบข้อสงสัยปริมาณส่งออกขายสูงกว่านำเข้า ขณะที่เรือประมงเถื่อน 2.65 พันลำ ได้ข้อยุติแล้วจะจมทำปะการังเทียม ส่วน “อวนรุน” 330 ลำ ส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนเป็นอวนรุนเคย
แหล่งข่าวจากศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม พ.ศ.2558-2562 (NPOA-IUU) ทางสหภาพยุโรป (อียู) ได้มีการประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการทำประมงผิดกฎหมายทั่วโลก พบว่าในแต่ละปีมีมูลค่าอยู่ระหว่าง 10-23.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนของไทยอยู่ประมาณ 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ยิ่งไปกว่านั้นการทำประมงผิดกฎหมายเป็นภัยคุกคามที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก และยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติทางทะเล เช่น การลักลอบค้ามนุษย์ การล่า และการค้าสัตว์ทะเลหายาก การลักลอบค้ายาเสพติดและอาวุธ ซึ่งเกิดขึ้นในบางส่วนของโลก
ทั้งนี้ประมาณการผลผลิตจับสัตว์น้ำที่ได้เกือบ 1 ใน 3 ของปริมาณการจับทั้งหมดในโลกได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย จากข้อกังวลดังกล่าว ไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ของโลก โดยในปี 2557 ปริมาณการส่งออกสัตว์น้ำทั้งหมด 1.7 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 6.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และปริมาณการนำเข้าสัตว์น้ำทั้งหมด 1.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จึงต้องมีแผนปฏิบัติการในระดับสากลเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการประมงในระดับภูมิภาคและเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเล
แหล่งข่าว ศปมผ. กล่าวว่า กรมประมง รายงานว่า ล่าสุดทางสหภาพยุโรป หรืออียู ได้ให้มีการจัดระเบียบเรือทูน่า และสังเกตความผิดปกติพบว่าปริมาณการส่งออกทูน่าสูงกว่าปริมาณนำเข้า เชื่อว่าจะมีการลักลอบถ่ายสัตว์นํ้าสวมปลาผิดกฎหมายเข้าประเทศนำไปขายในตลาดอียู จึงให้ไทยเร่งออกระเบียบทางที่ประชุมจึงให้ทางกรมประมงและกรมศุลกากรไปเร่งหามาตรการเพื่อให้อียูวางใจซึ่งหนึ่งในมาตรการดังกล่าวเป็นเหตุให้เรียกเรือประมงนอกน่านนํ้าขนาดตั้งแต่60 ตันกรอสขึ้นไป ให้มารายงานตัวภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้”
ขณะที่แหล่งข่าวจากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความคืบหน้าเรือที่มีอาชญาบัตรไม่ตรงกับเครื่องมือที่ใช้ จำนวน 2.65 พันลำ ทางกรมประมงแจ้งว่าไม่สามารถกลับมาทำประมงได้ เพราะหากกลับมาจะทำให้จำนวนแรงลงประมงเกินค่าผลการจับสัตว์น้ำสูงสุดที่ยั่งยืน (MSY) มาก มีความคิดเห็นว่าให้ซื้อเรือคืนส่วนหนึ่งเพื่อไปทำปะการังเทียม ศปมผ. จึงมอบให้สำนักงบประมาณ สำรวจและรวบรวมงบประมาณปะการังเทียมของส่วนราชการทั้งหมด แล้วให้สำรวจอายุของเรือทั้งหมด และแยกจัดกลุ่มขนาดของเรือ แล้วให้ประเมินราคาใหม่ เพระราคาที่สมาคมประมงฯ เสนอขายเรือให้ราคาสูงเกินไป ส่วนอวนรุนที่มีอาชญาบัตรถูกต้อง จำนวน 330 ลำ ส่วนใหญ่จะปรับเปลี่ยนเป็นอวนรุนเคย/เรือประมงพื้นบ้าน รองลงมาเป็นอวนลากเดี่ยว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,109 วันที่ 29 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.thansettakij.com/2015/12/02/20112
ซัดประมงเถื่อนทำลายศก.โลก 2.6พันลำจมทำปะการังเทียม
ล่าสุด ทางสหภาพยุโรป หรืออียู ได้ให้มีการจัดระเบียบเรือประมงทูน่า และตั้งข้อสังเกตเห็นถึงความผิดปกติ พบว่า ปริมาณการส่งออกทูน่าสูงกว่าปริมาณนำเข้า เชื่อว่าจะมีการลักลอบถ่ายสัตว์นํ้าสวมปลาผิดกฎหมายเข้าประเทศนำไปขายในตลาดอียู และมีจำนวนเรือที่ที่มีอาชญาบัตรไม่ตรงกับเครื่องมือที่ใช้จำนวน 2,650 กว่า ซึ่งจำนวนเรือดังกล่าว ทางศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) จะซื้อเรือคืนส่วนหนึ่งเพื่อไปทำปะการังเทียมอีกด้วย
หากประเทศไทยเรามีระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่จับได้ (Traceability System) น่าจะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจต่อผู้บริโภคทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศให้มั่นใจว่า "ประเทศไทยก็ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนทางอาหาร" เช่นกัน
อียูประเมินมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการทำประมงผิดกฎหมายทั่วโลกพุ่ง 10-23.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ขณะที่ไทยอยู่ที่ 230 ล้าน เร่งสกัด หวั่นลามอาชญากรรมข้ามชาติใช้เป็นเครื่องมือ ด้านวงใน ศปมผ. เผยอียูส่งสัญญาณต่อให้เร่งจัดระเบียบเรือจับปลาทูน่าผวาลักลอบ พบข้อสงสัยปริมาณส่งออกขายสูงกว่านำเข้า ขณะที่เรือประมงเถื่อน 2.65 พันลำ ได้ข้อยุติแล้วจะจมทำปะการังเทียม ส่วน “อวนรุน” 330 ลำ ส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนเป็นอวนรุนเคย
แหล่งข่าวจากศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม พ.ศ.2558-2562 (NPOA-IUU) ทางสหภาพยุโรป (อียู) ได้มีการประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการทำประมงผิดกฎหมายทั่วโลก พบว่าในแต่ละปีมีมูลค่าอยู่ระหว่าง 10-23.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนของไทยอยู่ประมาณ 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ยิ่งไปกว่านั้นการทำประมงผิดกฎหมายเป็นภัยคุกคามที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก และยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติทางทะเล เช่น การลักลอบค้ามนุษย์ การล่า และการค้าสัตว์ทะเลหายาก การลักลอบค้ายาเสพติดและอาวุธ ซึ่งเกิดขึ้นในบางส่วนของโลก
ทั้งนี้ประมาณการผลผลิตจับสัตว์น้ำที่ได้เกือบ 1 ใน 3 ของปริมาณการจับทั้งหมดในโลกได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย จากข้อกังวลดังกล่าว ไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ของโลก โดยในปี 2557 ปริมาณการส่งออกสัตว์น้ำทั้งหมด 1.7 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 6.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และปริมาณการนำเข้าสัตว์น้ำทั้งหมด 1.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จึงต้องมีแผนปฏิบัติการในระดับสากลเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการประมงในระดับภูมิภาคและเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเล
แหล่งข่าว ศปมผ. กล่าวว่า กรมประมง รายงานว่า ล่าสุดทางสหภาพยุโรป หรืออียู ได้ให้มีการจัดระเบียบเรือทูน่า และสังเกตความผิดปกติพบว่าปริมาณการส่งออกทูน่าสูงกว่าปริมาณนำเข้า เชื่อว่าจะมีการลักลอบถ่ายสัตว์นํ้าสวมปลาผิดกฎหมายเข้าประเทศนำไปขายในตลาดอียู จึงให้ไทยเร่งออกระเบียบทางที่ประชุมจึงให้ทางกรมประมงและกรมศุลกากรไปเร่งหามาตรการเพื่อให้อียูวางใจซึ่งหนึ่งในมาตรการดังกล่าวเป็นเหตุให้เรียกเรือประมงนอกน่านนํ้าขนาดตั้งแต่60 ตันกรอสขึ้นไป ให้มารายงานตัวภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้”
ขณะที่แหล่งข่าวจากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความคืบหน้าเรือที่มีอาชญาบัตรไม่ตรงกับเครื่องมือที่ใช้ จำนวน 2.65 พันลำ ทางกรมประมงแจ้งว่าไม่สามารถกลับมาทำประมงได้ เพราะหากกลับมาจะทำให้จำนวนแรงลงประมงเกินค่าผลการจับสัตว์น้ำสูงสุดที่ยั่งยืน (MSY) มาก มีความคิดเห็นว่าให้ซื้อเรือคืนส่วนหนึ่งเพื่อไปทำปะการังเทียม ศปมผ. จึงมอบให้สำนักงบประมาณ สำรวจและรวบรวมงบประมาณปะการังเทียมของส่วนราชการทั้งหมด แล้วให้สำรวจอายุของเรือทั้งหมด และแยกจัดกลุ่มขนาดของเรือ แล้วให้ประเมินราคาใหม่ เพระราคาที่สมาคมประมงฯ เสนอขายเรือให้ราคาสูงเกินไป ส่วนอวนรุนที่มีอาชญาบัตรถูกต้อง จำนวน 330 ลำ ส่วนใหญ่จะปรับเปลี่ยนเป็นอวนรุนเคย/เรือประมงพื้นบ้าน รองลงมาเป็นอวนลากเดี่ยว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,109 วันที่ 29 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้