ซึ่งอัลลอฮได้ตรสว่า
“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! เมื่อพวกเจ้าต่างมีหนี้สินกันจะด้วยหนี้สินใดๆ ก็ตาม จนกว่าจะถึงกำหนดเวลา(ใช้หนี้) ที่ถูกระบุไว้แล้ว ก็จงบันทึกหนี้สินนั้นเสีย และผู้เขียนก็จงบันทึกระหว่างพวกเจ้าด้วยความเที่ยงธรรม และผู้เขียนคนหนึ่งคนใดก็จงอย่าปฏิเสธที่จะบันทึก ดังที่อัลลอฮ์ได้ทรงสอนเขา ดังนั้นเขาจงบันทึกเถิด และจงให้ผู้ที่มีสิทธิ์เหนือเขา(ลูกหนี้) บอกให้บันทึก และเขาจงยำเกรงอัลลอฮ์ผู้เป็นพระเจ้าของเขา และจงอย่าให้บกพร่องแต่อย่างใดจากสิทธิ์นั้น และถ้าผู้มีสิทธิเหนือเขา(ลูกหนี้) เป็นคนโง่ หรือเป็นผู้อ่อนแอหรือไม่สามารถจะบอกให้บันทึกได้ ก็จงให้ผู้ปกครองของเขาบอกด้วยความเที่ยงธรรม และพวกเจ้าจงให้มีพยานขึ้นสองนายจากบรรดาผู้ชายในหมู่พวกเจ้า แต่ถ้ามิปรากฏว่า พยานทั้งสองนั้นเป็นชายก็ให้มีผู้ชายหนึ่งกับผู้หญิงสองคน จากผู้ที่พวกเจ้าพึงใจในหมู่พยานทั้งหลาย เพื่อว่าหญิงใดในสองคนนั้นหลงไป คนหนึ่งในสองคนนั้นก็จะได้เตือนอีกคนหนึ่ง และบรรดาพยานนั้นก็จงอย่าได้ปฏิเสธ เมื่อพวกเขาถูกเรียกร้อง และพวกเจ้าจงอย่าเบื่อหน่ายที่จะบันทึกหนี้สินนั้นไม่ว่าน้อยหรือมากก็ตาม จนกว่าจะถึงกำหนดเวลาของมัน นั่นแหละคือสิ่งที่ยุติธรรมยิ่งกว่า ณ ที่อัลลอฮ์ และเที่ยงตรงยิ่งกว่าสำหรับเป็นหลักฐานยืนยัน และเป็นสิ่งใกล้ยิ่งกว่าที่พวกเจ้าจะไม่สงสัย นอกจากว่ามันเป็นสินค้าที่ปรากฏอยู่ต่อหน้า ซึ่งพวกเจ้าหมุนเวียนมัน (ซื้อขายแลกเปลี่ยน) ระหว่างพวกเจ้าก็ไม่มีโทษอันใดแก่พวกเจ้าที่พวกเจ้าจะไม่บันทึกมัน และพวกเจ้าจงให้มีพยานขึ้น เมื่อพวกเจ้าต่างซื้อขายกัน และผู้เขียนก็จงอย่าก่อให้เกิดความเดือดร้อนขึ้น และผู้เป็นพยานด้วย และหากว่าพวกเจ้ากระทำ แน่นอนมันก็เป็นการฝ่าฝืนเนื่องด้วยพวกเจ้า และพวกเจ้าจงพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และอัลลอฮ์นั้นทรงให้ความรู้แก่พวกเจ้าอยู่ และอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง” (282)
“และถ้าพวกเจ้าอยู่ในระหว่างเดินทางและไม่พบผู้เขียนคนใด ก็ให้มีสิ่งค้ำประกันยึดถือไว้ แต่ถ้าบางคนในพวกเจ้าไว้ใจอีกบางคน(ลูกหนี้) ผู้ที่ได้รับความไว้ใจ (ลูกหนี้) ก็จงคืนสิ่งที่ถูกไว้ใจ(หนี้) ของเขาเสีย และเขาจงกลัวเกรงอัลลอฮ์ผู้เป็นพระเจ้าของเขาเถิด และพวกเจ้าจงอย่าปกปิดพยานหลักฐาน และผู้ใดปกปิดมันไว้ แน่นอนหัวใจของเขาก็มีบาป และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (283)
“และหากเขา (ลูกหนี้) เป็นผู้ยากไร้ก็จงให้มีการรอคอยจนกว่าจะถึงคราวสะดวก และการที่พวกเจ้าจะให้เป็นทานนั้น ย่อมเป็นการดีแก่พวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้” (280)
สรุปคือ
1.ทุกหนี้สินควรมีการจดบันทึก (สัญญา) ไม่ว่าหนี้สินนั้นจะมีจำนวนมากหรือจำนวนน้อยก็ตาม
2. ให้ลูกหนี้เป็นผู้บอกการจดบันทึก หากลูกหนี้ไร้ความสามารถในการบอกจดบันทึก ให้ผู้ปกครองของเขาบอกด้วยความเที่ยงธรรม
3. ผู้เขียน/จด และผู้บอกจดบันทึกต้องมีความเที่ยงธรรม
4. ให้มีพยานเป็นชาย 2 คน หรือ ชาย 1 คน หญิง 2 คน
5. เลือกพยานตามที่พอใจ และพยานไม่ควรปฏิเสธ
6. หากอยู่ในระหว่างเดินทางและไม่พบผู้เขียนบันทึก ให้มีการยึดสิ่งค้ำประกันไว้
7. หากลูกหนี้เป็นผู้ยากไร้ ให้รอคอยจนเขาสะดวกที่จะจ่าย และถ้าหากทำเป็นทานย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า
Head Jawna สรุปและเรียบเรียงจากอัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 280,282-283
เมื่อเกิดหนี้สินต้องพยายามชดใช้
มีรายงานฮะดีษดังนี้
ท่านนบีมูฮัมหมัด ซ.ล กล่าวว่า - ผู้ใดเอาทรัพย์สินของผู้อื่นไป โดยเขาตั้งใจจะชดใช้คืน อัลลอฮฺจะชดให้ให้เขา
( ด้วยการให้เขาได้มีโอกาสชดใช้) ส่วนคนที่เอาทรัพย์สินของผู้อื่นไป โดยไม่ตั้งใจที่จะชดใช้คืน อัลลอฮฺจะให้เสียหายไป (ด้วยการเป็นหนี้ที่ยังติดพันอยู่กับเขา)
เมื่อเจอหนี้สิน พระเจ้าแนะนำให้ทำอย่างไร
“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! เมื่อพวกเจ้าต่างมีหนี้สินกันจะด้วยหนี้สินใดๆ ก็ตาม จนกว่าจะถึงกำหนดเวลา(ใช้หนี้) ที่ถูกระบุไว้แล้ว ก็จงบันทึกหนี้สินนั้นเสีย และผู้เขียนก็จงบันทึกระหว่างพวกเจ้าด้วยความเที่ยงธรรม และผู้เขียนคนหนึ่งคนใดก็จงอย่าปฏิเสธที่จะบันทึก ดังที่อัลลอฮ์ได้ทรงสอนเขา ดังนั้นเขาจงบันทึกเถิด และจงให้ผู้ที่มีสิทธิ์เหนือเขา(ลูกหนี้) บอกให้บันทึก และเขาจงยำเกรงอัลลอฮ์ผู้เป็นพระเจ้าของเขา และจงอย่าให้บกพร่องแต่อย่างใดจากสิทธิ์นั้น และถ้าผู้มีสิทธิเหนือเขา(ลูกหนี้) เป็นคนโง่ หรือเป็นผู้อ่อนแอหรือไม่สามารถจะบอกให้บันทึกได้ ก็จงให้ผู้ปกครองของเขาบอกด้วยความเที่ยงธรรม และพวกเจ้าจงให้มีพยานขึ้นสองนายจากบรรดาผู้ชายในหมู่พวกเจ้า แต่ถ้ามิปรากฏว่า พยานทั้งสองนั้นเป็นชายก็ให้มีผู้ชายหนึ่งกับผู้หญิงสองคน จากผู้ที่พวกเจ้าพึงใจในหมู่พยานทั้งหลาย เพื่อว่าหญิงใดในสองคนนั้นหลงไป คนหนึ่งในสองคนนั้นก็จะได้เตือนอีกคนหนึ่ง และบรรดาพยานนั้นก็จงอย่าได้ปฏิเสธ เมื่อพวกเขาถูกเรียกร้อง และพวกเจ้าจงอย่าเบื่อหน่ายที่จะบันทึกหนี้สินนั้นไม่ว่าน้อยหรือมากก็ตาม จนกว่าจะถึงกำหนดเวลาของมัน นั่นแหละคือสิ่งที่ยุติธรรมยิ่งกว่า ณ ที่อัลลอฮ์ และเที่ยงตรงยิ่งกว่าสำหรับเป็นหลักฐานยืนยัน และเป็นสิ่งใกล้ยิ่งกว่าที่พวกเจ้าจะไม่สงสัย นอกจากว่ามันเป็นสินค้าที่ปรากฏอยู่ต่อหน้า ซึ่งพวกเจ้าหมุนเวียนมัน (ซื้อขายแลกเปลี่ยน) ระหว่างพวกเจ้าก็ไม่มีโทษอันใดแก่พวกเจ้าที่พวกเจ้าจะไม่บันทึกมัน และพวกเจ้าจงให้มีพยานขึ้น เมื่อพวกเจ้าต่างซื้อขายกัน และผู้เขียนก็จงอย่าก่อให้เกิดความเดือดร้อนขึ้น และผู้เป็นพยานด้วย และหากว่าพวกเจ้ากระทำ แน่นอนมันก็เป็นการฝ่าฝืนเนื่องด้วยพวกเจ้า และพวกเจ้าจงพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และอัลลอฮ์นั้นทรงให้ความรู้แก่พวกเจ้าอยู่ และอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง” (282)
“และถ้าพวกเจ้าอยู่ในระหว่างเดินทางและไม่พบผู้เขียนคนใด ก็ให้มีสิ่งค้ำประกันยึดถือไว้ แต่ถ้าบางคนในพวกเจ้าไว้ใจอีกบางคน(ลูกหนี้) ผู้ที่ได้รับความไว้ใจ (ลูกหนี้) ก็จงคืนสิ่งที่ถูกไว้ใจ(หนี้) ของเขาเสีย และเขาจงกลัวเกรงอัลลอฮ์ผู้เป็นพระเจ้าของเขาเถิด และพวกเจ้าจงอย่าปกปิดพยานหลักฐาน และผู้ใดปกปิดมันไว้ แน่นอนหัวใจของเขาก็มีบาป และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (283)
“และหากเขา (ลูกหนี้) เป็นผู้ยากไร้ก็จงให้มีการรอคอยจนกว่าจะถึงคราวสะดวก และการที่พวกเจ้าจะให้เป็นทานนั้น ย่อมเป็นการดีแก่พวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้” (280)
สรุปคือ
1.ทุกหนี้สินควรมีการจดบันทึก (สัญญา) ไม่ว่าหนี้สินนั้นจะมีจำนวนมากหรือจำนวนน้อยก็ตาม
2. ให้ลูกหนี้เป็นผู้บอกการจดบันทึก หากลูกหนี้ไร้ความสามารถในการบอกจดบันทึก ให้ผู้ปกครองของเขาบอกด้วยความเที่ยงธรรม
3. ผู้เขียน/จด และผู้บอกจดบันทึกต้องมีความเที่ยงธรรม
4. ให้มีพยานเป็นชาย 2 คน หรือ ชาย 1 คน หญิง 2 คน
5. เลือกพยานตามที่พอใจ และพยานไม่ควรปฏิเสธ
6. หากอยู่ในระหว่างเดินทางและไม่พบผู้เขียนบันทึก ให้มีการยึดสิ่งค้ำประกันไว้
7. หากลูกหนี้เป็นผู้ยากไร้ ให้รอคอยจนเขาสะดวกที่จะจ่าย และถ้าหากทำเป็นทานย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า
Head Jawna สรุปและเรียบเรียงจากอัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 280,282-283
เมื่อเกิดหนี้สินต้องพยายามชดใช้
มีรายงานฮะดีษดังนี้
ท่านนบีมูฮัมหมัด ซ.ล กล่าวว่า - ผู้ใดเอาทรัพย์สินของผู้อื่นไป โดยเขาตั้งใจจะชดใช้คืน อัลลอฮฺจะชดให้ให้เขา
( ด้วยการให้เขาได้มีโอกาสชดใช้) ส่วนคนที่เอาทรัพย์สินของผู้อื่นไป โดยไม่ตั้งใจที่จะชดใช้คืน อัลลอฮฺจะให้เสียหายไป (ด้วยการเป็นหนี้ที่ยังติดพันอยู่กับเขา)