อยากทราบว่าทำไมหลายคนไม่เห็นด้วยกับท่านพุทธทาสเพราะอะไร

แปลกใจว่าทำไมคนโจมตีท่านเยอะมาก ท่านทำผิดอะไร ส่วนตัวเคารพท่านมาก และได้อ่านหนังสือของท่านบ้างแต่บางอันก็อ่านยาก ขี้เกียจอ่าน แต่ก็ไม่เห็นจะมีอะไรไม่ดี เลยงงว่าทำไมคนต้องโจมตีท่าน แล้วที่บอกท่านโจมตีพระไตรปิฏกคืองงว่าท่านเป็นพระที่ศึกษาเองจากพระไตรปิฏก แล้วท่านจะมาโจมตีทำไม

คือท่านจะเป็นพระที่เหมือนสำนวนร้ายกาจ เชือดเฉือนรึเปล่า อ่นแล้วต้องตีความไม่ใช่มองแบบ 1+1

แล้วคนที่ไม่เห็นด้วยกับท่าน รบกวนส่งลิงค์ให้อ่านทีค่ะ ว่าสิ่งไหนที่ท่านเขียนแล้วทำให้พวกคุณรู้สึกว่าท่านแย่แบบที่หลายๆคนว่าหรือดูถูก ในความรู้สึกเราท่านคือพระอรหันต์ แล้วการที่มีคนมาด่าว่าพระอรหันต์นี้ไม่เกรงกลัวบาปกันเหรอ หรือว่ามีสิ่งใดที่ทำให้อวิชชาครอบงำ เราอยากรู้ จะช่วยคิดให้ คำไหนที่ท่านเขียนแล้วพวกคุณมองว่า คนแบบนี้ไม่ดี ไม่ใช่พระ ช่วยบอกเราที จะได้กระจ่างค่ะ

อ่อ กรุณาอยามาดราม่าในกระทู้นี้

ที่มาตั้งกระทู้เพราะเชื่อว่าคนในนี้เก่งๆเยอะ ข้อมูลเพียบ ทะเลาะถกเถียงกันมานาน ต้องรู้อะไรดีๆเยอะแน่ๆ เราต้องการข้อมูลล้วนๆ เพื่อการตัดสินใจ ข้อมูลเชิงลึก ไม่ขอให้มาทะเลาะหรือเถียงกัน เปลืองพื้นที่ และขอข้อมูลเยอะๆด้วยนะคะ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ขอบคุณค่ะ

ปล แล้วท่านคิดอย่างไรกับหลวงตามหาบัว คือเราก็เคารพมากอีกท่านหนึ่ง และสำนวนการพูดท่านค่อนข้างดุเดือด ที่คนไม่ชอบเพราะเรื่องนี้หรือเปล่าคะ หรือว่าเพราะอะไรกันแน่

แล้วถ้าท่านไม่ชอบพระอาจารย์พุทธทาสหรือหลวงตา รบกวนช่วยบอกเหตุผล และรบกวนช่วยบอกด้วยว่า ท่านนับถือพระอาจารย์ท่านไหน (ยกเว้นพระพุทธเจ้า) หรือพระองค์ไหนก็ได้ที่ท่านว่า ดี ไม่ต้องถึงขนาดเคารพแค่ท่านเห็นว่าดีก็พอ เราจะได้ไปหาคำสอนของพระรูปนั้นมาศึกษาดูค่ะ

ปล2 แก้ไขแท๊ก เพ่งรู้ว่ามีห้องท่านพุทธทาสอยู่ด้วย
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ถ้า จขกทบอกว่า " ในความรู้สึก ท่านนั้นท่านนี้ คือพระอรหันต์" ก็แสดงว่า ยังไม่เข้าใจธรรม ที่ท่านพุทธทาสสอน
เพราะถ้าเข้าใจ ก็จะไม่ไปมองว่า ใครเป็นอรหันต์


ท่านพุทธทาส ท่านสอนแต่แก่นธรรม เป้าหมายคือ  หลุดพ้นจากกายึดมั่นถือมั่นว่า ตัวกูของกู และนิพพาน ในชาตินี้
ท่านตัดเรื่อง อิทธิปาฏิหารย์ นรกสวรรค์ วัตถุ ที่ทำให้หลงไหลมัวเมายึดถือออก ว่า ไม่ใช่พุทธศาสตร์
จากการศึกษาของท่าน ท่านเห็นว่า ในพระไตรปิฎกมีของจริง และแปลกปลอมเข้ามา ตามกาลเวลา
ท่านสอนให้พิจารณาให้ดีว่า ไหนตรง ไหนอ้อม ไหนปลอมไม่มีสาระ



ส่วนคนที่เกลียดท่าน มักเป็นคนที่เป็นศิษย์มีอาจารย์ ที่สอนเรื่องพวกนี้ เช่น นรกสวรรค์  เข้าทรง พระเครื่อง พระธาตุต่างๆ
เขาก็เดือดแค้น เพราะมองว่าลบหลู่ ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งอาจารย์เขา เพราะเรื่องนรกสวรรค์มีในพระไตรปิฏกด้วย
เขาก็จะ ด่าๆๆ ท่านพุทธทาส แล้วก็พาลมาที่คนที่เข้าใจสิ่งที่ท่านพุทธทาสสอนด้วย

ส่วนเรา พอเข้าใจธรรมที่ท่านพุทธทาสสอน แล้วก็เทียบคำสอนที่เป็นพุทธพจน์ไปด้วย จะไม่เดือดร้อนเมื่อมีคนมาด่าท่านพุทธทาส
เพราะศึกษาแบบ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า ท่านพุททาสตัองถูกเสมอ
และมองว่า พวกเขา ที่ด่า มันก็เป็นเช่นนั้นเอง ของแต่ละคน

ส่วนหลวงตา.   ไม่ขอออกความเห็น
ความคิดเห็นที่ 26
พระพุทธองค์ทรงจำแนกสัตว์ตามอินทรีย์ จึงสอนเรื่องอนุพปุพิกถา
ปัญญาคนเราไม่เสมอกัน เพราะสั่งสมมาไม่เท่ากัน และเมื่อยังไม่ได้ถึงฝั่งซึ่งนิพพาน สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ ไม่ใช่ว่าจะไปแต่นิพพานกันหมด การสั่งสอนเรื่องนรก สวรรค์ ย่อมมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด เพราะหากสัตว์ได้ตกไปสู่อบายแล้ว โอกาสจะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ได้นั้น ยากเสียยิ่งกว่ายาก

การสั่งสอนให้คนให้ทาน มีศีล และเจริญภาวนา ก็เป็นไปโดยลำดับ
ส่วนท่านพุทธทาส ท่านได้ปฏิเสธนรก สวรรค์ คือตัดทิ้งออกไปเลย
ซึ่งคนจะเชื่อหรือไม่เชื่อนั้น เมื่อถึงคราวย่อมไปพิสูจน์กันเอง แต่หากปฏิเสธไปเลยเสียทีเดียวนั้น ผมว่าก็ไม่ควร ก็ในเมื่อเราๆ ท่านๆ ยังไม่ตาย และยังไม่มีใครได้รู้จริง การเชื่อไว้ก่อน โดยการดึงให้คนทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ย่อมยังประโยชน์ให้เกิด ทั้งตนเอง และผู้อื่น แต่ถ้าสอนว่าสิ่งนั้นไม่มี คนจะให้ทานน้อยลง คนจะไม่ยอมรักษาศีล ไม่เจริญภาวนา คิดดูว่า ถ้าไม่ทำเรื่องพวกนี้ จิตใจคนเราจะผ่องใส ไร้ทุกข์ได้อย่างไร

ลำพังแค่ การวางอุเบกขา แบบที่ท่านสอน ก็ดับทุกข์ได้จริง แต่ไม่ใช่ถาวร แม้แต่อุเบกขานั้น ก็ดับไป พระพุทธเจ้าทรงให้ภิกษุใช้เป็นวิหารธรรม เพื่อความสุขในทิฏธรรม เพื่อความไม่เบียดเบียนกันต่างหาก ไม่ใช่แค่ความว่างชั่วครั้ง ชั่วคราวแล้วจะพ้นทุกข์ไปเลย

ท่านพุทธทาสสอนสิ่งที่เหมาะกับยุคสมัย ก็จริงอยู่
แต่ก็ห่างจากพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันมาก
แม้ดูจากประวัติของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ที่เป็นอรหันต์สาวก ล้วนไม่มีใครเคยสอนแบบท่านพุทธทาสเลยสักองค์เดียว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่