ตะวันใกล้จะตกดิน : วาริชภูมิ สกลนคร
ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา จขกท. ได้เดินทางไปต่างจังหวัดทางภาคอีสาน ตั้งแต่อีสานเหนือยันอีสานใต้ พอเข้าเขตอีสานตั้งแต่
โคราช ขอนแก่น อุดรธานี เมื่อมองลงมาจากท้องฟ้าก็เห็นแต่ความแห้งแล้ง ผืนนา ห้วยหนอง คลองบึง ล้วนแล้วแต่เป็นสี
ขาวแห้งผากจากดินก้อนไถที่ถูกแดดเผา
แสงแดดเริ่มแรงกล้าร้อนระอุตั้งแต่ยังไม่ถึง 7 โมงเช้า คนเฒ่าคนแก่แถวหมู่บ้านของ จขกท. บอกว่า ปีนี้เป็นปี “อธิกมาส”
คือมีเดือนแปด 2 หน ปีไหนที่เป็นปีอธิกมาสนี้ ตามการสังเกตและความเชื่อของคนโบราณ ปกติก็จะเป็นปีที่แห้งแล้ง
กว่าปีธรรมดาอยู่แล้ว แต่อธิกมาสปีนี้แล้งหนักที่สุดในรอบ 30 ปีเลยทีเดียว (มิน่า ตั้งแต่เกิดมา จขกท.ถึงไม่เคยเจอแล้งจัด
ขนาดนี้มาก่อนแม้จะเกิดที่บ้านนอกก็ตาม อิอิ)
เตรียมพื้นที่ทำนาหว่าน
ปีนี้ที่บ้าน จขกท. ต้องหันมาปลูกข้าวนาหว่านแทนนาดำ เนื่องจากขาดแคลนน้ำ ปกติการปลูกข้าวนาดำจะใช้น้ำมาก
ทุกปีที่ผ่านมาแม้จะมีบางปีที่ฝนฟ้ามาล่า (ภาษาอีสาน)ไปบ้าง แต่ไม่เคยแห้งแล้ง ชาวนาลงข้าวนาปีพันธุ์ไวแสง
ก็ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย ขนไปจำนำในช่วงรัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ได้ราคาดีอย่างที่ไม่เคยได้มาก่อน พอลืมตา
อ้าปากคุยโวกับเค้าได้บ้าง
ก็ลองคิดดูเล่นๆ นาข้าวแค่ 20 ไร่ ได้ผลผลิตข้าว 12 ตัน หักค่าความชื้นประมาณ 20% ตกตันละ 13,000 บาท เท่ากับ
ปีนั้นชาวนาขายข้าวได้เงิน156,000 บาท ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมา ชาวนาแถวบ้าน จขกท. ไม่เคยขายข้าวได้เกินตันละ 8,000
บาท ถ้าคิดอย่างพ่อค้านักธุรกิจ เอาค่าต้นทุนการผลิตมาหักออกไปก็ขาดทุนป่นปี้ไม่มีเหลือ
ออกทริปครั้งนี้ จขกท. ต้องไปเก็บข้อมูลเรื่องการทำผ้าไหม จึงได้มีโอกาสไปทางอีสานใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทำข้าวนาหว่าน
ได้ผลผลิตดี จึงเป็นโอกาสดีที่ จขกท.จะได้สอบถามเก็บเกี่ยวเอาความรู้เพิ่มเติม แลกเปลี่ยนข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์
ความรู้ความสามารถ ในการทำนาหว่านโดยตรง ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง
ทุ่งข้าวนาดำช่วงเดือนเดียวกันเมื่อปีก่อนๆ
อย่างที่บอก ทางอีสานใต้ พื้นที่จะอยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ที่ในอดีตได้ชื่อว่าเป็นเขตที่ราบสูงที่แห้งแล้งที่สุดของประเทศ
คุณย่าของ จขกท. เคยเล่านิทานทุกุลาให้ฟังว่า ทำไมถึงได้ชื่อว่า ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ร้องไห้ก็เพราะว่าความแห้งแล้งนี่ล่ะ
เมือนายฮ้อย (พ่อค้าวัวควาย) ต้อนวัวต้อนควายจากเวียงจันทร์จะพาไปขายที่บางกอก ต้องผ่าน หนองคาย อุดรฯ สกลฯ
กาฬสินธุ์ พอย่างเข้าเขต ร้อยเอ็ด อุบลฯ สุรินทร์ ก็ต้องผ่านทุ่งราบที่แห้งแล้งแดดร้อนระอุ หาต้นไม้ใหญ่เป็นร่มเงาให้พักก็
ยากยิ่ง พื้นดินแตกระแหง หาแหล่งน้ำให้วัวควายกินก็ไม่มี
เดินทางมาไกลแสนไกล ทุกครั้งเมื่อต้องผ่านที่ราบแห่งนี้ เหล่านายฮ้อยทั้งหลายต้องวัดดวงว่า จะรอดหรือไม่ทั้งวัวควาย
ทั้งเจ้าของ เพราะเมื่อขาดน้ำดื่มกิน เหล่าวัวควายเหล่านั้นก็ระโหยโรยแรงและล้มตายลงในที่สุด จนเจ้าของต้องนั่งร้องไห้
เฝ้าซากวัวซากควายหรือแม้กระทั่งศพของญาติมิตรเพื่อนผูงที่ต้องมาสังเวยกับความแห้งแล้งทุรกันดารแสนหฤโหดนี้
พื้นที่ราบแห่งนี้ มันจึงได้ชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้”
ความแห้งแล้งทุรกันดารบนผืนดินที่ราบสูงภาคอีสานนี้มีมายาวนานจนกลายเป็นนิทานปรัมปราอย่างที่เล่ามา จนมาถึง
รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ได้สานต่อโครงการพระราชดำริ จึงได้มีโครงการ “อีสานเขียว”
ขึ้น เพื่อพลิกฟื้นความแห้งแล้งและหาพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยให้เกษตรกรชาวอีสาน โดยการ ขุดบ่อกักเก็บน้ำ เสริมคันคู
คลอง เลี้ยงวัว ปลูกป่า (ต้นยูคาลิปตัส ซึ่งจริงๆแล้ว ยูคาลิปตัส เป็นพืชที่ทำลายแร่ธาตุในดินมากกว่ารักษาดิน) ... ซึ่งก็คง
พอจะช่วยได้บ้าง (จขกท. พยายามจะหารายละเอียดของโครงการนี้มาเสริมให้เพื่อนสมาชิกแต่ก็ยังหาไม่ได้นะคะ)
ปัจจุบันนี้ ทุ่งกุลา ได้กลายเป็นพื้นที่ผลิตข้าวจ้าวหอมมะลิพันธุ์ดีที่สุดในโลกไปแล้วโดยการทำนาหว่าน
ท้องฟ้าหลังตะวันตกดิน : ศรีขอรภูมิ สุรินทร์
อย่างที่พูดไว้เมื่อตอนต้นว่า การทำนาหว่านนั้นใช้น้ำน้อยกว่าการทำนาดำมาก ขั้นตอนการทำนาก็ง่ายกว่า ต้นทุนที่ใช้
ก็น้อยกว่า แต่ผลผลิตที่ได้ยังไม่แน่ว่าเป็นยังไง คงต้องรอดูนาของ จขกท. ปีนี้ก่อน ถ้าปีนี้ทำนาหว่านแล้วได้ผลผลิตดี
จขกท. จะหันมาทำนาหว่านแทนการทำนาดำไปตลอดเลย
เห็นข่าวรัฐบาลกำลังแก้ปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศโดยการทุ่มเงินงบประมาณเกือบ 100 ล้านบาท เพื่อขุดเจาะน้ำบาดาล
กว่า 500 แห่ง เพื่อทำการเกษตรสู้ภัยแล้ง ก็ได้แต่เห็นใจ คือ ท่านคะ นู๋อยากจะบอกว่า น้ำบาดาลที่ท่านให้ขุดเจาะอยู่นี่
มันใช้ทดแทนน้ำฝนธรรมชาติได้ไม่กี่มากน้อยหรอกนะคะ น้ำบาดาลหนึ่งบ่อ นู๋คงทำไร่มะนาวได้ไม่ถึง 10 ไร่หรอกค่ะ
อย่างดีก็คงปลูกได้ซัก 100 ต้นแค่นั้นแหละ เพราะการปลูกมะนาวมันต้องใช้น้ำเยอะมากมันจึงจะได้ผล
อีกอย่าง การขุดเจาะน้ำบาดาลแต่ละบ่อนั้น มันขึ้นอยู่กับพื้นที่ด้วย ถ้าพื้นที่ไหนแห้งแล้งมากอย่างเช่นที่ดอน ที่เชิงเขา
จะหาน้ำยากมาก ต้องขุดลงไปลึกมาก น่าจะประมาณ 50 เมตรขึ้นไป ซึ่งต้องใช้ต้นทุนที่สูงมาก และ หากขุดลงไปเจอน้ำ
ก็จริง แต่หากยังไม่ใช่ตาน้ำจริงๆ (ซึ่งอยู่ลึกมากบางที่ก็ไม่มีตาน้ำ) แล้วล่ะก้อ จะได้น้ำขึ้นมาใช้แค่นิดหน่อยเท่านั้น เพราะ
มันคือน้ำจากดินชั้นบนเท่านั้นเอง ใช้ได้ไม่กี่ลิตรก็หมดแล้ว นู๋ละกลัวว่าท่านจะสูญเงินไปซะเปล่าๆ แต่นู๋ก็เห็นความ
พยายามของท่านนะคะ ก็ขอขอบคุณและชื่นชมที่ท่านยังนึกถึงเกษตรกรชาวไร่ชาวนาอย่างพวกเรา
ข้าวรอฝนจากทุ่งกุลา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.thairath.co.th/content/507360
จขกท. อยากเสนอแนะว่า รัฐบาลน่าจะส่งเสริมให้เกษตรกรขุดบ่อกักเก็บน้ำ ไว้ใช้เองน่าจะดีกว่า ปีนี้อาจจะไม่ทัน
แต่ปีหน้าและปีต่อๆไปก็ยังมี อาจจะจัดสรรเงินงบประมาณลงไปให้ในแต่ละตำบลซื้อรถแบ็คโคตำบลละกี่คันก็ว่าไป
เพื่อให้เกษตรกรเช่าไปขุดลอกบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้อย่างเพียงพอในราคาถูก หมุนเวียนกันไป น่าจะดีกว่าการขุดเจาะหาน้ำ
บาดาลอย่างที่กำลังทำอยู่นี้
จริงๆแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเรา เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและประชาชนส่วนใหญ่ก็เป็นเกษตรกรมาแต่ดั้งเดิมเป็น
หลัก ดังนั้น รัฐบาลควรให้ความสำคัญและไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง โปรดอย่ามองข้ามและพยายามเปลี่ยนไปเป็นแบบ
อื่นเลยค่ะ ทำไงได้ล่ะ เมื่อเรามาเกิดมาอยู่ในประเทศนี้แล้ว มันก็ควรเริ่มพัฒนาจากสิ่งที่เรามี เมื่อเราเป็นประเทศ
เกษตรกรรม เรื่องน้ำย่อมสำคัญมากและมีผลต่อผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง เมกกะโปรเจคทั้งหลายน่าจะมีเรื่อง
ของการพัฒนาแหล่งน้ำรวมอยู่ด้วย
ในสมัยนายกฯลุงสมัคร จขกท. แอบดีใจที่ท่านมีความคิดที่จะพัฒนาแหล่งน้ำ เชื่อมต่อคูคลอง เขื่อน และแม่น้ำสายต่างๆ
เข้าด้วยกัน และบังคับทิศทางการไหลของน้ำเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์อย่างเพียงพอ และ เป็นทางระบายน้ำได้
รวดเร็วเมื่อถึงฤดูน้ำหลากป้องกันน้ำท่วม ... แต่เสียดาย ที่ท่านได้จากไปและ ไม่มีใครคิดหยิบยกเรื่องนี้มาสานต่อให้สำเร็จ
ก็อยากให้รัฐบาลหันกลับมามองตรงนี้ จขกท. คิดว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศ ถ้าจัดการระบบน้ำ ระบบ
ชลประทานได้ดีแล้ว ปัญหาภัยแล้งก็จะไม่เกิด ปัญหาน้ำท่วมก็จะไม่เกิด พืชผลทางการเกษตรก็จะให้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็ม
หน่วยเต็มคุณภาพส่งออกขายได้ราคาดี เกษตรกรมีรายได้พอเพียงเลี้ยงชีพที่ยั่งยืน ....
ยิ น ดี ต้ อ น รั บ แ ล ะ ข อ บ คุ ณ ทุ ก ค ว า ม คิ ด เ ห็ น ค่ ะ
น้ำในบ่อเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งที่นาของ จขกท. ค่ะ
กรุณาติดตามกระทู้ของการเดินทางตอนต่อไปนะคะ
* * * * ส วั ส ดี . . ค ว า ม แ ห้ ง แ ล้ ง : ( เ พ ช ร น้ำ นิ ล ) * * * * *
ตะวันใกล้จะตกดิน : วาริชภูมิ สกลนคร
ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา จขกท. ได้เดินทางไปต่างจังหวัดทางภาคอีสาน ตั้งแต่อีสานเหนือยันอีสานใต้ พอเข้าเขตอีสานตั้งแต่
โคราช ขอนแก่น อุดรธานี เมื่อมองลงมาจากท้องฟ้าก็เห็นแต่ความแห้งแล้ง ผืนนา ห้วยหนอง คลองบึง ล้วนแล้วแต่เป็นสี
ขาวแห้งผากจากดินก้อนไถที่ถูกแดดเผา
แสงแดดเริ่มแรงกล้าร้อนระอุตั้งแต่ยังไม่ถึง 7 โมงเช้า คนเฒ่าคนแก่แถวหมู่บ้านของ จขกท. บอกว่า ปีนี้เป็นปี “อธิกมาส”
คือมีเดือนแปด 2 หน ปีไหนที่เป็นปีอธิกมาสนี้ ตามการสังเกตและความเชื่อของคนโบราณ ปกติก็จะเป็นปีที่แห้งแล้ง
กว่าปีธรรมดาอยู่แล้ว แต่อธิกมาสปีนี้แล้งหนักที่สุดในรอบ 30 ปีเลยทีเดียว (มิน่า ตั้งแต่เกิดมา จขกท.ถึงไม่เคยเจอแล้งจัด
ขนาดนี้มาก่อนแม้จะเกิดที่บ้านนอกก็ตาม อิอิ)
เตรียมพื้นที่ทำนาหว่าน
ปีนี้ที่บ้าน จขกท. ต้องหันมาปลูกข้าวนาหว่านแทนนาดำ เนื่องจากขาดแคลนน้ำ ปกติการปลูกข้าวนาดำจะใช้น้ำมาก
ทุกปีที่ผ่านมาแม้จะมีบางปีที่ฝนฟ้ามาล่า (ภาษาอีสาน)ไปบ้าง แต่ไม่เคยแห้งแล้ง ชาวนาลงข้าวนาปีพันธุ์ไวแสง
ก็ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย ขนไปจำนำในช่วงรัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ได้ราคาดีอย่างที่ไม่เคยได้มาก่อน พอลืมตา
อ้าปากคุยโวกับเค้าได้บ้าง
ก็ลองคิดดูเล่นๆ นาข้าวแค่ 20 ไร่ ได้ผลผลิตข้าว 12 ตัน หักค่าความชื้นประมาณ 20% ตกตันละ 13,000 บาท เท่ากับ
ปีนั้นชาวนาขายข้าวได้เงิน156,000 บาท ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมา ชาวนาแถวบ้าน จขกท. ไม่เคยขายข้าวได้เกินตันละ 8,000
บาท ถ้าคิดอย่างพ่อค้านักธุรกิจ เอาค่าต้นทุนการผลิตมาหักออกไปก็ขาดทุนป่นปี้ไม่มีเหลือ
ออกทริปครั้งนี้ จขกท. ต้องไปเก็บข้อมูลเรื่องการทำผ้าไหม จึงได้มีโอกาสไปทางอีสานใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทำข้าวนาหว่าน
ได้ผลผลิตดี จึงเป็นโอกาสดีที่ จขกท.จะได้สอบถามเก็บเกี่ยวเอาความรู้เพิ่มเติม แลกเปลี่ยนข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์
ความรู้ความสามารถ ในการทำนาหว่านโดยตรง ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง
ทุ่งข้าวนาดำช่วงเดือนเดียวกันเมื่อปีก่อนๆ
อย่างที่บอก ทางอีสานใต้ พื้นที่จะอยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ที่ในอดีตได้ชื่อว่าเป็นเขตที่ราบสูงที่แห้งแล้งที่สุดของประเทศ
คุณย่าของ จขกท. เคยเล่านิทานทุกุลาให้ฟังว่า ทำไมถึงได้ชื่อว่า ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ร้องไห้ก็เพราะว่าความแห้งแล้งนี่ล่ะ
เมือนายฮ้อย (พ่อค้าวัวควาย) ต้อนวัวต้อนควายจากเวียงจันทร์จะพาไปขายที่บางกอก ต้องผ่าน หนองคาย อุดรฯ สกลฯ
กาฬสินธุ์ พอย่างเข้าเขต ร้อยเอ็ด อุบลฯ สุรินทร์ ก็ต้องผ่านทุ่งราบที่แห้งแล้งแดดร้อนระอุ หาต้นไม้ใหญ่เป็นร่มเงาให้พักก็
ยากยิ่ง พื้นดินแตกระแหง หาแหล่งน้ำให้วัวควายกินก็ไม่มี
เดินทางมาไกลแสนไกล ทุกครั้งเมื่อต้องผ่านที่ราบแห่งนี้ เหล่านายฮ้อยทั้งหลายต้องวัดดวงว่า จะรอดหรือไม่ทั้งวัวควาย
ทั้งเจ้าของ เพราะเมื่อขาดน้ำดื่มกิน เหล่าวัวควายเหล่านั้นก็ระโหยโรยแรงและล้มตายลงในที่สุด จนเจ้าของต้องนั่งร้องไห้
เฝ้าซากวัวซากควายหรือแม้กระทั่งศพของญาติมิตรเพื่อนผูงที่ต้องมาสังเวยกับความแห้งแล้งทุรกันดารแสนหฤโหดนี้
พื้นที่ราบแห่งนี้ มันจึงได้ชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้”
ความแห้งแล้งทุรกันดารบนผืนดินที่ราบสูงภาคอีสานนี้มีมายาวนานจนกลายเป็นนิทานปรัมปราอย่างที่เล่ามา จนมาถึง
รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ได้สานต่อโครงการพระราชดำริ จึงได้มีโครงการ “อีสานเขียว”
ขึ้น เพื่อพลิกฟื้นความแห้งแล้งและหาพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยให้เกษตรกรชาวอีสาน โดยการ ขุดบ่อกักเก็บน้ำ เสริมคันคู
คลอง เลี้ยงวัว ปลูกป่า (ต้นยูคาลิปตัส ซึ่งจริงๆแล้ว ยูคาลิปตัส เป็นพืชที่ทำลายแร่ธาตุในดินมากกว่ารักษาดิน) ... ซึ่งก็คง
พอจะช่วยได้บ้าง (จขกท. พยายามจะหารายละเอียดของโครงการนี้มาเสริมให้เพื่อนสมาชิกแต่ก็ยังหาไม่ได้นะคะ)
ปัจจุบันนี้ ทุ่งกุลา ได้กลายเป็นพื้นที่ผลิตข้าวจ้าวหอมมะลิพันธุ์ดีที่สุดในโลกไปแล้วโดยการทำนาหว่าน
ท้องฟ้าหลังตะวันตกดิน : ศรีขอรภูมิ สุรินทร์
อย่างที่พูดไว้เมื่อตอนต้นว่า การทำนาหว่านนั้นใช้น้ำน้อยกว่าการทำนาดำมาก ขั้นตอนการทำนาก็ง่ายกว่า ต้นทุนที่ใช้
ก็น้อยกว่า แต่ผลผลิตที่ได้ยังไม่แน่ว่าเป็นยังไง คงต้องรอดูนาของ จขกท. ปีนี้ก่อน ถ้าปีนี้ทำนาหว่านแล้วได้ผลผลิตดี
จขกท. จะหันมาทำนาหว่านแทนการทำนาดำไปตลอดเลย
เห็นข่าวรัฐบาลกำลังแก้ปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศโดยการทุ่มเงินงบประมาณเกือบ 100 ล้านบาท เพื่อขุดเจาะน้ำบาดาล
กว่า 500 แห่ง เพื่อทำการเกษตรสู้ภัยแล้ง ก็ได้แต่เห็นใจ คือ ท่านคะ นู๋อยากจะบอกว่า น้ำบาดาลที่ท่านให้ขุดเจาะอยู่นี่
มันใช้ทดแทนน้ำฝนธรรมชาติได้ไม่กี่มากน้อยหรอกนะคะ น้ำบาดาลหนึ่งบ่อ นู๋คงทำไร่มะนาวได้ไม่ถึง 10 ไร่หรอกค่ะ
อย่างดีก็คงปลูกได้ซัก 100 ต้นแค่นั้นแหละ เพราะการปลูกมะนาวมันต้องใช้น้ำเยอะมากมันจึงจะได้ผล
อีกอย่าง การขุดเจาะน้ำบาดาลแต่ละบ่อนั้น มันขึ้นอยู่กับพื้นที่ด้วย ถ้าพื้นที่ไหนแห้งแล้งมากอย่างเช่นที่ดอน ที่เชิงเขา
จะหาน้ำยากมาก ต้องขุดลงไปลึกมาก น่าจะประมาณ 50 เมตรขึ้นไป ซึ่งต้องใช้ต้นทุนที่สูงมาก และ หากขุดลงไปเจอน้ำ
ก็จริง แต่หากยังไม่ใช่ตาน้ำจริงๆ (ซึ่งอยู่ลึกมากบางที่ก็ไม่มีตาน้ำ) แล้วล่ะก้อ จะได้น้ำขึ้นมาใช้แค่นิดหน่อยเท่านั้น เพราะ
มันคือน้ำจากดินชั้นบนเท่านั้นเอง ใช้ได้ไม่กี่ลิตรก็หมดแล้ว นู๋ละกลัวว่าท่านจะสูญเงินไปซะเปล่าๆ แต่นู๋ก็เห็นความ
พยายามของท่านนะคะ ก็ขอขอบคุณและชื่นชมที่ท่านยังนึกถึงเกษตรกรชาวไร่ชาวนาอย่างพวกเรา
ข้าวรอฝนจากทุ่งกุลา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จขกท. อยากเสนอแนะว่า รัฐบาลน่าจะส่งเสริมให้เกษตรกรขุดบ่อกักเก็บน้ำ ไว้ใช้เองน่าจะดีกว่า ปีนี้อาจจะไม่ทัน
แต่ปีหน้าและปีต่อๆไปก็ยังมี อาจจะจัดสรรเงินงบประมาณลงไปให้ในแต่ละตำบลซื้อรถแบ็คโคตำบลละกี่คันก็ว่าไป
เพื่อให้เกษตรกรเช่าไปขุดลอกบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้อย่างเพียงพอในราคาถูก หมุนเวียนกันไป น่าจะดีกว่าการขุดเจาะหาน้ำ
บาดาลอย่างที่กำลังทำอยู่นี้
จริงๆแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเรา เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและประชาชนส่วนใหญ่ก็เป็นเกษตรกรมาแต่ดั้งเดิมเป็น
หลัก ดังนั้น รัฐบาลควรให้ความสำคัญและไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง โปรดอย่ามองข้ามและพยายามเปลี่ยนไปเป็นแบบ
อื่นเลยค่ะ ทำไงได้ล่ะ เมื่อเรามาเกิดมาอยู่ในประเทศนี้แล้ว มันก็ควรเริ่มพัฒนาจากสิ่งที่เรามี เมื่อเราเป็นประเทศ
เกษตรกรรม เรื่องน้ำย่อมสำคัญมากและมีผลต่อผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง เมกกะโปรเจคทั้งหลายน่าจะมีเรื่อง
ของการพัฒนาแหล่งน้ำรวมอยู่ด้วย
ในสมัยนายกฯลุงสมัคร จขกท. แอบดีใจที่ท่านมีความคิดที่จะพัฒนาแหล่งน้ำ เชื่อมต่อคูคลอง เขื่อน และแม่น้ำสายต่างๆ
เข้าด้วยกัน และบังคับทิศทางการไหลของน้ำเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์อย่างเพียงพอ และ เป็นทางระบายน้ำได้
รวดเร็วเมื่อถึงฤดูน้ำหลากป้องกันน้ำท่วม ... แต่เสียดาย ที่ท่านได้จากไปและ ไม่มีใครคิดหยิบยกเรื่องนี้มาสานต่อให้สำเร็จ
ก็อยากให้รัฐบาลหันกลับมามองตรงนี้ จขกท. คิดว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศ ถ้าจัดการระบบน้ำ ระบบ
ชลประทานได้ดีแล้ว ปัญหาภัยแล้งก็จะไม่เกิด ปัญหาน้ำท่วมก็จะไม่เกิด พืชผลทางการเกษตรก็จะให้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็ม
หน่วยเต็มคุณภาพส่งออกขายได้ราคาดี เกษตรกรมีรายได้พอเพียงเลี้ยงชีพที่ยั่งยืน ....
ยิ น ดี ต้ อ น รั บ แ ล ะ ข อ บ คุ ณ ทุ ก ค ว า ม คิ ด เ ห็ น ค่ ะ
น้ำในบ่อเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งที่นาของ จขกท. ค่ะ
กรุณาติดตามกระทู้ของการเดินทางตอนต่อไปนะคะ