กระบวนการยุติธรรมญี่ปุ่นไม่อ่อนแอ
และไม่เลือกปฏิบัติเหมือนของไทยนะครับ
ถ้าเหตุเกิดเมืองไทย ผู้ต้องหาประกันตัวไปง่าย
แล้วหนีออกนอกประเทศไปแล้ว (โดยไม่มีมาตรการที่ดีในการป้องกันไม่ให้หนี)
เรื่องการตามจับตัวกลับมาจากต่างประเทศไม่ต้องพูดถึง
แค่ริบเงินประกันตัว แล้วเก็บเรื่องเงียบไว้
กระบวนการยุติธรรมไทยก็พอใจแล้ว
ทุกวันนี้ยังไม่มีการเก็บสถิติของแต่ละหน่วยงานเลย
ว่าคนที่ประกันตัวแล้วหนีประกัน มีจำนวนเท่าไหร่
รู้แต่ว่าเยอะมาก เยอะจริงๆ ฝรั่งหนีเกือบทุกคน
แต่เรื่องจำนวนตัวเลขเท่าไหร่นั้น เป็นความลับดำมืดมาตลอด
แม้แต่คนให้ประกันเอง ก็ยังไม่อยากรู้เลยว่าหนีประกันไปเท่าไหร่
หนีแล้วอยู่ในประเทศ หรือหนีออกนอกประเทศ
ไม่มีระบบว่าเมื่อหนีแล้วจะจัดการติดตามกลับมาลงโทษได้อย่างไร
ใครต้องรับผิดชอบ ทั้งเรื่องการป้องกัน การแจ้งเรื่อง การติดตาม
และเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหลายทั้งปวงในการติดตาม
เรื่องหนีประกันเป็นตัวชี้วัดคุณภาพและความสามารถ
ของกระบวนการยุติธรรมไทยในการจัดการกับผู้กระทำผิด
แต่เรื่องนี้กลับไม่มีผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมสนใจแก้ปัญหาเลย
ปัญหาถูกหมักหมมมาตลอดยาวนานหลายสิบปีอย่างไม่น่าเชื่อ
ไม่มีแม้กระทั่งตัวเลข สถิติ ว่ามีการหลบหนีประกันไปเท่าไหร่
ชั้นไหน ในข้อหาอะไรบ้าง
ไม่น่าเชื่อจริงๆ ว่าทำไมไม่มีข้อมูลเลย
เมื่อไม่มีข้อมูล ตัวเลข สถิติ แล้วจะมองเห็นปัญหาได้อย่างไร
จะมีวิธีการแก้ปัญหากันอย่างไรให้ได้ผล
หรือปล่อยกันไปวันวันตามยถากรรม ใครหนีก็ช่างอย่างนั้นหรือ
ในระดับนานาชาติ เขาเน้นวิธีคิดกันที่ long arm of the law
ของไทยเราปล่อยให้เป็น short arm of the law
กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยจึงถูกมองจากต่างประเทศว่า
ประสิทธิภาพต่ำ อ่อนแอ ไม่สามารถคุ้มครองสังคมได้อย่างจริงจัง
ลงโทษได้แต่คนจนที่ไม่มีปัญญาหนี กับผู้ต้องหายาเสพติดเท่านั้น
(เรื่องยาเสพติด ก็เป็นเพราะถูกฝรั่งบีบต่อเนื่องมาหลายสิบปี
จนผู้มีอำนาจไม่ค่อยกล้าให้ประกัน กลัวเข้าตัว ไม่งั้นก็คงหนีอีกเยอะ)
จริงหรือไม่? ลองคิดดู
คิดอย่างไรกับการปล่อยให้มีการประกันตัว แล้วผู้ต้องหาก็หนี...
และไม่เลือกปฏิบัติเหมือนของไทยนะครับ
ถ้าเหตุเกิดเมืองไทย ผู้ต้องหาประกันตัวไปง่าย
แล้วหนีออกนอกประเทศไปแล้ว (โดยไม่มีมาตรการที่ดีในการป้องกันไม่ให้หนี)
เรื่องการตามจับตัวกลับมาจากต่างประเทศไม่ต้องพูดถึง
แค่ริบเงินประกันตัว แล้วเก็บเรื่องเงียบไว้
กระบวนการยุติธรรมไทยก็พอใจแล้ว
ทุกวันนี้ยังไม่มีการเก็บสถิติของแต่ละหน่วยงานเลย
ว่าคนที่ประกันตัวแล้วหนีประกัน มีจำนวนเท่าไหร่
รู้แต่ว่าเยอะมาก เยอะจริงๆ ฝรั่งหนีเกือบทุกคน
แต่เรื่องจำนวนตัวเลขเท่าไหร่นั้น เป็นความลับดำมืดมาตลอด
แม้แต่คนให้ประกันเอง ก็ยังไม่อยากรู้เลยว่าหนีประกันไปเท่าไหร่
หนีแล้วอยู่ในประเทศ หรือหนีออกนอกประเทศ
ไม่มีระบบว่าเมื่อหนีแล้วจะจัดการติดตามกลับมาลงโทษได้อย่างไร
ใครต้องรับผิดชอบ ทั้งเรื่องการป้องกัน การแจ้งเรื่อง การติดตาม
และเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหลายทั้งปวงในการติดตาม
เรื่องหนีประกันเป็นตัวชี้วัดคุณภาพและความสามารถ
ของกระบวนการยุติธรรมไทยในการจัดการกับผู้กระทำผิด
แต่เรื่องนี้กลับไม่มีผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมสนใจแก้ปัญหาเลย
ปัญหาถูกหมักหมมมาตลอดยาวนานหลายสิบปีอย่างไม่น่าเชื่อ
ไม่มีแม้กระทั่งตัวเลข สถิติ ว่ามีการหลบหนีประกันไปเท่าไหร่
ชั้นไหน ในข้อหาอะไรบ้าง
ไม่น่าเชื่อจริงๆ ว่าทำไมไม่มีข้อมูลเลย
เมื่อไม่มีข้อมูล ตัวเลข สถิติ แล้วจะมองเห็นปัญหาได้อย่างไร
จะมีวิธีการแก้ปัญหากันอย่างไรให้ได้ผล
หรือปล่อยกันไปวันวันตามยถากรรม ใครหนีก็ช่างอย่างนั้นหรือ
ในระดับนานาชาติ เขาเน้นวิธีคิดกันที่ long arm of the law
ของไทยเราปล่อยให้เป็น short arm of the law
กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยจึงถูกมองจากต่างประเทศว่า
ประสิทธิภาพต่ำ อ่อนแอ ไม่สามารถคุ้มครองสังคมได้อย่างจริงจัง
ลงโทษได้แต่คนจนที่ไม่มีปัญญาหนี กับผู้ต้องหายาเสพติดเท่านั้น
(เรื่องยาเสพติด ก็เป็นเพราะถูกฝรั่งบีบต่อเนื่องมาหลายสิบปี
จนผู้มีอำนาจไม่ค่อยกล้าให้ประกัน กลัวเข้าตัว ไม่งั้นก็คงหนีอีกเยอะ)
จริงหรือไม่? ลองคิดดู