"วิชาดาบอาทมาฏเป็นของสมเด็จพระนเรศวรฯ เป็นวิชาที่รวดเร็ว รุนแรง และอันตรายมาก คนที่จะหัดได้ต้องมีจรรยาบรรณ ห้ามไปทะเลาะเบาะแว้งกับใคร เพราะอาจตีเขาตาย โดยเฉพาะวิชาตัดข้อตัดเอ็น ซึ่งเป็นวิชาสูงสุดของอาทมาฏ คือไม่มีการฟันดาบ แต่มุ่งฟันข้อต่อของร่างกาย"ครูมาโนทย์ บุญญมัด--ครูฝึกประจำสำนัก "สำนักดาบอาทมาฏนเรศวร" ย่านสาธร กรุงเทพมหานคร กล่าว
ครูมาโนทย์กล่าวว่า แม้ตัวเขาเรียนวิชาดาบมาหลายสำนักแล้ว แต่เมื่อได้เห็นวิชาดาบของครูต่างถิ่นท่านหนึ่ง ก็ถึงกับตื่นเต้นและฉงนสนเท่ห์ นี่คือจุดเริ่มต้นที่เขาได้รู้จักวิชาดาบอาทมาฏ
"ตอนนั้นผมอายุสิบกว่าปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมที่โรงเรียนพุทธชินราช และเป็นครูฝึกดาบสายพุทไธสวรรค์ให้กับนักเรียนรุ่นน้อง ก็ได้ข่าวว่ามีครูดาบฝีมือดีจากทางเหนือมาสอนอยู่ที่โรงเรียนเซนต์นิโคลัส เมื่อได้ไปดูท่านฝึกซ้อมแล้วรู้สึกเป็นเรื่องที่แปลกมาก ครูท่านนั้นอายุประมาณ ๔๐ กว่า ท่านใช้วิชาดาบสองมือ ที่สำคัญคือท่านเป็นคนขาเป๋ แต่พอฟันดาบท่านมีความรวดเร็วมาก คู่ฝึกซ้อมที่เป็นคนขาดีจะรับก็รับไม่ทัน หนีก็หนีไม่พ้น จะฟันก็ตามท่านไม่ทัน แล้วท่าดาบของท่านก็แปลกๆ มีการยกแข้งยกขา เหินตัว มีการกระโดด การฉาก ผิดกับวิชาสำนักอื่นที่ผมเรียนมา ซึ่งส่วนมากจะวิ่งตรง ถอยตรง"
"ผมจึงไปฝากตัวเป็นศิษย์ ได้ทราบว่าท่านชื่อครูสุริยา และวิชาดาบสองมือที่ท่านใช้เรียกว่าวิชาดาบอาทมาฏ ผมเรียนดาบกับท่านอยู่สามปี ฝึกซ้อมทั้งกลางวันกลางคืน ระหว่างนั้นครูสุริยาได้เล่าประวัติของวิชาดาบอาทมาฏให้ฟังว่า เดิมวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของตำราพิชัยสงครามซึ่งถูกฉีกออกก่อนสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก นำไปเก็บรักษาไว้ทางภาคเหนือ แล้วส่งมอบให้กับสมเด็จพระนเรศวรฯ เมื่อพระองค์เสด็จกลับจากเป็นตัวประกันที่พม่า มาครองเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระนเรศวรฯได้ใช้วิชานี้ฝึกสอนผู้คนที่ซ่องสุมไว้ เข้าป่าเข้ารกฝึกกัน โดยพระองค์และพระเอกาทศรศทรงเป็นครูฝึกเอง เพื่อเตรียมพร้อมทำสงครามกับพม่า"
ครูมาโนทย์เล่าต่อว่า"คนที่จะเป็นทหารของสมเด็จพระนเรศวรฯได้ต้องเป็นคนที่มีฝีมือ ครูสุริยายังเล่าว่า กองทหารที่ใช้วิชาดาบอาทมาฏ ก็คือกองอาทมาฏ ทหารของกองนี้ยังเป็นคนรักษาเท้าช้างในยามสงคราม ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญมาก เพราะถ้าช้างทรงเจ็บ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่อยู่ข้างบนจะตกที่นั่งลำบาก ดูตอนที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งพม่า มีแต่คนคุมเท้าช้างเท่านั้นที่ตามทัน ที่ครูเล่ามีเท่านี้"
"ที่บอกว่าวิชาดาบอาทมาฏเป็นวิชาดาบของทหารกองอาทมาฏ ซึ่งมีหน้าที่รักษาเท้าช้างพระที่นั่งคชาธารของกษัตริย์ไม่ให้ได้รับอันตราย สิ่งที่ช่วยยืนยันอย่างหนึ่งก็คือเรื่องหลักวิชา อย่างท่าเท้า ๔ ทิศ ๘ แฉก การเคลื่อนที่จะอยู่ในลักษณะวนเป็นวง ฟันแล้วก็จะพลิกเหลี่ยมเข้าสู่ที่เดิม ออกไปได้ก็ไม่ไกล คือจะวนเวียนอยู่ใกล้ๆ เท้าช้าง ต่างจากหลักวิชาสำนักอื่นที่เน้นการเดินตรง ถอยตรง ถ้าเดินฟันไปสิบก้าวก็ไม่รู้ห่างจากเท้าช้างเท่าไหร่ ถอยกลับมาป้องกันคงไม่ทัน วิชาพวกนี้น่าจะเป็นของหน่วยทะลวงฟัน คือลุยอย่างเดียว"เป็นคำกล่าวของครูมาโนทย์
สารคดียาวพอสมควรคะ เอามาลงไม่หมด เอามาเฉพาะใจความสำคัญที่เราสนใจ ถ้าใครสนใจตามไปอ่านเลย... ที่มา :
http://www.sarakadee.com/feature/2003/05/arthamaat.htm
หัวใจ ของเคล็ดวิชาดาบอาทมาฏที่ว่า "ท่าฟันคือท่ารับ ท่ารับคือท่าฟัน"
แม่ไม้ทั้ง ๓ ท่า
ท่า "คลุมไตรภพ" มีความหมายตามชื่อของมัน ไตรภพหมายถึงสวรรค์ มนุษย์ นรก เปรียบได้กับส่วนบน กลาง ล่างของร่างกาย หมายความว่าท่านี้สามารถปกคลุม ป้องกันทุกส่วนของร่างกายได้หมด
ท่า "ตลบสิงขร" ดาบซ้ายขวาวาดวนในระดับเอวเป็นวงรูปเลขแปดอาระบิคในแนวนอน
ท่า "ย้อนฟองสมุทร" ดาบทั้งสองข้างวาดเป็นรูปเลขแปดอาระบิคแนวตั้ง ทว่าต่างจากท่า "คลุมไตรภพ" ตรงที่ ในท่านี้ดาบทั้งสองมือวาดเป็นเลขแปดสองตัวต่อกันจากล่างขึ้นบน ขณะวาดดาบก็มีการโล้ตัวไปข้างหน้าและหลังด้วย
ลำดับต่อจากแม่ไม้ ๓ ท่า ก็คือ ๑๒ ท่าไม้รำ ซึ่งมีชื่อเรียกแบบโบราณ ได้แก่ ท่าไม้รำเสือลากหาง ฟันเงื้อสีดา หงษ์ปีกหัก ท่ายักษ์ พระรามแผลงศร เชิญเทียนตัดเทียน มอญส่องกล้อง ลับหอกลับดาบ ช้างประสานงา กาล้วงไส้ พญาครุฑยุดนาค เรียงหมอน และท่าสอดสร้อยมาลา
อาจเปรียบเทียบได้อีกอย่างว่าวิชาดาบอาทมาฏคล้ายดอกไม้ไฟ มันแตกออกจากจุดศูนย์กลางเป็นประกายแสงสี ยิ่งแตกออกไปวงแล้ววงเล่า ก็ยิ่งพร่างพรายลายตา ทว่ายิ่งสวยงามก็ยิ่งอันตราย เพราะมันหมายถึงทางดาบที่ยิ่งพลิกแพลงยากคาดเดา
ปล.ไม่รู้เราเป็นคนเดียวหรือเปล่า เวลาดูฉากต่อสู้ด้วยดาบอาทมาฏของหลวงสุรบดินทร์ แล้วรู้สึกว่าเท่ห์มาก คือเราชอบย้อนดูฉากรบ ฉากฟันดาบ ดูแล้วรู้สึกภูมิใจในศาสตร์การต่อสู้ของบรรพบุรุษไทย เลยไปค้นหาดูว่าคือวิชาดาบอะไร เจอมาแบบนี้เลยเอามาแชร์เผื่อใครสนใจอ่านคะ วิชาดาบโบราณของไทยเราขลังและมีคุณค่าควรแก่การสืบสานต่อจริงๆ
วิชาดาบอาทมาฏ...วิชาดาบคู่กายหลวงสุรบดินทร์...แห่งข้าบดินทร์
"วิชาดาบอาทมาฏเป็นของสมเด็จพระนเรศวรฯ เป็นวิชาที่รวดเร็ว รุนแรง และอันตรายมาก คนที่จะหัดได้ต้องมีจรรยาบรรณ ห้ามไปทะเลาะเบาะแว้งกับใคร เพราะอาจตีเขาตาย โดยเฉพาะวิชาตัดข้อตัดเอ็น ซึ่งเป็นวิชาสูงสุดของอาทมาฏ คือไม่มีการฟันดาบ แต่มุ่งฟันข้อต่อของร่างกาย"ครูมาโนทย์ บุญญมัด--ครูฝึกประจำสำนัก "สำนักดาบอาทมาฏนเรศวร" ย่านสาธร กรุงเทพมหานคร กล่าว
ครูมาโนทย์กล่าวว่า แม้ตัวเขาเรียนวิชาดาบมาหลายสำนักแล้ว แต่เมื่อได้เห็นวิชาดาบของครูต่างถิ่นท่านหนึ่ง ก็ถึงกับตื่นเต้นและฉงนสนเท่ห์ นี่คือจุดเริ่มต้นที่เขาได้รู้จักวิชาดาบอาทมาฏ
"ตอนนั้นผมอายุสิบกว่าปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมที่โรงเรียนพุทธชินราช และเป็นครูฝึกดาบสายพุทไธสวรรค์ให้กับนักเรียนรุ่นน้อง ก็ได้ข่าวว่ามีครูดาบฝีมือดีจากทางเหนือมาสอนอยู่ที่โรงเรียนเซนต์นิโคลัส เมื่อได้ไปดูท่านฝึกซ้อมแล้วรู้สึกเป็นเรื่องที่แปลกมาก ครูท่านนั้นอายุประมาณ ๔๐ กว่า ท่านใช้วิชาดาบสองมือ ที่สำคัญคือท่านเป็นคนขาเป๋ แต่พอฟันดาบท่านมีความรวดเร็วมาก คู่ฝึกซ้อมที่เป็นคนขาดีจะรับก็รับไม่ทัน หนีก็หนีไม่พ้น จะฟันก็ตามท่านไม่ทัน แล้วท่าดาบของท่านก็แปลกๆ มีการยกแข้งยกขา เหินตัว มีการกระโดด การฉาก ผิดกับวิชาสำนักอื่นที่ผมเรียนมา ซึ่งส่วนมากจะวิ่งตรง ถอยตรง"
"ผมจึงไปฝากตัวเป็นศิษย์ ได้ทราบว่าท่านชื่อครูสุริยา และวิชาดาบสองมือที่ท่านใช้เรียกว่าวิชาดาบอาทมาฏ ผมเรียนดาบกับท่านอยู่สามปี ฝึกซ้อมทั้งกลางวันกลางคืน ระหว่างนั้นครูสุริยาได้เล่าประวัติของวิชาดาบอาทมาฏให้ฟังว่า เดิมวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของตำราพิชัยสงครามซึ่งถูกฉีกออกก่อนสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก นำไปเก็บรักษาไว้ทางภาคเหนือ แล้วส่งมอบให้กับสมเด็จพระนเรศวรฯ เมื่อพระองค์เสด็จกลับจากเป็นตัวประกันที่พม่า มาครองเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระนเรศวรฯได้ใช้วิชานี้ฝึกสอนผู้คนที่ซ่องสุมไว้ เข้าป่าเข้ารกฝึกกัน โดยพระองค์และพระเอกาทศรศทรงเป็นครูฝึกเอง เพื่อเตรียมพร้อมทำสงครามกับพม่า"
ครูมาโนทย์เล่าต่อว่า"คนที่จะเป็นทหารของสมเด็จพระนเรศวรฯได้ต้องเป็นคนที่มีฝีมือ ครูสุริยายังเล่าว่า กองทหารที่ใช้วิชาดาบอาทมาฏ ก็คือกองอาทมาฏ ทหารของกองนี้ยังเป็นคนรักษาเท้าช้างในยามสงคราม ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญมาก เพราะถ้าช้างทรงเจ็บ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่อยู่ข้างบนจะตกที่นั่งลำบาก ดูตอนที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งพม่า มีแต่คนคุมเท้าช้างเท่านั้นที่ตามทัน ที่ครูเล่ามีเท่านี้"
"ที่บอกว่าวิชาดาบอาทมาฏเป็นวิชาดาบของทหารกองอาทมาฏ ซึ่งมีหน้าที่รักษาเท้าช้างพระที่นั่งคชาธารของกษัตริย์ไม่ให้ได้รับอันตราย สิ่งที่ช่วยยืนยันอย่างหนึ่งก็คือเรื่องหลักวิชา อย่างท่าเท้า ๔ ทิศ ๘ แฉก การเคลื่อนที่จะอยู่ในลักษณะวนเป็นวง ฟันแล้วก็จะพลิกเหลี่ยมเข้าสู่ที่เดิม ออกไปได้ก็ไม่ไกล คือจะวนเวียนอยู่ใกล้ๆ เท้าช้าง ต่างจากหลักวิชาสำนักอื่นที่เน้นการเดินตรง ถอยตรง ถ้าเดินฟันไปสิบก้าวก็ไม่รู้ห่างจากเท้าช้างเท่าไหร่ ถอยกลับมาป้องกันคงไม่ทัน วิชาพวกนี้น่าจะเป็นของหน่วยทะลวงฟัน คือลุยอย่างเดียว"เป็นคำกล่าวของครูมาโนทย์
สารคดียาวพอสมควรคะ เอามาลงไม่หมด เอามาเฉพาะใจความสำคัญที่เราสนใจ ถ้าใครสนใจตามไปอ่านเลย... ที่มา : http://www.sarakadee.com/feature/2003/05/arthamaat.htm
แม่ไม้ทั้ง ๓ ท่า
ท่า "คลุมไตรภพ" มีความหมายตามชื่อของมัน ไตรภพหมายถึงสวรรค์ มนุษย์ นรก เปรียบได้กับส่วนบน กลาง ล่างของร่างกาย หมายความว่าท่านี้สามารถปกคลุม ป้องกันทุกส่วนของร่างกายได้หมด
ท่า "ตลบสิงขร" ดาบซ้ายขวาวาดวนในระดับเอวเป็นวงรูปเลขแปดอาระบิคในแนวนอน
ท่า "ย้อนฟองสมุทร" ดาบทั้งสองข้างวาดเป็นรูปเลขแปดอาระบิคแนวตั้ง ทว่าต่างจากท่า "คลุมไตรภพ" ตรงที่ ในท่านี้ดาบทั้งสองมือวาดเป็นเลขแปดสองตัวต่อกันจากล่างขึ้นบน ขณะวาดดาบก็มีการโล้ตัวไปข้างหน้าและหลังด้วย
ลำดับต่อจากแม่ไม้ ๓ ท่า ก็คือ ๑๒ ท่าไม้รำ ซึ่งมีชื่อเรียกแบบโบราณ ได้แก่ ท่าไม้รำเสือลากหาง ฟันเงื้อสีดา หงษ์ปีกหัก ท่ายักษ์ พระรามแผลงศร เชิญเทียนตัดเทียน มอญส่องกล้อง ลับหอกลับดาบ ช้างประสานงา กาล้วงไส้ พญาครุฑยุดนาค เรียงหมอน และท่าสอดสร้อยมาลา
อาจเปรียบเทียบได้อีกอย่างว่าวิชาดาบอาทมาฏคล้ายดอกไม้ไฟ มันแตกออกจากจุดศูนย์กลางเป็นประกายแสงสี ยิ่งแตกออกไปวงแล้ววงเล่า ก็ยิ่งพร่างพรายลายตา ทว่ายิ่งสวยงามก็ยิ่งอันตราย เพราะมันหมายถึงทางดาบที่ยิ่งพลิกแพลงยากคาดเดา
ปล.ไม่รู้เราเป็นคนเดียวหรือเปล่า เวลาดูฉากต่อสู้ด้วยดาบอาทมาฏของหลวงสุรบดินทร์ แล้วรู้สึกว่าเท่ห์มาก คือเราชอบย้อนดูฉากรบ ฉากฟันดาบ ดูแล้วรู้สึกภูมิใจในศาสตร์การต่อสู้ของบรรพบุรุษไทย เลยไปค้นหาดูว่าคือวิชาดาบอะไร เจอมาแบบนี้เลยเอามาแชร์เผื่อใครสนใจอ่านคะ วิชาดาบโบราณของไทยเราขลังและมีคุณค่าควรแก่การสืบสานต่อจริงๆ