MBKET BMCL : Comment ข่าว การควบรวม (BMCL&BECL)
เป็นเรื่องปกติในการควบรวมกิจการ (M&A) ที่จะต้องผ่านการตรวจสอบรายละเอียดจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะ กลต.(SEC) , ตลท.(SET) , คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, (BOI) กรมสรรพากร, กระทวงพาณิชย์ , การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (รฟม) , การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) , คู่สัญญา และเจ้าหนี้ต่างๆ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องทั้งในแง่กฏหมาย ประโยชน์ / โทษ ที่จะเกิดขึ้นต่อภาครัฐและเอกชน ฉะนั้นเราไม่แปลกใจกับข่าวที่ออกมาแต่อย่างใด เพราะการตรวจสอบครั้งนี้ต้องอยู่ในแผนการควบรวมอยู่แล้ว และเชื่อว่าการควบรวมจะผ่านไปด้วยดี เพียงแต่ต้องใช้เวลาตรวจสอบ (คาดบริษัทใหม่ BEM เข้าเทรดเดือนกันยายน 2558)
เรามองว่าการควบรวมในครั้งนี้ ไม่เพียงรัฐจะไม่เสียประโยชน์แต่อย่างใด แต่กลับเป็นประโชยน์ทางตรงต่อประเทศและประชาชนในอนาคต
การทางพิเศษ / การรถไฟฟ้าขนส่งมวงชน (รัฐได้ประโยชน์ ) >>> รฟม.จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับ 2 ในบริษัทฯใหม่ และได้รับส่วนแบ่งสัมปทาน (Remuneration) ส่วน กทพ.ก็ได้รับ Rev –sharing ในค่าโดยสารทางด่วน
รัฐ ประหยัดค่าใช่จ่าย >>> ปัจจุบันเป็นที่ทราบว่าหนี้สินระดับประเทศอยู่ในระดับสูง (Public debt /GDP) อีกทั้งหลายโครงการในอดีตทีรัฐเป็นผู้ลงทุนเองจะล่าช้า, ติดปัญหาหลายด้าน และประสิทธิภาพไม่สูง เมื่อเทียบกับรูปแบบเอกชนร่วมลงทุน (PPP) ดังนั้นการควบรวมกิจการของ BEM ในครั้งนี้ จะทำให้เอกชนมีความเข้มแข็งมากขึ้นและสามารถช่วยรัฐบาลพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศเข้า (International bidding) ตามนโบบายหลักของ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง >>> ปัจจุบันเราเชื่อว่าในประเทศไทยแทบไม่มีบริษัทใดที่มีทั้งความสามารถ (Know-how) และความพร้อมเงินทุน (Capital ) ในการรับงานรถไฟฟ้ารางคู่ได้ แต่ในอนาคตเราเชื่อว่า BEM จะเป็นหนึ่งในตัวเลือกดังกล่าว
ประชาชนได้ใช้บริการทางคมนาคม ไม่ว่าจะรถไฟฟ้า, ทางด่วน และอื่นๆ ได้รวดเร็วขึ้น บนอัตราค่าบริการเดิม (คืนความสุข)
(!!)ตัวอย่างการควบรวม PTTGC
Case PTTGC (เกิดจากการควบรวมระหว่าง PTTAR และ PTTCH ) ประกาศควบรวมกิจการในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งตอนนั้นก็โดนตรสจสอบในลักษณะเดียวกัน อย่างไรก็ตามบริษัทฯก็ผ่านการควบรวมด้วยดี และใช้เวลาประมาณ 8เดือน เพื่อผ่านขั้นตอนอนุมัติและเข้าเทรดในวันที่ 21 ตุลาคม 2554
#MBKET
bmcl becl
เป็นเรื่องปกติในการควบรวมกิจการ (M&A) ที่จะต้องผ่านการตรวจสอบรายละเอียดจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะ กลต.(SEC) , ตลท.(SET) , คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, (BOI) กรมสรรพากร, กระทวงพาณิชย์ , การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (รฟม) , การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) , คู่สัญญา และเจ้าหนี้ต่างๆ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องทั้งในแง่กฏหมาย ประโยชน์ / โทษ ที่จะเกิดขึ้นต่อภาครัฐและเอกชน ฉะนั้นเราไม่แปลกใจกับข่าวที่ออกมาแต่อย่างใด เพราะการตรวจสอบครั้งนี้ต้องอยู่ในแผนการควบรวมอยู่แล้ว และเชื่อว่าการควบรวมจะผ่านไปด้วยดี เพียงแต่ต้องใช้เวลาตรวจสอบ (คาดบริษัทใหม่ BEM เข้าเทรดเดือนกันยายน 2558)
เรามองว่าการควบรวมในครั้งนี้ ไม่เพียงรัฐจะไม่เสียประโยชน์แต่อย่างใด แต่กลับเป็นประโชยน์ทางตรงต่อประเทศและประชาชนในอนาคต
การทางพิเศษ / การรถไฟฟ้าขนส่งมวงชน (รัฐได้ประโยชน์ ) >>> รฟม.จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับ 2 ในบริษัทฯใหม่ และได้รับส่วนแบ่งสัมปทาน (Remuneration) ส่วน กทพ.ก็ได้รับ Rev –sharing ในค่าโดยสารทางด่วน
รัฐ ประหยัดค่าใช่จ่าย >>> ปัจจุบันเป็นที่ทราบว่าหนี้สินระดับประเทศอยู่ในระดับสูง (Public debt /GDP) อีกทั้งหลายโครงการในอดีตทีรัฐเป็นผู้ลงทุนเองจะล่าช้า, ติดปัญหาหลายด้าน และประสิทธิภาพไม่สูง เมื่อเทียบกับรูปแบบเอกชนร่วมลงทุน (PPP) ดังนั้นการควบรวมกิจการของ BEM ในครั้งนี้ จะทำให้เอกชนมีความเข้มแข็งมากขึ้นและสามารถช่วยรัฐบาลพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศเข้า (International bidding) ตามนโบบายหลักของ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง >>> ปัจจุบันเราเชื่อว่าในประเทศไทยแทบไม่มีบริษัทใดที่มีทั้งความสามารถ (Know-how) และความพร้อมเงินทุน (Capital ) ในการรับงานรถไฟฟ้ารางคู่ได้ แต่ในอนาคตเราเชื่อว่า BEM จะเป็นหนึ่งในตัวเลือกดังกล่าว
ประชาชนได้ใช้บริการทางคมนาคม ไม่ว่าจะรถไฟฟ้า, ทางด่วน และอื่นๆ ได้รวดเร็วขึ้น บนอัตราค่าบริการเดิม (คืนความสุข)
(!!)ตัวอย่างการควบรวม PTTGC
Case PTTGC (เกิดจากการควบรวมระหว่าง PTTAR และ PTTCH ) ประกาศควบรวมกิจการในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งตอนนั้นก็โดนตรสจสอบในลักษณะเดียวกัน อย่างไรก็ตามบริษัทฯก็ผ่านการควบรวมด้วยดี และใช้เวลาประมาณ 8เดือน เพื่อผ่านขั้นตอนอนุมัติและเข้าเทรดในวันที่ 21 ตุลาคม 2554
#MBKET