บันทึกของผู้เฒ่า (๔๐)
พระไชสุริยา
พอย่างเข้าเดือนมิถุนายน ของทุกปี ก็มีการรำลึกถึง ท่านสุนทรภู่ ทั้งนี้ก็เพราะว่าใกล้จะถึงวันของมหากวีแห่งกรุงศรีรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้เคยบันทึกไว้ว่า
.....................เมื่อถึงเดือนมิถุนายน ผู้ที่สนใจในวรรณคดีไทย ก็จะนึกถึงบรมครู ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญชำนาญกลอน ชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง แขวงเมืองระยอง อันมีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๔ ท่านผู้นี้คือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือที่รู้จักกันดีในนาม สุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ตามพระราชนิพนธ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า สุนทรภู่เกิดเมื่อ วันจันทร์ ขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนแปด ปีมะเมีย ตรงกับ พ.ศ.๒๓๒๙ และถึงแก่กรรมเมื่อ ปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๗๐ ปี ท่านได้ทิ้งผลงานไว้ในบ้านเมืองมากมาย มีทั้ง นิราศ นิทาน สุภาษิต บทละคร บทเห่กล่อม และบทเสภา ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายก็คือนิทานคำกลอนเรื่อง พระอภัยมณี ซึ่งมีความยาวถึง ๙๔ เล่มสมุดไทย
ความดีวิเศษของงานทุกแบบของสุนทรภู่ นั้น ได้มีผู้กล่าวขวัญสรรเสริญกันมาแล้วมากมาย โดยเฉพาะตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๙ ซึ่งครบรอบ ๒๐๐ ปีของท่านสุนทรภู่ เป็นต้นมา แต่มีผลงานอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ค่อยจะได้รับการกล่าวถึงเลย นั่นคือกาพย์เรื่อง พระไชยสุริยา ซึ่งเป็นแบบสอนหนังสือไทยเล่มแรกที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มใช้เป็นแบบเรียนของเด็กไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๔๑๔ แต่ก็ได้เลิกใช้ไปเมื่อประมาณกว่า ๗๐ ปีมาแล้ว จึงไม่ค่อยมีผู้รู้จักกันแพร่หลายเท่าใดนัก
หนังสือแบบเรียนนี้ชื่อ มูลบทบรรพกิจ เรียบเรียงโดยท่าน พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เริ่มตั้งแต่แยกอักษร ๓ หมู่ คืออักษรกลาง อักษรสูง และ อักษรต่ำ การผันด้วยวรรณยุกต์ เอก โท ตรี จัตวา แล้วจึงผสมตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา คือไม่มีตัวสะกด แม่กน แม่กง แม่กก แม่กด แม่กบ แม่กม แม่เกย ซึ่งสะกดด้วยอักษร น ง ก ด บ ม และ ย
ทั้ง ๘ บทนี้ สุนทรภู่ได้แต่งกาพย์เรื่องพระไชยสุริยาเทียบไว้เป็นตัวอย่างในการผสมอักษร กับสระ และตัวสะกด เรียงในแต่ละบทเป็นเรื่อง ที่ไม่ยาวนัก
เนื้อหาของเรื่องพระไชยสุริยามีอยู่ว่า มีพระนครอยู่แห่งหนึ่งชื่อ กรุงสาวะถี กาลครั้งนั้นเมืองนี้ได้เกิดอุทกภัย อย่างใหญ่หลวง มีน้ำป่าท่วมบ้านเมืองจนล่มจมทะเลไป ไม่มีที่จะอยู่อาศัย พระเจ้ากรุงสาวะถี กับมเหสี ได้ลงเรือสำเภาลำใหญ่ท่องไปในท้องทะเล พร้อมด้วยเสนามหาอำมาตย์ ข้าราชบริพารและสาวสนมกำนัลนางมากมาย แต่สำเภานั้นก็ถูกพายุใหญ่พัดกระหน่ำ จนเรือแตกล่มจมน้ำไปอีก ผู้คนที่อาศัยมากับเรือ ก็กระจัดกระจายพลัดพรากจากกันไปคนละทิศ
ส่วนใหญ่ก็จมน้ำตาย หรือไม่ตกเป็นอาหารของสัตว์ร้ายในทะเล ไปจนหมดสิ้น เหลืออยู่แต่พระเจ้ากรุงสาวะถีกับมเหสี ที่ลอยคอมาขึ้นที่เกาะแห่งหนึ่ง เพียงลำพังสองพระองค์ ต้องทนทุกข์ยากลำบากกันอยู่พักหนึ่ง จนรู้ไปถึงพระดาบสซึ่งบำเพ็ญเพียรอยู่บนยอดเขา จึงลงมาเทศน์โปรดเจ้ากรุงสาวะถีและมเหสี ให้รู้สึกผิดชอบชั่วดี จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ในพระธรรมคำสอน จึงพากันบวชเป็นดาบส ถือศีลประพฤติพรหมจรรย์ ละกิเลสทั้งปวง จนได้สำเร็จ ขึ้นสวรรค์ไปในที่สุด
เนื้อความที่น่าสนใจอย่างยิ่ง อยู่ที่บทแรกคือ ความอาเพทและเหตุร้ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกรุงสาวะถี ก่อนที่ภัยพิบัติจะมาถึง จนบ้านเมืองต้องล่มจมลงใต้ท้องทะเล เช่นเดียวกับเมืองปอมเปอีของฝรั่งอย่างแทบจะไม่ผิดเพี้ยน .....................
เมื่อมาถึงเดือนมิถุนายน หนังสือมูลบทพรรพกิจ โดยเฉพาะกาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ก็จะเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงท่านสุนทรภู่ มหากวีศรีรัตนโกสินทร์ ในวันที่ ๒๖ ซึ่งจะบรรจบครบรอบ ๑๒๔ ปีกว่าของท่านพอดี.
###########
บทที่ ๑ กาพย์ ยานี ๑๑
@ สะธุสะจะขอไหว้ พระศรีตรัยสรณา
พ่อแม่แลครูบา เทวดาในราษี
ข้าเจ้าเอา ก ข เข้ามาต่อ ก กา มี
แก้ไขในเท่านี้ ดีมิดีอย่าตรีชา
@ จะร่ำคำต่อไป พอล่อใจกุมารา
ธรณีมีราชา เจ้าภาราสาวะถี
ชื่อพระไชยสุริยา มีสุดามเหสี
ชื่อว่าสุมาลี อยู่บุรีไม่มีภัย
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา มีกิริยาอัธฌาศรัย
พ่อค้ามาแต่ไกล ได้อาศัยในภารา
ไพร่ฟ้าประชาชี ชาวบุรีก็ปรีดา
ทำไร่เขาไถนา ได้ข้าวปลาแลสาลี
@ อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดีดี ทำมะโหรีที่เคหา
ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา
หาได้ให้ภริยา โลโภพาให้บ้าใจ
ไม่จำคำพระเจ้า เหไปเข้าภาษาไสย
ถือดีมีข้าไท ฉ้อแต่ไพร่ใส่ขื่อคา
คดีที่มีคู่ คือไก่หมูเจ้าสุภา
ใครเอาข้าวปลามา ให้สุภาก็ว่าดี
ที่แพ้แก้ชนะ ไม่ถือพระประเวณี
ขี้ฉ้อก็ได้ดี ไล่ด่าตีมีอาญา
ที่ซื่อถือพระเจ้า ว่าโง่เง่าเต่าปูปลา
ผู้เฒ่าเหล่าเมธา ว่าใบ้บ้าสา
@ ภิกษุสมณะ เล่าก็ละพระสัทธรรม
คาถาว่าลำนำ ไปเรร่ำทำเฉโก
ไม่จำคำผู้ใหญ่ ศีรษะไม้ใจโยโส
ที่ดีมีอะโข ข้าขอโมทนาไป
ภาราสาวะถี ใครไม่มีปราณีใคร
ดุดื้อถือแต่ใจ ทีใครได้ใส่เอาพอ
ผู้ที่มีฝีมือ ทำดุดื้อไม่ซื้อขอ
ไล่คว้าผ้าที่คอ อะไรล่อก็เอาไป
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา มิได้ว่าหมู่ข้าไท
ถือน้ำร่ำเข้าไป แต่น้ำใจไม่นำพา
หาได้ใครหาเอา ไพร่ฟ้าเศร้าเปล่าอุรา
ผู้ที่มีอาญา ไล่ตีด่าไม่ปราณี
ผีป่ามากระทำ มรณกรรมชาวบุรี
น้ำป่าเข้าธานี ก็ไม่มีที่อาศัย
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา หนีไปหาภาราไกล
ชีบาล่าลี้ไป ไม่มีใครในธานี.
เพียงบทเดียวที่ยกมานี้ ก็เป็นเครื่องยืนยันแล้วว่า ท่านสุนทรภู่ นั้นแต่งกาพย์ได้ไม่แพ้กลอนเหมือนกัน บทเรียนนี้ได้สอนกันมานานกว่าร้อยปีก่อน เด็กไทยที่เคยเล่าเรียนแบบสอนหนังสือไทยมูลบทบรรพกิจนี้ ในปัจจุบันคงจะเหลืออยู่น้อยเต็มที เพราะได้เลิกใช้เป็นแบบเรียนไปพร้อม ๆ กับที่ได้เริ่มการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้น ในประเทศไทย
ดังนั้นจึงไม่น่าจะแปลกใจว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้เห็นอยู่ในสมัยนี้ ก็มิได้ ผิดแผกไปจากที่เคยได้เกิดขึ้น ในพาราสาวะถีมาแล้ว เมื่ออดีตกาล จึงต้องขอสรรเสริญท่าน สุนทรภู่ มหากวีศรีรัตนโกสินทร์ ในการที่ได้มี วิสัยทัศน์อันกว้างไกลเหลือประมาณ และขอเสนอไว้ให้แก่เด็กและผู้ใหญ่ในวันนี้ ที่ยังไม่เคยได้อ่านกาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ไว้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ ณ โอกาส ครบรอบ ๒๒๙ ปี ของท่านสุนทรภู่ ในเดือนนี้.
พระไชยสุริยา ๒๔ มิ.ย.๕๘
พระไชสุริยา
พอย่างเข้าเดือนมิถุนายน ของทุกปี ก็มีการรำลึกถึง ท่านสุนทรภู่ ทั้งนี้ก็เพราะว่าใกล้จะถึงวันของมหากวีแห่งกรุงศรีรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้เคยบันทึกไว้ว่า
.....................เมื่อถึงเดือนมิถุนายน ผู้ที่สนใจในวรรณคดีไทย ก็จะนึกถึงบรมครู ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญชำนาญกลอน ชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง แขวงเมืองระยอง อันมีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๔ ท่านผู้นี้คือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือที่รู้จักกันดีในนาม สุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ตามพระราชนิพนธ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า สุนทรภู่เกิดเมื่อ วันจันทร์ ขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนแปด ปีมะเมีย ตรงกับ พ.ศ.๒๓๒๙ และถึงแก่กรรมเมื่อ ปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๗๐ ปี ท่านได้ทิ้งผลงานไว้ในบ้านเมืองมากมาย มีทั้ง นิราศ นิทาน สุภาษิต บทละคร บทเห่กล่อม และบทเสภา ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายก็คือนิทานคำกลอนเรื่อง พระอภัยมณี ซึ่งมีความยาวถึง ๙๔ เล่มสมุดไทย
ความดีวิเศษของงานทุกแบบของสุนทรภู่ นั้น ได้มีผู้กล่าวขวัญสรรเสริญกันมาแล้วมากมาย โดยเฉพาะตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๙ ซึ่งครบรอบ ๒๐๐ ปีของท่านสุนทรภู่ เป็นต้นมา แต่มีผลงานอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ค่อยจะได้รับการกล่าวถึงเลย นั่นคือกาพย์เรื่อง พระไชยสุริยา ซึ่งเป็นแบบสอนหนังสือไทยเล่มแรกที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มใช้เป็นแบบเรียนของเด็กไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๔๑๔ แต่ก็ได้เลิกใช้ไปเมื่อประมาณกว่า ๗๐ ปีมาแล้ว จึงไม่ค่อยมีผู้รู้จักกันแพร่หลายเท่าใดนัก
หนังสือแบบเรียนนี้ชื่อ มูลบทบรรพกิจ เรียบเรียงโดยท่าน พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เริ่มตั้งแต่แยกอักษร ๓ หมู่ คืออักษรกลาง อักษรสูง และ อักษรต่ำ การผันด้วยวรรณยุกต์ เอก โท ตรี จัตวา แล้วจึงผสมตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา คือไม่มีตัวสะกด แม่กน แม่กง แม่กก แม่กด แม่กบ แม่กม แม่เกย ซึ่งสะกดด้วยอักษร น ง ก ด บ ม และ ย
ทั้ง ๘ บทนี้ สุนทรภู่ได้แต่งกาพย์เรื่องพระไชยสุริยาเทียบไว้เป็นตัวอย่างในการผสมอักษร กับสระ และตัวสะกด เรียงในแต่ละบทเป็นเรื่อง ที่ไม่ยาวนัก
เนื้อหาของเรื่องพระไชยสุริยามีอยู่ว่า มีพระนครอยู่แห่งหนึ่งชื่อ กรุงสาวะถี กาลครั้งนั้นเมืองนี้ได้เกิดอุทกภัย อย่างใหญ่หลวง มีน้ำป่าท่วมบ้านเมืองจนล่มจมทะเลไป ไม่มีที่จะอยู่อาศัย พระเจ้ากรุงสาวะถี กับมเหสี ได้ลงเรือสำเภาลำใหญ่ท่องไปในท้องทะเล พร้อมด้วยเสนามหาอำมาตย์ ข้าราชบริพารและสาวสนมกำนัลนางมากมาย แต่สำเภานั้นก็ถูกพายุใหญ่พัดกระหน่ำ จนเรือแตกล่มจมน้ำไปอีก ผู้คนที่อาศัยมากับเรือ ก็กระจัดกระจายพลัดพรากจากกันไปคนละทิศ
ส่วนใหญ่ก็จมน้ำตาย หรือไม่ตกเป็นอาหารของสัตว์ร้ายในทะเล ไปจนหมดสิ้น เหลืออยู่แต่พระเจ้ากรุงสาวะถีกับมเหสี ที่ลอยคอมาขึ้นที่เกาะแห่งหนึ่ง เพียงลำพังสองพระองค์ ต้องทนทุกข์ยากลำบากกันอยู่พักหนึ่ง จนรู้ไปถึงพระดาบสซึ่งบำเพ็ญเพียรอยู่บนยอดเขา จึงลงมาเทศน์โปรดเจ้ากรุงสาวะถีและมเหสี ให้รู้สึกผิดชอบชั่วดี จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ในพระธรรมคำสอน จึงพากันบวชเป็นดาบส ถือศีลประพฤติพรหมจรรย์ ละกิเลสทั้งปวง จนได้สำเร็จ ขึ้นสวรรค์ไปในที่สุด
เนื้อความที่น่าสนใจอย่างยิ่ง อยู่ที่บทแรกคือ ความอาเพทและเหตุร้ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกรุงสาวะถี ก่อนที่ภัยพิบัติจะมาถึง จนบ้านเมืองต้องล่มจมลงใต้ท้องทะเล เช่นเดียวกับเมืองปอมเปอีของฝรั่งอย่างแทบจะไม่ผิดเพี้ยน .....................
เมื่อมาถึงเดือนมิถุนายน หนังสือมูลบทพรรพกิจ โดยเฉพาะกาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ก็จะเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงท่านสุนทรภู่ มหากวีศรีรัตนโกสินทร์ ในวันที่ ๒๖ ซึ่งจะบรรจบครบรอบ ๑๒๔ ปีกว่าของท่านพอดี.
###########
บทที่ ๑ กาพย์ ยานี ๑๑
@ สะธุสะจะขอไหว้ พระศรีตรัยสรณา
พ่อแม่แลครูบา เทวดาในราษี
ข้าเจ้าเอา ก ข เข้ามาต่อ ก กา มี
แก้ไขในเท่านี้ ดีมิดีอย่าตรีชา
@ จะร่ำคำต่อไป พอล่อใจกุมารา
ธรณีมีราชา เจ้าภาราสาวะถี
ชื่อพระไชยสุริยา มีสุดามเหสี
ชื่อว่าสุมาลี อยู่บุรีไม่มีภัย
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา มีกิริยาอัธฌาศรัย
พ่อค้ามาแต่ไกล ได้อาศัยในภารา
ไพร่ฟ้าประชาชี ชาวบุรีก็ปรีดา
ทำไร่เขาไถนา ได้ข้าวปลาแลสาลี
@ อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดีดี ทำมะโหรีที่เคหา
ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา
หาได้ให้ภริยา โลโภพาให้บ้าใจ
ไม่จำคำพระเจ้า เหไปเข้าภาษาไสย
ถือดีมีข้าไท ฉ้อแต่ไพร่ใส่ขื่อคา
คดีที่มีคู่ คือไก่หมูเจ้าสุภา
ใครเอาข้าวปลามา ให้สุภาก็ว่าดี
ที่แพ้แก้ชนะ ไม่ถือพระประเวณี
ขี้ฉ้อก็ได้ดี ไล่ด่าตีมีอาญา
ที่ซื่อถือพระเจ้า ว่าโง่เง่าเต่าปูปลา
ผู้เฒ่าเหล่าเมธา ว่าใบ้บ้าสา
@ ภิกษุสมณะ เล่าก็ละพระสัทธรรม
คาถาว่าลำนำ ไปเรร่ำทำเฉโก
ไม่จำคำผู้ใหญ่ ศีรษะไม้ใจโยโส
ที่ดีมีอะโข ข้าขอโมทนาไป
ภาราสาวะถี ใครไม่มีปราณีใคร
ดุดื้อถือแต่ใจ ทีใครได้ใส่เอาพอ
ผู้ที่มีฝีมือ ทำดุดื้อไม่ซื้อขอ
ไล่คว้าผ้าที่คอ อะไรล่อก็เอาไป
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา มิได้ว่าหมู่ข้าไท
ถือน้ำร่ำเข้าไป แต่น้ำใจไม่นำพา
หาได้ใครหาเอา ไพร่ฟ้าเศร้าเปล่าอุรา
ผู้ที่มีอาญา ไล่ตีด่าไม่ปราณี
ผีป่ามากระทำ มรณกรรมชาวบุรี
น้ำป่าเข้าธานี ก็ไม่มีที่อาศัย
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา หนีไปหาภาราไกล
ชีบาล่าลี้ไป ไม่มีใครในธานี.
เพียงบทเดียวที่ยกมานี้ ก็เป็นเครื่องยืนยันแล้วว่า ท่านสุนทรภู่ นั้นแต่งกาพย์ได้ไม่แพ้กลอนเหมือนกัน บทเรียนนี้ได้สอนกันมานานกว่าร้อยปีก่อน เด็กไทยที่เคยเล่าเรียนแบบสอนหนังสือไทยมูลบทบรรพกิจนี้ ในปัจจุบันคงจะเหลืออยู่น้อยเต็มที เพราะได้เลิกใช้เป็นแบบเรียนไปพร้อม ๆ กับที่ได้เริ่มการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้น ในประเทศไทย
ดังนั้นจึงไม่น่าจะแปลกใจว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้เห็นอยู่ในสมัยนี้ ก็มิได้ ผิดแผกไปจากที่เคยได้เกิดขึ้น ในพาราสาวะถีมาแล้ว เมื่ออดีตกาล จึงต้องขอสรรเสริญท่าน สุนทรภู่ มหากวีศรีรัตนโกสินทร์ ในการที่ได้มี วิสัยทัศน์อันกว้างไกลเหลือประมาณ และขอเสนอไว้ให้แก่เด็กและผู้ใหญ่ในวันนี้ ที่ยังไม่เคยได้อ่านกาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ไว้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ ณ โอกาส ครบรอบ ๒๒๙ ปี ของท่านสุนทรภู่ ในเดือนนี้.