🇺🇸🇺🇸🇺🇸สงครามประกาศอิสรภาพ การหลุดพ้นจากเครือจักรภพอันเกรียงไกร (สหรัฐอเมริกา)🇺🇸🇺🇸🇺🇸

กระทู้คำถาม
ขอบคุณ : www.myfirstbrain.com และ Google

สงครามประกาศอิสรภาพอเมริกัน (ค.ศ.1775)


"คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส" นักสำรวจชาวอิตาลี รับมอบหมายจากราชสำนักสเปนออกเดินทางสำรวจโลก โดยมีเป้าหมายคือทวีปเอเชีย แต่ออกเดินทางไปทิศตะวันตกของยุโรป ด้วยความเชื่อที่ว่าโลกกลม ทำให้เขาได้ค้นพบทวีปอเมริกาในปี ค.ศ.1492 และหลังจากนั้นราวร้อยปีชาวยุโรปหลายชาติ เช่น สเปน โปรตุเกส อังกฤษ ฝรั่งเศส ดัตช์ เป็นต้น ก็ได้เดินทางมาตั้งรกรากในดินแดนใหม่แห่งนี้ โดยทำสงครามขับไล่ "ชาวอินเดียนแดง" (Indian) เผ่าต่างๆ ที่เป็นชนพื้นเมืองออกไป


(ซ้าย) อาณานิคมของยุโรปในทวีปอเมริกา ค.ศ.1750, (ขวา) สีแดงเข้มคือสิบสามอาณานิคมอังกฤษ ค.ศ.1775

รัฐบาลอังกฤษส่งคนในปกครองโดยเฉพาะนักโทษและทาสผิวดำชาวแอฟริกันเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามแนวชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก แล้วขยายไปผนวกดินแดนที่เคยอยู่ในปกครองของชาวยุโรปชาติอื่น จนสามารถจัดตั้ง "สิบสามอาณานิคม" (Thirteen Colonies) ของอังกฤษขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือได้ระหว่างปี ค.ศ.1607 - 1733 โดยประกอบไปด้วย

เวอร์จิเนีย (Virginia) ค.ศ.1607

แมรีแลนด์ (Maryland) ค.ศ.1632

คอนเนตทิคัต (Connecticut) ค.ศ.1636

โรดไอแลนด์ (Rhode Island) ค.ศ.1636

เดลาแวร์ (Delaware) ค.ศ.1664

นิวเจอร์ซีย์ (New Jersey) ค.ศ.1664

นิวยอร์ก (New York) ค.ศ.1665

เพนซิลวาเนีย (Pennsylvania) ค.ศ.1681

นิวแฮมป์เชียร์ (New Hampshire) ค.ศ.1691

แมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) ค.ศ.1692

นอร์ทแคโรไลนา (North Carolina) ค.ศ.1712

เซาท์แคโรไลนา (South Carolina) ค.ศ.1712

จอร์เจีย (Georgia) ค.ศ.1732

ชาวอเมริกันบุกทำลายใบชาของอังกฤษที่บอสตัน. ที่มาของ Boston  tea party

จำนวนประชากรในสิบสามอาณานิคมจาก 2,000 คนในปี ค.ศ.1625 เพิ่มมาเป็น 2,400,000 คนในปี ค.ศ.1775 โดยราว 300,000 คนเป็นทาสชาวแอฟริกัน รัฐบาลอังกฤษใช้นโยบายการปกครองที่ไม่เป็นธรรมต่อชาวอาณานิคม ประกอบกับแนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพของ "จอห์น ล็อก" (John Locke) นักปรัชญาชาวอังกฤษ ได้เป็นที่แพร่หลายในทวีปอเมริกา ทำให้ชาวอาณานิคมเริ่มลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลอังกฤษ โดยเรียกร้องว่า การถูกรัฐบาลอังกฤษเก็บภาษีโดยที่ไม่เปิดโอกาสให้พวกเขามีตัวแทนเข้าทำหน้าที่ในรัฐสภาของอังกฤษ ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และพวกเขายังได้ต่อต้านกฎหมายอีกหลายฉบับที่ออกโดยรัฐบาลอังกฤษด้วย

จนกระทั่งเกิด "กรณีการเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน" (Boston Tea Party) ในปี ค.ศ.1773 โดยก่อนหน้านั้นรัฐบาลอังกฤษส่งเสริมให้ชาวอาณานิคมปลูกชาขายกันอย่างกว้างขวาง แต่ต่อมา "บริษัทอินเดียตะวันออก" (East India Company) ของรัฐบาลอังกฤษ ประสบปัญหาการเงินเพราะราคาใบชาในตลาดโลกสูงมากจนขายไม่ออก รัฐบาลอังกฤษจึงออกกฎหมายลดภาษีใบชา ซึ่งทำให้พ่อค้าใบชาในสิบสามอาณานิคมได้รับผลกระทบอย่างหนัก จนกระทั่งในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ.1773 ชาวอาณานิคมที่บอสตันราว 100 คน ได้ปลอมตัวเป็นชนเผ่าพื้นเมือง บุกขึ้นเรือสินค้า 3 ลำของรัฐบาลอังกฤษ แล้วโยนหีบใบชาทิ้งทะเล ทำให้รัฐบาลอังกฤษส่งทหารเข้าปราบปราม และกลายเป็นชนวนเหตุของสงครามเพื่อประกาศอิสรภาพของชาวอเมริกัน

ชาวอาณานิคมส่งตัวแทนเข้าร่วมการประชุม "สภาภาคพื้นทวีป" (Continental Congress) ครั้งแรกในปี ค.ศ.1774 เพื่อเตรียมการปฏิวัติอเมริกัน ฝ่ายรัฐบาลอังกฤษส่ง "โทมัส เกจ" (Thomas Gage) นายพลชาวอังกฤษ นำทหารเข้ายึดอาวุธของฝ่ายอาณานิคมในเดือนเมษายน ค.ศ.1775 แต่ถูกตอบโต้โดยทหารอาสาสมัครในท้องถิ่น ดังนั้นในเดือนถัดมาซึ่งมีการประชุมสภาภาคพื้นทวีปครั้งที่ 2 ที่ประชุมจึงลงมติจัดตั้ง "กองทัพภาคพื้นทวีป" (Continental Army) โดยมอบหมายให้ "จอร์จ วอชิงตัน" (George Washington) นายทหารที่เป็นตัวแทนของอาณานิคมเวอร์จิเนีย ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพภาคพื้นทวีป

"พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร" (George III) ทรงแต่งตั้ง "วิลเลียม โฮว์" (William Howe) เป็นผู้บัญชาการกองทัพปราบกบฏอาณานิคม ระดมทหารบกและทหารเรืออังกฤษร่วมกับทหารพันธมิตรชาติเยอรมันและชนพื้นเมืองบางเผ่าในทวีปอเมริกาเป็นกองทัพขนาดประมาณ 320,000 นาย ในขณะที่ฝ่ายอาณานิคมประกอบไปด้วยทหารของกองทัพภาคพื้นทวีปร่วมกับทหารพันธมิตรชาติฝรั่งเศส สเปน ดัตช์ และชนพื้นเมืองบางเผ่าในทวีปอเมริกาเหนือเป็นกองทัพขนาดประมาณ 156,000 นาย


(ซ้าย) จอร์จ วอชิงตัน แม่ทัพฝ่ายอาณานิคม, (ขวา) วิลเลียม โฮว์ แม่ทัพฝ่ายอังกฤษ

ในช่วงต้นของสงคราม ฝ่ายอาณานิคมตกเป็นรองจากจำนวนและประสบการณ์ของทหาร แต่เมื่อตั้งหลักได้แล้วก็สามารถขับไล่ทหารอังกฤษออกจากบอสตันได้ ระหว่างสงครามนั้นเอง สภาภาคพื้นทวีปได้แต่งตั้งคณะกรรมการ 5 คน ประกอบด้วย "จอห์น อดัมส์" (John Adams), "โรเจอร์ เชอร์แมน". (Roger Sherman), "โรเบิร์ต ลิฟวิงสตัน" (Robert Livingston), "เบนจามิน แฟรงคลิน" (Benjamin Franklin) และ "โทมัส เจฟเฟอร์สัน" (Thomas Jefferson) จัดทำคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกาขึ้นมา โดยเจฟเฟอร์สันได้ร่างขึ้นแล้วส่งให้สภาภาคพื้นทวีปในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ.1776 อีกสองวันต่อมาสมาชิกสภาภาคพื้นทวีปทั้ง 56 รายก็ลงนามรับรอง "คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา" และนำไปตีพิมพ์ประกาศต่อสาธารณชน ชาวอเมริกันจึงถือกันว่า วันที่ 4 กรกฎาคม เป็นวันชาติของตน

ประโยคหนึ่งในคำประกาศอิสรภาพที่รู้จักกันอย่างขวางและถือเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตของชาวอเมริกันมาจนถึงปัจจุบันก็คือ

"We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable Rights, that among these are Life, Liberty and the pursuit of Happiness." (เราถือว่าความจริงต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ประจักษ์แจ้งอยู่ในตัวเอง นั่นคือ มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน และพระผู้สร้างได้มอบสิทธิบางประการที่จะเพิกถอนมิได้ไว้ให้แก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้นได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข)


สภาภาคพื้นทวีปลงนามในประกาศอิสรภาพ และใบประกาศอิสรภาพของชาวอเมริกัน


จอร์จ วอชิงตัน นำทหารบุกข้ามแม่น้ำเดลาแวร์
กองทัพสหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้ในการบุกควิเบกและสูญเสียนิวยอร์กกับนิวเจอร์ซีย์ กองทัพอังกฤษเดินหน้าบุกเข้ายึดเมืองฟิลาเดลเฟียซึ่งเป็นเมืองหลวงของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นไว้ได้ในเดือนกันยายน ค.ศ.1777 ปลายปีนั้นวอชิงตันพาทหารหนีหนาวไปตั้งค่ายที่ "วัลเลย์ฟอจ" (Valley Forge) ในเพนซิลวาเนีย แล้วสะสมกำลังพลอยู่จนถึงฤดูใบไม้ผลิปีต่อมาจึงบุกเข้ายึดนิวเจอร์ซีย์กลับคืนมาได้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1778 จากนั้นก็มุ่งหน้าสู่นิวยอร์ก แล้วทำลายเส้นทางและแหล่งเสบียงของฝ่ายอังกฤษในนิวยอร์ก

ฝรั่งเศส, สเปน และสาธารณรัฐดัตช์ล้วนจัดหาเสบียง เครื่องกระสุนและอาวุธอย่างลับ ๆ ให้แก่กองทัพปฏิวัติเริ่มตั้งแต่ต้น ค.ศ. 1776 ฝรั่งเศสยังไม่ได้ส่งทหารเข้าร่วมรบอย่างเต็มตัว เพียงการส่งเสบียงและยุทโธปกรณ์ให้กับฝ่ายอาณานิคม จนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1780 กองเรือจากฝรั่งเศสก็เดินทางมาถึงโรดไอแลนด์ แล้วเอาชนะยุทธนาวีกับกองเรืออังกฤษที่อ่าวเชสพีคในเวอร์จิเนียได้เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.1781 ส่วนทางบกนั้นกองทัพอังกฤษภายใต้การนำของ "ชาร์ลส์ คอร์นวอลลิส" (Charles Cornwallis) ก็พ่ายแพ้ที่ยอร์กทาวน์ ทำให้ต้องถูกล้อมกักอยู่ที่เวอร์จิเนีย และต้องประกาศยอมแพ้ในวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ.1781

การมีส่วนร่วมของฝรั่งเศสพิสูจน์แล้วว่ามีผลชี้ขาด แต่ก็ทำลายเศรษฐกิจของฝรั่งเศสเช่นกัน

หลังความพ่ายแพ้ของฝ่ายอังกฤษ การเจรจาสันติภาพก็เกิดขึ้น จนกระทั่งเกิดการลงนามใน "สนธิสัญญาปารีส"   (Treaty of Paris) เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ.1783 ระหว่างตัวแทนของสหรัฐอเมริกา คือ จอห์น อดัมส์, เบนจามิน แฟรงคลิน และ "จอห์น เจย์" (John Jay) กับตัวแทนของราชสำนักอังกฤษ คือ "เดวิด ฮาร์ทเลย์" (David Hartley) เพื่อเป็นการยุติสงครามระหว่างทั้งสองฝ่าย และยอมรับในอำนาจอธิปไตยของสหรัฐอเมริกา

หลังชนะสงคราม จอร์จ วอชิงตัน ได้ลาออกจากกองทัพ เพื่อไม่ต้องการให้ตัวเองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เวลานั้นสหรัฐอเมริกายังปกครองด้วยบทบัญญัติว่าด้วยสมาพันธรัฐ (Articles of Confederation) จนเมื่อการประชุมเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญ (Constitutional Convention) เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม - กันยายน ค.ศ.1787 วอชิงตันก็ได้รับการเลือกให้เป็นประธานในที่ประชุม


สมาชิกที่ประชุมฟิลาเดลเฟียลงนามรับรองรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา

รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาได้รับการลงนามจากสมาชิกในที่ประชุมเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ.1788 หลังจากนั้นได้มีกระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ลงคะแนนอย่างเป็นเอกฉันท์เลือกจอร์จ วอชิงตัน เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา และเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ.1789 ซึ่งชาวอเมริกันถือว่าวอชิงตัน คือ "บิดาผู้ก่อกำเนิดสหรัฐอเมริกา"

--จุดเริ่มของสงครามและความพ่ายแพ้ของจักรภพอังกฤษอันเกรียงไกร--

การเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรมกีดกันตัวแทนจากโคโลนี และการออกกฏหมายเอาเปรียบคนอาณานิคม

รูปแบบการรบ

อังกฤษยังคงใช้ formation. เดิมตั้งแต่ยุคชนะสงคราม"นโปเลียน" การตั้งแถวประจันหน้าบุกซึ่งๆหน้าซึ่งเป็นรูปแบบความภูมิใจ ของ red shirt ทหารอังกฤษ
ส่วนฝ่ายอาณานิคมไม่จำกัดรูปแบบการรบ และปล้นสดมได้บ่อยครั้ง
ความร่วมมือจากฝรั่งเศสที่เป็นจุดชี้ชะตา ทำให้ดุลภาพทางทหารเริ่มสูสีกัน

และที่สำคัญผู้นำการรบที่ฉลาด จอร์จ วอชิงตันหลอกล่อกองทัพอังกฤษด้านเหนือว่าจะเข้าตีนิวยอร์ก แต่กลับเดินทัพลงใต้อย่างรวดเร็ว สนธิกำลังกับกองทัพผสมอเมริกา-ฝรั่งเศสที่เดินทัพขึ้นมาจากทางใต้ แล้วเข้าปิดล้อมยอร์กทาวน์ กองทัพเรืออังกฤษล่องลงมาเพื่อช่วยกองทัพบกหลบหนี แต่กองเรือฝรั่งเศสที่ร้อยวันพันปีจะรบชนะกองเรืออังกฤษสักครั้งก็มาชนะและขับไล่กองเรืออังกฤษไปได้ในครั้งนี้ ทำให้กองทัพอังกฤษทางใต้โดนปิดล้อมจากทางบกและทางทะเล โดนยิงปืนใหญ่ถล่มอยู่เกือบเดือนก็ยอมแพ้ทั้งกองทัพ


เทพีเสรีภาพ

ของขวัญจากฝรั่งเศสมอบให้แก่ความกล้าหาญที่สู้เพื่อเสรีภาพของชาวอเมริกัน





----ผู้นำหัวเก่าที่ยังคงยึดวิธีเดิมๆในการกดขี่ ปกครองและเอาชนะประชาชนแทนที่จะเข้าใจประชาชนเอาชนะใจประชาชน ความพ่ายแพ้ยังไงต้องมาเยือนพวกเขา แต่ก็ต้องมีคนสังเวยตัณหานี้ มากมายเหลือเกิน เมื่อไหร่จะสิ้นสุดเสียที----
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
สวัสดีค่ะท่านพี่เอี้ยก้วย กระทู้ดีๆ มาอีกแล้ว นานาขอบคุณ


ขอนำ เบนจามิน แฟรงคลิน (ค.ศ.1706-1790 หรือ พ.ศ. 2249 - 2333) มาร่วมเสริม

สมัยเรียนตอนเด็กๆ เรารู้ว่าเบนจามินเป็นนักประดิษฐ์เกี่ยวกับสายล่อฟ้า แต่ที่จริงแล้วท่านมีผลงานน่าทึ่งอีกมากมาย
และเป็นคนสำคัญในการเคลื่อนไหวแยกตัวออกจากอาณานิคมและร่วมก่อตั้งชาติสหรัฐอเมริกา

ครอบครัวของเบนจามินได้ลี้ภัยทางศาสนา จากประเทศอังกฤษไปตั้งรกรากอยู่ในอเมริกา เขาเป็น ช่างพิมพ์ นักเขียน
นักปรัชญา นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ นักปฏิรูป และนักการทูต คนสำคัญในยุคแสงสว่างของสหรัฐอเมริกา

      

เบนจามินเป็นผู้ให้คำตอบเรื่องฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า และประดิษฐ์สายล่อฟ้าเป็นคนแรก
อีกทั้งยังเป็นคนแรกที่แนะให้เกษตรกรแก้ความเป็นกรดของดินโดยการโรยปูนขาว

จากผลงานเหล้านี้นี่เอง ทำให้เขาได้รับเกียรติจากราชสมาคมอังกฤษให้เข้าเป็นสมาชิกด้วยซึ่งในสมัยนั้นนับว่ายากที่สุด

และสิ่งที่น่าสรรเสริญอีกอย่างหนึ่งคือผลงานและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ของเขานั้น เขาไม่เคยนำไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์เลย
นอกจากจะไม่หวงผลงานแล้วกลับส่งเสริมและแนะนำบุคคลอื่นๆ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เขารู้อีกด้วย



ด้านการเมือง เบนจามินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐบุรุษคนสำคัญของประเทศสหรัฐอเมริกา

ด้วยเขาเป็นผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพทำให้สหรัฐฯ หลุดพ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคมของประเทศอังกฤษ
สร้างความไม่พอใจให้กับประเทศอังกฤษอย่างมาก  เป็นชนวนให้เกิดสงคราม

เขาจึงได้เดินทางไปยังฝรั่งเศส เพื่อขอการสนับสนุนเรื่องการเงินและอาวุธ เมื่อสงครามยุติลง เบนจามินยังได้เป็นผู้หนึ่งที่ได้ลงนาม
ในสัญญาสันติภาพ หลังจากที่สหรัฐฯ ได้รับอิสรภาพแล้ว เขายังมีส่วนสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
และได้รับการติดต่อให้เข้ารับตำแหน่งหน้าที่อันใหญ่โตผู้หนึ่งในคณะผู้บริหาร แต่เขาก็ตอบปฏิเสธไปโดยเห็นว่าตัวเองอายุมากแล้ว
และอยากจะใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสงบกับงานเขียนและงานพิมพ์ที่เขาชื่นชอบ


*********

ถึงแม้เบนจามินจะเคยมีบทบาทด้านการเมืองต่อสหรัฐอเมริกอย่างมาก เรียกว่าเป็นผู้ร่วมก่อตั้งชาติ มีส่วนร่วมร่าง รธน.
และมีการเรียกร้อง ให้มาตำแหน่งอันใหญ่โต แต่เบนจามินกลับไม่สนใจ

เขาได้ปล่อยวางเพราะเห็นว่าอายุมากจึงอยากทำงานที่ตนรักอย่างสงบ


ผิดกับนักวิชาการหรือผู้เฒ่าหลายคนบางแห่ง ที่หวงตำแหน่งและแย่งชิงอำนาจ โดยไม่ได้มีใครเสนอหรือเรียกร้องให้มา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่