สวัสดีครับ กระทู้นี่จะพานักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่อาจจะยังหวาดหลัว หวั่นๆไม่แน่ใจกับการขึ้นรถไฟในญี่ปุ่น ไปดูกันตั้งแต่การซื้ตั๋ว ออกตั๋ว การเดินในสถานี หาชายชาลา
ขึ้นขบวนที่ถูกต้อง คิดว่าอ่านจบน่าจะลดความหวาดหวั่นลงเพิ่มความมั่นใจขึ้นได้มาก ลองไปดูกันครับ
สำหรับคนที่ถือ JR pass เริ่มแรกเลยก็ต้องเอา voucher ที่ซื้อไปจากไทยไปแลกที่ ticket office
ที่ JR east travel service center เค้าจะมีโต๊ะยาวตัวนึงวาง JR pass ที่ยังใช้งานไม่ได้เรียงๆกันไว้ ไปถึงที่ office เราก็กรอกๆข้อมูลใน pass พวกชื่อ หมายเลข passport วันที่จะเริ่มใช้ จากนั้นก็รอคิวตามปกติ จนท จะเรียกเราไปที่เคาน์เตอร์ ไปเขียนส่วนของจนท. เป็นอันเปิดใช้เรียบร้อย นี่เป็นที่นาริตะ ส่วนที่สถานีอื่นๆใช้วิธีเดิมคือไปกรอกข้อมูลที่พนักงานครับ แล้วก็จองตั๋วล่วงหน้าไว้ได้เลย
เวลาไปซื้อตั๋วรถไฟ พวกชินคังเซนหรือขบวนด่วนพิเศษอะไรต่างๆ แล้วใช้ JR pass จองตั๋วมา ก็จะได้ตั๋วหน้าตาแบบนี้ครับ
ตั๋วแบบนี้จองจาก JR pass เวลาเดินเข้าสถานีไม่ต้องสอดตั๋วในเครื่องตรวจ แค่โชว์ JRpass ก็เข้าได้เลย
แต่ถ้าเป็นตั๋วซื้อต่างหาก จะมีตั๋วหน้าตาคล้ายกันมาให้2ใบ ใบหนึ่งเป็นตั๋วรถ อีกใบเป็นตั๋วที่นั่ง ก่อนเข้าเกต ต้องสอดตั๋วในเครื่องอัตโนมัติเหมือนสอดบัตร BTS ครับ
มาดูรายละเอียดในตั๋วโดยสารว่ามีอะไรบ้าง
1. เริ่มจากบรรทัดแรก จะระบุว่าเป็น reserved seat ticket คือตั๋วที่ระบุที่นั่ง สำรองที่นั่งไว้ สำหรับคนใช้ JR pass จะสามารถขึ้นไปนั่งตู้ที่ไม่ใช่ตู้จองได้ แต่บางขบวนเช่น NEX ต้องจองเท่านั้น หรือกรณีช่วงท่องเที่ยวหนาแน่น พีคหรือโกลเด้นวีค จองไว้จะอุ่นใจกว่า
2. บรรทัดถัดมาจะระบุสถานีต้นทางที่เราจะขึ้น และสถานีปลายทาง
3. วันที่จะออกเดินทาง และเวลาออกเวลาไปถึง ข้อมูลเหล่านี้ควรหายปล่วงหน้าจากเวบไซต์ hyperdia.com เวลาไปจองจะได้ดูรายละเอียดว่าถูกต้องตามเวลาที่เราต้องการเดินทางหรือเปล่า
4. บรรทัดสุดท้าย เป็นชื่อขบวน เช่น Super Hakucho(หมายเลข) Hikari(หมายเลข)
ระบุหมายเลขตู้ที่เราจะนั่ง โดยทั่วไป ตู้ที่ไม่ต้องจองจะอยู่ที่ตู้ 1-3 หรือ 1-2 แล้วแต่ขบวน ครับ
และสุดท้ายเลขที่นั่ง ปกติจะเป็นแบบ 2-2, 3-3 สามารถแจ้งพนักงานได้ว่าจะนั่งติดหน้าต่าง นั่งติดทางเดิน และท้ายสุดจริงๆคือตู้ห้ามสูบบุหรี่หรือตู้สูบบุหรี่ นี่ก็บอกพนักงานได้ ว่าจะเอาแบบไหน
ทำความเข้าใจตั๋วกันเบื้องต้น แล้วจะมาแนะนำการดูขบวน การเดินในสถานี ต่อไปครับ
ในสถานีรถไฟที่ญี่ปุ่น เนื่องจากแต่ละสถานีเป็นชุมทางใหญ่ๆ จะมีรถไฟหลายสายผ่าน ดังนั้น ชานชาลาขึ้นรถไฟแต่ละสายจะถูกแทนด้วย สี ก็ต้องเงยหน้ามองกันนิดนึงครับจะไดิไม่หลง ว่าสายที่เราจะขึ้น สีอะไร ไปชานชาลาไหน
รางสำหรับรถไฟชินคังเซนจะแยกออกมาจากสายอื่นๆโดยเฉพาะครับ เพราะฉะนั้นแม้จะอยู่ในตัวอาคารสถานีเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้ใช้รางร่วมกับรถขบวนอื่นๆ ดังนั้นอยู่ในสถานีก็ดูป้ายชี้บอกทางเหนือศีรษะนะ ว่าทางไหนไปประตูเข้าชินคังเซน ทางไหนเป็นประตูเข้ารถไฟสายอื่นๆ แบบนี้ครับ
เดินไปตามป้ายบอกทางก็จะมาเจอประตูทางเข้าชานชาลาชินคังเซน อย่างที่บอกไป JR pass ผ่ายเขิาช่องพิเศษเลย ส่วนตั๋วที่ซื้อต่างหากต้องสอดตั๋วในเครื่องอัตโนมัติทางเข้านะครับ
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ดูว่าเราต้องไปขึ้นขบวนนั้นๆที่ track หรือชานชาลาไหน ก็ดูที่ป้ายประกาศครับ สำหรับชินคังเซนจะมีป้ายแบบนี้บอก ทั้งภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น ดูชื่อขบวน และเวลาออกให้ดี เอาให้ชัดเจนว่าถูกต้อง แล้วก็ดูที่ track จะบอกว่าเราต้องไปชานชาลาหมายแรกอะไร
บางสถานีก็จะมีจอ LED โชว์กราฟฟิคว่า ขบวนไหนออกกี่โมง ที่ชานชาลา(track) ไหนและมีกี่ตู้ในคันนี้ ตู้ไหนเป็นตู้จอง ตู้ไหนไม่จอง
เมื่อมาถึงชานชาลาก็จะเจอป้ายข้อมูลขบวนบอกอีกครั้ง
ขึ้นมารอที่ชานชาลา ก็จะเจอป้าย LED บอกขบวน เวลาและหมายเลขชานชาลาอีกรอบ บอกกันบ่อยมาก ดูดีๆยังไงก็ไม่หลงนะ เช็คอีกครั้งว่าไม่หลงไม่ผิดครับ ชานชาลาของแต่ละขบวน ถึงแค่เห็นว่าอยู่ฝั่งตรงข้าม แต่ถ้าขึ้นไปรอผิดก็ต้อง วิ่งลงบันได ขึ้นบันไดไปที่ถูกใหม่ ไม่ใช่เดินข้ามกันง่ายๆ มือใหม่ควรเผื่อเวลานะ ป้ายมีภาษาอังกฤษสลับญี่ปุ่นตลอดๆครับไม่ต้องกังวลไป
ถ้าจองตั๋วมาก็ก้มดูที่เท้าจะมีป้ายบอกว่าตู้ (Car no.) ที่เรายืนอยู่คือหมายเลขอะไร เอาให้สะดวกก็ไปยืนรอที่ตู้ขอชเราตามหมายเลข ถ้าไม่ได้จองมาก็ไปยืนรอที่ตู้ไม่จอง (non-reserved) มักเป็นตู้ 1-3,1-4 หรือแล้วแต่ขบวนครับ
ช่วงไหนคนเดินทางเยอะๆก็ต้องต่อคิวกันยาวหน่อยรอขึ้นนะครับ การเดินทางในช่วงพีคจ๋งควรจองตั๋วที่นั่งล่วงหน้า ยืนยาวหลายชั่วโมงไม่สนุกแน่ๆ
รถไฟญี่ปุ่นมาตรงเวลา บางครั้งจะมีขบวนที่เวลาใกล้กันห่างกัน3-4 นาที ยังไงดูให้เป๊ะ ไม่มั่นใจถามนายสถานีอีกทีว่าถูกขบวนมั้ย
ขึ้นรถไฟมาลองมาดูบรรยากาศบนชินคังเซน Hayabusa เจ้าเหยี่ยวเขียวขบวนน่ารักนี้ เป็น Tohoku Shinkansen ที่วิ่งไปจนถึง Shin Aomori นอกจากน่ารักด้วยรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว ข้างในก็สะอาดสะดวกสบาย ครบครันทุกอย่างครับ ที่นั่งเก้าอี้ในขบวนสะอาดสะอ้าน ปรับเอนได้ มีรูเสียบชาร์จแบตให้ ถาดวางอาหารที่วางแก้วครบ ห้องน้ำห้องท่าสะอาดหมดจด ทุกอย่างอัตโนมัติหมด 2-3ชั่วโมงบน Hayabusa ผ่านไปแบบไม่นาน และเพลิดเพลินมากเลยล่ะครับ
อ่ออีกอย่าง เจ้าหน้าที่รถไฟอาจจะเดินมาตรวจตั๋วเรา
ถ้าจะนปนหลับให้เสียบตั๋วไว้ที่พนักพิงด้านหน้าแบบนี้ก็ได้ครับ จะได้ไม่โดนปลุก
สถานีรถไฟชุมทางใหญ่ๆในญี่ปุ่น อย่าง ชิบูย่าชินจูกุ อุเอโนะ สามารถมีทางออกได้มากถึง20-30ทางออกเลยนะครับ หมายความว่าสถานีกว้างมาก ออกผิดทางออกก็คือไปอีกฟากหนึ่งของจุดหมายที่เราจะไปเลย วิธีการคือหาข้อมูลไปล่วงหน้า ว่าที่ที่เราจะไปต้องออกทางออกไหน แล้วดูป้ายชี้บอกทางออกให้ดี จะได้ไม่หลงทางเสียเวลานะ
สุดท้ายฝากเรื่องดีๆไว้เล็กน้อยครับ
สิ่งที่ประทับใจเสมอในการไปญี่ปุ่นนอกจากความสะดวกสบายของการเดินทาง บ้านเมืองสะอาด อาหารอร่อยผู้คนมีน้ำใจแล้ว อีกอย่างคือ การออกแบบสถานที่ต่างๆโดยเฉพาะสาธารณูปโภคให้ทุกคนที่มีความต้องการและสภาพร่างกายแตกต่างกันสามารถใช้ได้ สิ่งนี้คือ Universal design ออกแบบเพื่อทุกคน อย่างตามสถานี ทางเดินต่างๆ แม้กระทั่งบนรถไฟ จะมีแถบเหลืองๆทำด้วยยางแล้วมีจุดนูนบ้าง เส้นนูนบ้างอยู่แทบจะทั่วไป นี่คือการออกแบบเพื่อคนพิการทางสายตา สามารถใช้ทางได้โดยสะดวกครับ ซึ่งญี่ปุ่นเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่มีการออกแบบทางเดินแบบนี้ น่าชื่นชมมากจริงๆ
หวังว่ากระทู้นี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน ในการเตรียมพร้อมไปเที่ยวญี่ปุ่นอย่างมั่นใจนะครับ
ติดตามข้อมูลท่องเที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเองได้ที่
https://www.facebook.com/Gonipponbydrjame
แล้วเจอกันใหม่ครับ
[แบคแพค]ตั้งแต่ซื้อตั๋ว-เดินออกจากสถานี ขึ้นรถไฟญี่ปุ่นยังไงไม่ให้หลง [tips&trick]
ขึ้นขบวนที่ถูกต้อง คิดว่าอ่านจบน่าจะลดความหวาดหวั่นลงเพิ่มความมั่นใจขึ้นได้มาก ลองไปดูกันครับ
สำหรับคนที่ถือ JR pass เริ่มแรกเลยก็ต้องเอา voucher ที่ซื้อไปจากไทยไปแลกที่ ticket office
ที่ JR east travel service center เค้าจะมีโต๊ะยาวตัวนึงวาง JR pass ที่ยังใช้งานไม่ได้เรียงๆกันไว้ ไปถึงที่ office เราก็กรอกๆข้อมูลใน pass พวกชื่อ หมายเลข passport วันที่จะเริ่มใช้ จากนั้นก็รอคิวตามปกติ จนท จะเรียกเราไปที่เคาน์เตอร์ ไปเขียนส่วนของจนท. เป็นอันเปิดใช้เรียบร้อย นี่เป็นที่นาริตะ ส่วนที่สถานีอื่นๆใช้วิธีเดิมคือไปกรอกข้อมูลที่พนักงานครับ แล้วก็จองตั๋วล่วงหน้าไว้ได้เลย
เวลาไปซื้อตั๋วรถไฟ พวกชินคังเซนหรือขบวนด่วนพิเศษอะไรต่างๆ แล้วใช้ JR pass จองตั๋วมา ก็จะได้ตั๋วหน้าตาแบบนี้ครับ
ตั๋วแบบนี้จองจาก JR pass เวลาเดินเข้าสถานีไม่ต้องสอดตั๋วในเครื่องตรวจ แค่โชว์ JRpass ก็เข้าได้เลย
แต่ถ้าเป็นตั๋วซื้อต่างหาก จะมีตั๋วหน้าตาคล้ายกันมาให้2ใบ ใบหนึ่งเป็นตั๋วรถ อีกใบเป็นตั๋วที่นั่ง ก่อนเข้าเกต ต้องสอดตั๋วในเครื่องอัตโนมัติเหมือนสอดบัตร BTS ครับ
มาดูรายละเอียดในตั๋วโดยสารว่ามีอะไรบ้าง
1. เริ่มจากบรรทัดแรก จะระบุว่าเป็น reserved seat ticket คือตั๋วที่ระบุที่นั่ง สำรองที่นั่งไว้ สำหรับคนใช้ JR pass จะสามารถขึ้นไปนั่งตู้ที่ไม่ใช่ตู้จองได้ แต่บางขบวนเช่น NEX ต้องจองเท่านั้น หรือกรณีช่วงท่องเที่ยวหนาแน่น พีคหรือโกลเด้นวีค จองไว้จะอุ่นใจกว่า
2. บรรทัดถัดมาจะระบุสถานีต้นทางที่เราจะขึ้น และสถานีปลายทาง
3. วันที่จะออกเดินทาง และเวลาออกเวลาไปถึง ข้อมูลเหล่านี้ควรหายปล่วงหน้าจากเวบไซต์ hyperdia.com เวลาไปจองจะได้ดูรายละเอียดว่าถูกต้องตามเวลาที่เราต้องการเดินทางหรือเปล่า
4. บรรทัดสุดท้าย เป็นชื่อขบวน เช่น Super Hakucho(หมายเลข) Hikari(หมายเลข)
ระบุหมายเลขตู้ที่เราจะนั่ง โดยทั่วไป ตู้ที่ไม่ต้องจองจะอยู่ที่ตู้ 1-3 หรือ 1-2 แล้วแต่ขบวน ครับ
และสุดท้ายเลขที่นั่ง ปกติจะเป็นแบบ 2-2, 3-3 สามารถแจ้งพนักงานได้ว่าจะนั่งติดหน้าต่าง นั่งติดทางเดิน และท้ายสุดจริงๆคือตู้ห้ามสูบบุหรี่หรือตู้สูบบุหรี่ นี่ก็บอกพนักงานได้ ว่าจะเอาแบบไหน
ทำความเข้าใจตั๋วกันเบื้องต้น แล้วจะมาแนะนำการดูขบวน การเดินในสถานี ต่อไปครับ
ในสถานีรถไฟที่ญี่ปุ่น เนื่องจากแต่ละสถานีเป็นชุมทางใหญ่ๆ จะมีรถไฟหลายสายผ่าน ดังนั้น ชานชาลาขึ้นรถไฟแต่ละสายจะถูกแทนด้วย สี ก็ต้องเงยหน้ามองกันนิดนึงครับจะไดิไม่หลง ว่าสายที่เราจะขึ้น สีอะไร ไปชานชาลาไหน
รางสำหรับรถไฟชินคังเซนจะแยกออกมาจากสายอื่นๆโดยเฉพาะครับ เพราะฉะนั้นแม้จะอยู่ในตัวอาคารสถานีเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้ใช้รางร่วมกับรถขบวนอื่นๆ ดังนั้นอยู่ในสถานีก็ดูป้ายชี้บอกทางเหนือศีรษะนะ ว่าทางไหนไปประตูเข้าชินคังเซน ทางไหนเป็นประตูเข้ารถไฟสายอื่นๆ แบบนี้ครับ
เดินไปตามป้ายบอกทางก็จะมาเจอประตูทางเข้าชานชาลาชินคังเซน อย่างที่บอกไป JR pass ผ่ายเขิาช่องพิเศษเลย ส่วนตั๋วที่ซื้อต่างหากต้องสอดตั๋วในเครื่องอัตโนมัติทางเข้านะครับ
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ดูว่าเราต้องไปขึ้นขบวนนั้นๆที่ track หรือชานชาลาไหน ก็ดูที่ป้ายประกาศครับ สำหรับชินคังเซนจะมีป้ายแบบนี้บอก ทั้งภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น ดูชื่อขบวน และเวลาออกให้ดี เอาให้ชัดเจนว่าถูกต้อง แล้วก็ดูที่ track จะบอกว่าเราต้องไปชานชาลาหมายแรกอะไร
บางสถานีก็จะมีจอ LED โชว์กราฟฟิคว่า ขบวนไหนออกกี่โมง ที่ชานชาลา(track) ไหนและมีกี่ตู้ในคันนี้ ตู้ไหนเป็นตู้จอง ตู้ไหนไม่จอง
เมื่อมาถึงชานชาลาก็จะเจอป้ายข้อมูลขบวนบอกอีกครั้ง
ขึ้นมารอที่ชานชาลา ก็จะเจอป้าย LED บอกขบวน เวลาและหมายเลขชานชาลาอีกรอบ บอกกันบ่อยมาก ดูดีๆยังไงก็ไม่หลงนะ เช็คอีกครั้งว่าไม่หลงไม่ผิดครับ ชานชาลาของแต่ละขบวน ถึงแค่เห็นว่าอยู่ฝั่งตรงข้าม แต่ถ้าขึ้นไปรอผิดก็ต้อง วิ่งลงบันได ขึ้นบันไดไปที่ถูกใหม่ ไม่ใช่เดินข้ามกันง่ายๆ มือใหม่ควรเผื่อเวลานะ ป้ายมีภาษาอังกฤษสลับญี่ปุ่นตลอดๆครับไม่ต้องกังวลไป
ถ้าจองตั๋วมาก็ก้มดูที่เท้าจะมีป้ายบอกว่าตู้ (Car no.) ที่เรายืนอยู่คือหมายเลขอะไร เอาให้สะดวกก็ไปยืนรอที่ตู้ขอชเราตามหมายเลข ถ้าไม่ได้จองมาก็ไปยืนรอที่ตู้ไม่จอง (non-reserved) มักเป็นตู้ 1-3,1-4 หรือแล้วแต่ขบวนครับ
ช่วงไหนคนเดินทางเยอะๆก็ต้องต่อคิวกันยาวหน่อยรอขึ้นนะครับ การเดินทางในช่วงพีคจ๋งควรจองตั๋วที่นั่งล่วงหน้า ยืนยาวหลายชั่วโมงไม่สนุกแน่ๆ
รถไฟญี่ปุ่นมาตรงเวลา บางครั้งจะมีขบวนที่เวลาใกล้กันห่างกัน3-4 นาที ยังไงดูให้เป๊ะ ไม่มั่นใจถามนายสถานีอีกทีว่าถูกขบวนมั้ย
ขึ้นรถไฟมาลองมาดูบรรยากาศบนชินคังเซน Hayabusa เจ้าเหยี่ยวเขียวขบวนน่ารักนี้ เป็น Tohoku Shinkansen ที่วิ่งไปจนถึง Shin Aomori นอกจากน่ารักด้วยรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว ข้างในก็สะอาดสะดวกสบาย ครบครันทุกอย่างครับ ที่นั่งเก้าอี้ในขบวนสะอาดสะอ้าน ปรับเอนได้ มีรูเสียบชาร์จแบตให้ ถาดวางอาหารที่วางแก้วครบ ห้องน้ำห้องท่าสะอาดหมดจด ทุกอย่างอัตโนมัติหมด 2-3ชั่วโมงบน Hayabusa ผ่านไปแบบไม่นาน และเพลิดเพลินมากเลยล่ะครับ
อ่ออีกอย่าง เจ้าหน้าที่รถไฟอาจจะเดินมาตรวจตั๋วเรา
ถ้าจะนปนหลับให้เสียบตั๋วไว้ที่พนักพิงด้านหน้าแบบนี้ก็ได้ครับ จะได้ไม่โดนปลุก
สถานีรถไฟชุมทางใหญ่ๆในญี่ปุ่น อย่าง ชิบูย่าชินจูกุ อุเอโนะ สามารถมีทางออกได้มากถึง20-30ทางออกเลยนะครับ หมายความว่าสถานีกว้างมาก ออกผิดทางออกก็คือไปอีกฟากหนึ่งของจุดหมายที่เราจะไปเลย วิธีการคือหาข้อมูลไปล่วงหน้า ว่าที่ที่เราจะไปต้องออกทางออกไหน แล้วดูป้ายชี้บอกทางออกให้ดี จะได้ไม่หลงทางเสียเวลานะ
สุดท้ายฝากเรื่องดีๆไว้เล็กน้อยครับ
สิ่งที่ประทับใจเสมอในการไปญี่ปุ่นนอกจากความสะดวกสบายของการเดินทาง บ้านเมืองสะอาด อาหารอร่อยผู้คนมีน้ำใจแล้ว อีกอย่างคือ การออกแบบสถานที่ต่างๆโดยเฉพาะสาธารณูปโภคให้ทุกคนที่มีความต้องการและสภาพร่างกายแตกต่างกันสามารถใช้ได้ สิ่งนี้คือ Universal design ออกแบบเพื่อทุกคน อย่างตามสถานี ทางเดินต่างๆ แม้กระทั่งบนรถไฟ จะมีแถบเหลืองๆทำด้วยยางแล้วมีจุดนูนบ้าง เส้นนูนบ้างอยู่แทบจะทั่วไป นี่คือการออกแบบเพื่อคนพิการทางสายตา สามารถใช้ทางได้โดยสะดวกครับ ซึ่งญี่ปุ่นเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่มีการออกแบบทางเดินแบบนี้ น่าชื่นชมมากจริงๆ
หวังว่ากระทู้นี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน ในการเตรียมพร้อมไปเที่ยวญี่ปุ่นอย่างมั่นใจนะครับ
ติดตามข้อมูลท่องเที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเองได้ที่ https://www.facebook.com/Gonipponbydrjame
แล้วเจอกันใหม่ครับ