พระศาสดาตรัสถึงวิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ดังพระสูตรด้านล่างนี้
--------------------------------------------------------------------------------------
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง (สจฺจานุรกฺขณา)
นั้น มีได้ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลจะตามรักษาไว้ซึ่งความจริงนั้นได้ ด้วยการ
กระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึง วิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง.”
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความเชื่อ ของบุรุษมีอยู่ และเขาก็ ตามรักษาไว้
ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้ามีความเชื่ออย่างนี้” ดังนี้, เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่ง
การสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน.
ภารท๎วาชะ ! ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี,
บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเรา
บัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ ; แต่ว่า นั่น
ยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความชอบใจ ของบุรุษมีอยู่ และเขาก็ ตามรักษา
ไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้ามีความชอบใจอย่างนี้” ดังนี้, เ ขาก็ อย่า
เพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า”
ดังนี้ก่อน. ภารท๎วาชะ ! ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่ง
ความจริง ย่อมมี, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียง
เท่านี้, และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ ;
แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ เรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมาของบุรุษมีอยู่ และเขาก็
ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้ามีเรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมาอย่างนี้”
ดังนี้, เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง,
อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน. ภารท๎วาชะ ! ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การ
ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการ
กระทำเพียงเท่านี้ ; แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อม ของบุรุษ
มีอยู่ และเขาก็ ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้ามีความตริตรึกไป
ตามเหตุผลที่แวดล้อมอย่างนี้” ดังนี้, เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดย
ส่วนเดียวว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน. ภารท๎วาชะ ! ด้วย
การกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี, บุคคลชื่อว่าย่อม
ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตาม
รักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ ; แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามรู้
ซึ่งความจริง ก่อน.
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ข้อยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็น
ของบุรุษ มีอยู่ และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้ามีข้อ
ยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็นอย่างนี้” ดังนี้, เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการ
สันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง. อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน.
ภารท๎วาชะ ! ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อม
มี, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเรา
บัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ ; แต่ว่า นั่นยัง
ไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำ
เพียงเท่านี้. บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. อนึ่ง
ข้าพเจ้าก็มุ่งหวังซึ่งการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร?
บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึง
การตามรู้ความจริง”.
ภารท๎วาชะ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้าน
หรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดีหรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้ว
ใคร่ครวญดูอยู่ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทั้งหลาย (โดยนัยเป็นต้นว่า) “ท่านผู้
มีอายุผู้นี้ จะมีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะหรือไม่หนอ อันเป็นธรรมที่เมื่อ
ครอบงำจิตของท่านแล้ว จะทำให้ท่านเป็นบุคคลที่เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็น
ก็กล่าวว่าเห็น หรือว่าจะชักชวนผู้อื่นในธรรมอันเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นตลอดกาลนาน” ดังนี้ ; เมื่อเขา
ใคร่ครวญดูอยู่ในใจซึ่งภิกษุนั้น ก็รู้ว่า “ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะชนิดนั้น มิได้มีแก่
ท่านผู้มีอายุนี้, อนึ่ง กายสมาจาร วจีสมาจาร ของท่านผู้มีอายุผู้นี้ ก็เป็นไปใน
ลักษณะแห่งสมาจารของบุคคลผู้ไม่โลภแล้ว, อนึ่ง ท่านผู้มีอายุนี้ แสดงซึ่งธรรม
ใด ธรรมนั้นเป็นธรรมที่ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมที่รำงับ ประณีต
ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นธรรมละเอียดอ่อน รู้ได้เฉพาะ
บัณฑิตวิสัย, ธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่คนผู้มีความโลภจะแสดงให้ถูกต้องได้” ดังนี้.
เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็น
ที่ตั้งแห่งโลภะ. ต่อแต่นั้น เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไป
ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ.... ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โมหะ.... (ก็ได้เห็นประจักษ์ในลักษณะอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งโลภะ ตรงเป็นอันเดียว
กันทุกตัวอักษรไปจนถึงคำ ว่า “เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า
เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ”.)
ลำดับนั้น เขา (๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไป ในภิกษุนั้น ครั้นมี
สัทธาเกิดแล้ว (๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว (๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้
ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว (๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง (๕) ย่อม ฟัง
ซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว (๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม (๗) ย่อม ใคร่ครวญ
ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความ
แห่งธรรมอยู่ (๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ, เมื่อการทนต่อการ
เพ่งพินิจของธรรมมีอยู่ (๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว (๑๐) ย่อม
มีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว (๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม
ครั้นมีความสมดุลแห่งธรรมแล้ว (๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น ; เขาผู้มี
ตนส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ ด้วยนามกาย ด้วย,
ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย. ภารท๎วาชะ !
การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่ง
ความจริงด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการ
กระทำเพียงเท่านี้ ; แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ก่อน.
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียง
เท่านี้. บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. อนึ่ง ข้าพเจ้าก็
มุ่งหวังซึ่งการตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !
การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง (สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคล
ชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดม
ผู้เจริญถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.”
ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ การกระทำให้มาก ซึ่ง
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง. ภารท๎วาชะ !
การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมี ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, บุคคลชื่อว่า
ย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตาม
บรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.
--------------------------------------------------------------------------------------------
การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
--------------------------------------------------------------------------------------
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง (สจฺจานุรกฺขณา)
นั้น มีได้ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลจะตามรักษาไว้ซึ่งความจริงนั้นได้ ด้วยการ
กระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึง วิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง.”
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความเชื่อ ของบุรุษมีอยู่ และเขาก็ ตามรักษาไว้
ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้ามีความเชื่ออย่างนี้” ดังนี้, เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่ง
การสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน.
ภารท๎วาชะ ! ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี,
บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเรา
บัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ ; แต่ว่า นั่น
ยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความชอบใจ ของบุรุษมีอยู่ และเขาก็ ตามรักษา
ไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้ามีความชอบใจอย่างนี้” ดังนี้, เ ขาก็ อย่า
เพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า”
ดังนี้ก่อน. ภารท๎วาชะ ! ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่ง
ความจริง ย่อมมี, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียง
เท่านี้, และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ ;
แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ เรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมาของบุรุษมีอยู่ และเขาก็
ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้ามีเรื่องที่ฟังตาม ๆ กันมาอย่างนี้”
ดังนี้, เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง,
อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน. ภารท๎วาชะ ! ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การ
ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการ
กระทำเพียงเท่านี้ ; แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อม ของบุรุษ
มีอยู่ และเขาก็ ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้ามีความตริตรึกไป
ตามเหตุผลที่แวดล้อมอย่างนี้” ดังนี้, เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการสันนิษฐานโดย
ส่วนเดียวว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง, อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน. ภารท๎วาชะ ! ด้วย
การกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมี, บุคคลชื่อว่าย่อม
ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตาม
รักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ ; แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามรู้
ซึ่งความจริง ก่อน.
ภารท๎วาชะ ! ถ้าแม้ ข้อยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็น
ของบุรุษ มีอยู่ และเขาก็ตามรักษาไว้ซึ่งความจริง กล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้ามีข้อ
ยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็นอย่างนี้” ดังนี้, เขาก็ อย่าเพ่อถึงซึ่งการ
สันนิษฐานโดยส่วนเดียว ว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง. อย่างอื่นเปล่า” ดังนี้ก่อน.
ภารท๎วาชะ ! ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้แล การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อม
มี, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเรา
บัญญัติการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ ; แต่ว่า นั่นยัง
ไม่เป็นการตามรู้ซึ่งความจริง ก่อน.
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำ
เพียงเท่านี้. บุคคลชื่อว่าย่อมตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. อนึ่ง
ข้าพเจ้าก็มุ่งหวังซึ่งการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร?
บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึง
การตามรู้ความจริง”.
ภารท๎วาชะ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้าน
หรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดีหรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้ว
ใคร่ครวญดูอยู่ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทั้งหลาย (โดยนัยเป็นต้นว่า) “ท่านผู้
มีอายุผู้นี้ จะมีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะหรือไม่หนอ อันเป็นธรรมที่เมื่อ
ครอบงำจิตของท่านแล้ว จะทำให้ท่านเป็นบุคคลที่เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็น
ก็กล่าวว่าเห็น หรือว่าจะชักชวนผู้อื่นในธรรมอันเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นตลอดกาลนาน” ดังนี้ ; เมื่อเขา
ใคร่ครวญดูอยู่ในใจซึ่งภิกษุนั้น ก็รู้ว่า “ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะชนิดนั้น มิได้มีแก่
ท่านผู้มีอายุนี้, อนึ่ง กายสมาจาร วจีสมาจาร ของท่านผู้มีอายุผู้นี้ ก็เป็นไปใน
ลักษณะแห่งสมาจารของบุคคลผู้ไม่โลภแล้ว, อนึ่ง ท่านผู้มีอายุนี้ แสดงซึ่งธรรม
ใด ธรรมนั้นเป็นธรรมที่ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมที่รำงับ ประณีต
ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นธรรมละเอียดอ่อน รู้ได้เฉพาะ
บัณฑิตวิสัย, ธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่คนผู้มีความโลภจะแสดงให้ถูกต้องได้” ดังนี้.
เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็น
ที่ตั้งแห่งโลภะ. ต่อแต่นั้น เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไป
ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ.... ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โมหะ.... (ก็ได้เห็นประจักษ์ในลักษณะอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งโลภะ ตรงเป็นอันเดียว
กันทุกตัวอักษรไปจนถึงคำ ว่า “เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า
เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ”.)
ลำดับนั้น เขา (๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไป ในภิกษุนั้น ครั้นมี
สัทธาเกิดแล้ว (๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว (๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้
ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว (๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง (๕) ย่อม ฟัง
ซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว (๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม (๗) ย่อม ใคร่ครวญ
ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความ
แห่งธรรมอยู่ (๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ, เมื่อการทนต่อการ
เพ่งพินิจของธรรมมีอยู่ (๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว (๑๐) ย่อม
มีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว (๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม
ครั้นมีความสมดุลแห่งธรรมแล้ว (๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น ; เขาผู้มี
ตนส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ ด้วยนามกาย ด้วย,
ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย. ภารท๎วาชะ !
การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่ง
ความจริงด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการ
กระทำเพียงเท่านี้ ; แต่ว่า นั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ก่อน.
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียง
เท่านี้. บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. อนึ่ง ข้าพเจ้าก็
มุ่งหวังซึ่งการตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !
การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง (สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคล
ชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดม
ผู้เจริญถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.”
ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ การกระทำให้มาก ซึ่ง
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง. ภารท๎วาชะ !
การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมี ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, บุคคลชื่อว่า
ย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้, และเราบัญญัติการตาม
บรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.
--------------------------------------------------------------------------------------------