(ตามธรรมชาติมนุษย์แต่ละคนมีสิ่งที่เราเรียกว่าความจริง ที่เขาถือเป็นหลักประจำตัว
ของเขาอยู่ด้วยกันทั้งนั้น แล้วแต่ว่าเขาได้ทำให้มันเกิดขึ้นในใจของเขาอย่างไร ซึ่งอยากที่จะ
เปลี่ยนแปลงได้. แต่ว่าความจริงชนิดนี้ยังไม่ใช่ความจริงที่เด็ดขาด ยังไม่สูงสุด ยังใช้เป็น
ประโยชน์ในขั้นสูงสุดไม่ได้. ดังนั้นความจริงนั้น จะต้องถูกปรับปรุงให้ชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นไป
จนกว่าจะกลายเป็นความจริงที่ใช้ให้สำเร็จประโยชน์ได้จริง โดยวิธีพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้อย่าง
น่าอัศจรรย์; กล่าวคือไม่ยึดมั่นถือมั่น ความจริงอันดับแรกนั้น แต่หล่อเลี้ยงมันไว้ในลักษณะ
ที่มันจะพิสูจน์ความเป็นของจริงออกมาในตัวการปฏิบัตินั้นเอง.
ในพระพุทธวจนะที่ทรงแนะนำไว้อย่างยืดยาวนี้ จำเป็นที่จะต้องแบ่งออกเป็น ๔
ตอน คือ ลักษณะของความจริง ที่ชาวโลกจะได้มาตามธรรมชาติ ซึ่งยังไม่เป็นความจริงแท้ ยัง
จะต้องเปลี่ยนไปตามเหตุตามปัจจัย นี้ตอนหนึ่ง, การหล่อเลี้ยงความจริงอันนั้นไว้ ให้มีโอกาส
พิสูจน์ความจริงที่ยิ่งขึ้นไป นี้ตอนหนึ่ง, การแสวงหาความจริง จากบุคคลที่กำลังปฏิบัติความจริง
ที่ตนประสงค์จะรู้ให้แน่ชัด นี้ตอนหนึ่ง, เมื่อได้ความแน่ชัดมาแล้ว ตนเองที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
อันนั้น จนพบความจริงนั้นด้วยตนเองโดยประจักษ์ ไม่ต้องคาดคะเน ไม่ต้องคำนวณ ไม่ต้อง
เชื่อตามผู้อื่นอีกต่อไป นับว่าเป็นการเข้าถึงหัวใจแห่งควมจริงในกรณีนั้น เป็นตอนสุดท้าย.
ต่อไปนี้เป็นพระพุทธวจนะที่ตรัสปรารภ ความจริงที่เป็นไปตามภาษาชาวโลก ตาม
ธรรมชาติ
(กา. ธรรมเป็นอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง)
ดูกรภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ถ้าไม่พึงตั้ง
ความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียรจึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียร
จึงมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร?
ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าไม่พึงพิจารณา
ก็พึงตั้งความเพียรนี้ไม่ได้ แต่เพราะพิจารณาจึงตั้งความเพียรได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณา
จึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
กา. "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.
บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.
อนึ่งข้าพเจ้าก็มุ่งหวังซึ่งการตามบรรลุซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้..."
ดูกรภารทวาชะ การตั้งตนไว้ในธรรม (ปธาน) เป็นธรรมมีอุปการะ
มากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง :
ถ้าบุคคลไม่ตั้งตนไว้ในธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงตามบรรลุถึงซึ่งความจริงได้.
เพราะเหตุที่เขาตั้งตนไว้ในธรรม เขาจึงบรรลุถึงซึ่งความจริง, เพราะเหตุนั้น
การตั้งตนไว้ในธรรม จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.
ดูกรภารทวาชะ การพิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม (ตุลนา) เป็น
ธรรมมีอุปการะมากแก่การตั้งตนไว้ในธรรม :
ถ้าบุคคลไม่พบความสมดุลย์แห่งธรรมนั้นแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงตั้งตนไว้ในธรรม.
เพราะเหตุที่เขาพบซึ่งความสมดุลย์แห่งธรรม เขาจึงตั้งตนไว้ในธรรม;
เพราะเหตุนั้น การพิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม
จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตั้งตนไว้ในธรรม.
ดูกรภารทวาชะ อุสสาหะ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การพิจารณาหา
ความสมดุลย์แห่งธรรม :
ถ้าบุคคลไม่พึงมีอุสสาหะแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงพบซึ่งความสมดุลย์แห่งธรรม.
เพราะเหตุที่เขามีอุสสาหะ เขาจึงพบความสมดุลย์แห่งธรรม; เพราะเหตุนั้น
อุสสาหะจึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การพิจารณา
หาความสมดุลย์แห่งธรรม.
ดูกรภารทวาชะ ฉันทะ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่อุสสาหะ :
ถ้าบุคคลไม่ถึงยังฉันทะให้เกิดแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงมีอุสสาหะ.
เพราะเหตุที่ฉันทะเกิดขึ้น เขาจึงมีอุสสาหะ;
เพราะเหุตนั้น ฉันทะจึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่อุสสาหะ.
ดูกรภารทวาชะ ความที่ธรรมทั้งหลายทนได้ต่อการเพ่งพินิจ (ธมฺมนิชฺ-
ฌานกฺขนฺติ) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ :
ถ้าธรรมทั้งหลายไม่ถึงทนต่อการเพ่งพินิจแล้วไซร้ ฉันทะก็ไม่พึงเกิด.
เพราะเหตุที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ ฉันทะจึงเกิด;
เพราะเหตุนั้น ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.
ดูกรภารทวาชะ ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ (อตฺถุปปริกฺขา) เป็น
ธรรมมีอุปการะมากแก่ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ:
ถ้าบุคคลไม่เข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะแล้วไซร้ ธรรมทั้งหลายก็ไม่พึงทนต่อการเพ่งพินิจ.
เพราะเหตุที่บุคคลเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ ธรรมทั้งหลายจึงทนต่อการเพ่งพินิจ;
เพราะเหตุนั้น การเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมาก
แก่ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพิ่งพินิจ.
ดูกรภารทวาชะ การทรงไว้ซึ่งธรรม (ธมฺมธารณา) เป็นธรรมมีอุปการะ
มากแก่ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ.
ถ้าบุคคลไม่ทรงไว้ซึ่งธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่อาจเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะได้
เพราะเหตุที่เขาทรงธรรมไว้ได้ เขาจึงเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะได้.
เพราะเหตุนั้น การทรงไว้ซึ่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ.
ดูกรภารทวาชะ การฟังซึ่งธรรม (ธมฺมสฺสวน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงไว้ซึ่งธรรม.
ถ้าบุคคลไม่พึงฟังซึ่งธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงทรงธรรมไว้ได้
เพราะเหตุที่เขาฟังซึ่งธรม เขาจึงทรงธรรมไว้ได้.
เพราะเหตุนั้น การฟังซึ่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงไว้ซึ่งธรรม.
ดูกรภารทวาชะ การเงี่ยลงซึ่งโสตะ (โสตาวธาน) เป็นธรรมมีอุปการะ
มากแก่การฟังซึ่งธรรม.
ถ้าบุคคลไม่เงี่ยลงซึ่งโสตะแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงฟังซึ่งธรรมได้
เพราะเหตุที่เขาเงี่ยลงซึ่งโสตะ เขาจึงฟังซึ่งธรรมได้.
เพราะเหตุนั้น การเงี่ยลงซึ่งโสตะ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังซึ่งธรรม.
ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้ (ปยิรุปาสนา) เป็นธรรมมีอุปการะ
มากแก่การเงี่ยลงซึ่งโสตะ.
ถ้าบุคคลไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้แล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงเงี่ยลงซึ่งโสตะ
เพราะเหตุที่เขาเข้าไปนั่งใกล้ เขาจึงเงี่ยลงซึ่งโสตะได้.
เพราะเหตุนั้น การเข้าไปนั่งใกล้ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยลงซึ่งโสตะ.
ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปหา (อุปสงฺกมน) เป็นธรรมมีอุปการะมาก
แก่การเข้าไปนั่งใกล้.
ถ้าบุคคลไม่เข้าไปหาแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้ได้
เพราะเหตุที่เขาเข้าไปหา เขาจึงเข้าไปนั่งใกล้ได้.
เพราะเหตุนั้น การเข้าไปหา จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้.
ดูกรภารทวาชะ สัทธา เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.
ถ้าสัทธาไม่พึงเกิดแล้วไซร้ เขาก็จะไม่เข้าไปหา
เพราะเหตุที่สัทธาเกิดขึ้น เขาจึงเข้าไปหา.
เพราะเหตุนั้น สัทธาจึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การไปหา.
- ม. ม. ๑๓/๖๕๕-๖๕๙/๖๐๑-๖๐๘
พยากรณ์การรู้ตามสัจจะ........การพิสูจน์.ดังนี้
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๑๐๓๖๗ - ๑๐๕๑๒. หน้าที่ ๔๕๒ - ๔๕๘.
http://84000.org/tipitaka/read/?%F1%F3/%F6%F5%F5-%F6%F5%F9/%F6%F0%F1-%F6%F0%F8
อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=13&item=655&items=5&preline=&mode=bracket
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=646
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓
http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๓
http://84000.org/tipitaka/read/?index_13
สัจจะและหลักถึงปฏิบัติเกี่ยวกับการพิสูจน์ความจริง
ของเขาอยู่ด้วยกันทั้งนั้น แล้วแต่ว่าเขาได้ทำให้มันเกิดขึ้นในใจของเขาอย่างไร ซึ่งอยากที่จะ
เปลี่ยนแปลงได้. แต่ว่าความจริงชนิดนี้ยังไม่ใช่ความจริงที่เด็ดขาด ยังไม่สูงสุด ยังใช้เป็น
ประโยชน์ในขั้นสูงสุดไม่ได้. ดังนั้นความจริงนั้น จะต้องถูกปรับปรุงให้ชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นไป
จนกว่าจะกลายเป็นความจริงที่ใช้ให้สำเร็จประโยชน์ได้จริง โดยวิธีพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้อย่าง
น่าอัศจรรย์; กล่าวคือไม่ยึดมั่นถือมั่น ความจริงอันดับแรกนั้น แต่หล่อเลี้ยงมันไว้ในลักษณะ
ที่มันจะพิสูจน์ความเป็นของจริงออกมาในตัวการปฏิบัตินั้นเอง.
ในพระพุทธวจนะที่ทรงแนะนำไว้อย่างยืดยาวนี้ จำเป็นที่จะต้องแบ่งออกเป็น ๔
ตอน คือ ลักษณะของความจริง ที่ชาวโลกจะได้มาตามธรรมชาติ ซึ่งยังไม่เป็นความจริงแท้ ยัง
จะต้องเปลี่ยนไปตามเหตุตามปัจจัย นี้ตอนหนึ่ง, การหล่อเลี้ยงความจริงอันนั้นไว้ ให้มีโอกาส
พิสูจน์ความจริงที่ยิ่งขึ้นไป นี้ตอนหนึ่ง, การแสวงหาความจริง จากบุคคลที่กำลังปฏิบัติความจริง
ที่ตนประสงค์จะรู้ให้แน่ชัด นี้ตอนหนึ่ง, เมื่อได้ความแน่ชัดมาแล้ว ตนเองที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
อันนั้น จนพบความจริงนั้นด้วยตนเองโดยประจักษ์ ไม่ต้องคาดคะเน ไม่ต้องคำนวณ ไม่ต้อง
เชื่อตามผู้อื่นอีกต่อไป นับว่าเป็นการเข้าถึงหัวใจแห่งควมจริงในกรณีนั้น เป็นตอนสุดท้าย.
ต่อไปนี้เป็นพระพุทธวจนะที่ตรัสปรารภ ความจริงที่เป็นไปตามภาษาชาวโลก ตาม
ธรรมชาติ
(กา. ธรรมเป็นอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง)
ดูกรภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ถ้าไม่พึงตั้ง
ความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียรจึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียร
จึงมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร?
ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าไม่พึงพิจารณา
ก็พึงตั้งความเพียรนี้ไม่ได้ แต่เพราะพิจารณาจึงตั้งความเพียรได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณา
จึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
กา. "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.
บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.
อนึ่งข้าพเจ้าก็มุ่งหวังซึ่งการตามบรรลุซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้..."
ดูกรภารทวาชะ การตั้งตนไว้ในธรรม (ปธาน) เป็นธรรมมีอุปการะ
มากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง :
ถ้าบุคคลไม่ตั้งตนไว้ในธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงตามบรรลุถึงซึ่งความจริงได้.
เพราะเหตุที่เขาตั้งตนไว้ในธรรม เขาจึงบรรลุถึงซึ่งความจริง, เพราะเหตุนั้น
การตั้งตนไว้ในธรรม จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.
ดูกรภารทวาชะ การพิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม (ตุลนา) เป็น
ธรรมมีอุปการะมากแก่การตั้งตนไว้ในธรรม :
ถ้าบุคคลไม่พบความสมดุลย์แห่งธรรมนั้นแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงตั้งตนไว้ในธรรม.
เพราะเหตุที่เขาพบซึ่งความสมดุลย์แห่งธรรม เขาจึงตั้งตนไว้ในธรรม;
เพราะเหตุนั้น การพิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม
จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตั้งตนไว้ในธรรม.
ดูกรภารทวาชะ อุสสาหะ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การพิจารณาหา
ความสมดุลย์แห่งธรรม :
ถ้าบุคคลไม่พึงมีอุสสาหะแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงพบซึ่งความสมดุลย์แห่งธรรม.
เพราะเหตุที่เขามีอุสสาหะ เขาจึงพบความสมดุลย์แห่งธรรม; เพราะเหตุนั้น
อุสสาหะจึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การพิจารณา
หาความสมดุลย์แห่งธรรม.
ดูกรภารทวาชะ ฉันทะ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่อุสสาหะ :
ถ้าบุคคลไม่ถึงยังฉันทะให้เกิดแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงมีอุสสาหะ.
เพราะเหตุที่ฉันทะเกิดขึ้น เขาจึงมีอุสสาหะ;
เพราะเหุตนั้น ฉันทะจึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่อุสสาหะ.
ดูกรภารทวาชะ ความที่ธรรมทั้งหลายทนได้ต่อการเพ่งพินิจ (ธมฺมนิชฺ-
ฌานกฺขนฺติ) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ :
ถ้าธรรมทั้งหลายไม่ถึงทนต่อการเพ่งพินิจแล้วไซร้ ฉันทะก็ไม่พึงเกิด.
เพราะเหตุที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ ฉันทะจึงเกิด;
เพราะเหตุนั้น ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.
ดูกรภารทวาชะ ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ (อตฺถุปปริกฺขา) เป็น
ธรรมมีอุปการะมากแก่ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ:
ถ้าบุคคลไม่เข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะแล้วไซร้ ธรรมทั้งหลายก็ไม่พึงทนต่อการเพ่งพินิจ.
เพราะเหตุที่บุคคลเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ ธรรมทั้งหลายจึงทนต่อการเพ่งพินิจ;
เพราะเหตุนั้น การเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมาก
แก่ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพิ่งพินิจ.
ดูกรภารทวาชะ การทรงไว้ซึ่งธรรม (ธมฺมธารณา) เป็นธรรมมีอุปการะ
มากแก่ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ.
ถ้าบุคคลไม่ทรงไว้ซึ่งธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่อาจเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะได้
เพราะเหตุที่เขาทรงธรรมไว้ได้ เขาจึงเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะได้.
เพราะเหตุนั้น การทรงไว้ซึ่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ.
ดูกรภารทวาชะ การฟังซึ่งธรรม (ธมฺมสฺสวน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงไว้ซึ่งธรรม.
ถ้าบุคคลไม่พึงฟังซึ่งธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงทรงธรรมไว้ได้
เพราะเหตุที่เขาฟังซึ่งธรม เขาจึงทรงธรรมไว้ได้.
เพราะเหตุนั้น การฟังซึ่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงไว้ซึ่งธรรม.
ดูกรภารทวาชะ การเงี่ยลงซึ่งโสตะ (โสตาวธาน) เป็นธรรมมีอุปการะ
มากแก่การฟังซึ่งธรรม.
ถ้าบุคคลไม่เงี่ยลงซึ่งโสตะแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงฟังซึ่งธรรมได้
เพราะเหตุที่เขาเงี่ยลงซึ่งโสตะ เขาจึงฟังซึ่งธรรมได้.
เพราะเหตุนั้น การเงี่ยลงซึ่งโสตะ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังซึ่งธรรม.
ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้ (ปยิรุปาสนา) เป็นธรรมมีอุปการะ
มากแก่การเงี่ยลงซึ่งโสตะ.
ถ้าบุคคลไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้แล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงเงี่ยลงซึ่งโสตะ
เพราะเหตุที่เขาเข้าไปนั่งใกล้ เขาจึงเงี่ยลงซึ่งโสตะได้.
เพราะเหตุนั้น การเข้าไปนั่งใกล้ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยลงซึ่งโสตะ.
ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปหา (อุปสงฺกมน) เป็นธรรมมีอุปการะมาก
แก่การเข้าไปนั่งใกล้.
ถ้าบุคคลไม่เข้าไปหาแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้ได้
เพราะเหตุที่เขาเข้าไปหา เขาจึงเข้าไปนั่งใกล้ได้.
เพราะเหตุนั้น การเข้าไปหา จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้.
ดูกรภารทวาชะ สัทธา เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.
ถ้าสัทธาไม่พึงเกิดแล้วไซร้ เขาก็จะไม่เข้าไปหา
เพราะเหตุที่สัทธาเกิดขึ้น เขาจึงเข้าไปหา.
เพราะเหตุนั้น สัทธาจึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การไปหา.
- ม. ม. ๑๓/๖๕๕-๖๕๙/๖๐๑-๖๐๘
พยากรณ์การรู้ตามสัจจะ........การพิสูจน์.ดังนี้
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๑๐๓๖๗ - ๑๐๕๑๒. หน้าที่ ๔๕๒ - ๔๕๘.
http://84000.org/tipitaka/read/?%F1%F3/%F6%F5%F5-%F6%F5%F9/%F6%F0%F1-%F6%F0%F8
อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=13&item=655&items=5&preline=&mode=bracket
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=646
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓
http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๓
http://84000.org/tipitaka/read/?index_13