กุตุหลสาลาสูตร
[๗๙๙] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า....
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อวันก่อนๆ โน้น พวกสมณพราหมณ์และปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นมากด้วยกัน
นั่งประชุมกันในศาลาวุ่นวาย ได้เกิดมี การสนทนาขึ้นในระหว่างว่า ปูรณกัสสปนี้แลเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ
เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มี เกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี
ปูรณกัสสปนั้นย่อมพยากรณ์สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า
ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ แม้สาวกคนใดของท่านปูรณกัสสปนั้น
เป็นบุรุษสูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม บรรลุความปฏิบัติ ยอดเยี่ยมแล้ว
ท่านปูรณกัสสปก็ย่อมพยากรณ์สาวกแม้นั้นผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วใน อุปบัติทั้งหลายว่า
ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้
แม้มักขลิโคสาล... แม้นิครณฐนาฏบุตร... แม้สญชัยเวลัฏฐบุตร... แม้ปกุธกัจจานะ...
แม้อชิตเกสกัมพลก็เป็นเจ้า หมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี
แม้ ท่านอชิตเกสกัมพลนั้นก็ย่อมพยากรณ์สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า
ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้นท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้
แม้สาวกใดของท่านอชิตเกส กัมพลนั้นเป็นบุรุษสูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม ได้บรรลุความปฏิบัติอันยอดเยี่ยมแล้ว
ท่านอชิตเกส กัมพลก็ย่อมพยากรณ์สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วแม้นั้นในอุปบัติทั้งหลายว่า
ท่านโน่น บังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้เหมือนกัน
แม้พระสมณโคดมนี้ก็เป็นเจ้าหมู่เจ้า คณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี
แม้พระ สมณโคดมนั้น ก็ทรงพยากรณ์สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่น บังเกิดในภพโน้น
ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ และสาวกของพระสมณโคดมนั้น รูปใด เป็นบุรุษสูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม
ได้บรรลุความปฏิบัติอันยอดเยี่ยมแล้ว พระสมณโคดมก็ ทรงพยากรณ์สาวกรูปนั้น
ผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นเกิดในภพ โน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้เหมือนกัน
ยิ่งกว่านั้นพระสมณโคดมนั้นยังทรงพยากรณ์ สาวกรูปนั้นอย่างนี้ว่า รูปโน้นตัดตัณหาขาดแล้วถอนสังโยชน์ทิ้งเสียแล้ว
ทำที่สุดแห่งทุกข์ แล้วเพราะได้บรรลุเหตุที่ละมานะได้โดยชอบ ดังนี้
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้านั้น มี ความเคลือบแคลงสงสัยแท้ว่า
อย่างไรๆ พระสมณโคดมก็ต้องทรงรู้ธรรมอันบุคคลพึงรู้ยิ่ง ฯ
[๘๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวัจฉะ จริงทีเดียว ควรที่ท่านจะสงสัยเคลือบ แคลงใจ
ความเคลือบแคลงเกิดขึ้นแล้วแก่ท่านในฐานะที่ควรสงสัย
ดูกรวัจฉะ เราย่อมบัญญัติ ความเกิดขึ้นแก่คนที่ยังมีอุปาทานเท่านั้น หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่
ดูกรวัจฉะ ไฟมีเชื้อจึงลุกโพลง ไม่มีเชื้อหาลุกโพลงไม่แม้ฉันใด
ดูกรวัจฉะ เราก็ย่อมบัญญัติความเกิดขึ้นแก่ คนที่ยังมีอุปาทาน หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่
ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมัยใด เปลวไฟถูกลมพัด ย่อมไปไกลได้ ก็พระโคดม ผู้เจริญจะทรงบัญญัติอะไร
แก่เปลวไฟนี้ ในเพราะเชื้อเล่า ฯ
พ. ดูกรวัจฉะ สมัยใด เปลวไฟถูกลมพัด ย่อมไปไกลได้ เราย่อมบัญญัติเชื้อ คือ ลมนั้น
ดูกรวัจฉะ เพราะว่าสมัยนั้น ลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น ฯ
ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมัยใด สัตว์ย่อมทอดทิ้งกายนี้ด้วย ไม่เข้าถึงกายอันใด อันหนึ่งด้วย
ก็พระโคดมผู้เจริญ จะทรงบัญญัติอะไรแก่สัตว์นี้ในเพราะอุปาทานเล่า ฯ
พ.
ดูกรวัจฉะ สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ด้วย ไม่เข้าถึงกายอันใดอันหนึ่งด้วย
เรา ย่อมบัญญัติอุปาทาน คือ ตัณหานั่นแล
ดูกรวัจฉะ เพราะว่าสมัยนั้นตัณหาย่อมเป็นเชื้อของ สัตว์นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙
https://etipitaka.com/read/thai/18/397/
สรุป... <----อันนี้เป็นความเข้าใจของผม...หากมีคำแนะนำ-หรือ-เห็นต่าง..นำหลักฐานมาแสดง...ก็ยินดีเลยครับ
1. จากพระสูตร ท่านวัจฉะได่ไปได้ยินเจ้าลัทธิอื่น...บอกว่า...สาวกขอตนนะ บรรลุธรรมแล้ว...แล้วก็ได้ไปเกิด
ในที่โน้นภพโน้น-นี้ และก็ยังมากล่าวว่า...พุทธศาสนาก็เช่นกัน...พยากรณ์ผู้นั้นไปเกิดที่นั้น..ที่นี่
วัจฉะก็เลยมาถามพระศาสดา..ว่าอย่างไร? พระศาสดาท่านกล่าวว่า...
- ท่านบัญญัติการเกิดแก่ผู้มี่มีอุปาทานเท่านั้น
- ท่านไม่บัญญัติการเกิดแก่ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน? <---อันนี้งงไหม ครับ?
2. พอพระศาสดาท่านอุปมาเรื่องไฟมีเชื้อว่า ถ้ามีเชื้อไฟก็ลุกได้ ไม่มีเชื้อไฟก็ลุกไม่ได้
วัจฉะจึงถามแย้งว่า...อ้าว ตอนที่เปลวไฟมันปลิวไปด้วยลมหละ มันจะมีเชื้อไฟอะไร
พระองค์จึงตอบว่า...ลม..เป็นเชื้อ <-----อันนี้เข้าใจไหม ครับ?
3. อันนี้หละ..คือประเด็นของกระทู้นี้
วัจฉะถาม..สัตว์...มันทอดทิ้งกายนี้ ...มันไปได้กายใหม่ได้อย่างไร? พระองค์ตอบว่า " ตัณหา "..เป็นเชื้อให้ " สัตว์ " ไปได้กายใหม่
สรุปว่า...
- วัจฉะท่านก็เข้าใจว่า...สัตว์..มันเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด สัตว์ตัวเดียวนั่นหละ...ทอดทิ้งกายนี้...แล้วไปได้...กายใหม่
- อย่างนี้ " สัตว์ "----มันเที่ยงหรือ? ก็มันตังเดียวกันที่..ตัณหาพาไปเกิดในสังวารวัฏ
คำตอบ..คือ...สัตว์ตัวนั้น..นั่นหละ แต่มันก็หมดความเป็น " สัตว์ "..ไปได้
คือถ้ามันหมด..อุปาทาน..มันก็ไม่ใช่ "สัตว์ " แล้ว
ดังนั้นอย่าไปเข้าใจว่าคิดอย่างนี้จะเป็น...สัสสตทิฏฐิ..หละ
4. แล้วคำที่มีผู้กล่าวหาผมว่า " เห็นสัตว์ในขันธ์๕...ก็เท่ากับ...เห็นตนในขันธ์๕ " <---เป็นมิจฉาทิฏฐิ
อันนี้กล่าวหาผมเกินไป..ครับ ท่านอ่านพระสูตรดีๆ ครับ
จาก " สัตว์ " ตอน-1: จะให้ผู้ที่เข้าใจถูกต้องปรับทิฏฐิตามผู้ที่ไม่เข้าใจ...ผมนี่..งงจริงๆ ครับ
นี่คือคำกล่าวของพระศาสดาครับ...
การที่มี..สัตว์...อยู่ที่ขันธ์๕...มันก็ถูกแล้ว <---เพราะว่าสัตว์มันเห็นว่าตนในขันธ์๕. ไม่งั้นจะไม่เรียกว่าสัตว์...หรอก
ถ้าเป็นผู้หมด...อุปาทานแล้ว(พระอรหันต์)..ผู้นั้นก็จะไม่เรียกว่า " สัตว์ "อีก..และอรหันต์ก็จะไม่เห็นว่าตนอยู่ในขันธ์๕
มันก็แค่นี้...หละครับ ถ้าเข้าใจก็จะไม่สับสน
" สัตว์ "---ตอนที่ 5 :...สัตว์..มี..ตัณหา..เป็นเชื้อให้มีการเกิดอีก....ตอนตายสัตว์มันก็ทิ้งขันธ์๕..ไปหาขันธ์ใหม่
กุตุหลสาลาสูตร
[๗๙๙] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า....
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อวันก่อนๆ โน้น พวกสมณพราหมณ์และปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นมากด้วยกัน
นั่งประชุมกันในศาลาวุ่นวาย ได้เกิดมี การสนทนาขึ้นในระหว่างว่า ปูรณกัสสปนี้แลเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ
เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มี เกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี
ปูรณกัสสปนั้นย่อมพยากรณ์สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า
ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ แม้สาวกคนใดของท่านปูรณกัสสปนั้น
เป็นบุรุษสูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม บรรลุความปฏิบัติ ยอดเยี่ยมแล้ว
ท่านปูรณกัสสปก็ย่อมพยากรณ์สาวกแม้นั้นผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วใน อุปบัติทั้งหลายว่า
ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้
แม้มักขลิโคสาล... แม้นิครณฐนาฏบุตร... แม้สญชัยเวลัฏฐบุตร... แม้ปกุธกัจจานะ...
แม้อชิตเกสกัมพลก็เป็นเจ้า หมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี
แม้ ท่านอชิตเกสกัมพลนั้นก็ย่อมพยากรณ์สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า
ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้นท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้
แม้สาวกใดของท่านอชิตเกส กัมพลนั้นเป็นบุรุษสูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม ได้บรรลุความปฏิบัติอันยอดเยี่ยมแล้ว
ท่านอชิตเกส กัมพลก็ย่อมพยากรณ์สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วแม้นั้นในอุปบัติทั้งหลายว่า
ท่านโน่น บังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้เหมือนกัน
แม้พระสมณโคดมนี้ก็เป็นเจ้าหมู่เจ้า คณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี
แม้พระ สมณโคดมนั้น ก็ทรงพยากรณ์สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่น บังเกิดในภพโน้น
ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ และสาวกของพระสมณโคดมนั้น รูปใด เป็นบุรุษสูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม
ได้บรรลุความปฏิบัติอันยอดเยี่ยมแล้ว พระสมณโคดมก็ ทรงพยากรณ์สาวกรูปนั้น
ผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นเกิดในภพ โน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้เหมือนกัน
ยิ่งกว่านั้นพระสมณโคดมนั้นยังทรงพยากรณ์ สาวกรูปนั้นอย่างนี้ว่า รูปโน้นตัดตัณหาขาดแล้วถอนสังโยชน์ทิ้งเสียแล้ว
ทำที่สุดแห่งทุกข์ แล้วเพราะได้บรรลุเหตุที่ละมานะได้โดยชอบ ดังนี้
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้านั้น มี ความเคลือบแคลงสงสัยแท้ว่า
อย่างไรๆ พระสมณโคดมก็ต้องทรงรู้ธรรมอันบุคคลพึงรู้ยิ่ง ฯ
[๘๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวัจฉะ จริงทีเดียว ควรที่ท่านจะสงสัยเคลือบ แคลงใจ
ความเคลือบแคลงเกิดขึ้นแล้วแก่ท่านในฐานะที่ควรสงสัย
ดูกรวัจฉะ เราย่อมบัญญัติ ความเกิดขึ้นแก่คนที่ยังมีอุปาทานเท่านั้น หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่
ดูกรวัจฉะ ไฟมีเชื้อจึงลุกโพลง ไม่มีเชื้อหาลุกโพลงไม่แม้ฉันใด
ดูกรวัจฉะ เราก็ย่อมบัญญัติความเกิดขึ้นแก่ คนที่ยังมีอุปาทาน หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่
ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมัยใด เปลวไฟถูกลมพัด ย่อมไปไกลได้ ก็พระโคดม ผู้เจริญจะทรงบัญญัติอะไร
แก่เปลวไฟนี้ ในเพราะเชื้อเล่า ฯ
พ. ดูกรวัจฉะ สมัยใด เปลวไฟถูกลมพัด ย่อมไปไกลได้ เราย่อมบัญญัติเชื้อ คือ ลมนั้น
ดูกรวัจฉะ เพราะว่าสมัยนั้น ลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น ฯ
ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมัยใด สัตว์ย่อมทอดทิ้งกายนี้ด้วย ไม่เข้าถึงกายอันใด อันหนึ่งด้วย
ก็พระโคดมผู้เจริญ จะทรงบัญญัติอะไรแก่สัตว์นี้ในเพราะอุปาทานเล่า ฯ
พ. ดูกรวัจฉะ สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ด้วย ไม่เข้าถึงกายอันใดอันหนึ่งด้วย
เรา ย่อมบัญญัติอุปาทาน คือ ตัณหานั่นแล
ดูกรวัจฉะ เพราะว่าสมัยนั้นตัณหาย่อมเป็นเชื้อของ สัตว์นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙
https://etipitaka.com/read/thai/18/397/
สรุป... <----อันนี้เป็นความเข้าใจของผม...หากมีคำแนะนำ-หรือ-เห็นต่าง..นำหลักฐานมาแสดง...ก็ยินดีเลยครับ
1. จากพระสูตร ท่านวัจฉะได่ไปได้ยินเจ้าลัทธิอื่น...บอกว่า...สาวกขอตนนะ บรรลุธรรมแล้ว...แล้วก็ได้ไปเกิด
ในที่โน้นภพโน้น-นี้ และก็ยังมากล่าวว่า...พุทธศาสนาก็เช่นกัน...พยากรณ์ผู้นั้นไปเกิดที่นั้น..ที่นี่
วัจฉะก็เลยมาถามพระศาสดา..ว่าอย่างไร? พระศาสดาท่านกล่าวว่า...
- ท่านบัญญัติการเกิดแก่ผู้มี่มีอุปาทานเท่านั้น
- ท่านไม่บัญญัติการเกิดแก่ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน? <---อันนี้งงไหม ครับ?
2. พอพระศาสดาท่านอุปมาเรื่องไฟมีเชื้อว่า ถ้ามีเชื้อไฟก็ลุกได้ ไม่มีเชื้อไฟก็ลุกไม่ได้
วัจฉะจึงถามแย้งว่า...อ้าว ตอนที่เปลวไฟมันปลิวไปด้วยลมหละ มันจะมีเชื้อไฟอะไร
พระองค์จึงตอบว่า...ลม..เป็นเชื้อ <-----อันนี้เข้าใจไหม ครับ?
3. อันนี้หละ..คือประเด็นของกระทู้นี้
วัจฉะถาม..สัตว์...มันทอดทิ้งกายนี้ ...มันไปได้กายใหม่ได้อย่างไร? พระองค์ตอบว่า " ตัณหา "..เป็นเชื้อให้ " สัตว์ " ไปได้กายใหม่
สรุปว่า...
- วัจฉะท่านก็เข้าใจว่า...สัตว์..มันเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด สัตว์ตัวเดียวนั่นหละ...ทอดทิ้งกายนี้...แล้วไปได้...กายใหม่
- อย่างนี้ " สัตว์ "----มันเที่ยงหรือ? ก็มันตังเดียวกันที่..ตัณหาพาไปเกิดในสังวารวัฏ
คำตอบ..คือ...สัตว์ตัวนั้น..นั่นหละ แต่มันก็หมดความเป็น " สัตว์ "..ไปได้
คือถ้ามันหมด..อุปาทาน..มันก็ไม่ใช่ "สัตว์ " แล้ว
ดังนั้นอย่าไปเข้าใจว่าคิดอย่างนี้จะเป็น...สัสสตทิฏฐิ..หละ
4. แล้วคำที่มีผู้กล่าวหาผมว่า " เห็นสัตว์ในขันธ์๕...ก็เท่ากับ...เห็นตนในขันธ์๕ " <---เป็นมิจฉาทิฏฐิ
อันนี้กล่าวหาผมเกินไป..ครับ ท่านอ่านพระสูตรดีๆ ครับ
จาก " สัตว์ " ตอน-1: จะให้ผู้ที่เข้าใจถูกต้องปรับทิฏฐิตามผู้ที่ไม่เข้าใจ...ผมนี่..งงจริงๆ ครับ
นี่คือคำกล่าวของพระศาสดาครับ...
การที่มี..สัตว์...อยู่ที่ขันธ์๕...มันก็ถูกแล้ว <---เพราะว่าสัตว์มันเห็นว่าตนในขันธ์๕. ไม่งั้นจะไม่เรียกว่าสัตว์...หรอก
ถ้าเป็นผู้หมด...อุปาทานแล้ว(พระอรหันต์)..ผู้นั้นก็จะไม่เรียกว่า " สัตว์ "อีก..และอรหันต์ก็จะไม่เห็นว่าตนอยู่ในขันธ์๕
มันก็แค่นี้...หละครับ ถ้าเข้าใจก็จะไม่สับสน