จากที่ทางบอร์ดค่าจ้างมีนโยบายที่จะปรับค่าจ้างขั้นต่ำจาก 300 บาททั่วประเทศ เป็น ตามเศรษฐกิจของจังหวัด
ข้อดีข้อเสียก็มีนะครับ
ข้อดี
1.ผู้ประกอบการในพื้นที่ที่มีการปรับอัตาราค่าจ้างลง ก็จะลดต้นทุนด้านจ้างแรงงานลงได้
2.ทำให้ราคาสินค้าอาจจะมีการปรับตัวลดลงบ้างหากผลิตในพื้นที่ที่ค่าจ้างถูกลงโดยไม่มองถึงค่าขนส่ง
3.กำไรจากภาษีที่ทางรัฐจะเก็บจากผู้ประกอบการก็จะมากขึ้น
4.มีการเพิ่มการลงทุนจากแหล่งอื่นมากขึ้น (ไม่ได้ระบุว่าจากต่างชาติหรือชาติไหน)
5.อาจมีการขยายการลงทุนไปยังพื้นที่ไกลขึ้นเรื่องค่าจ้างที่ถูกกว่า
ข้อเสีย
1.ผู้ประกอบการที่อัตราค่าจ้างถูกจะขาดแรงงาน เพราะแรงงานจะย้ายไปยังเขตที่แพงกว่า
2.ราคาสินค้าที่ปรับอาจจะไม่ได้มีผลมาจากค่าแรงงานอย่างเดียว มาจากหลายปัจจัย เช่นค่าขนส่ง เหมือนราคาน้ำมัน กรุงเทพ ดีเซลอาจลิตรละ 25.99 ที่กรุงเทพ แต่จะแพงขึ้นเรื่อยๆเมื่อห่างจากรุงเทพเมืองฟ้าอมรออกไป ประมาณ 3- 5 บาท หรือน้ำปลาที่ในห้างกรุงเทพ กับห้างที่เชียงราย ราคาก็ต่างกันตามระยะทาง
3.ภาษีที่คนใช้แรงงานจ่ายจาก VAT หรืออื่นๆ ก็จะน้อยลงตามพื้นที่
4.การลงทุนในพื่นที่ไกลออกไป อาจติดปัญหาขาดแรงงานที่มากระจุกอยู่ที่กรุงเทพฟ้าอมรและค่าขนส่ง
โดยส่วนตัว แล้วผมว่าทั้ง 2 แบบคือ แบบ 300 ทั่วไทย และแบบตามเขตพื้นที่ ก็ลำบากพอกัน
1.ตอนนี้คนไทยที่ทำงานในภาคแรงงานที่รับเงินขั้นต่ำหายาก มาก แล้วประชากรหายไปไหน ผู้ชายไปทำงานฟรีแลนซ์กัน
ขับวินมอร์ไซค์ หรือไม่ก็ขับแท็กซี่ เป็นนายตัวเองครับ ทั้งที่แรงงานชายเป็นที่ต้องการมาก สายช่างฝีมือ กับขับรถ (ขับดีกับขับได้นี่ต่างกันนะครับ) นี่แทบจะทำงานไป เอาโซ่มัดขาติดกับเสาโรงงานเลย(กลัวลาออก)
2.แรงงานต่างชาติ ทำแทนในภาคการผลิต คำถามคือ ถ้าให้ต่างด้าวออกไป แล้ว คนไทยจะมาทำแทนไหม
3.ราคาน้ำปลาที่บ้านนอกไกลสุดชายแดนไม่ได้ถูกกว่าราคาในห้างที่กรุงเทพจนเห็นข้อแตกต่าง หรืออัตราค่าไฟที่กรุงเทพกับแม่สอดก็เท่ากัน
4.เจ้าของ นายเงิน ผู้บริหาร SME ต่างๆ หรือกิจการก็ต้องใช้ฝีมือมากขึ้น เงิน คน โอกาศ ลูกค้า ยำให้ลงตัว
5.ขี้ข้าทั้งหลาย ก็ต้องปรับตัว งานไหนที่ต้องใช้การฝึกฝีมือก็ต้องฝึก และงานไหนที่ต้องทนถึกก็ต้องทน ลดบุหรี่ลดเหล้าลงบ้าง
6.เรียนสายช่างมากขึ้นหรือจบออกมามากหน่อย และเน้นปฏิบัติให้เป็นด้วย
ปล. จขกท.ก็เป็นขี้ข้านะ ไม่ใช่เจ้าของกิจการ แต่เคยเป็นขี้ข้าตั้งแต่ระดับพนักงานทั่วไป จนมาเป็นขี้ข้าระดับกลางมีหัวหน้าเป็นกรรมการผู้จัดการ
ว่าด้วยเรื่องการปรับค่าจ้างตามแบบพื้นที่แบบใหม่ในปี 2559
ข้อดีข้อเสียก็มีนะครับ
ข้อดี
1.ผู้ประกอบการในพื้นที่ที่มีการปรับอัตาราค่าจ้างลง ก็จะลดต้นทุนด้านจ้างแรงงานลงได้
2.ทำให้ราคาสินค้าอาจจะมีการปรับตัวลดลงบ้างหากผลิตในพื้นที่ที่ค่าจ้างถูกลงโดยไม่มองถึงค่าขนส่ง
3.กำไรจากภาษีที่ทางรัฐจะเก็บจากผู้ประกอบการก็จะมากขึ้น
4.มีการเพิ่มการลงทุนจากแหล่งอื่นมากขึ้น (ไม่ได้ระบุว่าจากต่างชาติหรือชาติไหน)
5.อาจมีการขยายการลงทุนไปยังพื้นที่ไกลขึ้นเรื่องค่าจ้างที่ถูกกว่า
ข้อเสีย
1.ผู้ประกอบการที่อัตราค่าจ้างถูกจะขาดแรงงาน เพราะแรงงานจะย้ายไปยังเขตที่แพงกว่า
2.ราคาสินค้าที่ปรับอาจจะไม่ได้มีผลมาจากค่าแรงงานอย่างเดียว มาจากหลายปัจจัย เช่นค่าขนส่ง เหมือนราคาน้ำมัน กรุงเทพ ดีเซลอาจลิตรละ 25.99 ที่กรุงเทพ แต่จะแพงขึ้นเรื่อยๆเมื่อห่างจากรุงเทพเมืองฟ้าอมรออกไป ประมาณ 3- 5 บาท หรือน้ำปลาที่ในห้างกรุงเทพ กับห้างที่เชียงราย ราคาก็ต่างกันตามระยะทาง
3.ภาษีที่คนใช้แรงงานจ่ายจาก VAT หรืออื่นๆ ก็จะน้อยลงตามพื้นที่
4.การลงทุนในพื่นที่ไกลออกไป อาจติดปัญหาขาดแรงงานที่มากระจุกอยู่ที่กรุงเทพฟ้าอมรและค่าขนส่ง
โดยส่วนตัว แล้วผมว่าทั้ง 2 แบบคือ แบบ 300 ทั่วไทย และแบบตามเขตพื้นที่ ก็ลำบากพอกัน
1.ตอนนี้คนไทยที่ทำงานในภาคแรงงานที่รับเงินขั้นต่ำหายาก มาก แล้วประชากรหายไปไหน ผู้ชายไปทำงานฟรีแลนซ์กัน
ขับวินมอร์ไซค์ หรือไม่ก็ขับแท็กซี่ เป็นนายตัวเองครับ ทั้งที่แรงงานชายเป็นที่ต้องการมาก สายช่างฝีมือ กับขับรถ (ขับดีกับขับได้นี่ต่างกันนะครับ) นี่แทบจะทำงานไป เอาโซ่มัดขาติดกับเสาโรงงานเลย(กลัวลาออก)
2.แรงงานต่างชาติ ทำแทนในภาคการผลิต คำถามคือ ถ้าให้ต่างด้าวออกไป แล้ว คนไทยจะมาทำแทนไหม
3.ราคาน้ำปลาที่บ้านนอกไกลสุดชายแดนไม่ได้ถูกกว่าราคาในห้างที่กรุงเทพจนเห็นข้อแตกต่าง หรืออัตราค่าไฟที่กรุงเทพกับแม่สอดก็เท่ากัน
4.เจ้าของ นายเงิน ผู้บริหาร SME ต่างๆ หรือกิจการก็ต้องใช้ฝีมือมากขึ้น เงิน คน โอกาศ ลูกค้า ยำให้ลงตัว
5.ขี้ข้าทั้งหลาย ก็ต้องปรับตัว งานไหนที่ต้องใช้การฝึกฝีมือก็ต้องฝึก และงานไหนที่ต้องทนถึกก็ต้องทน ลดบุหรี่ลดเหล้าลงบ้าง
6.เรียนสายช่างมากขึ้นหรือจบออกมามากหน่อย และเน้นปฏิบัติให้เป็นด้วย
ปล. จขกท.ก็เป็นขี้ข้านะ ไม่ใช่เจ้าของกิจการ แต่เคยเป็นขี้ข้าตั้งแต่ระดับพนักงานทั่วไป จนมาเป็นขี้ข้าระดับกลางมีหัวหน้าเป็นกรรมการผู้จัดการ