สัปดาห์นี้ พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก อาทิตย์วินาศพฤหัสมรณะ อังคารเล็งมฤตยูจร โดยแท้
“คนเป็นขุนนางนั้น มิเพียงแต่ต้องไม่กระทำบาปหยาบช้าแก่บ้านเมือง แต่ยังต้องอุทิศตนเพื่อแผ่นดินด้วย
หากพี่ยอมสารภาพว่าเป็นคนฆ่า เรื่องวิลาศบีบคั้นพวกเราก็จะจบไปเช่นกัน
ฉันรู้ว่าพี่ต้องเสียศักดิ์ศรีนัก แต่หากพี่กระทำได้ก็จะนับเป็นขุนนางประเสริฐแท้
เพราะจะช่วยบ้านเมืองรอดจากความวิบัติจากพวกวิลาศได้ ส่วนเรื่องลูกเมียของพี่
ฉันสาบานว่าจะดูแลด้วยชีวิตของฉัน หากฉันตระบัตรสัตย์ก็ ขอให้ฉันมีอันเป็นไปด้วยคมหอกคมดาบเถิด”
“น้องรักคุณเหมนะเจ้าคะ แต่ถ้าอยู่กินกันแล้วไม่มีกระไรก้าวหน้า น้องก็ไม่เอาดอกเจ้าค่ะ”
“ท่านเจ้าขรัวแช่มเห็นว่าคุณหญิงต้องโทษ เกรงว่าบรรดาทรัพย์สินของตระกูลที่อยู่กับคุณหญิงจะถูกยึดไปด้วย
จึงให้กระผมมาถามว่า ทรัพย์สินพวกนั้นอยู่ที่ใด จะได้ช่วยรักษาไว้ให้”
“ยามมิตรคิดร้ายนี่ ช่างน่ากลัวกว่าศัตรูเสียด้วยซ้ำ”
เจ้าคุณพ่อสอนลูกเสมอว่า “ผู้ซื่อสัตย์จงรักภักดีจักไม่มีวันได้รับอันตราย”
หากคำสอนนี้เป็นจริง เจ้าคุณพ่อของลูกเป็นคนซื่อมาทั้งชีวิต จะมีวันนี้ได้กระไร
พระเอก ตกยากเป็นตะพุ่น ณ กรมช้างนอก เขตพระนคร ดีที่ท่านขุนมีเมตตา แลเห็นแววเก่ง
จึงเลื่อนขั้นให้เป็นควาญ ที่โต๊ะหมู่บูชาเรือนขุนศรีไชยทิตย์ จะมีเชือกปะกำวางอยู่ ทำจากหนังควาย
ความเป็นมาของ หนังปะกำ หรือ เชือกปะกำ
ชาวกูย(ส่วย)แต่โบราณนิยมเลี้ยงช้าง ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ
ชาวกูยจะออกไปจับช้างในป่าด้วยการคล้องช้าง เรียกว่า
โพนช้าง
เป็นการจับช้างโดยหมอช้าง ใช้บ่วงบาศที่เรียกว่า
เชือกปะกำ
ทำจากหนังควายถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณบรรพบุรุษ
ครูบาอาจารย์คล้องเท้าช้างแล้วผูกกับต้นไม้ และนำมาฝึกใช้งาน
มีลักษณะเป็น เชือกหนัง ซึ่งทำจากหนังกระบือ ๓ เส้น มาฟั่นให้เป็นเกลียว ยาวประมาณ ประมาณ ๓๐ – ๕๐ เมตร
โดยแต่ละเส้นจะใช้หนังกระบือจำนวน ๓ ตัว ใช้สำหรับเป็นบ่วงบาศคล้องเท้าช้างป่า
โดยปลายข้างหนึ่งจะถูกถักให้เป็นห่วง เพื่อสอดปลายอีกด้านหนึ่งแล้วรูดเข้าหากัน ให้มีลักษณะเป็นบ่วงบาศ
ใกล้ๆ กับบ่วงนี้ จะนำปล้องไม้ไผ่เจาะกลวง ยาวประมาณ ๑ คีบ(๑๕ – ๒๐ เซนติเมตร)
มาผูกติดเชือกปะกำเรียกว่า “แขนนาง” เพื่อใช้เป็นที่เสียบ ไม้คันจาม
วิธีการทำหนังปะกำ หรือเชือกปะกำ
๑. นำหนังควายมาขึงให้ตึงแล้วทำการตัดตรงกลางให้เป็นเส้นยาวที่สุด
๒. ทำการเซ่นผีปะกำ
๓. ขึงให้ตึง พร้อมหมุนให้เป็นเกลียวแล้วตากแดดให้แห้ง
๔. ตากแดดให้แห้งรอจนหนังปะกำแข็งได้ที่ เสร็จแล้วขดเป็นวง
เก็บไว้ที่ศาลปะกำ รอการนำไปใช้ ในการโพนช้าง
(ในยามที่ไม่ได้ออกไปโพนช้าง หนังปะกำจะถูกเก็บรักษาไว้ที่ศาลปะกำ)
โพนช้าง คือ การจับช้างป่า โดยคณะหมอช้าง ซึ่งต้องมีพิธีเบิกไพร และสื่อสารกันด้วยภาษาผี
นอกจากนี้ยังมี ข้อห้ามข้อปฏิบัติในการโพนช้างอีกมาก แม้แต่เมียที่บ้านก็ต้องทำตาม
เพื่อให้เกิดมงคลในการจับช้างได้สำเร็จ ไร้อาเพศอาถรรพ์ใดๆ
การโพนช้างป่า ถ่ายด้วยฟิล์มขาวดำ
กีฬาเสือโคร่งสู้ช้าง
กีฬานี้จะจัดแสดงต่อหน้าพระเจ้าแผ่นดินและต้อนรับทูตแขกบ้านแขกเมือง สถานที่คือเพนียดคล้องช้างอยุธยา-ลพบุรี
เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ ราชทูตฝรั่งเศส ถวายพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔
แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๘
ด้านล่างซ้ายออกญาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน-เยรากี) หมอบกรานเข้าเฝ้าอยู่ด้วย
พร้อมส่งสัญญาณมือให้ราชทูตฝรั่งเศสยื่น พระราชสาส์นให้สูงขึ้นไปถึงพระหัตถ์ของพระองค์
คณะราชทูตฝรั่งเศส เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ พร้อมด้วยบาทหลวงสำคัญ 3 รูป คือ
บาทหลวงเดอชัวซี (Abbe de Choisy คณะเยซูอิต)
บาทหลวงกีย์ ตาชาร์ด
และบาทหลวงเบนีน วาเชต์ บันทึกว่า
ที่ลพบุรีมี ช้างกับเสือตัวโตอยู่มาก...
สถานที่นั้นล้อมไว้ด้วยเสื่อไม้ไผ่ กลางบริเวณผูกหลักไม้หลักใหญ่ล่ามช้างไว้ ๓ - ๔ เชือก
ครั้นแล้วก็ปล่อยเสือเข้ามาภายในบริเวณ เมื่อช้างได้กลิ่นเสือ ทันใดก็ปรี่เข้ามายังเสือ นำงวงฟาดไปที่เสือตุ๊บใหญ่
เสือแน่นิ่งไปชั่วครู่ ครั้นแล้วเสือรีบเข้าตะปบช้าง แต่ก็ถูกช้างเล่นงานเสียจนเสือล่าถอย
กีฬาชนิดนี้เป็นกีฬาครั้งโบราณเช่นในกรีกและโรมันโบราณ เป็นต้น
โดยมากเสือจะเป็นฝ่ายพ่าย เพราะเจองวงกับงาช้าง แต่จะมีการแยกกันก่อนฝ่ายใดจะตายเสมอ ไม่เล่นถึงตาย
นอกจากนี้ยังมีกีฬา
ช้างบำรูงา(
ประงา) คือ ช้างชนช้างกันเอง จนงาหัก
ขี่ม้าล่อแพน คือ การขี่ม้าลากเสื่อลำแพนล่อช้างให้วิ่งตาม เพื่อฝึกม้าไม่ให้ตื่นเมื่อเจอช้างในสนามรบ
ผู้ที่ขึ้นชื่อในการฝึกม้าแบบนี้ได้แก่ สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีบันทึกไว้ว่า
ครั้งหนึ่ง ทรงม้าชื่อว่า "เจ้าพระยาสายฟ้าฟาด" เข้าทำการ "ล่อแพน" โดยการกระหยดเท้าไปเรื่อยๆ
ฝ่ายช้างก็ฮึ่มๆ เพราะโดนท่านเจ้าคุณยั่วเอาตลอดเวลา
จนสุดท้าย ควาญช้างกลัวว่าจะควบคุมช้างไม่อยู่ จึงไสช้างให้ไปทางอื่นแทน
ผัดพาน คือ คนผัดล่อให้ช้างไล่
(ในละคร ขุนศรีไชยทิตย์สั่งให้เหล่าควาญ วิ่งผัดล่อช้างให้นิ่ง จนพระเอกแบกเครือกล้วยมาให้ช้างกิน)
พระราชพิธีออกสนามในเดือน ๕ ตั้งปะรำยืนช้างเครื่อง มีการล่อแพนผัดพาน
ตำรวจขี่ช้างไล่ม้า ขุนช้างขี่ม้าล่อช้าง แล้วเดินกระบวนช้างม้าผ่านหน้าพระที่นั่ง มีมหรสพต่างๆ ครึกครื้น
คำที่เรียกการล่อช้างว่า “ผัด” เป็นคำเดียวกับ "ผัด" เลื่อนเวลา เช่น ผัดผ่อน ,ผัดเพี้ยน(ขอเลื่อนเวลาอยู่เรื่อยๆ)
เราจึงเรียกว่าการผัดเลื่อนเวลาเป็นสำนวนว่า "ผัดเจ้าล่อ" หมายถึง ผัดให้หลงเชื่อร่ำไปอย่างขอไปที
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จอินเดียบอกว่าเมืองแขกก็มี ท่านว่าเราเอาอย่าง
เป็นกีฬาบันเทิงแขกเมือง และฝึกซ้อมกำลังพลคนกับสัตว์ แม้แต่ที่เวียดนามก็ยังมีให้แขกชม
รำฝรั่งคู่ พระอุณรุฑกับนางอุษา นาฎลีลาชั้นสูงของราชสำนักไทย(นาทีที่๑๔ ขึ้นไปมีท่าเดียวกับในละคร และใช้พัดจีน)
แม่บัว รำฝรั่งคู่ดูอ่อนช้อยอยู่บ้าง ไม่กระโดกกระเดกแบบนางเอก
อุตส่าห์แต่งตัวรอเก้อ มาหลายเพลาก็ไม่ได้เป็นหม่อมห้าม เป็นเจ้าจอมดั่งที่หวังใจไว้เสียที
จะได้อวดหน้าอวดตากับญาติได้ แต่เสด็จฯมิสนใจละครใน มุ่งแต่ละครนอก
สมัยนั้นมี เพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์(ผู้แต่ง คุณสุวรรณ) สงสัยแม่บัวจะมิได้อ่าน เรื่องเล่นเพื่อน เล่นสวาท
จึงไม่ใคร่รู้กระไรนัก แม้แต่บุษบาท่าเรือ ยอดกวีหญิง ผู้โต้ตอบสักวาได้คล่องแคล่วไม่แพ้ชายอกสามศอก
แม่บัวคงมิเคยได้ยิน เพราะใจนึกแต่เรื่องจะเป็นหม่อมห้าม เจ้าจอมอย่างเดียวเทียว
ศิษย์พี่ ร่วมสำนัก มีวิชาจับยามสามตา แต่มาใช้เมื่อจิ้งจกทัก ก็รอดตัวแบบหวุดหวิด จึงมาบอกความจริงให้พระเอกรู้
เรื่องราวจะเป็นอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป
ท้ายนี้ผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ขอบคุณครับ
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://topicstock.ppantip.com/library/topicstock/2012/02/K11653107/K11653107.html
http://ppantip.com/topic/33008064
http://topicstock.ppantip.com/library/topicstock/2012/11/K12888488/K12888488.html
http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums2/http/www.ppantip.com/cafe/library/topic/K5607540/K5607540.html
http://www.thairath.co.th/ent/novel/kabordin/ch5
http://www.thairath.co.th/ent/novel/kabordin/ch4
http://www.anyapedia.com/2014/09/blog-post_14.html
http://nutracingc52.blogspot.com/2010/11/blog-post_08.html
http://www.vcharkarn.com/varticle/39421
http://elephant-surin.com/index.php/en/village/poon
http://porrasit.myreadyweb.com/page-24803.html
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=1461&st=30
http://www.vajirayana.org/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%92%E0%B9%94
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2010/08/30/entry-1
http://surin108.com/web/?p=8300
http://www.elephant-surin.com/index.php/en/village/make
http://www.isangate.com/isan/paothai_kui.html
http://www.watisan.com/showdetail.asp?boardid=1792
http://vajirayana.org/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%92%E0%B9%90-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99
https://www.gotoknow.org/posts/307651
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rouenrarai&month=05-2012&date=15&group=17&gblog=15
http://www.moi.go.th/portal/page?_pageid=814,1060811,814_1060864&_dad=portal&_schema=PORTAL
http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B9%92%E0%B9%94-%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%91
http://www.songkran.eu/Das-alte-Siam-in-Zeichnungen-u-.--Bildern-II.htm
http://ppantip.com/topic/30487145
http://simplenewz.com/2014-12-07/Mainstream/feed/105906
http://www.funnyjunk.com/Gladiator+comp/funny-pictures/5444666/
http://www.militar.org.ua/foro/la-pintura-y-la-guerra-t18709-8040.html
ข้าบดินทร์ อสรพิษมิเท่ามิตรคิดทุรยศ
“คนเป็นขุนนางนั้น มิเพียงแต่ต้องไม่กระทำบาปหยาบช้าแก่บ้านเมือง แต่ยังต้องอุทิศตนเพื่อแผ่นดินด้วย
หากพี่ยอมสารภาพว่าเป็นคนฆ่า เรื่องวิลาศบีบคั้นพวกเราก็จะจบไปเช่นกัน
ฉันรู้ว่าพี่ต้องเสียศักดิ์ศรีนัก แต่หากพี่กระทำได้ก็จะนับเป็นขุนนางประเสริฐแท้
เพราะจะช่วยบ้านเมืองรอดจากความวิบัติจากพวกวิลาศได้ ส่วนเรื่องลูกเมียของพี่
ฉันสาบานว่าจะดูแลด้วยชีวิตของฉัน หากฉันตระบัตรสัตย์ก็ ขอให้ฉันมีอันเป็นไปด้วยคมหอกคมดาบเถิด”
“น้องรักคุณเหมนะเจ้าคะ แต่ถ้าอยู่กินกันแล้วไม่มีกระไรก้าวหน้า น้องก็ไม่เอาดอกเจ้าค่ะ”
“ท่านเจ้าขรัวแช่มเห็นว่าคุณหญิงต้องโทษ เกรงว่าบรรดาทรัพย์สินของตระกูลที่อยู่กับคุณหญิงจะถูกยึดไปด้วย
จึงให้กระผมมาถามว่า ทรัพย์สินพวกนั้นอยู่ที่ใด จะได้ช่วยรักษาไว้ให้”
“ยามมิตรคิดร้ายนี่ ช่างน่ากลัวกว่าศัตรูเสียด้วยซ้ำ”
เจ้าคุณพ่อสอนลูกเสมอว่า “ผู้ซื่อสัตย์จงรักภักดีจักไม่มีวันได้รับอันตราย”
หากคำสอนนี้เป็นจริง เจ้าคุณพ่อของลูกเป็นคนซื่อมาทั้งชีวิต จะมีวันนี้ได้กระไร
พระเอก ตกยากเป็นตะพุ่น ณ กรมช้างนอก เขตพระนคร ดีที่ท่านขุนมีเมตตา แลเห็นแววเก่ง
จึงเลื่อนขั้นให้เป็นควาญ ที่โต๊ะหมู่บูชาเรือนขุนศรีไชยทิตย์ จะมีเชือกปะกำวางอยู่ ทำจากหนังควาย
ความเป็นมาของ หนังปะกำ หรือ เชือกปะกำ
ชาวกูย(ส่วย)แต่โบราณนิยมเลี้ยงช้าง ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ
ชาวกูยจะออกไปจับช้างในป่าด้วยการคล้องช้าง เรียกว่า โพนช้าง
เป็นการจับช้างโดยหมอช้าง ใช้บ่วงบาศที่เรียกว่า เชือกปะกำ
ทำจากหนังควายถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณบรรพบุรุษ
ครูบาอาจารย์คล้องเท้าช้างแล้วผูกกับต้นไม้ และนำมาฝึกใช้งาน
มีลักษณะเป็น เชือกหนัง ซึ่งทำจากหนังกระบือ ๓ เส้น มาฟั่นให้เป็นเกลียว ยาวประมาณ ประมาณ ๓๐ – ๕๐ เมตร
โดยแต่ละเส้นจะใช้หนังกระบือจำนวน ๓ ตัว ใช้สำหรับเป็นบ่วงบาศคล้องเท้าช้างป่า
โดยปลายข้างหนึ่งจะถูกถักให้เป็นห่วง เพื่อสอดปลายอีกด้านหนึ่งแล้วรูดเข้าหากัน ให้มีลักษณะเป็นบ่วงบาศ
ใกล้ๆ กับบ่วงนี้ จะนำปล้องไม้ไผ่เจาะกลวง ยาวประมาณ ๑ คีบ(๑๕ – ๒๐ เซนติเมตร)
มาผูกติดเชือกปะกำเรียกว่า “แขนนาง” เพื่อใช้เป็นที่เสียบ ไม้คันจาม
วิธีการทำหนังปะกำ หรือเชือกปะกำ
๑. นำหนังควายมาขึงให้ตึงแล้วทำการตัดตรงกลางให้เป็นเส้นยาวที่สุด
๒. ทำการเซ่นผีปะกำ
๓. ขึงให้ตึง พร้อมหมุนให้เป็นเกลียวแล้วตากแดดให้แห้ง
๔. ตากแดดให้แห้งรอจนหนังปะกำแข็งได้ที่ เสร็จแล้วขดเป็นวง
เก็บไว้ที่ศาลปะกำ รอการนำไปใช้ ในการโพนช้าง
(ในยามที่ไม่ได้ออกไปโพนช้าง หนังปะกำจะถูกเก็บรักษาไว้ที่ศาลปะกำ)
โพนช้าง คือ การจับช้างป่า โดยคณะหมอช้าง ซึ่งต้องมีพิธีเบิกไพร และสื่อสารกันด้วยภาษาผี
นอกจากนี้ยังมี ข้อห้ามข้อปฏิบัติในการโพนช้างอีกมาก แม้แต่เมียที่บ้านก็ต้องทำตาม
เพื่อให้เกิดมงคลในการจับช้างได้สำเร็จ ไร้อาเพศอาถรรพ์ใดๆ
การโพนช้างป่า ถ่ายด้วยฟิล์มขาวดำ
กีฬาเสือโคร่งสู้ช้าง
กีฬานี้จะจัดแสดงต่อหน้าพระเจ้าแผ่นดินและต้อนรับทูตแขกบ้านแขกเมือง สถานที่คือเพนียดคล้องช้างอยุธยา-ลพบุรี
เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ ราชทูตฝรั่งเศส ถวายพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔
แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๘
ด้านล่างซ้ายออกญาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน-เยรากี) หมอบกรานเข้าเฝ้าอยู่ด้วย
พร้อมส่งสัญญาณมือให้ราชทูตฝรั่งเศสยื่น พระราชสาส์นให้สูงขึ้นไปถึงพระหัตถ์ของพระองค์
คณะราชทูตฝรั่งเศส เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ พร้อมด้วยบาทหลวงสำคัญ 3 รูป คือ
บาทหลวงเดอชัวซี (Abbe de Choisy คณะเยซูอิต)
บาทหลวงกีย์ ตาชาร์ด
และบาทหลวงเบนีน วาเชต์ บันทึกว่า
ที่ลพบุรีมี ช้างกับเสือตัวโตอยู่มาก...
สถานที่นั้นล้อมไว้ด้วยเสื่อไม้ไผ่ กลางบริเวณผูกหลักไม้หลักใหญ่ล่ามช้างไว้ ๓ - ๔ เชือก
ครั้นแล้วก็ปล่อยเสือเข้ามาภายในบริเวณ เมื่อช้างได้กลิ่นเสือ ทันใดก็ปรี่เข้ามายังเสือ นำงวงฟาดไปที่เสือตุ๊บใหญ่
เสือแน่นิ่งไปชั่วครู่ ครั้นแล้วเสือรีบเข้าตะปบช้าง แต่ก็ถูกช้างเล่นงานเสียจนเสือล่าถอย
กีฬาชนิดนี้เป็นกีฬาครั้งโบราณเช่นในกรีกและโรมันโบราณ เป็นต้น
โดยมากเสือจะเป็นฝ่ายพ่าย เพราะเจองวงกับงาช้าง แต่จะมีการแยกกันก่อนฝ่ายใดจะตายเสมอ ไม่เล่นถึงตาย
นอกจากนี้ยังมีกีฬา
ช้างบำรูงา(ประงา) คือ ช้างชนช้างกันเอง จนงาหัก
ขี่ม้าล่อแพน คือ การขี่ม้าลากเสื่อลำแพนล่อช้างให้วิ่งตาม เพื่อฝึกม้าไม่ให้ตื่นเมื่อเจอช้างในสนามรบ
ผู้ที่ขึ้นชื่อในการฝึกม้าแบบนี้ได้แก่ สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีบันทึกไว้ว่า
ครั้งหนึ่ง ทรงม้าชื่อว่า "เจ้าพระยาสายฟ้าฟาด" เข้าทำการ "ล่อแพน" โดยการกระหยดเท้าไปเรื่อยๆ
ฝ่ายช้างก็ฮึ่มๆ เพราะโดนท่านเจ้าคุณยั่วเอาตลอดเวลา
จนสุดท้าย ควาญช้างกลัวว่าจะควบคุมช้างไม่อยู่ จึงไสช้างให้ไปทางอื่นแทน
ผัดพาน คือ คนผัดล่อให้ช้างไล่
(ในละคร ขุนศรีไชยทิตย์สั่งให้เหล่าควาญ วิ่งผัดล่อช้างให้นิ่ง จนพระเอกแบกเครือกล้วยมาให้ช้างกิน)
พระราชพิธีออกสนามในเดือน ๕ ตั้งปะรำยืนช้างเครื่อง มีการล่อแพนผัดพาน
ตำรวจขี่ช้างไล่ม้า ขุนช้างขี่ม้าล่อช้าง แล้วเดินกระบวนช้างม้าผ่านหน้าพระที่นั่ง มีมหรสพต่างๆ ครึกครื้น
คำที่เรียกการล่อช้างว่า “ผัด” เป็นคำเดียวกับ "ผัด" เลื่อนเวลา เช่น ผัดผ่อน ,ผัดเพี้ยน(ขอเลื่อนเวลาอยู่เรื่อยๆ)
เราจึงเรียกว่าการผัดเลื่อนเวลาเป็นสำนวนว่า "ผัดเจ้าล่อ" หมายถึง ผัดให้หลงเชื่อร่ำไปอย่างขอไปที
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จอินเดียบอกว่าเมืองแขกก็มี ท่านว่าเราเอาอย่าง
เป็นกีฬาบันเทิงแขกเมือง และฝึกซ้อมกำลังพลคนกับสัตว์ แม้แต่ที่เวียดนามก็ยังมีให้แขกชม
รำฝรั่งคู่ พระอุณรุฑกับนางอุษา นาฎลีลาชั้นสูงของราชสำนักไทย(นาทีที่๑๔ ขึ้นไปมีท่าเดียวกับในละคร และใช้พัดจีน)
แม่บัว รำฝรั่งคู่ดูอ่อนช้อยอยู่บ้าง ไม่กระโดกกระเดกแบบนางเอก
อุตส่าห์แต่งตัวรอเก้อ มาหลายเพลาก็ไม่ได้เป็นหม่อมห้าม เป็นเจ้าจอมดั่งที่หวังใจไว้เสียที
จะได้อวดหน้าอวดตากับญาติได้ แต่เสด็จฯมิสนใจละครใน มุ่งแต่ละครนอก
สมัยนั้นมี เพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์(ผู้แต่ง คุณสุวรรณ) สงสัยแม่บัวจะมิได้อ่าน เรื่องเล่นเพื่อน เล่นสวาท
จึงไม่ใคร่รู้กระไรนัก แม้แต่บุษบาท่าเรือ ยอดกวีหญิง ผู้โต้ตอบสักวาได้คล่องแคล่วไม่แพ้ชายอกสามศอก
แม่บัวคงมิเคยได้ยิน เพราะใจนึกแต่เรื่องจะเป็นหม่อมห้าม เจ้าจอมอย่างเดียวเทียว
ศิษย์พี่ ร่วมสำนัก มีวิชาจับยามสามตา แต่มาใช้เมื่อจิ้งจกทัก ก็รอดตัวแบบหวุดหวิด จึงมาบอกความจริงให้พระเอกรู้
เรื่องราวจะเป็นอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป
ท้ายนี้ผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ขอบคุณครับ
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้