กระทู้นี้เกิดขึ้นเนื่องจากเราได้เห็น ข้อความเป็น facebook ของเพจๆนึง
ซึ่งได้ลงไว้ประมาณว่า ได้มีโอกาศไปเยี่ยมและบริจาคของให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
แห่งนึงทางภาคใต้ และกลับมาเชิญชวนเพื่อนๆนำของไปบริจาคเพื่อช่วยเหลือนักเรียน
ทำให้เราได้นึกย้อนกลับไปในอดีต "ครั้งหนึ่ง" เราก็เคยเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
เราขอเริ่มย้อนกลับไปยาวเลยละกัน
ย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ฉันเกิดและโตในต่างจังหวัดกำแพงเชร
อำเภอที่ฉันอยู่สมัยนั้นยังเป็นกิ่งอำเภอ เป็นอำเภอเล็กๆกันดารๆ
โดยที่หมู่บ้านที่ฉันอยู่ห่างจากตัวอำเภอเกือบๆ 12 กิโล จำนวนบ้านเรือน
น่าจะประมาณ 20 หลังคาเรือน ถนนเป็นดินลูกรังแดง ไม่มีรถประจำทางผ่าน
ไม่มีตลาดนัด มีแต่รถขายกับข้าวที่วิ่งมาทุกเย็น ตลาดนัดจะมีวันเสาร์ที่ตัวอำเภอ
นานๆเราจะไปกันที โดยอาศัยรถกระบะคนในหมู่บ้านกันไปและช่วยๆค่าน้ำมันกัน
ไปกันทีเต็มคันรถ หมู่บ้านใกล้เคียงก็จะห่างไกลกันอีกเกือบสิบกิโล
อาชีพของชาวบ้านคือ ทำไร่มันสำปะหลังและรับจ้าง รายได้ก็มาจากทำไร่มันสำปะหลัง
ซึ่ง 1-2 ปีถึงจะได้เก็บเกี่ยว และการทำการเกษตรก็อาศัยน้ำฝนเท่านั้น ไม่มีแหล่งน้ำอื่นๆ
ระหว่างนั้นชาวบ้านก็รับจ้างทั่วไป ฉันเกิดทันพอที่จะจำความได้ว่า หมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้
ต้องใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าซ หลังคามุงด้วยหญ้าแฝก ฝาบ้านเป็นแผ่นไม้กับสังกะสีตีข้างฝา
น้ำปะปายังไม่ต้องพูดถึง มีแต่น้ำบ่อบาดาล ที่ต้องไปโยกน้ำบาดาลที่จุดกลางของหมู่บ้าน
แล้วก็ใส่ถังหาบน้ำกันมากินมาใช้ ด้วยความกันดารและยากจนพ่อกับแม่ฉันรวมทั้งคนหนุ่มสาว
ในหมู่บ้านก็ต้องไปหางานก่อสร้างทำที่กรุงเทพ โดยให้ตากับยายหรือคนแก่เลี้ยงดูเด็กๆแทน
(นี่หมู่บ้านทางภาคเหนือตอนล่างกลางตอนบนนะเนี่ยะ ไม่ใช่แค่เฉพาะอีสาน)
ตามประวัติเล่ากันว่า เดิมแถบนี้เป็นพื้นที่สีแดงมีการเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้าย (นี่ขนาดไม่ได้อยู่ภาคใต้นะเนี่ยะ)
จึงต้องมีปฏิบัติการด้านจิตวิทยาสร้างมวลชน รวมทั้งชาวบ้านร้องขอไป เนื่องจากโรงเรียนใกล้เคียง
จะต้องเดินทางไปกลับ 12 กิโล ผ่านป่า เสี่ยงอันตราย การคมนาคมไม่สะดวก
เนื่องจากที่ได้กล่าวข้างต้น ไม่มีรถประจำทาง ทางลูกรังแดง หน้าฝนเส้นทางจะเละเทะสัญจรลำบากมาก
จึงได้มีการพิจารณาให้ก่อตั้งโรงเรียนขึ้น ชื่อ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านซับใหญ่(โรงเรียน ตชด.บ้านซับใหญ่)
สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 (ค่ายพระเจ้าตาก)
โดยการนำของ นายสุรจิตร หงส์เขียว และนายประกอบ สุขร้าย ได้บริจาคที่ดินจำนวน 10 ไร่ 20 ตารางวา
สำหรับก่อสร้างโรงเรียน พร้อมทั้งสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง ชั้นเดียว ไม่มีฝาห้อง พื้นเป็นดิน
จำนวน 4 ห้องเรียน เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 พร้อมทั้งส่งครูมาทำการสอนจำนวน 2 นาย
คือ จ.ส.ต.สมเกียรติ ไคร้คง ทำหน้าที่ครูใหญ่ และ พลฯไพศาล ทองแทน ครูผู้สอน เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2525
พ.ศ.2529 โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ ได้บริจาคเงินจำนวน 363,000 บาท
เพื่อใช้ในการสร้างอาคารเรียนถาวร พร้อมทั้งมอบวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน
ราษฎรร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดนได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนจำนวน 1 หลัง มี 7 ห้องเรียน
ต่อมาโรงเรียนศึกษานารีได้บริจาคเงินเพิ่มเติม จำนวน 50,000 บาท เพื่อก่อสร้างสหกรณ์โรงเรียน
ต่อมากองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 6 ได้ขอพระราชทานนามโรงเรียน
จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ว่า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนศึกษานารีอนุสรณ์ 5
จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตัวอย่าง
ในด้านการพัฒนา ดีเด่นในระดับภาคเหนือ และเป็นโรงเรียนดีเด่นของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 6
ในวันจันทร์ ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2533 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
ทรงเสด็จพระราชดำเนินตรวจเยี่ยมโรงเรียน เพื่อทอดพระเนตรการจัดการศึกษาของโรงเรียน
ในด้านการเรียนการสอน การดำเนินงานตามโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
การดำเนินงานกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน และพระราชทานเงินสนับสนุนกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน
จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท และได้ทรงปลูกต้นกฤษณา ในการเสด็จครั้งนั้นด้วย
ประสบการณ์การเป็นนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ซึ่งได้ลงไว้ประมาณว่า ได้มีโอกาศไปเยี่ยมและบริจาคของให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
แห่งนึงทางภาคใต้ และกลับมาเชิญชวนเพื่อนๆนำของไปบริจาคเพื่อช่วยเหลือนักเรียน
ทำให้เราได้นึกย้อนกลับไปในอดีต "ครั้งหนึ่ง" เราก็เคยเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
เราขอเริ่มย้อนกลับไปยาวเลยละกัน
ย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ฉันเกิดและโตในต่างจังหวัดกำแพงเชร
อำเภอที่ฉันอยู่สมัยนั้นยังเป็นกิ่งอำเภอ เป็นอำเภอเล็กๆกันดารๆ
โดยที่หมู่บ้านที่ฉันอยู่ห่างจากตัวอำเภอเกือบๆ 12 กิโล จำนวนบ้านเรือน
น่าจะประมาณ 20 หลังคาเรือน ถนนเป็นดินลูกรังแดง ไม่มีรถประจำทางผ่าน
ไม่มีตลาดนัด มีแต่รถขายกับข้าวที่วิ่งมาทุกเย็น ตลาดนัดจะมีวันเสาร์ที่ตัวอำเภอ
นานๆเราจะไปกันที โดยอาศัยรถกระบะคนในหมู่บ้านกันไปและช่วยๆค่าน้ำมันกัน
ไปกันทีเต็มคันรถ หมู่บ้านใกล้เคียงก็จะห่างไกลกันอีกเกือบสิบกิโล
อาชีพของชาวบ้านคือ ทำไร่มันสำปะหลังและรับจ้าง รายได้ก็มาจากทำไร่มันสำปะหลัง
ซึ่ง 1-2 ปีถึงจะได้เก็บเกี่ยว และการทำการเกษตรก็อาศัยน้ำฝนเท่านั้น ไม่มีแหล่งน้ำอื่นๆ
ระหว่างนั้นชาวบ้านก็รับจ้างทั่วไป ฉันเกิดทันพอที่จะจำความได้ว่า หมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้
ต้องใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าซ หลังคามุงด้วยหญ้าแฝก ฝาบ้านเป็นแผ่นไม้กับสังกะสีตีข้างฝา
น้ำปะปายังไม่ต้องพูดถึง มีแต่น้ำบ่อบาดาล ที่ต้องไปโยกน้ำบาดาลที่จุดกลางของหมู่บ้าน
แล้วก็ใส่ถังหาบน้ำกันมากินมาใช้ ด้วยความกันดารและยากจนพ่อกับแม่ฉันรวมทั้งคนหนุ่มสาว
ในหมู่บ้านก็ต้องไปหางานก่อสร้างทำที่กรุงเทพ โดยให้ตากับยายหรือคนแก่เลี้ยงดูเด็กๆแทน
(นี่หมู่บ้านทางภาคเหนือตอนล่างกลางตอนบนนะเนี่ยะ ไม่ใช่แค่เฉพาะอีสาน)
ตามประวัติเล่ากันว่า เดิมแถบนี้เป็นพื้นที่สีแดงมีการเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้าย (นี่ขนาดไม่ได้อยู่ภาคใต้นะเนี่ยะ)
จึงต้องมีปฏิบัติการด้านจิตวิทยาสร้างมวลชน รวมทั้งชาวบ้านร้องขอไป เนื่องจากโรงเรียนใกล้เคียง
จะต้องเดินทางไปกลับ 12 กิโล ผ่านป่า เสี่ยงอันตราย การคมนาคมไม่สะดวก
เนื่องจากที่ได้กล่าวข้างต้น ไม่มีรถประจำทาง ทางลูกรังแดง หน้าฝนเส้นทางจะเละเทะสัญจรลำบากมาก
จึงได้มีการพิจารณาให้ก่อตั้งโรงเรียนขึ้น ชื่อ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านซับใหญ่(โรงเรียน ตชด.บ้านซับใหญ่)
สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 (ค่ายพระเจ้าตาก)
โดยการนำของ นายสุรจิตร หงส์เขียว และนายประกอบ สุขร้าย ได้บริจาคที่ดินจำนวน 10 ไร่ 20 ตารางวา
สำหรับก่อสร้างโรงเรียน พร้อมทั้งสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง ชั้นเดียว ไม่มีฝาห้อง พื้นเป็นดิน
จำนวน 4 ห้องเรียน เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 พร้อมทั้งส่งครูมาทำการสอนจำนวน 2 นาย
คือ จ.ส.ต.สมเกียรติ ไคร้คง ทำหน้าที่ครูใหญ่ และ พลฯไพศาล ทองแทน ครูผู้สอน เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2525
พ.ศ.2529 โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ ได้บริจาคเงินจำนวน 363,000 บาท
เพื่อใช้ในการสร้างอาคารเรียนถาวร พร้อมทั้งมอบวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน
ราษฎรร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดนได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนจำนวน 1 หลัง มี 7 ห้องเรียน
ต่อมาโรงเรียนศึกษานารีได้บริจาคเงินเพิ่มเติม จำนวน 50,000 บาท เพื่อก่อสร้างสหกรณ์โรงเรียน
ต่อมากองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 6 ได้ขอพระราชทานนามโรงเรียน
จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ว่า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนศึกษานารีอนุสรณ์ 5
จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตัวอย่าง
ในด้านการพัฒนา ดีเด่นในระดับภาคเหนือ และเป็นโรงเรียนดีเด่นของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 6
ในวันจันทร์ ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2533 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
ทรงเสด็จพระราชดำเนินตรวจเยี่ยมโรงเรียน เพื่อทอดพระเนตรการจัดการศึกษาของโรงเรียน
ในด้านการเรียนการสอน การดำเนินงานตามโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
การดำเนินงานกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน และพระราชทานเงินสนับสนุนกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน
จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท และได้ทรงปลูกต้นกฤษณา ในการเสด็จครั้งนั้นด้วย