ในฐานะแฟนหนังอินเดียที่ดูมาหลายภาษามาก เวลาเห็นกระทู้ในพันทิป ยังมีคนเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับหนังอินเดีย เลยขอนำเอาข้อมูลมาบอกให้รู้กัน แล้วก็ขอแนะนำหนังที่น่าสนใจไปในตัว
ข้อมูลในเรื่องประวัติความเป็นมาก็เอามาจากวิกิพีเดีย แหล่งข้อมูลที่หาง่ายที่สุดนะคะ ส่วนหนังแนะนำ จะเป็นหนังที่เราเคยดูแล้วชอบทั้งสิ้น
***ก่อนอื่นวงการหนังอินเดียมีหลายวู้ดนะคะ บอลลีวู้ดจะเป็นอุตสาหกรรมหนังที่ฐานการผลิตอยู่เมืองมุมไบ ภาษาที่ตัวละครในหนังพูดจะเป็นภาษาฮินดี ในด้านรายได้และความกว้างของตลาด บอลลีวู้ดจัดว่ามากกว่าใครๆ แต่ในด้านปริมาณการผลิตหนังนั้นก็สลับๆกันระหว่างวู้ดอื่นๆที่เราจะเล่าให้ฟังค่ะ
ดังนั้นหากใครบอกว่า วงการบอลลีวู้ดผลิตหนังได้มากที่สุดในโลก หรือ บอลลีวู้ดผลิตหนังได้เป็นพันเรื่องต่อปี เป็นคำพูดที่ผิดนะคะ แสดงว่าคนพูดไม่รู้จักอุตสาหกรรมหนังอินเดียเลย แต่ถ้าบอกว่า
"วงการหนังอินเดียผลิตหนังได้เป็นพันเรื่องต่อปี" อันนี้จริง! เพราะเมื่อรวมทุกวู้ดทั่วทั้งอินเดียแล้วเกินพันเรื่องในบางปีด้วยซ้ำค่ะ
ตอนที่ 1: Kollywood
http://ppantip.com/topic/33715718
ตอนที่ 2: Mollywood
http://ppantip.com/topic/33719082
อุตสาหกรรมภาพยนต์ภาษามราฐี [Marathi film industry]
อุตสาหกรรมหนังภาษานี้ไม่มีวู้ดต่อท้าย เนื่องจากอุสาหกรรมหนังภาษามราฐี เป็นอุตสาหกรรมหนังในอินเดียที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก และอยู่ภายใต้เงาของบอลลีวู้ดมาตลอด ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลที่น่าสนใจที่ทำให้เรานำเรื่องราวของอุตสาหกรรมหนังมราฐีมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
อุตสาหกรรมภาพยนต์มราฐี คือ หนังอินเดียที่ใช้ภาษามราฐีในการสนทนาในหนัง โดยภาษานี้เป็นภาษาที่ใช้พูดกันในรัฐมหาราษฎร และแน่นอนว่า
ฐานการผลิตของหนังก็ต้องอยู่ที่รัฐมหาราษฏร (Maharashtra state) ที่ Mumbai เช่นเดียวกับฐานของบอลลีวู้ดนั่นเอง และอีกเมืองคือ Kolhapur อยู่ทางตะวันตกของรัฐ ซึ่งเมืองนี้เป็นฐานการผลิตในยุคเริ่มต้นของหนังมราฐีค่ะ
ผู้ผลิตหนังมราฐีเรียกได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมภาพยนต์อินเดียเลยก็ว่าได้ เนื่องจากภาพยนต์เรื่องแรกของอินเดียเลย เป็นหนังที่สร้างโดยผู้สร้างและทีมงานชาวมหาราษฏร เรื่อง Shree Pundalik ในวันที่ 18 พฤษภาคม 1912 แต่หนังยุคนี้ก็ยังเป็นหนังเงียบอยู่นะคะ
พอมาในยุคที่เป็นหนังพูดแล้ว
หนังพูดของมราฐีเรื่องแรกที่ออกฉายคือเรื่อง Ayodhyecha Raja ออกฉายในปี 1932 ตามหลังหนังฮินดีของบอลลีวู้ดเพียงปีเดียวเท่านั้น
ในยุคทองของหนังมราฐีอยู่ในช่วงยุค 60s - 70s แต่เริ่มมาเสื่อมความนิยมลงไปในช่วงไหนนั้นข้อมูลให้ไว้ไม่แน่ชัดค่ะ คาดว่าน่าจะช่วงตั้งแต่ยุค 80s เป็นต้นมาที่โดนอุตสาหกรรมภาพยนต์ภาษาฮินดีหรือบอลลีวู้ดเบียดตกไป เหตุผลก็ง่ายๆค่ะ
1.หนังมันอาร์ต (ข้อนี้เดาเอาเองค่ะ เห็นข้อมูลว่าหนังภาษามราฐีเป็นประเภทที่ได้รางวัลบ่อยๆ)
2.โดนหนังภาษาฮินดีบดบังรัศมี
3.โรงหนังไม่ค่อยมีให้ฉายและไม่ค่อยจะมีทุนสร้างกัน
4.โดนอุตสาหกรรมทีวีเบียดเบียน
5.ไม่มีพาวเวอร์ในการเมืองระดับชาติแบบหนังเบงกาลีหรือหนังจากรัฐทางภาคใต้ของอินเดีย ซึ่งเหตุผลข้อนี้เป็นเรื่องการเมืองค่ะ เพราะ
รัฐบาลกลางอินเดียต้องการสนับสนุนการใช้ภาษาฮินดีมากกว่า คงเดาถูกใช่มั้ยคะว่าอุตสาหกรรมหนังภาษาอะไรจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางมากกว่า
สุดท้ายแล้วค่ะ ยุคฟื้นฟู เพิ่งมาเกิดขึ้นเมื่อ 3 - 4 ปีที่ผ่านมา ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า In past few years ไม่รู้จะแปลว่ากี่ปีดี เอาเป็นว่าไม่นานมากนักก็แล้วกันค่ะ อุตสาหกรรมหนังมราฐีเริ่มฟื้นตัว มีการสร้างหนังใหม่ๆมากขึ้น ด้วยความร่วมมือของผู้สร้างและทีมงานชาวมหาราษฏร ที่นำเสนอเรื่องราวใหม่ๆที่มีความหลากหลาย ไอเดียแปลกไม่ซ้ำใคร และติดตราตรึงใจท่านผู้ชมอย่างลึกซึ้ง ทำให้ปัจจุบันโทรทัศน์ช่องต่างๆนำภาพยนต์มราฐีเก่าๆมาฉายมากขึ้น และในช่วงไตรมาสแรกของปี 2010 หนังมราฐีสามารถเบียดหนังฮินดีจากบอลลีวู้ดในบ็อกซ์ออฟฟิศได้สำเร็จ รวมถึงได้รับคำวิจารณ์ที่ดีจากนักวิจารณ์ด้วย
เนื่องจากหนังภาษามราฐีเอง ในช่วงที่เราหาดู คือ เมื่อกลางปีที่แล้วยังมีแบบมีซับไม่กี่เรื่องเอง เลยมีโอกาสดูไม่เยอะนัก แต่ตอนนี้ ณ วันที่เขียนกระทู้ พอไปหาดูอีกทีก็พบว่ามีอีกหลายเรื่องทีเดียวในยูทูปที่เอามาใส่ซับอังกฤษให้ดูกัน การหาก็ไม่ยากค่ะ พิมพ์คำค้นว่า
"Marathi full movies with English subtitles" ก็จะเจออยู่หลายเรื่องทีเดียว หรือจะไปติดตามที่
ช่อง EverestTalkies ในยูทูป ก็ได้ค่ะ
เท่าที่เคยไปดูตัวอย่างหนังมา หนังภาษามราฐีจะเดินเรื่องในชนบทเป็นส่วนมากค่ะ เรื่องราวดูจะสะท้อนสังคมและผู้คนชนบท นักแสดงโดยมากจะหน้าตาชาวบ้านๆหน่อย แต่ฝีมือการแสดงถึงใจถึงอารมณ์มากค่ะ
หนังภาษานี้เท่าที่เคยดูก็มีอยู่แค่สามเรื่อง แนะนำเลยดีกว่า ... แต่บอกไว้ก่อน เนื้อหาค่อนข้างหนักนะคะ
ลำดับที่ + ชื่อเรื่อง + ปีที่ออกฉายที่อินเดีย
1. Jogwa: 2009
หนังแนว แนวไหนไม่รู้ค่ะ แต่ได้รางวัล National Film Award ของอินเดียสาขา Best Film on Social Issues (แล้วก็ยังได้อีกหลายรางวัลค่ะ) ต้องบอกก่อนว่า รางวัลนี้ของอินเดียถือเป็นรางวัลที่ทรงเกียรติค่ะ เพราะจะตัดสินจากหนังทุกภาษาทั่วทั้งอินเดียที่ออกฉายในปีนั้นๆ เรียกว่าไม่เจ๋งจริงไม่มีทางได้รางวัลนี้แน่นอน
เรื่องราวความรักของ Tayappa และ Suli สองหนุ่มสาวที่ถูกประเพณีท้องถิ่น ทำให้ทั้งคู่ต้องมาเป็น Jogta และ Jogtin บุคคลที่ละทิ้งทุกอย่างเพื่อรับใช้เทพีท้องถิ่นนามว่า Yellamma โดย ตยับปา jogta หนุ่มที่ถูกจับมาแต่งตัวเป็นผู้หญิงและบังคับให้ใช้ชีวิตแบบผู้หญิง (ไม่ได้ถูกตอนนะคะ) แต่เค้ายังมีจิตใจเป็นผู้ชายโดยสมบูรณ์ เค้าได้เกิดมีความรักขึ้นกับ สุลี jogtin สาวที่อาศัยอยู่ร่วมชายคาเดียวกับเค้า ทั้งคู่ต้องไม่ให้ชาวบ้านรู้ว่าแอบรักกัน แต่ความลับก็ไม่มีในโลก
2. Natarang หรือสะกดว่า Natrang: 2010
หนังแนว ??? วิกิพีเดียไม่ได้จัดประเภทให้ เราจัดเองละกันค่ะ ว่าเป็นแนว drama เป็นอีกเรื่องที่รางวัลเพียบค่ะ
เรื่องของ Guna กรรมกรหนุ่มที่ฝันอยากเป็นพระเอกการแสดงพื้นบ้านของรัฐมหาราษฏรที่เรียกกันว่า Tamasha วันนึงที่ถูกเลิกจ้างจากงานแบกหาม ก็ได้เวลาที่เค้าจะทำตามฝัน แต่แล้วก็มีเหตุบังคับให้เค้าต้องมารับบทกะเทยแทนที่จะเป็นพระเอกอย่างที่ฝันไว้ ในขณะที่ในชีวิตจริงเค้าเป็นชายแท้ มีลูกและมีภรรยาอยู่แล้ว ซึ่งเค้าไม่เคยคิดว่าบทบาทบนเวทีจะมีผลอะไรต่อชีวิตจริง แต่แล้วมันก็ไม่ใช่อย่างที่คิด เมื่อบทบาทบนเวทีนำพาเรื่องต่างๆเข้ามาเป็นบททดสอบในชีวิตของเค้า
3. Mumbai-Pune-Mumbai: 2012
เรื่องนี้ดูสบายๆกว่าสองเรื่องแรกนิดนึงค่ะ หนังรักดูสบายๆ ยิ้มๆบ้างในหลายๆฉาก แต่บทสนทนาจะเยอะนิดนึงค่ะ อ่านซับก็ไม่ค่อยจะทัน แขกพูดเร็ว
เรื่องราวของผู้หญิงคนนึงที่เดินทางจากมุมไบ มาที่เมืองปูเน่ เพื่อมาดูตัวว่าที่เจ้าบ่าวที่ชื่อ Hridaymardyam เธอเดินเข้าไปถามหนึ่งในแก๊งที่กำลังเล่นคริกเก็ตอยู่ เค้าบอกทาง เธอไปตามที่เค้าบอก แต่เมื่อไปถึงเธอก็ไม่พบว่าที่เจ้าบ่าว จนเธอกำลังจะกลับ ในระหว่างทางแวะโทรศัพท์ที่ร้านขายของชำแห่งหนึ่ง ก็เจอกับไอ้หนุ่มแก๊งคริกเก็ตที่เธอไปถามทาง ทั้งคู่ได้พูดคุยกัน หนุ่มปูเน่ เลยบอกว่าจะพาสาวมุมไบไปส่งร้านกาแฟ ทำไปทำมา ทั้งสองคนก็เลยนั่งมอร์เตอร์ไซต์เที่ยวปูเน่กันเพลินไปเลย ... เรื่องนี้จุดเด่นอยู่ที่ฉากหลังที่เป็นความสวยงามของเมืองปูเน่ และบทสนทนาที่ตัวละครมีต่อความรักและแนวคิดเรื่องการแต่งงานของอินเดียค่ะ เรียกว่าดูเพลินๆล่ะกัน ไม่หนักหน่วง แต่มีประเด็นนิดๆแล้วก็ยังมีมุมน่ารักหน่อยๆ แถมด้วยฉากหลังเมืองปูเน่สวยๆ
เพียงเท่านี้สำหรับอุตสาหกรรมหนังภาษามราฐีค่ะ
เพจคนรักหนังอินเดีย
https://www.facebook.com/IndianfilmsloverTh/
เพจรีวิวหนัง+ร้านอาหารอินเดีย
https://www.facebook.com/IndianFilmsandFoodsReview/
หนังอินเดียไม่ได้มีแต่บอลลีวู้ด ตอนที่ 3: Marathi Cinema
ข้อมูลในเรื่องประวัติความเป็นมาก็เอามาจากวิกิพีเดีย แหล่งข้อมูลที่หาง่ายที่สุดนะคะ ส่วนหนังแนะนำ จะเป็นหนังที่เราเคยดูแล้วชอบทั้งสิ้น
***ก่อนอื่นวงการหนังอินเดียมีหลายวู้ดนะคะ บอลลีวู้ดจะเป็นอุตสาหกรรมหนังที่ฐานการผลิตอยู่เมืองมุมไบ ภาษาที่ตัวละครในหนังพูดจะเป็นภาษาฮินดี ในด้านรายได้และความกว้างของตลาด บอลลีวู้ดจัดว่ามากกว่าใครๆ แต่ในด้านปริมาณการผลิตหนังนั้นก็สลับๆกันระหว่างวู้ดอื่นๆที่เราจะเล่าให้ฟังค่ะ
ดังนั้นหากใครบอกว่า วงการบอลลีวู้ดผลิตหนังได้มากที่สุดในโลก หรือ บอลลีวู้ดผลิตหนังได้เป็นพันเรื่องต่อปี เป็นคำพูดที่ผิดนะคะ แสดงว่าคนพูดไม่รู้จักอุตสาหกรรมหนังอินเดียเลย แต่ถ้าบอกว่า "วงการหนังอินเดียผลิตหนังได้เป็นพันเรื่องต่อปี" อันนี้จริง! เพราะเมื่อรวมทุกวู้ดทั่วทั้งอินเดียแล้วเกินพันเรื่องในบางปีด้วยซ้ำค่ะ
ตอนที่ 1: Kollywood
http://ppantip.com/topic/33715718
ตอนที่ 2: Mollywood
http://ppantip.com/topic/33719082
อุตสาหกรรมภาพยนต์ภาษามราฐี [Marathi film industry]
อุตสาหกรรมหนังภาษานี้ไม่มีวู้ดต่อท้าย เนื่องจากอุสาหกรรมหนังภาษามราฐี เป็นอุตสาหกรรมหนังในอินเดียที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก และอยู่ภายใต้เงาของบอลลีวู้ดมาตลอด ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลที่น่าสนใจที่ทำให้เรานำเรื่องราวของอุตสาหกรรมหนังมราฐีมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
อุตสาหกรรมภาพยนต์มราฐี คือ หนังอินเดียที่ใช้ภาษามราฐีในการสนทนาในหนัง โดยภาษานี้เป็นภาษาที่ใช้พูดกันในรัฐมหาราษฎร และแน่นอนว่า ฐานการผลิตของหนังก็ต้องอยู่ที่รัฐมหาราษฏร (Maharashtra state) ที่ Mumbai เช่นเดียวกับฐานของบอลลีวู้ดนั่นเอง และอีกเมืองคือ Kolhapur อยู่ทางตะวันตกของรัฐ ซึ่งเมืองนี้เป็นฐานการผลิตในยุคเริ่มต้นของหนังมราฐีค่ะ
ผู้ผลิตหนังมราฐีเรียกได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมภาพยนต์อินเดียเลยก็ว่าได้ เนื่องจากภาพยนต์เรื่องแรกของอินเดียเลย เป็นหนังที่สร้างโดยผู้สร้างและทีมงานชาวมหาราษฏร เรื่อง Shree Pundalik ในวันที่ 18 พฤษภาคม 1912 แต่หนังยุคนี้ก็ยังเป็นหนังเงียบอยู่นะคะ
พอมาในยุคที่เป็นหนังพูดแล้ว หนังพูดของมราฐีเรื่องแรกที่ออกฉายคือเรื่อง Ayodhyecha Raja ออกฉายในปี 1932 ตามหลังหนังฮินดีของบอลลีวู้ดเพียงปีเดียวเท่านั้น
ในยุคทองของหนังมราฐีอยู่ในช่วงยุค 60s - 70s แต่เริ่มมาเสื่อมความนิยมลงไปในช่วงไหนนั้นข้อมูลให้ไว้ไม่แน่ชัดค่ะ คาดว่าน่าจะช่วงตั้งแต่ยุค 80s เป็นต้นมาที่โดนอุตสาหกรรมภาพยนต์ภาษาฮินดีหรือบอลลีวู้ดเบียดตกไป เหตุผลก็ง่ายๆค่ะ
1.หนังมันอาร์ต (ข้อนี้เดาเอาเองค่ะ เห็นข้อมูลว่าหนังภาษามราฐีเป็นประเภทที่ได้รางวัลบ่อยๆ)
2.โดนหนังภาษาฮินดีบดบังรัศมี
3.โรงหนังไม่ค่อยมีให้ฉายและไม่ค่อยจะมีทุนสร้างกัน
4.โดนอุตสาหกรรมทีวีเบียดเบียน
5.ไม่มีพาวเวอร์ในการเมืองระดับชาติแบบหนังเบงกาลีหรือหนังจากรัฐทางภาคใต้ของอินเดีย ซึ่งเหตุผลข้อนี้เป็นเรื่องการเมืองค่ะ เพราะ รัฐบาลกลางอินเดียต้องการสนับสนุนการใช้ภาษาฮินดีมากกว่า คงเดาถูกใช่มั้ยคะว่าอุตสาหกรรมหนังภาษาอะไรจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางมากกว่า
สุดท้ายแล้วค่ะ ยุคฟื้นฟู เพิ่งมาเกิดขึ้นเมื่อ 3 - 4 ปีที่ผ่านมา ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า In past few years ไม่รู้จะแปลว่ากี่ปีดี เอาเป็นว่าไม่นานมากนักก็แล้วกันค่ะ อุตสาหกรรมหนังมราฐีเริ่มฟื้นตัว มีการสร้างหนังใหม่ๆมากขึ้น ด้วยความร่วมมือของผู้สร้างและทีมงานชาวมหาราษฏร ที่นำเสนอเรื่องราวใหม่ๆที่มีความหลากหลาย ไอเดียแปลกไม่ซ้ำใคร และติดตราตรึงใจท่านผู้ชมอย่างลึกซึ้ง ทำให้ปัจจุบันโทรทัศน์ช่องต่างๆนำภาพยนต์มราฐีเก่าๆมาฉายมากขึ้น และในช่วงไตรมาสแรกของปี 2010 หนังมราฐีสามารถเบียดหนังฮินดีจากบอลลีวู้ดในบ็อกซ์ออฟฟิศได้สำเร็จ รวมถึงได้รับคำวิจารณ์ที่ดีจากนักวิจารณ์ด้วย
เนื่องจากหนังภาษามราฐีเอง ในช่วงที่เราหาดู คือ เมื่อกลางปีที่แล้วยังมีแบบมีซับไม่กี่เรื่องเอง เลยมีโอกาสดูไม่เยอะนัก แต่ตอนนี้ ณ วันที่เขียนกระทู้ พอไปหาดูอีกทีก็พบว่ามีอีกหลายเรื่องทีเดียวในยูทูปที่เอามาใส่ซับอังกฤษให้ดูกัน การหาก็ไม่ยากค่ะ พิมพ์คำค้นว่า "Marathi full movies with English subtitles" ก็จะเจออยู่หลายเรื่องทีเดียว หรือจะไปติดตามที่ ช่อง EverestTalkies ในยูทูป ก็ได้ค่ะ
เท่าที่เคยไปดูตัวอย่างหนังมา หนังภาษามราฐีจะเดินเรื่องในชนบทเป็นส่วนมากค่ะ เรื่องราวดูจะสะท้อนสังคมและผู้คนชนบท นักแสดงโดยมากจะหน้าตาชาวบ้านๆหน่อย แต่ฝีมือการแสดงถึงใจถึงอารมณ์มากค่ะ
หนังภาษานี้เท่าที่เคยดูก็มีอยู่แค่สามเรื่อง แนะนำเลยดีกว่า ... แต่บอกไว้ก่อน เนื้อหาค่อนข้างหนักนะคะ
ลำดับที่ + ชื่อเรื่อง + ปีที่ออกฉายที่อินเดีย
1. Jogwa: 2009
หนังแนว แนวไหนไม่รู้ค่ะ แต่ได้รางวัล National Film Award ของอินเดียสาขา Best Film on Social Issues (แล้วก็ยังได้อีกหลายรางวัลค่ะ) ต้องบอกก่อนว่า รางวัลนี้ของอินเดียถือเป็นรางวัลที่ทรงเกียรติค่ะ เพราะจะตัดสินจากหนังทุกภาษาทั่วทั้งอินเดียที่ออกฉายในปีนั้นๆ เรียกว่าไม่เจ๋งจริงไม่มีทางได้รางวัลนี้แน่นอน
เรื่องราวความรักของ Tayappa และ Suli สองหนุ่มสาวที่ถูกประเพณีท้องถิ่น ทำให้ทั้งคู่ต้องมาเป็น Jogta และ Jogtin บุคคลที่ละทิ้งทุกอย่างเพื่อรับใช้เทพีท้องถิ่นนามว่า Yellamma โดย ตยับปา jogta หนุ่มที่ถูกจับมาแต่งตัวเป็นผู้หญิงและบังคับให้ใช้ชีวิตแบบผู้หญิง (ไม่ได้ถูกตอนนะคะ) แต่เค้ายังมีจิตใจเป็นผู้ชายโดยสมบูรณ์ เค้าได้เกิดมีความรักขึ้นกับ สุลี jogtin สาวที่อาศัยอยู่ร่วมชายคาเดียวกับเค้า ทั้งคู่ต้องไม่ให้ชาวบ้านรู้ว่าแอบรักกัน แต่ความลับก็ไม่มีในโลก
2. Natarang หรือสะกดว่า Natrang: 2010
หนังแนว ??? วิกิพีเดียไม่ได้จัดประเภทให้ เราจัดเองละกันค่ะ ว่าเป็นแนว drama เป็นอีกเรื่องที่รางวัลเพียบค่ะ
เรื่องของ Guna กรรมกรหนุ่มที่ฝันอยากเป็นพระเอกการแสดงพื้นบ้านของรัฐมหาราษฏรที่เรียกกันว่า Tamasha วันนึงที่ถูกเลิกจ้างจากงานแบกหาม ก็ได้เวลาที่เค้าจะทำตามฝัน แต่แล้วก็มีเหตุบังคับให้เค้าต้องมารับบทกะเทยแทนที่จะเป็นพระเอกอย่างที่ฝันไว้ ในขณะที่ในชีวิตจริงเค้าเป็นชายแท้ มีลูกและมีภรรยาอยู่แล้ว ซึ่งเค้าไม่เคยคิดว่าบทบาทบนเวทีจะมีผลอะไรต่อชีวิตจริง แต่แล้วมันก็ไม่ใช่อย่างที่คิด เมื่อบทบาทบนเวทีนำพาเรื่องต่างๆเข้ามาเป็นบททดสอบในชีวิตของเค้า
3. Mumbai-Pune-Mumbai: 2012
เรื่องนี้ดูสบายๆกว่าสองเรื่องแรกนิดนึงค่ะ หนังรักดูสบายๆ ยิ้มๆบ้างในหลายๆฉาก แต่บทสนทนาจะเยอะนิดนึงค่ะ อ่านซับก็ไม่ค่อยจะทัน แขกพูดเร็ว
เรื่องราวของผู้หญิงคนนึงที่เดินทางจากมุมไบ มาที่เมืองปูเน่ เพื่อมาดูตัวว่าที่เจ้าบ่าวที่ชื่อ Hridaymardyam เธอเดินเข้าไปถามหนึ่งในแก๊งที่กำลังเล่นคริกเก็ตอยู่ เค้าบอกทาง เธอไปตามที่เค้าบอก แต่เมื่อไปถึงเธอก็ไม่พบว่าที่เจ้าบ่าว จนเธอกำลังจะกลับ ในระหว่างทางแวะโทรศัพท์ที่ร้านขายของชำแห่งหนึ่ง ก็เจอกับไอ้หนุ่มแก๊งคริกเก็ตที่เธอไปถามทาง ทั้งคู่ได้พูดคุยกัน หนุ่มปูเน่ เลยบอกว่าจะพาสาวมุมไบไปส่งร้านกาแฟ ทำไปทำมา ทั้งสองคนก็เลยนั่งมอร์เตอร์ไซต์เที่ยวปูเน่กันเพลินไปเลย ... เรื่องนี้จุดเด่นอยู่ที่ฉากหลังที่เป็นความสวยงามของเมืองปูเน่ และบทสนทนาที่ตัวละครมีต่อความรักและแนวคิดเรื่องการแต่งงานของอินเดียค่ะ เรียกว่าดูเพลินๆล่ะกัน ไม่หนักหน่วง แต่มีประเด็นนิดๆแล้วก็ยังมีมุมน่ารักหน่อยๆ แถมด้วยฉากหลังเมืองปูเน่สวยๆ
เพียงเท่านี้สำหรับอุตสาหกรรมหนังภาษามราฐีค่ะ
เพจคนรักหนังอินเดีย
https://www.facebook.com/IndianfilmsloverTh/
เพจรีวิวหนัง+ร้านอาหารอินเดีย
https://www.facebook.com/IndianFilmsandFoodsReview/