คำถามถึงความไม่เหมาะสมและข้อสงสัย พระทำผิดพระวินัยในสังคมไทย ที่ไม่มีคำตอบ ?

เหตุใดทำให้พระเหล่านี้ “ตบะแตก” เอาง่ายๆ
ทั้งๆ ที่บวชเรียนมาหลายปี ?

บวชนานมีโอกาส"ตบะแตก"เมื่อคนศรัทธามาก
มีเงินเข้ามามากขึ้นเป็นเงาตามตัว

ญาติโยมต่างต้องการ"ธรรม"จากพระรูปนั้นๆ
เพื่อหวังบุญกุศล หวังที่พึ่งพิงอัตธรรม มโนธรรม

"แต่จงอย่าลืม! ว่าพระก็คือคนธรรมดา"

เมื่อมีสิ่งเร้า เช่น
การแต่งกายของโยมผู้หญิงบางคน
ที่อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
ที่มีการนุ่งสั้นหรือใส่เสื้อคอลึก

ทั้งมีเงินบริจาคเข้ามาจำนวนมากขึ้น
"อาจทำให้ไขว้เขวได้"

ส่วนใหญ่ผู้หญิงที่ตกเป็นข่าวกับพระ
มักจะมีเรื่องของเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ

คนจนมักจะมีความกลัว ถ่อมตน รู้สึกหดหู่ อยู่บ้าง
ส่วนคนรวยไม่ค่อยกระทบกระเทือนอะไรมากนัก
หรือไม่เกรงกลัวอะไรเลย เสียด้วยซำ้ไป

"พระก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีเงินศรัทธาเข้าเยอะ
อาจจะลืมตัว ขาดสติ จน"ตบะแตก"ในที่สุด

สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
ทำให้โอกาสของการกระทำผิดพระวินัย
จนถึงขั้น "ปาราชิก"
มีโอกาศเป็นไปได้สูงมาก

วงการพระเถระสมาคมก็มีเรื่องของ "สมณศักดิ์"
จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการวิ่งเต้นกัน
โดยปัจจัยสำคัญ คือ เงิน

การแก้ไข ป้องกัน และปราบปราม  
ในหลายครั้งจึงดำเนินการอย่างล่าช้า

พระบางรูปไม่ถูกดำเนินการใดๆ
เพราะมีพระอุปัชฌาย์ คอยช่วยเหลืออยู่

นอกจากนี้บรรดาลูกศิษย์ ที่มีอำนาจบารมี
ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือกันอีก

ขณะที่พุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อย
ไม่อยากเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้
ด้วยความเกรงกลัวต่อบาปกรรม

เลยเข้าทำนอง“ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์”
      
อีกทั้งพระที่ถูกกล่าวหามักจะไม่ยอมรับความจริง
"เพราะบางเรื่องพิสูจน์กันในทางโลกไม่ได้"


คำถามคือ
สมบัติที่ได้มาจากผ้าเหลือง ใครจะตรวจสอบได้ ?

ในเมื่อเป็นเรื่องของความศรัทธา
ที่มอบให้กับพระที่ตนนับถือโดยตรง

ทั้งนี้โดยปกติแล้ว จะไม่มีใครเข้าไปตรวจสอบ
ว่าเงินนั้นจะถูกเก็บ ถูกใช้อย่างไร

ซึ่งพระสามารถจะเก็บไว้เป็นเงินสดก็ได้
หรือไปเปิดบัญชีธนาคาร โดยไม่มีความผิด

และเมื่อเงินเหล่านั้น
เข้าไปอยู่ในรูปแบบบัญชีธนาคารแล้ว
เงินนั้นก็เป็นของเจ้าของบัญชี
และสามารถนำเงินไปใช้ได้ทันที
เช่นกรณี“พระเณรคำ พระธัมมชโย" เป็นต้น

นี่เป็น “ช่องโหว่” ที่เรียกว่าเป็นช่องรูใหญ่มาก
ของ วงการพระสงฆ์ประเทศไทย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่