กระทู้ตั้งขึ้นเพื่อแบ่งปันความรู้ทางกายภาพบำบัด ที่ตัวผมเองเคยเรียนรู้มา
จากประสบการณ์ในการเรียนมหาวิทยาลัยในช่วงไม่กี่ปี อาจมีข้อมูลหรือเนื้อหาบางส่วนที่ผิดพลาดก็ขอ อภัยด้วยครับ
หลายๆคนในวัยทำงาน อาจเคยประสบกับปัญหาทางกาย ที่มารบกวนจิตใจ
หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นอาการปวด ไม่ว่าจะปวดคอ บ่า หลัง ซึ่งอาจรบกวนชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อย
โรค Office syndrome ดูจะเป็นโรคใกล้ตัว ที่หลายๆคนกำลังเจออยู่
การรักษาทางกายภาพบำบัด กับ โรค Office syndrome ในปัจจุบันมีบทบาทมากขึ้น
หัวใจหลักของการรักษาคือ " ตัวผู้ป่วยเอง " นักกายภาพบำบัดเป็นคนที่คอยอยู่ข้างๆ ให้คำปรึกษาและการรักษาที่เหมาะสม
คนแทบทุกอาชีพมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ด้วยกันแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ครู นักศึกษา หรือพนักงานออฟฟิศ
ซึ่งเกิดจากการกล้ามเนื้อที่ใช้ในการทรงท่าทาง ทั้งมัดเล็ก ใหญ่ ถูกใช้งานซ้ำๆเป็นระยะเวลานาน
ประกอบกับท่าทางที่ไม่เหมาะสมผิดหลักการยศาสตร์ เช่น โต๊ะทำงานที่สูงจนทำให้เราต้องยกไหล่อยู่ตลอดทั้งวัน
เก้าอี้ที่ไม่มีที่วางแขน จอคอมที่สูงหรือต่ำมากเกินไปทำให้เราก้มหรือเงย ลักษณะการนั่งที่ต้องเอียงตัว
สิ่งเหล่านี้แหละครับ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดต่างๆ
บางคนกล้ามเนื้อบางมัดไม่แข็ง ทำให้เกิดการทำงานอย่างไม่สมดุล
บางมัดถูกใช้งานมากกว่า ด้วยระยะเวลานานๆ ซ้ำๆ อาจเกิดการหดเกร็งขึ้นได้
การไปหาหมอนวดอาจจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้บ้าง เนื่องจากช่วยคลายกล้ามเนื้อ
แต่สุดท้ายก้กลับมาเป็นอีกซ้ำๆ ไม่หายซักที
บางรายมีปัญหาเรื้อรัง จนเกิดความผิดปกติในเชิงโครงสร้าง เช่น เกิดพังผืดกับข้อต่อต่างๆ ข้อต่อติดขัดจากเอ็นยึดข้อต่อ
หรือแนวการวางตัวของกระดูกสันหลังที่ผิดไปจากแนวปกติ ทำให้กระดูกสันหลังคด เกิดการส่งผ่านน้ำหนักของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป
การทำงานของกระดูกและกล้ามเนื้อ ก็เกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น
นักกายภาพบำบัดจะเข้ามามีบทบาทในการรักษาความผิดปกตินั้น
ในผู้ป่วยบางคนที่เลือกเดินเข้ามาปรึกษานักกายภาพบำบัด ในคลินิคกายภาพบำบัดไม่ว่าจะเป็นของเอกชน
หรือ ภาควิชากายภาพบำบัดในมหาวิทลัยต่างๆ
มักจะมาด้วยอาการปวดบ่า ปวดหลัง เรื้อรัง นักกายภาพบำบัดจะทำการซักประวัติเพื่อหาต้นตอของปัญหา
ตรวจร่างกายทั้งจากการสังเกต คอ ท่าทางของไหล่ กระดูกสะบัก แนวการวางตัวและการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง
หลังจากนั้น หนึ่งสมอง สองมือ ซึ่งสองมือเล็กๆนี่แหละ คืออาวุธของนักกายภาพบำบัด
เพราะต้องสัมผัสและต้องรู้สึกถึงความผิดปกติต่างๆ ของกระดูกและข้อต่อ
หรือกล้ามเนื้อ ตลอดจนลักษณะการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ ที่มีลักษณะจำเพาะแตกต่างกันไป
เพื่อตรวจว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติในโครงสร้างใด เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ต้องใช้ประสบการณ์ในการเรียนรู้
ซึ่งประสบการณ์ ความรู้ต่างๆก็คือ คนไข้ทุกคนตั้งแต่สมัยเรียนในมหาวิทยาลัย ออกไปฝึกงานยังโรงพยาบาลต่างๆ
หรือแม้กระทั้งตลอดชีวิตของการเป็นนักกายภาพบำบัดเอง เป็นสิ่งที่นักกายภาพบำบัดจะหยุดไม่ได้
หลังจากตรวจร่างกายเพื่อเช็คความผิดปกติแล้ว ต่อมาก็จะถึงขั้นตอนการรักษาทางกายภาพบำบัด
ซึ่งมีเทคนิค วิธีการรักษา รวมถึงเครื่องมือ ที่ใช้หลากหลายต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย ที่มีข้อบ่งชี้ต่างกัน
ในบางคนที่มีพังผืดเกิดขึ้นตามข้อต่อต่างๆ ทำให้ข้อต่อนั้นๆทำงานได้ไม่ดีหรือมีการเคลื่อนไหวได้น้อยลง
นักกายภาพบำบัดก็ต้องอาศัยความร้อน เช่นจาก Short wave ซึ่งให้ความร้อนลึกแก่โครงสร้างในร่างกาย เมื่อได้รับความร้อนก็จะอ่อนตัวลง
(นึกเล่นๆเหมือนเวลาเรา เอายางไปตางแดดหรือเผาไฟ)
ที่นี้เมื่อมันอ่อนตัวลงบ้างแล้ว นักกายภาพบำบัดจะใช้เทคนิคทางกายภาพบำบัด ที่เรียกว่า mobilization/manipulation หรือการจัด ดัดดึง ข้อต่อ
เพื่อให้ขยับดูกและข้อต่อนั้นๆ ให้เคลื่อนที่ได้มากขึ้น เคลื่อนไหวได้อิสระและการรบกวนของพังผืด ที่มาจำกัดการเคลื่อนไหวลดน้อยลง
ซึ่งแน่นอนว่าอาจต้องใช้เวลา ไม่สามารถจะทำได้ภายใน 1-2 ครั้ง เพราะกิจวัตรของเราที่ทำซ้ำๆกันมานานหลายปีเป็นตัวบ่มเพาะปัญหาขึ้นมา
ดังนั้น การรักษาทางกายภาพบำบัด เวลา จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ
วิธีการเหล่านี้เองที่มักทำให้คนไข้ที่มาทำการรักษา สบสนว่าคือการนวด ซึ่งจริงๆแล้วอยากให้เข้าใจใหม่ว่าค่อนข้างแตกต่างกัน
ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานทางกายวิภาคศาสตร์ และ องค์ความรู้ทางการเคลื่อนไหว ต่างๆประกอบกันมากมาย
มาต่อที่การรักษาต่อนะครับ
หลายๆคนเคยได้ยินว่าการยืดกล้ามเนื้อมีประโยชน์ เพราะมันช่วยทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งผ่อนคลายลง
ประกอบกับทำให้ความยาวกล้ามเนื้ออยู่ในลักษณะที่เหมาะสม ไม่หดสั้นหรือตึงตัว จนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น
เราสามารถทำเองได้ เรียกว่า Active streching
บางคนที่ทำงานในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน อาจจะมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
พอมันหดเกร็งมากๆและทำงานไม่สมดุลกัน มันจะไปดึงกระดูกต่างๆในร่างกายทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ
และไม่อยู่ในแนวที่เหมาะสม นักกายภาพบำบัดจะทำการ passive streching เพื่อคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
ในมัดที่มีปัญหา ให้เป็นปกติ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาธรรมดาทั่วๆไป แต่มีความสำคัญพอสมควร
พอมาพูดถึงเรื่องกล้ามเนื้อที่ทำงานมากเกินไป จนเกิดการตึงตัวขึ้น
กล้ามเนื้อโดยปกติแล้วจะเกาะผ่านกระดูกต่างๆ โยงไปทั่วร่างกายและสองข้างมักจะวางตัวอย่างสมดุล
มีการทำงานกันเป็นลูกโซ่ ห่างมัดใดอ่อนแรงไป มัดที่แข็งแรงมากกว่าก็จะดึงทำให้โครงสร้างผิดปกติและมีปัญหา
การที่จะทำให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นแข็งแรงขึ้นได้ นักกายภาพบำบัดทำได้เพียง ให้โปรแกรมการออกกำลังกาย
ที่จำเพาะกับแต่ละบุคคลขึ้น วินัยในการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง จึงจะสามารถทำให้ท่าพิชิตกับอาการเจ็บป่วยได้
การออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดความแข็งแรงขึ้นนั้น
ถ้ายึดตามงานวิจัย ต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์กว่าเส้นใยกล้ามเนื้อจะพัฒนาให้เกิดความแข็งแรงขึ้น
นักกายภาพบำบัดจึงมี home program เพื่อให้คนไข้กลับไปออกกำลังกายเองที่บ้าน
แต่ทั้งก็ต้องมีการนัดอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาปัญหาทางโครงสร้างที่ไม่สามารถแก้ให้หายได้ในไม่กี่ครั้ง
ติดตามมาดูว่ากล้ามเนื้อมัดนั้นๆ แข็งแรงเพียงพอแล้วหรือยัง
ดังนั้น เมื่อแนวกระดูก และปัญหาของกระดูกและกล้ามเนื้อของคนไข้ถูกกำจัดไปแล้ว โดยการรักษาของนักกายภาพบำบัด
หัวใจสำคัญอีกอย่างคือการทำให้กล้ามเนื้อ แข็งแรง เพื่อให้เกิดการทำงานที่สมดุลกันไปทั้งระบบ
โดยอาศัยตัวคนไข้เอง ที่ให้ความสำคัญกับร่างกายของตนเองขนาดไหน
เพราะกายออกกำลังกายไม่มีทางลัด และนักกายภาพบำบัดไม่สามารถมาคุมให้ผู้ป่วยออกกำลังกายตามโปรแกรมได้ตลอดเวลา
การรักษาทางกายภาพบำบัดบัด ควรทำให้เหมาะสมกับลักษณะอาการและความผิดปกติ
ต้องมีการตรวจประเมินที่จำเพาะต่อบุคคลนั้นๆ และมีการรักษาด้วยวิธีการที่เฉพาะต่อบุคคล
วันนี้วิชาชีพกายภาพบำบัดในไทยพึ่งเริ่มก้าวเดิน ในอนาคตคงมีบทบาทรับใช้สังคมมากขึ้น
และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม หากคนไทยเข้าใจบทบาทของวิชาชีพกายภาพบำบัดอย่างถูกต้อง
กายภาพบำบัดนอกจากมีสาขาทาง ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ยังมี ระบบประสาท/เด็ก/ทรวงอกและหัวใจ/กีฬา
หากมีโอกาสจะนำเรื่องรางของสาขาอื่นๆมาเล่าต่อไป
กายภาพบำบัด กับ Office syndrome อาการปวดหลังที่รำคาญใจคนวัยทำงาน
จากประสบการณ์ในการเรียนมหาวิทยาลัยในช่วงไม่กี่ปี อาจมีข้อมูลหรือเนื้อหาบางส่วนที่ผิดพลาดก็ขอ อภัยด้วยครับ
หลายๆคนในวัยทำงาน อาจเคยประสบกับปัญหาทางกาย ที่มารบกวนจิตใจ
หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นอาการปวด ไม่ว่าจะปวดคอ บ่า หลัง ซึ่งอาจรบกวนชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อย
โรค Office syndrome ดูจะเป็นโรคใกล้ตัว ที่หลายๆคนกำลังเจออยู่
การรักษาทางกายภาพบำบัด กับ โรค Office syndrome ในปัจจุบันมีบทบาทมากขึ้น
หัวใจหลักของการรักษาคือ " ตัวผู้ป่วยเอง " นักกายภาพบำบัดเป็นคนที่คอยอยู่ข้างๆ ให้คำปรึกษาและการรักษาที่เหมาะสม
คนแทบทุกอาชีพมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ด้วยกันแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ครู นักศึกษา หรือพนักงานออฟฟิศ
ซึ่งเกิดจากการกล้ามเนื้อที่ใช้ในการทรงท่าทาง ทั้งมัดเล็ก ใหญ่ ถูกใช้งานซ้ำๆเป็นระยะเวลานาน
ประกอบกับท่าทางที่ไม่เหมาะสมผิดหลักการยศาสตร์ เช่น โต๊ะทำงานที่สูงจนทำให้เราต้องยกไหล่อยู่ตลอดทั้งวัน
เก้าอี้ที่ไม่มีที่วางแขน จอคอมที่สูงหรือต่ำมากเกินไปทำให้เราก้มหรือเงย ลักษณะการนั่งที่ต้องเอียงตัว
สิ่งเหล่านี้แหละครับ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดต่างๆ
บางคนกล้ามเนื้อบางมัดไม่แข็ง ทำให้เกิดการทำงานอย่างไม่สมดุล
บางมัดถูกใช้งานมากกว่า ด้วยระยะเวลานานๆ ซ้ำๆ อาจเกิดการหดเกร็งขึ้นได้
การไปหาหมอนวดอาจจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้บ้าง เนื่องจากช่วยคลายกล้ามเนื้อ
แต่สุดท้ายก้กลับมาเป็นอีกซ้ำๆ ไม่หายซักที
บางรายมีปัญหาเรื้อรัง จนเกิดความผิดปกติในเชิงโครงสร้าง เช่น เกิดพังผืดกับข้อต่อต่างๆ ข้อต่อติดขัดจากเอ็นยึดข้อต่อ
หรือแนวการวางตัวของกระดูกสันหลังที่ผิดไปจากแนวปกติ ทำให้กระดูกสันหลังคด เกิดการส่งผ่านน้ำหนักของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป
การทำงานของกระดูกและกล้ามเนื้อ ก็เกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น
นักกายภาพบำบัดจะเข้ามามีบทบาทในการรักษาความผิดปกตินั้น
ในผู้ป่วยบางคนที่เลือกเดินเข้ามาปรึกษานักกายภาพบำบัด ในคลินิคกายภาพบำบัดไม่ว่าจะเป็นของเอกชน
หรือ ภาควิชากายภาพบำบัดในมหาวิทลัยต่างๆ
มักจะมาด้วยอาการปวดบ่า ปวดหลัง เรื้อรัง นักกายภาพบำบัดจะทำการซักประวัติเพื่อหาต้นตอของปัญหา
ตรวจร่างกายทั้งจากการสังเกต คอ ท่าทางของไหล่ กระดูกสะบัก แนวการวางตัวและการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง
หลังจากนั้น หนึ่งสมอง สองมือ ซึ่งสองมือเล็กๆนี่แหละ คืออาวุธของนักกายภาพบำบัด
เพราะต้องสัมผัสและต้องรู้สึกถึงความผิดปกติต่างๆ ของกระดูกและข้อต่อ
หรือกล้ามเนื้อ ตลอดจนลักษณะการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ ที่มีลักษณะจำเพาะแตกต่างกันไป
เพื่อตรวจว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติในโครงสร้างใด เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ต้องใช้ประสบการณ์ในการเรียนรู้
ซึ่งประสบการณ์ ความรู้ต่างๆก็คือ คนไข้ทุกคนตั้งแต่สมัยเรียนในมหาวิทยาลัย ออกไปฝึกงานยังโรงพยาบาลต่างๆ
หรือแม้กระทั้งตลอดชีวิตของการเป็นนักกายภาพบำบัดเอง เป็นสิ่งที่นักกายภาพบำบัดจะหยุดไม่ได้
หลังจากตรวจร่างกายเพื่อเช็คความผิดปกติแล้ว ต่อมาก็จะถึงขั้นตอนการรักษาทางกายภาพบำบัด
ซึ่งมีเทคนิค วิธีการรักษา รวมถึงเครื่องมือ ที่ใช้หลากหลายต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย ที่มีข้อบ่งชี้ต่างกัน
ในบางคนที่มีพังผืดเกิดขึ้นตามข้อต่อต่างๆ ทำให้ข้อต่อนั้นๆทำงานได้ไม่ดีหรือมีการเคลื่อนไหวได้น้อยลง
นักกายภาพบำบัดก็ต้องอาศัยความร้อน เช่นจาก Short wave ซึ่งให้ความร้อนลึกแก่โครงสร้างในร่างกาย เมื่อได้รับความร้อนก็จะอ่อนตัวลง
(นึกเล่นๆเหมือนเวลาเรา เอายางไปตางแดดหรือเผาไฟ)
ที่นี้เมื่อมันอ่อนตัวลงบ้างแล้ว นักกายภาพบำบัดจะใช้เทคนิคทางกายภาพบำบัด ที่เรียกว่า mobilization/manipulation หรือการจัด ดัดดึง ข้อต่อ
เพื่อให้ขยับดูกและข้อต่อนั้นๆ ให้เคลื่อนที่ได้มากขึ้น เคลื่อนไหวได้อิสระและการรบกวนของพังผืด ที่มาจำกัดการเคลื่อนไหวลดน้อยลง
ซึ่งแน่นอนว่าอาจต้องใช้เวลา ไม่สามารถจะทำได้ภายใน 1-2 ครั้ง เพราะกิจวัตรของเราที่ทำซ้ำๆกันมานานหลายปีเป็นตัวบ่มเพาะปัญหาขึ้นมา
ดังนั้น การรักษาทางกายภาพบำบัด เวลา จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ
วิธีการเหล่านี้เองที่มักทำให้คนไข้ที่มาทำการรักษา สบสนว่าคือการนวด ซึ่งจริงๆแล้วอยากให้เข้าใจใหม่ว่าค่อนข้างแตกต่างกัน
ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานทางกายวิภาคศาสตร์ และ องค์ความรู้ทางการเคลื่อนไหว ต่างๆประกอบกันมากมาย
มาต่อที่การรักษาต่อนะครับ
หลายๆคนเคยได้ยินว่าการยืดกล้ามเนื้อมีประโยชน์ เพราะมันช่วยทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งผ่อนคลายลง
ประกอบกับทำให้ความยาวกล้ามเนื้ออยู่ในลักษณะที่เหมาะสม ไม่หดสั้นหรือตึงตัว จนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น
เราสามารถทำเองได้ เรียกว่า Active streching
บางคนที่ทำงานในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน อาจจะมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
พอมันหดเกร็งมากๆและทำงานไม่สมดุลกัน มันจะไปดึงกระดูกต่างๆในร่างกายทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ
และไม่อยู่ในแนวที่เหมาะสม นักกายภาพบำบัดจะทำการ passive streching เพื่อคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
ในมัดที่มีปัญหา ให้เป็นปกติ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาธรรมดาทั่วๆไป แต่มีความสำคัญพอสมควร
พอมาพูดถึงเรื่องกล้ามเนื้อที่ทำงานมากเกินไป จนเกิดการตึงตัวขึ้น
กล้ามเนื้อโดยปกติแล้วจะเกาะผ่านกระดูกต่างๆ โยงไปทั่วร่างกายและสองข้างมักจะวางตัวอย่างสมดุล
มีการทำงานกันเป็นลูกโซ่ ห่างมัดใดอ่อนแรงไป มัดที่แข็งแรงมากกว่าก็จะดึงทำให้โครงสร้างผิดปกติและมีปัญหา
การที่จะทำให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นแข็งแรงขึ้นได้ นักกายภาพบำบัดทำได้เพียง ให้โปรแกรมการออกกำลังกาย
ที่จำเพาะกับแต่ละบุคคลขึ้น วินัยในการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง จึงจะสามารถทำให้ท่าพิชิตกับอาการเจ็บป่วยได้
การออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดความแข็งแรงขึ้นนั้น
ถ้ายึดตามงานวิจัย ต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์กว่าเส้นใยกล้ามเนื้อจะพัฒนาให้เกิดความแข็งแรงขึ้น
นักกายภาพบำบัดจึงมี home program เพื่อให้คนไข้กลับไปออกกำลังกายเองที่บ้าน
แต่ทั้งก็ต้องมีการนัดอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาปัญหาทางโครงสร้างที่ไม่สามารถแก้ให้หายได้ในไม่กี่ครั้ง
ติดตามมาดูว่ากล้ามเนื้อมัดนั้นๆ แข็งแรงเพียงพอแล้วหรือยัง
ดังนั้น เมื่อแนวกระดูก และปัญหาของกระดูกและกล้ามเนื้อของคนไข้ถูกกำจัดไปแล้ว โดยการรักษาของนักกายภาพบำบัด
หัวใจสำคัญอีกอย่างคือการทำให้กล้ามเนื้อ แข็งแรง เพื่อให้เกิดการทำงานที่สมดุลกันไปทั้งระบบ
โดยอาศัยตัวคนไข้เอง ที่ให้ความสำคัญกับร่างกายของตนเองขนาดไหน
เพราะกายออกกำลังกายไม่มีทางลัด และนักกายภาพบำบัดไม่สามารถมาคุมให้ผู้ป่วยออกกำลังกายตามโปรแกรมได้ตลอดเวลา
การรักษาทางกายภาพบำบัดบัด ควรทำให้เหมาะสมกับลักษณะอาการและความผิดปกติ
ต้องมีการตรวจประเมินที่จำเพาะต่อบุคคลนั้นๆ และมีการรักษาด้วยวิธีการที่เฉพาะต่อบุคคล
วันนี้วิชาชีพกายภาพบำบัดในไทยพึ่งเริ่มก้าวเดิน ในอนาคตคงมีบทบาทรับใช้สังคมมากขึ้น
และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม หากคนไทยเข้าใจบทบาทของวิชาชีพกายภาพบำบัดอย่างถูกต้อง
กายภาพบำบัดนอกจากมีสาขาทาง ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ยังมี ระบบประสาท/เด็ก/ทรวงอกและหัวใจ/กีฬา
หากมีโอกาสจะนำเรื่องรางของสาขาอื่นๆมาเล่าต่อไป