ทำอย่างไร ให้งานวิจัยวิทยาศาสตร์ไทย วิจัยแล้วรวย

จากสองกระทู้ด้านล่าง

---------------------------------------------------------------------------
นี่คือสาเหตุที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตสินค้าอุตสาหกรรมยี่ห้อตัวเองได้
http://ppantip.com/topic/33686532

ทำไมการผลิตบุคลาการทางสายวิทยาศาสตร์จึงทำได้น้อย คอขวดไปติดอยู่ตรงไหนคะ อย่างไรจึงเรียกว่าสมดุล
http://ppantip.com/topic/33710489/comment16

-------------------------------------------------------------------------

ผมจะขอพูดคุยเรื่องการวิจัยวิทยาศาตร์ไทยให้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของตัวเองได้ โดยตัวเอกผู้ที่จะสร้างสิ่งนี้มามีคนสามชนิด
1. เอกชนผู้ลงทุนในงานวิจัย เราเรียกชื่อว่า Venture Capital
2. รัฐบาล ไม่ต้องทำอะไรเลย  สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือ ต้องยอมให้อาจารย์มหาวิทยาลัยรับงานนอกจาก 1. และออกกฏที่เอื้อ
3. อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือนักวิจัย  

การที่ประเทศไทย ที่มีเงินทุนวิจัยจำกัด จะสามารถผลิตสินค้าอุตสหกรรมได้ และมีบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอนั้นจะทำได้อย่างไร?

คำตอบที่ผมคิดไว้ในเรื่องนี้คือ
1. ต้องสร้างอุตสหกรรมใหม่
อธิบายคำว่าอุตสาหกรรมใหม่ : คือไม่ใช่การวิจัยเพื่อทดแทนการนำเข้าหรือวิจัยเพื่ออุดหนุนบางบริษัทที่มีสินค้าอยู่แล้ว  
แต่เป็นการวิจัยในสินค้าที่โลกยังไม่มีแต่กำลังจะมี เช่น  ลองดูวิสัยทัศน์ของไมโครซอฟต์เป็นตัวอย่าง  นั่นมีสินค้าใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีมาก่อน โฟกัสในสิ่งเหล่านั้น   หรือว่าเช่น ยาใหม่ๆ  
https://www.youtube.com/watch?v=ozLaklIFWUI

อุตสาหกรรมใหม่ๆที่กำลังจะเกิดขึ้นเช่น
plastic electronic
3D printing
หรือเปิดดูหนัง โดราเอมอน stand by me ก็ได้ สิ่งเหล่านั้นยังไม่เคยมีมาก่อนแต่ว่าเป็นไปได้ที่จะมี

2. เมื่อ Venture Captial เลือก อุตสหกรรมใหม่ๆที่จะทำได้  (เลือกหลายอันได้ แล้วแต่งบ) จะต้องมีการวางยุทธศาสตร์เพื่อสร้าง ecosystem (สภาวะแวดล้อม)

อธิบาย ecosystem ก็เช่น ถ้าคุณจะทำ3D printing คุณต้องมีงานวิจัยที่เกี่ยวกับเคมี เพื่อทำน้ำยา,วัสดุสำหรับพิมพ์ออกมา  จะต้องมีนักฟิสิกส์เพื่อที่จะออกแบบหัวพิมพ์คำนวนแรงฉีด  จะต้องหาผู้ผลิตหัวพิมพ์ที่ออกแบบไว้ สิ่งเหล่านี้บ้างต้องวิจัยใหม่ บ้างต้องหาผู้ผลิต บ้างก็นำเข้า

3. Venture Capital กำหนดตารางเวลา และการให้เงินทุน ตามยุทธศาสตร์ที่กำหนด  ว่าอุตสหกรรมใหม่จะมีผลิตภัณฑ์ออกมาเมื่อไหร่  แล้วแล็บไหนบ้างที่จะได้เงินทุน

การประมูลว่าใครจะได้ทุนวิจัย
การจะวางยุทศาสตร์ของการวิจัยโดยใช้เงินทุนจำกัดนั้น จำเป็นจะต้องมีการเลือกจ่ายเงินให้นักวิจัยบางคนและบางคนไม่ได้  เรื่องยุติธรรมต้องมองเป็นความยุติธรรมเชิงการแข่งขัน และความยุติธรรมเชิงตลาด
กล่าวคือ  วิธีการแบ่งเงินทุนวิจัยประเภทแบ่งให้มหาวิทยาลัยวิจัยแต่ละแห่งเท่าๆกัน มหาวิทยาลัยแบ่งให้แต่ละคณะเท่าๆกัน แบบนี้ถือว่าใช้ไม่ได้ การจะจ่ายเงินให้นักวิจัยเป็นทุนวิจัยจะจ่ายก็ต่อเมื่อ เป็นเงินวิจัยที่จ่ายแล้วสามารถสร้างอุตสหกรรมใหม่
นักวิจัยจะต้องเสนอแนวทางทางเทคนิค เพื่อที่จะได้เงินทุนวิจัย  การแข่งขันว่าใครจะได้ทุนวิจัยต้องขึ้นกับชื่อเสียงว่าในครั้งก่อนๆที่ได้ไป สามารถผลิตงานวิจัยให้กับผู้ให้ทุนได้หรือไม่
การตกลงผลประโยชน์ จะต้องมีการตกลงผลประโยชน์กันชัดเจนว่าผู้ให้ทุนวิจัยเป็นเจ้าของ(หรือเจ้าของร่วม)ในสิทธิบัตร  ทั้งนี้เพื่อทำให้ผู้ให้ทุนวิจัยอยู่ในฐานะผู้ลงทุน

4. Venture Capital ขายงานวิจัยให้กับเอกชนผู้ลงทุนผลิตเชิงอุตสาหกรรมในราคา 1000 เท่าของต้นทุนวิจัยรวม
ต้องขายให้กำไรถล่มทลาย จึงจะมีทุนวิจัยที่มากขึ้นในงวดถัดไป  จ้างนักวิจัยในราคาที่แพงขึ้น  ไม่รู้จบ

ทั้งหมดนี้จะต้องร่วมกันทำระหว่าง Venture Capital กับ มหาวิทยาลัย โดยรัฐบาลต้องยินยอมว่า อาจารย์ทำงานพวกนี้ไม่ถือว่าอู้งาน ควรได้รับการสนับสนุน

เมื่อนักวิจัยได้ทุนมา ก็มาเป็นทุนจ้างนศ.ป.โท เอก เพื่อผลิตงานวิจัย

ด้วยวิธีนี้เราได้สร้างการวิจัยให้เป็น อาชีพ เพราะเราได้สร้างผลงานวิจัยที่ทำกำไร  อาจารย์ต่างๆก็จะตั้ง ลีค ของตนเองขึ้นมาเพื่อผลิตงานวิจัยโดยได้รับแรงจูงใจจากเงิน และชื่อเสียง (เพราะผลงานวิจัยก็เอาไปตีพิมพ์ลงวารสารเหมือนเดิมมา)  

สรุป ผมได้อธิบายแนวคิดที่จะทำให้วิจัยแล้วรวย  ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะทำให้งานวิจัยวิทยาศาสตร์ไทยก้าวหน้า และเป็นแนวคิดที่จะแก้ปัญหาการขาดแบรนด์ทางอุตสาหกรรมของไทย แก้ปัญหาการขาดแคลนนักวิจัย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่