หมวกนิรภัยเป็นปัญหาร้อน ๆ ของสังคมผู้ใช้จักรยานยนต์ ณ ตอนนี้
ผมจะลองวิเคราะห์ และตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหมวกนิรภัย
1. กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
http://pknow.edupol.org/Course/C3/Karnpolice_group/subj_traffic/tf1/doc/020604-15.pdf
...ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทําจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี...
...ในกรณีที่ได้มีการกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสําหรับหมวกนิรภัย
แบบใดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว หมวกนิรภัยที่จะใช้ต้อง
เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)...
วิเคราะห์
ตามกฎกระทรวงนี้ ระบุว่า ถ้ามีบังลม บังลมต้องใสไม่มีสี คือใสขาว
และถ้ามีบังลม แต่ถ้าไม่ใสขาว แม้ว่าจะเลื่อนขึ้นข้างบนไม่ปิดหน้าก็ถือว่าผิดอยู่ดี
แต่ไม่มีบังลมก็ได้
เมื่อได้กำหนด มอก.เกี่ยวกับหมวกนิรภัยแล้ว ก็ต้องใช้หมวกนิรภัยที่ได้รับ มอก.
ซึ่งหลังจากออกกฎกระทรวงนี้ ก็ได้มี การออก มอก.369 -2539 ซึ่งมีเนื้อความเกี่ยวกับบังลมไว้ดังนี้
...ใส ไม่มีสี การตรวจสอบทำโดยการตรวจพินิจ...
สรุปข้อ 1. หมวกกันน็อคต้องได้รับ มอก. กล่าวคือ หมวกจะมีบังลมหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้ามี ต้องใส ไม่มีสี .
2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้จักรยานยนต์ (มอก.369 –2557)
http://www.tisi.go.th/images/stories/notices/pdf/a369-2557.pdf
http://www.thaiauto.or.th/2012/backoffice/file_upload/news/18825571029391.pdf
...2.11 แผ่นบังลม (visor) หมายถึง แผ่นป้องกันลมทำด้วยวัสดุโปร่งแสง (transparent) ครอบคลุมบริเวณตาของผู้สวมใส่ ซึ่งปกปิดทั้งหน้าหรือบางส่วนของหน้า...
รายละเอียดของแผ่นบังลม
-ระบุให้วัดการส่งผ่านแสงต้องมากกว่าร้อยละ 80
กรณีที่ค่าการส่งผ่านแสงอยู่ในช่วง ร้อยละ 50- 80
ต้องระบุข้อความ “ใช้ในเวลากลางวันเท่านั้น”
-ทดสอบความทนการกระแทก ต้องไม่แตกเป็นชิ้นแหลมคม
วิเคราะห์
มอก. นี้ ออกมาใหม่เมื่อปีที่แล้ว ระบุให้บังลมต้องโปร่งแสง หมายความว่า ไม่ต้องใสขาวเหมือนเดิมแล้ว สีชา สีดำ (หรือฉาบปรอท?) ก็ได้
แต่ต้องให้แสงผ่านได้ร้อยละ 80 แต่ถ้าแสงผ่านได้ไม่ถึงร้อยละ 80 แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต้องระบุข้อความที่หมวกว่า “ใช้ในเวลากลางวันเท่านั้น”
สรุปข้อ 2. มีการออก มอก.ของหมวกกันน็อคมาใหม่ โดยบังลมไม่จำเป็นต้องใส ไม่มีสีแล้ว แต่ก็ต้องโปร่งแสง มีสีได้ ยอมให้แสงผ่านร้อยละ 50 ขึ้นไป แต่ถ้าน้อยกว่าร้อยละ 80 ต้องระบุข้อความที่หมวกว่า “ใช้ในเวลากลางวันเท่านั้น”
วิเคราะห์รวมสองข้อ
จากกฎกระทรวง และ มอก.369 –2557 จะเห็นว่ามีความขัดแย้งกันในส่วนของบังลมหน้า คือ
กฎกระทรวงให้แค่ใส ไม่มีสี แต่ มอก.ใหม่ ให้ได้ถึงโปร่งแสง มีสีได้ แต่ต้องให้แสงผ่านตามที่กำหนดคือมากกว่าร้อยละ 50
แต่กฎกระทรวงมีฐานะเป็นกฎหมาย ซึ่งอยู่เหนือมาตรฐานอุตสาหกรรมแน่นอน
แต่...กฎกระทรวงเองก็ระบุว่าให้หมวกนิรภัยที่ใช้ได้ เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ซึ่งก็ต้องเป็นหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม กับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสากรรม ว่าจะแก้ปัญหานี้ยังไง
วิเคราะห์กฎหมาย มาตรฐาน เกี่ยวกับหมวกนิรภัย (หมวกกันน็อค)
ผมจะลองวิเคราะห์ และตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหมวกนิรภัย
1. กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
http://pknow.edupol.org/Course/C3/Karnpolice_group/subj_traffic/tf1/doc/020604-15.pdf
...ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทําจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี...
...ในกรณีที่ได้มีการกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสําหรับหมวกนิรภัย
แบบใดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว หมวกนิรภัยที่จะใช้ต้อง
เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)...
วิเคราะห์
ตามกฎกระทรวงนี้ ระบุว่า ถ้ามีบังลม บังลมต้องใสไม่มีสี คือใสขาว
และถ้ามีบังลม แต่ถ้าไม่ใสขาว แม้ว่าจะเลื่อนขึ้นข้างบนไม่ปิดหน้าก็ถือว่าผิดอยู่ดี
แต่ไม่มีบังลมก็ได้
เมื่อได้กำหนด มอก.เกี่ยวกับหมวกนิรภัยแล้ว ก็ต้องใช้หมวกนิรภัยที่ได้รับ มอก.
ซึ่งหลังจากออกกฎกระทรวงนี้ ก็ได้มี การออก มอก.369 -2539 ซึ่งมีเนื้อความเกี่ยวกับบังลมไว้ดังนี้
...ใส ไม่มีสี การตรวจสอบทำโดยการตรวจพินิจ...
สรุปข้อ 1. หมวกกันน็อคต้องได้รับ มอก. กล่าวคือ หมวกจะมีบังลมหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้ามี ต้องใส ไม่มีสี .
2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้จักรยานยนต์ (มอก.369 –2557)
http://www.tisi.go.th/images/stories/notices/pdf/a369-2557.pdf
http://www.thaiauto.or.th/2012/backoffice/file_upload/news/18825571029391.pdf
...2.11 แผ่นบังลม (visor) หมายถึง แผ่นป้องกันลมทำด้วยวัสดุโปร่งแสง (transparent) ครอบคลุมบริเวณตาของผู้สวมใส่ ซึ่งปกปิดทั้งหน้าหรือบางส่วนของหน้า...
รายละเอียดของแผ่นบังลม
-ระบุให้วัดการส่งผ่านแสงต้องมากกว่าร้อยละ 80
กรณีที่ค่าการส่งผ่านแสงอยู่ในช่วง ร้อยละ 50- 80
ต้องระบุข้อความ “ใช้ในเวลากลางวันเท่านั้น”
-ทดสอบความทนการกระแทก ต้องไม่แตกเป็นชิ้นแหลมคม
วิเคราะห์
มอก. นี้ ออกมาใหม่เมื่อปีที่แล้ว ระบุให้บังลมต้องโปร่งแสง หมายความว่า ไม่ต้องใสขาวเหมือนเดิมแล้ว สีชา สีดำ (หรือฉาบปรอท?) ก็ได้
แต่ต้องให้แสงผ่านได้ร้อยละ 80 แต่ถ้าแสงผ่านได้ไม่ถึงร้อยละ 80 แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต้องระบุข้อความที่หมวกว่า “ใช้ในเวลากลางวันเท่านั้น”
สรุปข้อ 2. มีการออก มอก.ของหมวกกันน็อคมาใหม่ โดยบังลมไม่จำเป็นต้องใส ไม่มีสีแล้ว แต่ก็ต้องโปร่งแสง มีสีได้ ยอมให้แสงผ่านร้อยละ 50 ขึ้นไป แต่ถ้าน้อยกว่าร้อยละ 80 ต้องระบุข้อความที่หมวกว่า “ใช้ในเวลากลางวันเท่านั้น”
วิเคราะห์รวมสองข้อ
จากกฎกระทรวง และ มอก.369 –2557 จะเห็นว่ามีความขัดแย้งกันในส่วนของบังลมหน้า คือ
กฎกระทรวงให้แค่ใส ไม่มีสี แต่ มอก.ใหม่ ให้ได้ถึงโปร่งแสง มีสีได้ แต่ต้องให้แสงผ่านตามที่กำหนดคือมากกว่าร้อยละ 50
แต่กฎกระทรวงมีฐานะเป็นกฎหมาย ซึ่งอยู่เหนือมาตรฐานอุตสาหกรรมแน่นอน
แต่...กฎกระทรวงเองก็ระบุว่าให้หมวกนิรภัยที่ใช้ได้ เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ซึ่งก็ต้องเป็นหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม กับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสากรรม ว่าจะแก้ปัญหานี้ยังไง