[บทความ] 1 ปีทีวีดิจิตอล กับความล้มเหลวของทุกฝ่าย โดย นาย (นาง) เบนซ์อภินันท์

ทีวีดิจิตอลในบ้านเราก็ออกอากาศมา 1 ปีแล้ว นับตั้งแต่ทีวีดิจิตอลออกอากาศมา ได้ผ่านปัญหา อุปสรรคต่างๆ มามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโครงข่ายทีวีบางโครงข่ายที่ยังมีปัญหาอยู่ถึงทุกวันนี้ ปัญหาการออกอากาศคู่ขนานของช่องอนาล็อกเดิมช่องหนึ่งซึ่งยืดเยื้อจนต้องยอมออกอากาศ ปัญหาคูปองทีวีดิจิตอลที่ยังแก้ไม่หายอยู่ตอนนี้ การจัดโปรโมชั่นของบริษัทขายกล่องดาวเทียม
และปัญหาล่าสุดที่กำลังดุเดือดในตอนนี้คือ "ปัญหาไทยทีวี" ที่ตอนนี้ก็ขอคืนใบอนุญาตและจะกลับไปทำทีวีดาวเทียมแล้ว


วันนี้ "นายเบนซ์อภินันท์" เลยขอเขียนบทความชื่อว่า "1 ปีทีวีดิจิตอล กับความล้มเหลวของทุกฝ่าย" เพื่อสะท้อนปัญหาของฝ่ายต่างๆ มาดังนี้ฮะ

ฝ่าย กสทช.
+ กสทช. คิดจะออกอากาศทีวีดิจิอล แทนระบบทีวีอนาล็อก และจัดช่องทีวีไว้มากถึง 48 ช่อง (ธุรกิจ 24, สาธารณะ 12, บริการชุมชน 12)
+ ช่องธุรกิจนั้น มีการแข่งขันดุเดือด จนได้ผู้ประกอบการที่จะทำช่องทีวีดิจิตอลทุกช่อง รวมถึงช่องอนาล็อกเดิม โดยช่องอนาล็อกเดิม 2 ช่องคือ ช่อง 7 และ 9 ได้ออกอากาศคู่ขนาน ส่วนช่อง 3 กลับส่งบริษัทในเครือเข้าประมูล ก็เลยเกิดปัญหาออกอากาศคู่ขนานที่ยืดเยื้อมาเกือบ 2 เดือนในปีที่ผ่านมา
+ ส่วนช่องสาธารณะ ตอนนี้มี 5-11 และไทยพีบีเอส ส่วนช่องสาธารณะอีก 9 ช่องที่เหลือต้องรอโครงข่ายจากกรมประชาสัมพันธ์
+ ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา กสทช. ไม่คิดจะโปรโมททีวีดิจิตอลอะไรเลย ไม่เคยคิดจะเยียวยาช่องทีวีดิจิตอล หรือประชาสัมพันธ์อะไรที่เป็นรูปเป็นร่าง ทำงานก็ไม่ได้เรื่อง เคยคิดว่า กสทช. จะพึ่งได้ แต่ถึงวันนี้ใครยังคิดจะพึ่ง กสทช. เรื่องทีวีดิจิตอล คงต้องทบทวนกันอีกหลายตลบเลบล่ะ
+ คูปองทีวีดิจิตอลออกช้ามาก กว่าจะออกล็อตแรกก็ปาเข้าไปเดือนตุลาคม แทนที่จะเริ่มออกได้ทันทีที่เริ่มออกอากาศทีวีดิจิตอล >> ปัญหาคือการเพิ่มฟังก์ชั่นกล่องดาวเทียม และเคเบิ้ลทีวีของกรรมการ กสท. บางคน!!!
+ คูปองทีวีดิจิตอลออกมาแล้ว มีบางส่วนที่โดนสวมสิทธิ์ โดนข้าราชการท้องถิ่นบางคนฉีกเก็บไว้ พอถึงวันที่รับคูปอง แทนที่จะได้คูปอง กลับได้แค่กล่องทีวีดิจิตอลที่มีการ "ฮั้ว" เอาไว้
+ กรรมการ กสท. มีบางคนที่ทำงานได้แย่มาก แย่ที่สุด และแย่จนไม่รู้จะแย่ยังไงแล้ว 1 ในนั้นเป็นถึงรองประธาน กสทช. เสียด้วย!!!

ฝ่ายผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล
+ เคยคิดว่า ทีวีดิจิตอลจะสวยหรูอย่างที่คิด จะมีผู้ชมเข้ามามาก และสามารถแย่งชิงเรตติ้งช่องอนาล็อกเดิมได้ >> สุดท้ายก็มีช่องทีวีดิจิตอลที่แย่งเรตติ้งช่องอนาล็อกเดิมได้จริงๆ นั่นคือ Workpoint TV ที่สามารถแซงเรตติ้งช่อง 3 ได้อย่างสบายๆ
+ แต่ความจริงแล้ว ช่องอนาล็อกเดิมอย่าง 5-7-9-Thai PBS ก็เป็น 1 ในผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลเช่นกัน และที่สำคัญ ช่อง 7 เป็นช่องทีวี 2 ระบบที่มีเรตติ้งสูงสุดไม่มีวันแปรผัน >> แต่โชคดีที่สามารถรักษาศรัทธาของผู้ชมได้แม้ว่าผู้ชมจะหายเพราะต้องการดูช่องใหม่ๆ ไปบ้าง
+ เคยคิดว่า ช่องทีวีดิจิตอลจะมีอะไรใหม่ที่ดีกว่าช่องอนาล็อก แต่สุดท้ายก็เหมือนเดิมหลายช่อง ยังมีละครตบๆ ตีๆ อยู่ทุกวันนี้นี่แหละ
+ มีช่องทีวีดิจิตอลบางช่องที่สามารถเรียกเรตติ้งได้จากการสร้างเอกลักษณ์ของช่อง ตัวอย่าง MONO29 ที่สร้างเอกลักษณ์จากการคอนเทนต์ภาพยนตร์และซีรี่ส์จากต่างประเทศ
+ ผ่านไป 1 ปี เรตติ้งทีวีดิจิตอลก็ยังต่ำอยู่ ถึงแม้ว่าจะเริ่มออกอากาศไปแล้ว 1 ปี โดยเรตติ้งที่ยังมาแรงก็คือช่อง 3-7 แต่ก็มีบางช่องที่เริ่มตีได้แล้ว >> ช่องวันเริ่มเจาะกลุ่มคนเมืองเพื่อหวังจะตีช่อง 3 ในขณะที่ช่อง 3 เริ่มเสียศรัทธาจากผู้ชม (ความเห็น จขกท. คาดว่าหลังจาก "สุดแค้นแสนรัก" อาวสาน ช่อง One-8-Workpoint-MONO29 จะเริ่มตีเรตติ้งช่อง 3 แล้ว)
+ ทุกช่องยังต้องจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลงวดที่ 2 ตามระเบียบ แต่มี 2 ช่องของเจ๊ติ๋มที่ไม่ยอมจ่ายค่าประมูลทีวีดิจิตอล
+ บางช่องที่จ่ายเงินตามระเบียบ ขอสงวนสิทธิ์ในการฟ้อง กสทช. ด้วยนะ

ฝ่ายไทยทีวี (ขออนุญาตลอกกระทู้เก่า "15 ข้อ กับ เรื่องน่ารู้ของช่องเจ๊ติ๋ม โดย นางเบนซ์อภินันท์" มาเล่าซ้ำอีกทีนึงนะครับ)
+ เจ๊ติ๋ม-พันธุ์ทิภา ศกุณต์ไชย เจ้าของโรงพิมพ์ทีวีพูล และเจ้าของช่องทีวีดาวเทียม ประกาศประมูลช่องทีวีดิจิตอลในนาม บจก.ไทยทีวี โดยเลือกช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว และช่องข่าวสารและสาระ สุดท้ายได้ทั้ง 2 ช่อง
+ ช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว ใช้ชื่อว่า "โลกา" ซึ่งเป็นคำมาจากภาษของสเปน แปลว่า Crazy girl หรือผู้หญิงที่เครซี่ (ขอบคุณคุณเก๋-สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. ที่ช่วยตอบให้นะฮะ ^^)
+ ช่องข่าวสารและสาระ ระยะแรกใช้ชื่อว่า "THV" ทำร่วมกับโพสต์พับลิชชิ่ง แต่สุดท้ายก็ไม่ลงรอยกัน ก็ต้องแตกหักกันไป
+ ภายหลังจากที่แตกหักกับโพสต์ฯ เลยต้องเปลี่ยนโลโก้ช่องไทยทีวี เป็นรูปนก (หรือเป็ด) ซึ่งส่อเค้าแววว่าจะไปซ้ำกับโลโก้ช่องไทยพีบีเอส
+ สุดท้ายใช้โลโก้สามวงซ้อนกันในแนวนอน มีเลข 17 อยู่ในวง แต่เนื่องจากวงเหล่านี้มันซ้อนกัน ทำให้มองเห็นเลข 17 เป็น 1177 แทน
+ ช่องของเจ๊ติ๋มเลือกใช้โครงข่ายของไทยพีบีเอส โครงข่ายทีวีดิจิตอลที่ดีที่สุดของไทย (มิน่าเล่าไทยรัฐทีวีถึงต้องไปใช้โครงข่ายของ อสมท)
+ เจ๊ติ๋มวาดฝันว่าจะล้มช่อง 3-5-7-9 ซึ่งเจ๊คิดว่าช่องเหล่านี้ยังอยู่ในระบบอนาล็อก แต่ที่ไหนได้ ช่องเหล่านี้ได้ออกอากาศในระบบทีวีดิจิตอลเรียบร้อยแล้ว! (ทุกช่องออกคู่ขนานแบบเดิมหมด ส่วนช่อง 3 ใช้วิธีการออกอากาศในช่อง 3 HD คู่ขนานไปด้วยกัน)
+ เจ๊ติ๋มมีการตลาดแบบมัดมือชก เน้นวิธีการแบบ "ป่าล้อมเมือง" โดยแจกทีวีตามศาลาชุมชน, โรงพยาบาลชุมชน แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเปิดแต่ช่องของเจ๊เท่านั้น
+ ช่องไทยทีวีมีคอนเทนต์ที่แย่มาก ละครของช่องนี้มีคุณภาพไม่ต่างอะไรกับหนังแผ่นที่ขายเกลื่อนอยู่ตามคลองถม!
+ เจ๊ติ๋มใช้การตลาดแบบดับเครื่องชน ผลิตละครพื้นบ้าน หวังทำลายเรตติ้งช่อง 3-7 สุดท้ายก็ล้มเหลวอย่างรุนแรง
+ มีคนในพันทิปวิจารณ์ละครในช่องไทยทีวีอย่างตรงไปตรงมา แต่ถูกบุคคลที่คาดว่าเป็นพีอาร์ของช่องด่าโดยใช้คำหยาบ โดยมี 2 คนที่ถูกด่า 1 ในนั้นเป็นเพื่อนของ จขกท. เอง!
+ ช่องโลกาส่อภาวะร่อแร่ เจ๊ติ๋มคิดจะขายช่องนี้ให้ MVTV แต่ทำไม่ได้เพราะผิดกฎ กสทช. สุดท้ายเจ๊ติ๋มต้องใช้วิธีการ Time Sharing ให้แก่ MVTV ในสัดส่วน 40% เพื่อไม่ให้ผิดกฎ กสทช. และเปลี่ยนช่องเป็น MVTV Family แทน
+ ช่องไทยทีวีอยู่ในภาวะร่อแร่ไม่แพ้กัน เจ๊ติ๋มหาพาร์ทเนอร์ใหม่ ได้ของโอมมหารวย ซึ่งมีประวัติฉาวโฉ่มาก่อน
+ เจ๊ติ๋มประกาศ "ชักดาบ" ไม่จ่ายเงินประมูลช่องทีวีดิจิตอล และเจ๊ "มโน" ว่าจะมีช่องทีวีดิจิตอลอื่นๆ ชักดาบร่วมด้วย >> แต่ท้ายที่สุดแล้วทีวีดิจิตอลช่องอื่นๆ ทุกช่องจ่ายเงินตามกฎ แล้วบางช่องก็ขอสงวนสิทธิในการฟ้อง กสทช. อีกด้วย
+ ท้ายที่สุด เจ๊ติ๋มขอถอนไลเซ่นทิ้ง และจะทำช่องดาวเทียมแทนช่องทีวีดิจิตอลแล้ว โดยนางบ่นว่า "ผิดคาด" ทั้งๆ ที่เป็นความผิดของเจ๊ติ๋มเอง

ฝ่ายโครงข่ายทีวีดิจิตอล
+ แรกเริ่มเดิมทีมีโครงข่ายทีวีดิจิตอล 4 โครงข่ายคือ กรมประชาสัมพันธ์ (MUX-1) กองทัพบก (MUX-2) อสมท (MUX-3) ไทยพีบีเอส (MUX-4) ซึ่งภายหลังกองทัพบกเจ้าของสัมปทานช่อง 7 ก็ได้คุยกันกับช่อง 7 เพื่อขอคืนคลื่นในวันที่ 16 ก.ค. 2561 แทนที่จะคืนในปี 2566 ตามสัญญาสัมปทานเดิม สุดท้ายกองทัพบกก็เลยได้ MUX-5 มาเพิ่มอีก 1 MUX
+ ภายหลังช่อง 7 สีประมูลช่อง HD ได้ ก็ขอเข้าใช้โครงข่ายของกองทัพบก เพื่อต้องการสิทธิพิเศษจากสัญญาสัมปทาน หรือจากโครงข่ายของกองทัพบก
+ ในบรรดาสถานีโครงข่ายทีวีดิจิตอลหลัก 39 สถานี เป็นสถานีของไทยพีบีเอส 35 สถานี อีก 4 สถานีเป็นของ อสมท. ได้แก่ ลำปาง (ดอยพระบาท) ประจวบคีรีขันธ์ (เขาทุ่งกระต่ายขัง) MCOT FM ศรีสะเกษ และอุตรดิตถ์
+ การจัดซื้อจัดจ้างเครื่องส่งจริงของแต่ละโครงข่าย ในช่วงแรกมีเฉพาะกองทัพบกและไทยพีบีเอสเท่านั้นที่จัดซื้อเครื่องส่งสำเร็จ ส่วน อสมท. และกรมประชาสัมพันธ์มีปัญหาการจัดซื้อ จนกระทั่งต้องยกเลิกไป
+ ผ่านไปหลายเดือน อสมท. ก็ไม่สามารถจัดหาเครื่องส่งเพื่อติดตั้งโครงข่ายทีวีดิจิตอลได้ทันตามกำหนด กสทช. กรมประชาสัมพันธ์ก็มีปัญหาในการจัดหาเครื่องส่งเช่นกัน
+ อสมท. เริ่มที่จะจัดซื้อเครื่องส่งชุดแรก 14 เครื่องเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และได้บริษัทที่จัดหาเครื่องส่งจริงเมื่อสิ้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ในระหว่างนั้น อสมท. ก็เริ่มจัดเช่าเครื่องส่งชั่วคราวเพื่อติดตั้งอีก 24 เครื่องได้แล้ว โดยเริ่มที่ภูเก็ตเป็นที่แรก ท้ายที่สุด อสมท. ก็สามารถติดตั้งเครื่องส่งทีวีดิจิตอลได้ทันตามกำหนดของ กสทช. และเตรียมตัวจัดซื้อเครื่องส่งจริงอีก 25 เครื่องในอีกไม่นานนี้ (ตอนนี้ก็มีร่าง TOR มาให้เห็นแล้ว)
+ ด้านกรมประชาสัมพันธ์ ก็เพิ่งจะจัดซื้อเครื่องส่งจริงเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และก็ผ่านการประมูลมาแล้ว 1 เดือน จนถึงทุกวันนี้ กรมประชาสัมพันธ์ก็ยังไม่มีเครื่องส่งจริง แม้แต่เครื่องส่งเช่าก็ยังไม่มีแม้แต่เครื่องเดียวเลย มีแต่เครื่องส่งทดลองออกอากาศที่ยังอยู่ในสถานีเครื่องส่งช่อง 11 ถนนเพชรบุรีเท่านั้น

(ยังมีต่อฮะ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่