หลังจากในวันนี้ประเด็นก็ร้อนขึ้นมาเรื่อยๆ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจ (ผิดๆ?) มาดูสิ่งที่ช่อง 3 ได้ฝากไว้ให้แฟนๆได้อ่านกันครับ
บนเว็บไซต์ไทยทีวีช่อง 3
บนเว็บไซต์ BEC Multimedia (ช่องทีวีดิจิตอล 3 ช่อง)
คำเตือน : โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
กระบวนการที่ กสท.กำลังดำเนินการในขณะนี้เกี่ยวกับระบบโทรทัศน์ในประเทศไทย เรียกว่าอะไร?
1. กสท.เรียกการดำเนินการในขณะนี้เกี่ยวกับระบบโทรทัศน์ในประเทศไทยว่า "การเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล" ใช่หรือไม่
2. "การเปลี่ยนผ่าน" หมายความว่าอะไร?
3. ในความหมายของ"การเปลี่ยนผ่าน" กสท.ไม่ได้หมายถึงการให้ยุติโทรทัศน์ระบบอนาล็อกในทันที (Analog Shut Down) ใช่หรือไม่?
4. กสท.หมายถึงการต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี ในการดำเนินการ ในการตั้งโครงข่าย การแจกคูปอง เป็นระยะๆ (เป็น Phrase) ไม่ใช่ดำเนินการพร้อมกันทีเดียวทั่วประเทศ ใช่หรือไม่?
5. ในระหว่างที่การตั้งโครงข่าย (MUX) และการแจกคูปอง ยังไม่เสร็จสิ้นทั่วถึงกันทั้งประเทศ ในแต่ละช่วงของการดำเนินการ จะยังมีผู้ชมที่ยังไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ใช่หรือไม่ แล้วผู้ชมกลุ่มนี้ซึ่งยังไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลในวันนี้จนถึง วันที่สัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลจะไปถึงเขาได้ทั่วถึงภายใน 3 ปี จะให้เขาดูอะไรถ้าโทรทัศน์ระบบอนาล็อกที่เขาเคยได้ดูมาโดยตลอดหลายสิบปีถูกกฏ "Must not carry" ห้ามขึ้นโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิล
ก่อนที่ กสท.จะประชุมกดปุ่มให้ทีวีจอดำในวันพรุ่งนี้ พวกเราช่วยกันหาคำตอบจากคำถามดังต่อไปนี้ด้วยครับ
กระบวนการที่ กสท.กำลังดำเนินการในขณะนี้เกี่ยวกับระบบโทรทัศน์ในประเทศไทย เรียกว่าอะไร ?
1. กสท.เรียกการดำเนินการในขณะนี้เกี่ยวกับระบบโทรทัศน์ในประเทศไทยว่า "การเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล" ใช่หรือไม่?
2. "การเปลี่ยนผ่าน" หมายความว่าอะไร
3. ในความหมายของ"การเปลี่ยนผ่าน" กสท.ไม่ได้หมายถึงการให้ยุติโทรทัศน์ระบบอนาล็อกในทันที (Analog Shut Down) ใช่หรือไม่ ?
4. กสท.หมายถึงการต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี ในการดำเนินการ ในการตั้งโครงข่าย การแจกคูปอง เป็นระยะๆ (เป็น Phrase) ไม่ใช่ดำเนินการพร้อมกันทีเดียวทั่วประเทศ ใช่หรือไม่ ?
5. ในระหว่างที่การตั้งโครงข่าย (MUX) และการแจกคูปอง ยังไม่เสร็จสิ้นทั่วถึงกันทั้งประเทศ ในแต่ละช่วงของการดำเนินการ จะยังมีผู้ชมที่ยังไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ใช่หรือไม่ แล้วผู้ชมกลุ่มนี้ซึ่งยังไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลในวันนี้จนถึง วันที่สัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลจะไปถึงเขาได้ทั่วถึงภายใน 3 ปี จะให้เขาดูอะไรถ้าโทรทัศน์ระบบอนาล็อกที่เขาเคยได้ดูมาโดยตลอดหลายสิบปีถูกกฏ "Must not carry" ห้ามขึ้นโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิล
ความเป็นมา
1. แต่ก่อนแต่ไรมา ในสมัยที่คำว่า"ดิจิตอล"ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ผู้ชมเรียกช่อง 3 5 7 9 11 iTV TPBS ว่า "ฟรีทีวี"
2. ต่อมา (วันที่) กสท.มานิยามคำว่า "โทรทัศน์เพื่อเป็นการทั่วไป" มาเรียกแทนคำว่า "ฟรีทีวี" (คำว่า "ฟรีทีวี" จะค่อยๆ เลือนหายไป)
3. ต่อมา (วันที่) กสท.มีมติให้ช่องทีวีในระบบอนาล็อก 3 5 7 9 11 TPBS ยุติการเป็น"โทรทัศน์เพื่อเป็นการทั่วไป" ให้เฉพาะโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลเท่านั้นเป็น "โทรทัศน์เพื่อเป็นการทั่วไป"
4. ต่อมา กสท.บอกว่าในเมื่อโทรทัศน์ในระบบอนาล็อก ช่อง 3 5 7 9 11 TPBS ยุติการเป็น "โทรทัศน์เพื่อเป็นการทั่วไป" แล้ว ก็ไม่ต้องอยู่ในกฏ "Must carry" นั่นก็หมายถึงว่าโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีไม่จำเป็นต้องเอาสัญญาณขึ้นไปอยู่ในโครงข่ายของตนตามกฏ "Must carry" แต่จะเอาขึ้นไปก็ได้ ถ้าช่องนั้นๆ มีใบอนุญาตประเภทโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (Pay TV) และจะมีโฆษณาได้เพียงชั่วโมงละ 6 นาที กฏ "Must carry" นี้ใช้บังคับกับโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวี หาได้บังคับกับช่องโทรทัศน์ในระบบอนาล็อกแต่อย่างใดก็หาไม่ เป็นความรับผิดชอบของโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีถ้าจะนำ สัญญาณของช่องรายการใดๆ ก็ตาม ไปออกอากาศในโครงข่ายของตนจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฏหมาย มติ และกฎเกณฑ์อื่นๆ ของกสท. ในขณะที่ช่องโทรทัศน์ระบบอนาล็อก ช่อง 3 5 7 9 11 TPBS ถ้าจะให้สัญญาณโทรทัศน์ของตนไปออกอากาศในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่าย เคเบิลทีวีได้ จะต้องไปขอใบอนุญาตประเภทโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (Pay TV) จากกสท. และต้องลดโฆษณาในรายการต่างๆ ลงเหลือชั่วโมงละ 6 นาที ซึ่งปรากฎว่าไม่มีช่องโทรทัศน์ในระบบอนาล็อกช่องใดไปขออนุญาตเลยแม้แต่ช่อง เดียวด้วยเหตุผลต่างๆกันดังนี้
- ช่อง 5 ช่อง 11 และช่อง TPBS ได้สิทธิ์เป็นช่องสาธารณะในระบบทีวีดิจิตอล จึงออกอากาศคู่ขนานทั้งในระบบดิจิตอลและระบบอนาล็อก โดยไม่มีความจำเป็นต้องไปขอใบอนุญาตเป็นโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) เพื่อให้สัญญาณของตนไปอยู่ในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวี เพราะการเป็นช่องสาธารณะในระบบดิจิตอลได้รับการคุ้มครองจากกฏ "Must carry" ที่กำหนดให้โครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีต้องนำสัญญาณของช่อง ดิจิตอลขึ้นไปในโครงข่ายของตนอยู่แล้ว
- ช่อง 7 ช่อง 9 ออกอากาศคู่ขนานในระบบดิจิตอลในช่องดิจิตอลที่ตนเองประมูลมา จึงออกอากาศได้ทุกโครงข่ายโดยไม่ต้องไปขอใบอนุญาตประเภทบอกรับสมาชิกเช่น เดียวกับช่อง 5 ช่อง 11 และช่อง TPBS ข้างต้น
- จึงเหลือเพียงช่อง 3 ที่ไม่สามารถจะออกอากาศในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีเหมือน อย่างช่องอนาล็อกอื่นๆ คือ ช่อง 5 7 9 11 TPBS ได้ ด้วยเหตุผล
(1) ช่อง 3 ไม่ได้ประมูลช่องดิจิตอลเป็นของช่อง 3 เอง จึงไม่มีใบอนุญาตช่องทีวีดิจิตอล (โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคำชี้แจงของช่อง 3 "ทำไมช่อง 3 ไม่ออกอากาศคู่ขนาน")
(2) ช่อง 3 ไม่สามารถไปขอใบอนุญาตแบบบอกรับสมาชิกได้ (โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคำชี้แจงของช่อง 3 "ทำไมช่อง 3 ไม่ขอใบอนุญาตเป็นโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก")
ทำไมช่อง 3 ไม่ขอใบอนุญาตเป็นโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก
- ถ้าช่อง 3 ออกอากาศในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีไม่ได้ เพราะไม่มีใบอนุญาตโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก คนดูจะหายไปประมาณ 70% เจ้าของโฆษณาจะจ่ายค่าโฆษณาอย่างมากก็เพียง 30% เท่ากับสัดส่วนของคนดูที่เหลือที่ดูผ่านระบบอนาล็อก ข้อเท็จจริงก็คือ ช่อง 3 มีใบอนุญาตเป็น "ฟรีทีวี" มาตั้งแต่ปี 2513 (ก่อนจะมีกสทช.ในปี 2554?) และออกอากาศผ่านทุกโครงข่ายมาโดยตลอด คือ
(1) ผ่านเสาอากาศหนวดกุ้ง คือเสาอากาศในตัวเครื่องรับโทรทัศน์เอง
(2) ผ่านเสาอากาศก้างปลาที่ติดอยู่นอกอาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่อยู่บนหลังคาบ้าน
(3) แต่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ห่างไกล หรือมีภูเขาบังเส้นทางของคลื่นโทรทัศน์ หรือสภาพความแออัดของบ้านเรือนในตัวเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ ที่มีอาคารสูงมากมาย นอกจากจะบังเส้นทางของคลื่นโทรทัศน์แล้ว อาคารสูงเหล่านี้ยิ่งไม่เหมาะ หรือไม่สามารถจะให้ผู้อยู่อาศัยในอาคารสูงแต่ละรายติดตั้งเสาอากาศนอกอาคาร ได้เลย ในระยะแรกๆ จึงเกิดธุรกิจตั้งเสาอากาศรวม (Master antenna) เพื่อนำสัญญาณโทรทัศน์แล้วจ่ายไปตามสายให้บริการแก่บ้านเรือนหรือห้องพักที่ไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ด้วยตัวเอง โดยเก็บค่าบริการการเป็นเสาอากาศรับสัญญาณโทรทัศน์ให้ เรียกในช่วงเวลานั้นว่า "เคเบิลทีวี" ซึ่งความจริงแล้วก็คือบริการส่งสัญญาณโทรทัศน์ตามสายนั่นเอง แตกต่างไปจากบริการ "เคเบิลทีวี" อีกแบบหนึ่ง และบริการ "ทีวีดาวเทียม" ซึ่งเป็นบริการแบบบอกรับสมาชิกซึ่งให้บริการรายการประเภทอื่นๆ หลากหลายประเภทหลากหลายช่องซึ่งไม่ใช่รายการของฟรีทีวี โดยแถมบริการเป็นเสาอากาศรวม (Master antenna) แก่สมาชิกด้วย (เช่นเดียวกับ "เคเบิลทีวี" แบบแรกที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) เพื่อเพิ่มความสะดวกแก่สมาชิกเวลาที่สมาชิกต้องการจะชมรายการของฟรีทีวี (จะได้ไม่ต้องติดจานรับสัญญาณเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียมด้วย และต้องติดเสาอากาศรับสัญญาณฟรีทีวีด้วย) จึงเห็นได้ว่าโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีได้ทำหน้าที่เสมือน เสาอากาศให้แก่ฟรีทีวีมาตั้งแต่ไหนแต่ไรมาโดยตลอด โดยรับสัญญาณไปออกอากาศแบบ Real time pass thru โดยไม่ได้แก้ไข ดัดแปลงสัญญาณแต่อย่างใดทั้งสิ้น และฟรีทีวีก็ไม่เคยเรียกร้องผลประโยชน์จากผู้ชมแต่อย่างไรแม้แต่น้อย แล้วฟรีทีวีจะเป็น Pay TV ได้อย่างไร
- ถ้าช่อง 3 จะเลือกทางออกตามที่ กสท.เสนอ คือให้ช่อง 3 ไปขออนุญาตเป็นโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) ก็จะเจออีกดาบหนึ่งคือ โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) มีโฆษณาได้ชั่วโมงละ 6 นาที ทางออกนี้ทำให้รายได้ช่อง 3 หายไปทันทีครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้แล้ว ช่อง 3 กลับมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเพราะการไปขอใบอนุญาตเป็นโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) จะทำให้การออกอากาศของช่อง 3 บนโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีกลายเป็นธุรกิจใหม่อีกธุรกิจ หนึ่งคือ Pay TV ปัญหาที่ตามมาก็คือ
(1) การออกอากาศบนโครงข่ายทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี จะกลายเป็นช่องรายการอีกช่องหนึ่ง
(2) รายการทั้งหมดต้องไปซื้อลิขสิทธิ์ใหม่เป็นลิขสิทธิ์เพื่อออกอากาศเป็น Pay TV
(3) บางรายการที่เจ้าของลิขสิทธิ์ขายเฉพาะลิขสิทธิ์ฟรีทีวีและไม่อาจขาย ลิขสิทธิ์ Pay TV ให้แก่ช่อง 3 ได้ (เนื่องจากได้ขายลิขสิทธิ์นี้ไปให้แก่ Pay TV รายอื่นไปแล้ว) รายการนั้นก็จะออกอากาศไม่ได้
(4) ต้องจัดสถานที่ เครื่องมือ และเจ้าหน้าที่อีกชุดหนึ่งเพื่อดำเนินการออกอากาศแยกต่างหากจากการออกอากาศ ของช่อง 3
- ในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวี มีผู้ชมผ่านโครงข่ายทั้ง 2 นี้ถึงประมาณ 70% ผู้ชมสามารถรับชมช่องโทรทัศน์ต่างๆ ได้ดังนี้
(1) โทรทัศน์ในระบบอนาล็อก คือ ช่อง 3 5 7 9 11 TPBS
(2) ช่องทีวีดิจิตอลทั้ง 36 ช่อง ประกอบด้วยช่องสาธารณะ 12 ช่อง และช่องธุรกิจ 24 ช่อง (คือช่องทีวีดิจิตอลที่ผู้ประกอบการไปประมูลมา)
(3) ช่องรายการโทรทัศน์อื่นๆ ที่มีใบอนุญาตประเภทบอกรับสมาชิก
- ขออนุญาตเปรียบเทียบว่า โครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีนี้เปรียบเหมือนห้องใหญ่ๆห้อง หนึ่งซึ่งเปิดโล่ง และช่องรายการทั้ง 3 ประเภทข้างต้นเปรียบเป็นคนที่ยืนเข้าแถวอยู่ในห้องนี้ 3 แถว เรียกว่าแถวที่ 1 แถวที่ 2 แถวที่ 3 ซึ่งใครเดินผ่านไปผ่านมาก็สามารถเห็นคนที่ยืนเข้าแถวอยู่ได้ ใครๆ ก็สามารถจะเข้าไปพบปะกับทุกคนที่ยืนเข้าแถวอยู่ได้ (ผู้ประกอบการบางรายไม่เข้าใจสภาพที่เปรียบเทียบข้างต้นนี้)
- ผู้ประกอบการบางรายเมื่อไม่เข้าใจ จึงเคลื่อนไหวให้ กสท.เอาช่อง 3 ออกไปจากห้องนี้ (ให้ช่อง 3 ยุติการเป็นโทรทัศน์เพื่อเป็นการทั่วไป โครงข่ายทีวีดาวเทียมและเคเบิลไม่ต้องเอาสัญญาณช่อง 3 ไปออกอากาศ เพราะไม่อยู่ในข่ายของกฎ Must carry หากจะเอาช่อง 3 ไปออกอากาศในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวี ช่อง 3 ก็ต้องไปขออนุญาตเป็นโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกเสียก่อน ซึ่งช่อง 3 ได้ไปร้องศาลปกครองกลางว่ามติของกสท.นี้ไม่ชอบ จึงเป็นความอยู่ในศาลในขณะนี้)
-ในขณะเดียวกันก็พยายามให้ กสท.เอาเราไปออกอากาศคู่ขนานในช่อง HD 33 ซึ่งถ้าทำได้ก็ต้องใช้เวลา และมีขั้นตอนซึ่งจะสร้างความยุ่งยากให้กับทั้ง กสท.และช่อง 3 อีกมากมาย แต่เชื่อไหมครับว่า ผลของการที่จะให้ช่อง 3 ไปออกอากาศคู่ขนานในช่อง HD 33 คืออะไร ก็คือการให้ช่อง 3 เดินกลับเข้าไปในห้องเดิม แต่ให้ไปยืนเข้าแถวอยู่ในแถวที่ 2 เท่านี้เอง แล้วมันแตกต่างอะไรไปจากที่ช่อง 3 ยืนอยู่ในแถวที่ 1 ท่านลองไปคิดดูว่าใช่หรือไม่
ถ้ากสท. มีมติให้จอดำ จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ประชาชน 70% ของประเทศที่เคยรับชมช่อง 3 ได้มาโดยตลอด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.thaitv3.com/document/ch3analog.pdf
ก็บอกได้คำเดียวยาวๆว่า "แหมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม
"
ช่อง 3 โร่ขึ้นแถลงการณ์บนหน้าเว็บไซต์ กรณีการออกอากาศช่อง 3 อนาล็อก
บนเว็บไซต์ไทยทีวีช่อง 3
บนเว็บไซต์ BEC Multimedia (ช่องทีวีดิจิตอล 3 ช่อง)
คำเตือน : โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
กระบวนการที่ กสท.กำลังดำเนินการในขณะนี้เกี่ยวกับระบบโทรทัศน์ในประเทศไทย เรียกว่าอะไร?
1. กสท.เรียกการดำเนินการในขณะนี้เกี่ยวกับระบบโทรทัศน์ในประเทศไทยว่า "การเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล" ใช่หรือไม่
2. "การเปลี่ยนผ่าน" หมายความว่าอะไร?
3. ในความหมายของ"การเปลี่ยนผ่าน" กสท.ไม่ได้หมายถึงการให้ยุติโทรทัศน์ระบบอนาล็อกในทันที (Analog Shut Down) ใช่หรือไม่?
4. กสท.หมายถึงการต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี ในการดำเนินการ ในการตั้งโครงข่าย การแจกคูปอง เป็นระยะๆ (เป็น Phrase) ไม่ใช่ดำเนินการพร้อมกันทีเดียวทั่วประเทศ ใช่หรือไม่?
5. ในระหว่างที่การตั้งโครงข่าย (MUX) และการแจกคูปอง ยังไม่เสร็จสิ้นทั่วถึงกันทั้งประเทศ ในแต่ละช่วงของการดำเนินการ จะยังมีผู้ชมที่ยังไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ใช่หรือไม่ แล้วผู้ชมกลุ่มนี้ซึ่งยังไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลในวันนี้จนถึง วันที่สัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลจะไปถึงเขาได้ทั่วถึงภายใน 3 ปี จะให้เขาดูอะไรถ้าโทรทัศน์ระบบอนาล็อกที่เขาเคยได้ดูมาโดยตลอดหลายสิบปีถูกกฏ "Must not carry" ห้ามขึ้นโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิล
ก่อนที่ กสท.จะประชุมกดปุ่มให้ทีวีจอดำในวันพรุ่งนี้ พวกเราช่วยกันหาคำตอบจากคำถามดังต่อไปนี้ด้วยครับ
กระบวนการที่ กสท.กำลังดำเนินการในขณะนี้เกี่ยวกับระบบโทรทัศน์ในประเทศไทย เรียกว่าอะไร ?
1. กสท.เรียกการดำเนินการในขณะนี้เกี่ยวกับระบบโทรทัศน์ในประเทศไทยว่า "การเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล" ใช่หรือไม่?
2. "การเปลี่ยนผ่าน" หมายความว่าอะไร
3. ในความหมายของ"การเปลี่ยนผ่าน" กสท.ไม่ได้หมายถึงการให้ยุติโทรทัศน์ระบบอนาล็อกในทันที (Analog Shut Down) ใช่หรือไม่ ?
4. กสท.หมายถึงการต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี ในการดำเนินการ ในการตั้งโครงข่าย การแจกคูปอง เป็นระยะๆ (เป็น Phrase) ไม่ใช่ดำเนินการพร้อมกันทีเดียวทั่วประเทศ ใช่หรือไม่ ?
5. ในระหว่างที่การตั้งโครงข่าย (MUX) และการแจกคูปอง ยังไม่เสร็จสิ้นทั่วถึงกันทั้งประเทศ ในแต่ละช่วงของการดำเนินการ จะยังมีผู้ชมที่ยังไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ใช่หรือไม่ แล้วผู้ชมกลุ่มนี้ซึ่งยังไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลในวันนี้จนถึง วันที่สัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลจะไปถึงเขาได้ทั่วถึงภายใน 3 ปี จะให้เขาดูอะไรถ้าโทรทัศน์ระบบอนาล็อกที่เขาเคยได้ดูมาโดยตลอดหลายสิบปีถูกกฏ "Must not carry" ห้ามขึ้นโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิล
ความเป็นมา
1. แต่ก่อนแต่ไรมา ในสมัยที่คำว่า"ดิจิตอล"ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ผู้ชมเรียกช่อง 3 5 7 9 11 iTV TPBS ว่า "ฟรีทีวี"
2. ต่อมา (วันที่) กสท.มานิยามคำว่า "โทรทัศน์เพื่อเป็นการทั่วไป" มาเรียกแทนคำว่า "ฟรีทีวี" (คำว่า "ฟรีทีวี" จะค่อยๆ เลือนหายไป)
3. ต่อมา (วันที่) กสท.มีมติให้ช่องทีวีในระบบอนาล็อก 3 5 7 9 11 TPBS ยุติการเป็น"โทรทัศน์เพื่อเป็นการทั่วไป" ให้เฉพาะโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลเท่านั้นเป็น "โทรทัศน์เพื่อเป็นการทั่วไป"
4. ต่อมา กสท.บอกว่าในเมื่อโทรทัศน์ในระบบอนาล็อก ช่อง 3 5 7 9 11 TPBS ยุติการเป็น "โทรทัศน์เพื่อเป็นการทั่วไป" แล้ว ก็ไม่ต้องอยู่ในกฏ "Must carry" นั่นก็หมายถึงว่าโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีไม่จำเป็นต้องเอาสัญญาณขึ้นไปอยู่ในโครงข่ายของตนตามกฏ "Must carry" แต่จะเอาขึ้นไปก็ได้ ถ้าช่องนั้นๆ มีใบอนุญาตประเภทโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (Pay TV) และจะมีโฆษณาได้เพียงชั่วโมงละ 6 นาที กฏ "Must carry" นี้ใช้บังคับกับโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวี หาได้บังคับกับช่องโทรทัศน์ในระบบอนาล็อกแต่อย่างใดก็หาไม่ เป็นความรับผิดชอบของโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีถ้าจะนำ สัญญาณของช่องรายการใดๆ ก็ตาม ไปออกอากาศในโครงข่ายของตนจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฏหมาย มติ และกฎเกณฑ์อื่นๆ ของกสท. ในขณะที่ช่องโทรทัศน์ระบบอนาล็อก ช่อง 3 5 7 9 11 TPBS ถ้าจะให้สัญญาณโทรทัศน์ของตนไปออกอากาศในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่าย เคเบิลทีวีได้ จะต้องไปขอใบอนุญาตประเภทโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (Pay TV) จากกสท. และต้องลดโฆษณาในรายการต่างๆ ลงเหลือชั่วโมงละ 6 นาที ซึ่งปรากฎว่าไม่มีช่องโทรทัศน์ในระบบอนาล็อกช่องใดไปขออนุญาตเลยแม้แต่ช่อง เดียวด้วยเหตุผลต่างๆกันดังนี้
- ช่อง 5 ช่อง 11 และช่อง TPBS ได้สิทธิ์เป็นช่องสาธารณะในระบบทีวีดิจิตอล จึงออกอากาศคู่ขนานทั้งในระบบดิจิตอลและระบบอนาล็อก โดยไม่มีความจำเป็นต้องไปขอใบอนุญาตเป็นโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) เพื่อให้สัญญาณของตนไปอยู่ในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวี เพราะการเป็นช่องสาธารณะในระบบดิจิตอลได้รับการคุ้มครองจากกฏ "Must carry" ที่กำหนดให้โครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีต้องนำสัญญาณของช่อง ดิจิตอลขึ้นไปในโครงข่ายของตนอยู่แล้ว
- ช่อง 7 ช่อง 9 ออกอากาศคู่ขนานในระบบดิจิตอลในช่องดิจิตอลที่ตนเองประมูลมา จึงออกอากาศได้ทุกโครงข่ายโดยไม่ต้องไปขอใบอนุญาตประเภทบอกรับสมาชิกเช่น เดียวกับช่อง 5 ช่อง 11 และช่อง TPBS ข้างต้น
- จึงเหลือเพียงช่อง 3 ที่ไม่สามารถจะออกอากาศในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีเหมือน อย่างช่องอนาล็อกอื่นๆ คือ ช่อง 5 7 9 11 TPBS ได้ ด้วยเหตุผล
(1) ช่อง 3 ไม่ได้ประมูลช่องดิจิตอลเป็นของช่อง 3 เอง จึงไม่มีใบอนุญาตช่องทีวีดิจิตอล (โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคำชี้แจงของช่อง 3 "ทำไมช่อง 3 ไม่ออกอากาศคู่ขนาน")
(2) ช่อง 3 ไม่สามารถไปขอใบอนุญาตแบบบอกรับสมาชิกได้ (โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคำชี้แจงของช่อง 3 "ทำไมช่อง 3 ไม่ขอใบอนุญาตเป็นโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก")
ทำไมช่อง 3 ไม่ขอใบอนุญาตเป็นโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก
- ถ้าช่อง 3 ออกอากาศในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีไม่ได้ เพราะไม่มีใบอนุญาตโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก คนดูจะหายไปประมาณ 70% เจ้าของโฆษณาจะจ่ายค่าโฆษณาอย่างมากก็เพียง 30% เท่ากับสัดส่วนของคนดูที่เหลือที่ดูผ่านระบบอนาล็อก ข้อเท็จจริงก็คือ ช่อง 3 มีใบอนุญาตเป็น "ฟรีทีวี" มาตั้งแต่ปี 2513 (ก่อนจะมีกสทช.ในปี 2554?) และออกอากาศผ่านทุกโครงข่ายมาโดยตลอด คือ
(1) ผ่านเสาอากาศหนวดกุ้ง คือเสาอากาศในตัวเครื่องรับโทรทัศน์เอง
(2) ผ่านเสาอากาศก้างปลาที่ติดอยู่นอกอาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่อยู่บนหลังคาบ้าน
(3) แต่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ห่างไกล หรือมีภูเขาบังเส้นทางของคลื่นโทรทัศน์ หรือสภาพความแออัดของบ้านเรือนในตัวเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ ที่มีอาคารสูงมากมาย นอกจากจะบังเส้นทางของคลื่นโทรทัศน์แล้ว อาคารสูงเหล่านี้ยิ่งไม่เหมาะ หรือไม่สามารถจะให้ผู้อยู่อาศัยในอาคารสูงแต่ละรายติดตั้งเสาอากาศนอกอาคาร ได้เลย ในระยะแรกๆ จึงเกิดธุรกิจตั้งเสาอากาศรวม (Master antenna) เพื่อนำสัญญาณโทรทัศน์แล้วจ่ายไปตามสายให้บริการแก่บ้านเรือนหรือห้องพักที่ไม่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ด้วยตัวเอง โดยเก็บค่าบริการการเป็นเสาอากาศรับสัญญาณโทรทัศน์ให้ เรียกในช่วงเวลานั้นว่า "เคเบิลทีวี" ซึ่งความจริงแล้วก็คือบริการส่งสัญญาณโทรทัศน์ตามสายนั่นเอง แตกต่างไปจากบริการ "เคเบิลทีวี" อีกแบบหนึ่ง และบริการ "ทีวีดาวเทียม" ซึ่งเป็นบริการแบบบอกรับสมาชิกซึ่งให้บริการรายการประเภทอื่นๆ หลากหลายประเภทหลากหลายช่องซึ่งไม่ใช่รายการของฟรีทีวี โดยแถมบริการเป็นเสาอากาศรวม (Master antenna) แก่สมาชิกด้วย (เช่นเดียวกับ "เคเบิลทีวี" แบบแรกที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) เพื่อเพิ่มความสะดวกแก่สมาชิกเวลาที่สมาชิกต้องการจะชมรายการของฟรีทีวี (จะได้ไม่ต้องติดจานรับสัญญาณเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียมด้วย และต้องติดเสาอากาศรับสัญญาณฟรีทีวีด้วย) จึงเห็นได้ว่าโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีได้ทำหน้าที่เสมือน เสาอากาศให้แก่ฟรีทีวีมาตั้งแต่ไหนแต่ไรมาโดยตลอด โดยรับสัญญาณไปออกอากาศแบบ Real time pass thru โดยไม่ได้แก้ไข ดัดแปลงสัญญาณแต่อย่างใดทั้งสิ้น และฟรีทีวีก็ไม่เคยเรียกร้องผลประโยชน์จากผู้ชมแต่อย่างไรแม้แต่น้อย แล้วฟรีทีวีจะเป็น Pay TV ได้อย่างไร
- ถ้าช่อง 3 จะเลือกทางออกตามที่ กสท.เสนอ คือให้ช่อง 3 ไปขออนุญาตเป็นโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) ก็จะเจออีกดาบหนึ่งคือ โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) มีโฆษณาได้ชั่วโมงละ 6 นาที ทางออกนี้ทำให้รายได้ช่อง 3 หายไปทันทีครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้แล้ว ช่อง 3 กลับมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเพราะการไปขอใบอนุญาตเป็นโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) จะทำให้การออกอากาศของช่อง 3 บนโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีกลายเป็นธุรกิจใหม่อีกธุรกิจ หนึ่งคือ Pay TV ปัญหาที่ตามมาก็คือ
(1) การออกอากาศบนโครงข่ายทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี จะกลายเป็นช่องรายการอีกช่องหนึ่ง
(2) รายการทั้งหมดต้องไปซื้อลิขสิทธิ์ใหม่เป็นลิขสิทธิ์เพื่อออกอากาศเป็น Pay TV
(3) บางรายการที่เจ้าของลิขสิทธิ์ขายเฉพาะลิขสิทธิ์ฟรีทีวีและไม่อาจขาย ลิขสิทธิ์ Pay TV ให้แก่ช่อง 3 ได้ (เนื่องจากได้ขายลิขสิทธิ์นี้ไปให้แก่ Pay TV รายอื่นไปแล้ว) รายการนั้นก็จะออกอากาศไม่ได้
(4) ต้องจัดสถานที่ เครื่องมือ และเจ้าหน้าที่อีกชุดหนึ่งเพื่อดำเนินการออกอากาศแยกต่างหากจากการออกอากาศ ของช่อง 3
- ในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวี มีผู้ชมผ่านโครงข่ายทั้ง 2 นี้ถึงประมาณ 70% ผู้ชมสามารถรับชมช่องโทรทัศน์ต่างๆ ได้ดังนี้
(1) โทรทัศน์ในระบบอนาล็อก คือ ช่อง 3 5 7 9 11 TPBS
(2) ช่องทีวีดิจิตอลทั้ง 36 ช่อง ประกอบด้วยช่องสาธารณะ 12 ช่อง และช่องธุรกิจ 24 ช่อง (คือช่องทีวีดิจิตอลที่ผู้ประกอบการไปประมูลมา)
(3) ช่องรายการโทรทัศน์อื่นๆ ที่มีใบอนุญาตประเภทบอกรับสมาชิก
- ขออนุญาตเปรียบเทียบว่า โครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวีนี้เปรียบเหมือนห้องใหญ่ๆห้อง หนึ่งซึ่งเปิดโล่ง และช่องรายการทั้ง 3 ประเภทข้างต้นเปรียบเป็นคนที่ยืนเข้าแถวอยู่ในห้องนี้ 3 แถว เรียกว่าแถวที่ 1 แถวที่ 2 แถวที่ 3 ซึ่งใครเดินผ่านไปผ่านมาก็สามารถเห็นคนที่ยืนเข้าแถวอยู่ได้ ใครๆ ก็สามารถจะเข้าไปพบปะกับทุกคนที่ยืนเข้าแถวอยู่ได้ (ผู้ประกอบการบางรายไม่เข้าใจสภาพที่เปรียบเทียบข้างต้นนี้)
- ผู้ประกอบการบางรายเมื่อไม่เข้าใจ จึงเคลื่อนไหวให้ กสท.เอาช่อง 3 ออกไปจากห้องนี้ (ให้ช่อง 3 ยุติการเป็นโทรทัศน์เพื่อเป็นการทั่วไป โครงข่ายทีวีดาวเทียมและเคเบิลไม่ต้องเอาสัญญาณช่อง 3 ไปออกอากาศ เพราะไม่อยู่ในข่ายของกฎ Must carry หากจะเอาช่อง 3 ไปออกอากาศในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและโครงข่ายเคเบิลทีวี ช่อง 3 ก็ต้องไปขออนุญาตเป็นโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกเสียก่อน ซึ่งช่อง 3 ได้ไปร้องศาลปกครองกลางว่ามติของกสท.นี้ไม่ชอบ จึงเป็นความอยู่ในศาลในขณะนี้)
-ในขณะเดียวกันก็พยายามให้ กสท.เอาเราไปออกอากาศคู่ขนานในช่อง HD 33 ซึ่งถ้าทำได้ก็ต้องใช้เวลา และมีขั้นตอนซึ่งจะสร้างความยุ่งยากให้กับทั้ง กสท.และช่อง 3 อีกมากมาย แต่เชื่อไหมครับว่า ผลของการที่จะให้ช่อง 3 ไปออกอากาศคู่ขนานในช่อง HD 33 คืออะไร ก็คือการให้ช่อง 3 เดินกลับเข้าไปในห้องเดิม แต่ให้ไปยืนเข้าแถวอยู่ในแถวที่ 2 เท่านี้เอง แล้วมันแตกต่างอะไรไปจากที่ช่อง 3 ยืนอยู่ในแถวที่ 1 ท่านลองไปคิดดูว่าใช่หรือไม่
ถ้ากสท. มีมติให้จอดำ จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ประชาชน 70% ของประเทศที่เคยรับชมช่อง 3 ได้มาโดยตลอด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ก็บอกได้คำเดียวยาวๆว่า "แหมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม "