แอปฯแท็กซี่เปิดศึกแย่ง"คนขับ" แกร็บ ตั้งกองทุนช่วยค่าเทอมลูก
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1432485329
updated: 25 พ.ค. 2558 เวลา 07:34:03 น.
แอปฯ "เรียกแท็กซี่" เปิดศึกชิงคนขับแข่งสร้างเครือข่าย "แกร็บแท็กซี่" รุกตั้งกองทุนสวัสดิการ 60 ล้านบาท "ขับดีมีประกันชีวิตแถมเบิกค่าเทอมลูกได้" ด้าน "ออลไทยแท็กซี่" ใช้ระบบเงินเดือนรวมรายได้กว่า 20,000 บาทจูงใจ ฟาก "อูเบอร์"อัดโปรโมชั่นสู้ ลดค่าบริการขั้นต่ำ45% กรมการขนส่งผุดไอเดียพัฒนาแอปแข่ง
นายวีร์ จารุนันท์ศิริ รองผู้จัดการ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การแข่งขันของผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นเรียกใช้งานรถแท็กซี่ในขณะนี้ยัง ถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทำให้ทุกรายต่างทุ่มงบประมาณเพื่อดึงผู้ใช้งาน และเพิ่มยานพาหนะในระบบให้มากขึ้น เพราะการเรียกแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชั่นเพิ่งเริ่มให้บริการในประเทศไทยเพียง 2 ปี ผู้เล่นรายใดประสบความสำเร็จในขณะนี้ก็มีโอกาสอยู่ในธุรกิจได้ยาวนาน เพราะในธุรกิจเทคโนโลยีผู้ใช้จะจำเบอร์หนึ่งของตลาดได้ แต่อันดับต่ำลงมาแทบไม่รู้จัก
แกร็บแรงแจกทุนการศึกษาบุตร
"แกร็บ แท็กซี่ให้บริการในไทยมาเกือบ 2 ปี จากเดิมวางกรอบไว้แค่ให้บริการรถแท็กซี่ ปัจจุบันขยายออกเป็นผู้ให้บริการยานพาหนะเต็มรูปแบบ โดยเพิ่มบริการรับส่งเอกสาร และจองรถตู้ หรือ Grab XL ทั้งสองบริการมีเฉพาะในประเทศไทย เพราะต้องการตอบโจทย์ผู้บริโภคที่นี่ให้มากที่สุด ส่วนบริการเรียกรถแท็กซี่ก็ยังขยายต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมผู้ใช้หลักในกรุงเทพฯ ส่วนต่างจังหวัดอยู่ระหว่างทดลองให้บริการ ที่ผ่านมามีการทำโปรโมชั่นต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้"
นอกจากนี้ "แกร็บแท็กซี่" ยังเพิ่งจัดตั้งGrablife กองทุนสำหรับผู้ขับรถแท็กซี่ มูลค่าเบื้องต้น 60 ล้านบาท จากเงินทุนของบริษัท และแหล่งทุน เช่น กลุ่มเทมาเส็ก และซอฟต์แบงก์ เพื่อช่วยผู้ขับให้มีรายได้ และหลัก ประกันที่มั่นคง ด้วยประกันชีวิตมูลค่าสูงสุด 3 แสนบาท หากเจ็บป่วยมีเงินชดเชยสูงสุด 1,000 บาท/วัน นาน 365 วัน พร้อมเบิกค่าการศึกษาบุตร และมีหลักสูตรอบรมภาษาอังกฤษให้ผู้ขับ ซึ่งสิทธิ์ต่าง ๆ นี้จะได้เมื่อเป็นสมาชิกแกร็บแท็กซี่ และรับส่งผู้โดยสารอย่างน้อย 100 เที่ยว/เดือน ได้คะแนนบริการในเกณฑ์ดี คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีผู้ขับได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุน 1,500 คน ถือเป็นหนึ่งในวิธีเพิ่มผู้ขับรถเข้าสู่ระบบ
ปัจจุบันบริษัทมีรถใน ระบบ 15,000 คัน เกือบทั้งหมดเป็นแท็กซี่ป้ายเหลือง ภายใต้บริการ Grab Taxi (ค่าเรียกเพิ่มจากมิเตอร์ 25 บาท) รองลงมาเป็นบริการรถลิมูซีนป้ายเขียว Grab Car (ค่าบริการเริ่มต้น 75 บาท) และรถตู้ 12 ที่นั่ง หรือ Grab XL ราคาเริ่มต้น 150 บาท ส่วนบริการรับส่งเอกสารร่วมกับ Alpha Fast ผู้ทำธุรกิจขนส่ง นำรถมอเตอร์ไซค์และรถบรรทุกไปส่งเอกสารทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล ราคาเริ่มต้น 35 บาท ซึ่งรายได้ของบริษัทมาจากการหักค่าธรรมเนียมบริการ
ล่าสุด บริษัทยังจัดโปรโมชั่นแจกรถยนต์นิสสัน จู๊ค ให้ผู้ใช้งาน รวมถึงออกรหัสลดราคา มูลค่า 40 บาท เมื่อนั่งไปหรือกลับจากแอร์พอร์ตลิงก์ทุกสถานี
ออลไทยโด๊ปรายได้ประจำ 2/ หมื่น
นายเอกชัย สุมาลี หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี "ออลไทยแท็กซี่" บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด เปิดเผยว่า เพื่อจูงใจให้ผู้ขับเข้ามาในระบบของบริษัท จึงใช้วิธีให้เงินเดือนประจำ 9,000 บาท พร้อมเงินประจำตำแหน่ง, เงินรางวัลทำงานดี, เงินค่าเบี้ยขยัน, เงินค่าครองชีพ, เงินส่วนแบ่งรายได้ และเงินค่าล่วงเวลาตามจริง รวมแล้วจะมีรายได้ต่อเดือนราว 2 หมื่นบาท และมีสถานะเหมือนพนักงานบริษัททั่วไป
"เราลงทุนไปกว่า 700 ล้านบาท ทั้งระบบหลังบ้าน รถแท็กซี่ 500 คัน ทุกคันเป็นโตโยต้า พริอุส แต่คิดค่าบริการระบบมิเตอร์เหมือนแท็กซี่ทั่วไป เรียกใช้ผ่านแอปฯหรือโบกตามถนนก็ได้ เราต้องการเปลี่ยนโฉมแท็กซี่ในไทยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียกแล้วไม่ไป หรือคิดค่าบริการไม่ตรงมิเตอร์ ระบบนี้ต้องการผู้ขับ 1,200 ราย จึงสร้างระบบเงินเดือนขึ้นมาจูงใจ"
อูเบอร์+อีซี่ฯ ส่งซิกแข่งบริการ
ก่อน หน้านี้ นางสาวแหวนยอด วงษ์ตระหง่าน ผู้จัดการ บริษัท อูเบอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีแผนลงทุนระบบและการตลาดเพิ่มเพื่อขยายงานบริการ และดึงผู้ใช้ให้ได้มากขึ้น หลังจากเปิดบริการในกรุงเทพฯและภูเก็ต และมีรถยนต์ในระบบหลักพันคัน ทั้งรถป้ายทะเบียนดำและป้ายทะเบียนเขียว ซึ่งตนมองว่าในแง่การแข่งขันตลาดค่อนข้างเปิดกว้าง เพราะการเดินทางผ่านวิธีนี้ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับวิธีปกติล่าสุดได้ปรับ อัตราค่าบริการขั้นต่ำ UberX (รถ 4 ประตูขนาดเล็ก เช่น โตโยต้า วีออส และมาสด้า 2 เป็นต้น) จากเดิมกำหนดขั้นต่ำที่ 45 บาท ลดลง 45% เหลือ 25 บาท
สำหรับบริษัท อีซี่ แท็กซี่ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งถือเป็นผู้เล่นในตลาดอีกรายที่เน้นการสร้างโครงข่ายรถแท็กซี่ โดยร่วมกับปั๊มแก๊สย่านชานเมือง ตั้งจุดลงทะเบียนและตรวจสอบรถ โดยผู้ขับแท็กซี่นอกจากไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ แล้วยังได้ค่าบริการพิเศษที่ผู้โดยสารต้องจ่ายเพิ่ม 20 บาท นอกเหนือจากค่ามิเตอร์ โดยปีที่ผ่านมามีแท็กซี่เข้าระบบ 8,000 คัน ล่าสุดเพิ่มบริการลิมูซีน Easy Taxi Plus
ด้านนายธีรพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยถึงการเรียกรถแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชั่นไม่ใช่วิธีที่ผิดกฎหมาย แม้จะไม่ได้ระบุใน พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 เนื่องจากได้อนุโลมให้การใช้แอปเรียกแท็กซี่เหมือนการโบกเรียก และการโทร.เข้าไปที่ศูนย์บริการ ทั้งเตรียมใส่วิธีดังกล่าวไว้ใน พ.ร.บ.รถยนต์ฉบับใหม่ที่อยู่ระหว่างหารือฝ่ายต่าง ๆ แต่การใช้รถแท็กซี่ผิดประเภท เช่น รถป้ายดำหรือป้ายเขียวที่ไม่ระบุเส้นทางชัดเจน รวมถึงไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สาธารณะถือว่าผิดกฎหมาย ผู้ขับจะโดนปรับ 1,000 บาท
นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบกได้เตรียมพัฒนาแอปพลิเคชั่นเรียกแท็กซี่เพื่อให้บริการเอง ด้วย อยู่ระหว่างวางแผน เบื้องต้นยังไม่กำหนดแล้วเสร็จ ปัจจุบันมีรถแท็กซี่ที่ลงทะเบียนถูกต้อง 1.1 แสนคัน มีผู้ขับที่มีใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ 2 แสนคน
แอปฯแท็กซี่เปิดศึกแย่ง"คนขับ" แกร็บ ตั้งกองทุนช่วยค่าเทอมลูก
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1432485329
updated: 25 พ.ค. 2558 เวลา 07:34:03 น.
แอปฯ "เรียกแท็กซี่" เปิดศึกชิงคนขับแข่งสร้างเครือข่าย "แกร็บแท็กซี่" รุกตั้งกองทุนสวัสดิการ 60 ล้านบาท "ขับดีมีประกันชีวิตแถมเบิกค่าเทอมลูกได้" ด้าน "ออลไทยแท็กซี่" ใช้ระบบเงินเดือนรวมรายได้กว่า 20,000 บาทจูงใจ ฟาก "อูเบอร์"อัดโปรโมชั่นสู้ ลดค่าบริการขั้นต่ำ45% กรมการขนส่งผุดไอเดียพัฒนาแอปแข่ง
นายวีร์ จารุนันท์ศิริ รองผู้จัดการ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การแข่งขันของผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นเรียกใช้งานรถแท็กซี่ในขณะนี้ยัง ถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทำให้ทุกรายต่างทุ่มงบประมาณเพื่อดึงผู้ใช้งาน และเพิ่มยานพาหนะในระบบให้มากขึ้น เพราะการเรียกแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชั่นเพิ่งเริ่มให้บริการในประเทศไทยเพียง 2 ปี ผู้เล่นรายใดประสบความสำเร็จในขณะนี้ก็มีโอกาสอยู่ในธุรกิจได้ยาวนาน เพราะในธุรกิจเทคโนโลยีผู้ใช้จะจำเบอร์หนึ่งของตลาดได้ แต่อันดับต่ำลงมาแทบไม่รู้จัก
แกร็บแรงแจกทุนการศึกษาบุตร
"แกร็บ แท็กซี่ให้บริการในไทยมาเกือบ 2 ปี จากเดิมวางกรอบไว้แค่ให้บริการรถแท็กซี่ ปัจจุบันขยายออกเป็นผู้ให้บริการยานพาหนะเต็มรูปแบบ โดยเพิ่มบริการรับส่งเอกสาร และจองรถตู้ หรือ Grab XL ทั้งสองบริการมีเฉพาะในประเทศไทย เพราะต้องการตอบโจทย์ผู้บริโภคที่นี่ให้มากที่สุด ส่วนบริการเรียกรถแท็กซี่ก็ยังขยายต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมผู้ใช้หลักในกรุงเทพฯ ส่วนต่างจังหวัดอยู่ระหว่างทดลองให้บริการ ที่ผ่านมามีการทำโปรโมชั่นต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้"
นอกจากนี้ "แกร็บแท็กซี่" ยังเพิ่งจัดตั้งGrablife กองทุนสำหรับผู้ขับรถแท็กซี่ มูลค่าเบื้องต้น 60 ล้านบาท จากเงินทุนของบริษัท และแหล่งทุน เช่น กลุ่มเทมาเส็ก และซอฟต์แบงก์ เพื่อช่วยผู้ขับให้มีรายได้ และหลัก ประกันที่มั่นคง ด้วยประกันชีวิตมูลค่าสูงสุด 3 แสนบาท หากเจ็บป่วยมีเงินชดเชยสูงสุด 1,000 บาท/วัน นาน 365 วัน พร้อมเบิกค่าการศึกษาบุตร และมีหลักสูตรอบรมภาษาอังกฤษให้ผู้ขับ ซึ่งสิทธิ์ต่าง ๆ นี้จะได้เมื่อเป็นสมาชิกแกร็บแท็กซี่ และรับส่งผู้โดยสารอย่างน้อย 100 เที่ยว/เดือน ได้คะแนนบริการในเกณฑ์ดี คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีผู้ขับได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุน 1,500 คน ถือเป็นหนึ่งในวิธีเพิ่มผู้ขับรถเข้าสู่ระบบ
ปัจจุบันบริษัทมีรถใน ระบบ 15,000 คัน เกือบทั้งหมดเป็นแท็กซี่ป้ายเหลือง ภายใต้บริการ Grab Taxi (ค่าเรียกเพิ่มจากมิเตอร์ 25 บาท) รองลงมาเป็นบริการรถลิมูซีนป้ายเขียว Grab Car (ค่าบริการเริ่มต้น 75 บาท) และรถตู้ 12 ที่นั่ง หรือ Grab XL ราคาเริ่มต้น 150 บาท ส่วนบริการรับส่งเอกสารร่วมกับ Alpha Fast ผู้ทำธุรกิจขนส่ง นำรถมอเตอร์ไซค์และรถบรรทุกไปส่งเอกสารทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล ราคาเริ่มต้น 35 บาท ซึ่งรายได้ของบริษัทมาจากการหักค่าธรรมเนียมบริการ
ล่าสุด บริษัทยังจัดโปรโมชั่นแจกรถยนต์นิสสัน จู๊ค ให้ผู้ใช้งาน รวมถึงออกรหัสลดราคา มูลค่า 40 บาท เมื่อนั่งไปหรือกลับจากแอร์พอร์ตลิงก์ทุกสถานี
ออลไทยโด๊ปรายได้ประจำ 2/ หมื่น
นายเอกชัย สุมาลี หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี "ออลไทยแท็กซี่" บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด เปิดเผยว่า เพื่อจูงใจให้ผู้ขับเข้ามาในระบบของบริษัท จึงใช้วิธีให้เงินเดือนประจำ 9,000 บาท พร้อมเงินประจำตำแหน่ง, เงินรางวัลทำงานดี, เงินค่าเบี้ยขยัน, เงินค่าครองชีพ, เงินส่วนแบ่งรายได้ และเงินค่าล่วงเวลาตามจริง รวมแล้วจะมีรายได้ต่อเดือนราว 2 หมื่นบาท และมีสถานะเหมือนพนักงานบริษัททั่วไป
"เราลงทุนไปกว่า 700 ล้านบาท ทั้งระบบหลังบ้าน รถแท็กซี่ 500 คัน ทุกคันเป็นโตโยต้า พริอุส แต่คิดค่าบริการระบบมิเตอร์เหมือนแท็กซี่ทั่วไป เรียกใช้ผ่านแอปฯหรือโบกตามถนนก็ได้ เราต้องการเปลี่ยนโฉมแท็กซี่ในไทยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียกแล้วไม่ไป หรือคิดค่าบริการไม่ตรงมิเตอร์ ระบบนี้ต้องการผู้ขับ 1,200 ราย จึงสร้างระบบเงินเดือนขึ้นมาจูงใจ"
อูเบอร์+อีซี่ฯ ส่งซิกแข่งบริการ
ก่อน หน้านี้ นางสาวแหวนยอด วงษ์ตระหง่าน ผู้จัดการ บริษัท อูเบอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีแผนลงทุนระบบและการตลาดเพิ่มเพื่อขยายงานบริการ และดึงผู้ใช้ให้ได้มากขึ้น หลังจากเปิดบริการในกรุงเทพฯและภูเก็ต และมีรถยนต์ในระบบหลักพันคัน ทั้งรถป้ายทะเบียนดำและป้ายทะเบียนเขียว ซึ่งตนมองว่าในแง่การแข่งขันตลาดค่อนข้างเปิดกว้าง เพราะการเดินทางผ่านวิธีนี้ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับวิธีปกติล่าสุดได้ปรับ อัตราค่าบริการขั้นต่ำ UberX (รถ 4 ประตูขนาดเล็ก เช่น โตโยต้า วีออส และมาสด้า 2 เป็นต้น) จากเดิมกำหนดขั้นต่ำที่ 45 บาท ลดลง 45% เหลือ 25 บาท
สำหรับบริษัท อีซี่ แท็กซี่ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งถือเป็นผู้เล่นในตลาดอีกรายที่เน้นการสร้างโครงข่ายรถแท็กซี่ โดยร่วมกับปั๊มแก๊สย่านชานเมือง ตั้งจุดลงทะเบียนและตรวจสอบรถ โดยผู้ขับแท็กซี่นอกจากไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ แล้วยังได้ค่าบริการพิเศษที่ผู้โดยสารต้องจ่ายเพิ่ม 20 บาท นอกเหนือจากค่ามิเตอร์ โดยปีที่ผ่านมามีแท็กซี่เข้าระบบ 8,000 คัน ล่าสุดเพิ่มบริการลิมูซีน Easy Taxi Plus
ด้านนายธีรพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยถึงการเรียกรถแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชั่นไม่ใช่วิธีที่ผิดกฎหมาย แม้จะไม่ได้ระบุใน พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 เนื่องจากได้อนุโลมให้การใช้แอปเรียกแท็กซี่เหมือนการโบกเรียก และการโทร.เข้าไปที่ศูนย์บริการ ทั้งเตรียมใส่วิธีดังกล่าวไว้ใน พ.ร.บ.รถยนต์ฉบับใหม่ที่อยู่ระหว่างหารือฝ่ายต่าง ๆ แต่การใช้รถแท็กซี่ผิดประเภท เช่น รถป้ายดำหรือป้ายเขียวที่ไม่ระบุเส้นทางชัดเจน รวมถึงไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สาธารณะถือว่าผิดกฎหมาย ผู้ขับจะโดนปรับ 1,000 บาท
นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบกได้เตรียมพัฒนาแอปพลิเคชั่นเรียกแท็กซี่เพื่อให้บริการเอง ด้วย อยู่ระหว่างวางแผน เบื้องต้นยังไม่กำหนดแล้วเสร็จ ปัจจุบันมีรถแท็กซี่ที่ลงทะเบียนถูกต้อง 1.1 แสนคัน มีผู้ขับที่มีใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ 2 แสนคน