สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง
ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย
สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ
"เป็นครั้งแรกที่ปรากฎธรรมนี้"
ขอให้ท่านพิจารณาเนื้อความดูเถิด ถึงความวิบัติขาดสูญในมูลเหตุของการที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
{O}แสดงปัญหาข้อติดขัดในธรรมที่ชัดเจนที่ส่งผลร้ายแรงที่สุดของเรื่องการบรรลุธรรม{O}
"ขอจงเป็นธรรมทายาทของพระผู้ทรงทศพลญญาณ"
ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่าในกาลบัดนี้ ไม่มีผู้ใดอีกที่จะทรงพระทศพลญาณ ๑๐ อย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะสั่งสอนคอยชี้แนะแนวทางการปฎิบัติให้เราเข้าถึงได้อย่างถึงที่สุดธรรมอันเป็นเลิศ
"เมื่อมีกำลังนี้พระทศพลณญาน๑๐นี้ ผู้ที่ควรบรรลุ หรือแม้แต่ผู้ที่หลงทาง และหมดสติปัญญาจะหาทาง ตลอดจนผู้ที่ไม่อยู่ในฐานะก็ตาม หากพระองค์ทรงพระประสงค์ ณ ที่ของพระองค์ บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น จึงได้ที่พึ่งที่ดี จึงย่อมบรรลุฐานะธรรมที่ควรบรรลุสมความปรารถนาของตน โดยไม่มีที่อื่นไปยิ่งกว่าที่จะมีผู้ใดสามารถ ชี้แจง แนะนำ ผลักดันเพิ่มเติม ในหลักการพิจารณาแก้ไขปัญหาถึงสภาวะที่ติดขัดเพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายคือ การสำเร็จธรรมให้ได้ให้ถึงในที่สุด "
เพราะท่านรู้ด้วยพระปรีชาญานดังนี้แล พระสาวกผู้เจริญในสมัยพุทธกาลท่านจะสงสัยขัดในธรรมอันใดและต่อมากสักเพียงไร ท่านก็ชี้ทางสว่างได้ั แต่มาจวนจนปัจจุบันนี้เมื่อไม่มีกำลังพระทศพลณญาน๑๐ นี้แล้ว"[ เราก็ต้องทำใจยอมรับชะตากรรม]"ที่ต้องพึ่งพาอาศัยตนเองเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมด้วยตนเองให้จงได้ เมื่อรู้ดังนี้ แสดงว่ามีความเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว สามารถรับรู้เรื่องราวสำคัญเช่นนี้ได้ ท่านทั้งหลายย่อมเจริญในธรรมขึ้นอย่างมากมายอย่างแน่นอน!
" พระองค์ตรัสว่า ใครจะสอนถูกสอนผิดช่างเถิด เราตถาคตจะแสดงธรรมให้ฟัง "
{O}พระทศพลญาณ๑๐{O}
ทศพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง
1. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน
2. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน
3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร
4. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น
5. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน
6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่
7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย
8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้
9. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม
10. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
{O}แสดงปัญหาข้อติดขัดในธรรมที่ชัดเจน ที่ส่งผลร้ายแรงที่สุดของเรื่องการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา{O}
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง
ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย
สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ
"เป็นครั้งแรกที่ปรากฎธรรมนี้"
ขอให้ท่านพิจารณาเนื้อความดูเถิด ถึงความวิบัติขาดสูญในมูลเหตุของการที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
{O}แสดงปัญหาข้อติดขัดในธรรมที่ชัดเจนที่ส่งผลร้ายแรงที่สุดของเรื่องการบรรลุธรรม{O}
"ขอจงเป็นธรรมทายาทของพระผู้ทรงทศพลญญาณ"
ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่าในกาลบัดนี้ ไม่มีผู้ใดอีกที่จะทรงพระทศพลญาณ ๑๐ อย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะสั่งสอนคอยชี้แนะแนวทางการปฎิบัติให้เราเข้าถึงได้อย่างถึงที่สุดธรรมอันเป็นเลิศ
"เมื่อมีกำลังนี้พระทศพลณญาน๑๐นี้ ผู้ที่ควรบรรลุ หรือแม้แต่ผู้ที่หลงทาง และหมดสติปัญญาจะหาทาง ตลอดจนผู้ที่ไม่อยู่ในฐานะก็ตาม หากพระองค์ทรงพระประสงค์ ณ ที่ของพระองค์ บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น จึงได้ที่พึ่งที่ดี จึงย่อมบรรลุฐานะธรรมที่ควรบรรลุสมความปรารถนาของตน โดยไม่มีที่อื่นไปยิ่งกว่าที่จะมีผู้ใดสามารถ ชี้แจง แนะนำ ผลักดันเพิ่มเติม ในหลักการพิจารณาแก้ไขปัญหาถึงสภาวะที่ติดขัดเพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายคือ การสำเร็จธรรมให้ได้ให้ถึงในที่สุด "
เพราะท่านรู้ด้วยพระปรีชาญานดังนี้แล พระสาวกผู้เจริญในสมัยพุทธกาลท่านจะสงสัยขัดในธรรมอันใดและต่อมากสักเพียงไร ท่านก็ชี้ทางสว่างได้ั แต่มาจวนจนปัจจุบันนี้เมื่อไม่มีกำลังพระทศพลณญาน๑๐ นี้แล้ว"[ เราก็ต้องทำใจยอมรับชะตากรรม]"ที่ต้องพึ่งพาอาศัยตนเองเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมด้วยตนเองให้จงได้ เมื่อรู้ดังนี้ แสดงว่ามีความเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว สามารถรับรู้เรื่องราวสำคัญเช่นนี้ได้ ท่านทั้งหลายย่อมเจริญในธรรมขึ้นอย่างมากมายอย่างแน่นอน!
" พระองค์ตรัสว่า ใครจะสอนถูกสอนผิดช่างเถิด เราตถาคตจะแสดงธรรมให้ฟัง "
{O}พระทศพลญาณ๑๐{O}
ทศพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง
1. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน
2. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน
3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร
4. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น
5. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน
6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่
7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย
8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้
9. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม
10. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย