คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
อ่านแล้วพลอยสงสัยด้วย เลยไปค้น google มานิดหน่อย
---------------------------------------------
ปาปมุต แปลพยัญชนะว่า ผู้พ้นจากบาป, แปลตามความหมายว่า ผู้ไม่มีใครถือโทษ
ความหมายรวมๆ คือ คนที่ทำอะไรก็ตาม คนส่วนใหญ่จะไม่เอามาถือสาเพ่งโทษ
ใช้กับคนสองประเภท
ประเภทแรก คือคนที่ถูกเชื่อกันว่าเป็นพระอรหันต์ ไม่มีเจตนาบาปแล้ว, หรือได้รับความเคารพศรัทธามาก คนจึงไม่เพ่งโทษโจทอาบัติ.
ประเภทที่สอง ตรงข้ามกับประเภทแรก คือคนประเภทคนสติเลอะเลือน เช่น คนแก่ คนบ้าปัญญาอ่อน ทำอะไรแผลงๆ ก็ไม่ควรถือสาหาความ.
แต่ผมสงสัยว่า นี่จะเป็นเพียงประเพณีนิยมท้องถิ่น มากกว่าพระวินัยเดิมแท้ๆ หรือเปล่า?
คืออาจจะอ้างโยงถึง แต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว
-------------------------------------------------------------
พระวินัยของพระ ที่ใกล้เคียงกับกรณี ปาปมุต (ที่ผมค้นเจอตอนนี้)
กรณีพระอรหันต์
1 เมื่อท่านโดนภิกษุอื่นโจทอาบัติท่าน ถ้าท่านร้องขอ "สติวินัย" ต่อคณะสงฆ์
ถ้าคณะสงฆ์เห็นว่า ผู้ร้องขอเป็นพระอรหันต์มีสติบริบูรณ์ ไม่มีทางมีเจตนาทำผิดวินัยนั้นๆ คณะสงฆ์ก็จะสวดประกาศสติวินัยให้ภิกษุผู้ร้องขอ
แล้วคดีที่โดนภิกษุอื่นโจทอาบัติ ก็จะหลุดโดยทันที ไม่ต้องพิจารณาต่อ
แล้วต่อไป ถ้าท่านจะโดนฟ้องด้วยอาบัติอย่างนั้นอีก ก็ถือว่าการฟ้องเป็นโมฆะ เพราะท่านมีสติวินัยคุ้มครอง
แต่กรณีนี้คือ ภิกษุรูปดังกล่าวต้องร้องขอสติวินัยต่อสงฆ์ก่อน ไม่ใช่ได้โดยอัตโนมัติ
2 คล้ายข้อ 1 ต่างกันแต่ว่า เมื่อถูกโจทแล้ว พระพุทธเจ้าทรงสอบสวน แล้วทรงประกาศรับรองเองว่า ภิกษุนั้นๆ บริสุทธิ์
เพราะวาสนาแต่เก่าก่อน เป็นต้น
3 เป็นไปได้ว่า ภิกษุใดๆ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว แม้ยังไม่เคยขอ "สติวินัย"
แต่ภิกษุอื่นๆ ก็พลอยไม่คิดเพ่งโทษโจทอาบัติท่านโดยอัตโนมัติ เพราะศรัทธาว่าท่านมีสติอันยิ่ง ไม่มีเจตนาบาปแล้วเช่นกัน
กรณีภิกษุเลอะเลือน
4 คล้ายกับข้อ1 ต่างกันภิกษุเป็นบ้าไปล่วงอาบัติ ภายหลังหายเป็นบ้า แต่ยังถูกตามโจทอาบัติในอดีตไม่หยุด
คณะสงฆ์จะประกาศ อมูฬหวินัย เพื่อให้ยกฟ้องอาบัติเสีย
---------------------------------------------
ปาปมุต แปลพยัญชนะว่า ผู้พ้นจากบาป, แปลตามความหมายว่า ผู้ไม่มีใครถือโทษ
ความหมายรวมๆ คือ คนที่ทำอะไรก็ตาม คนส่วนใหญ่จะไม่เอามาถือสาเพ่งโทษ
ใช้กับคนสองประเภท
ประเภทแรก คือคนที่ถูกเชื่อกันว่าเป็นพระอรหันต์ ไม่มีเจตนาบาปแล้ว, หรือได้รับความเคารพศรัทธามาก คนจึงไม่เพ่งโทษโจทอาบัติ.
ประเภทที่สอง ตรงข้ามกับประเภทแรก คือคนประเภทคนสติเลอะเลือน เช่น คนแก่ คนบ้าปัญญาอ่อน ทำอะไรแผลงๆ ก็ไม่ควรถือสาหาความ.
แต่ผมสงสัยว่า นี่จะเป็นเพียงประเพณีนิยมท้องถิ่น มากกว่าพระวินัยเดิมแท้ๆ หรือเปล่า?
คืออาจจะอ้างโยงถึง แต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว
-------------------------------------------------------------
พระวินัยของพระ ที่ใกล้เคียงกับกรณี ปาปมุต (ที่ผมค้นเจอตอนนี้)
กรณีพระอรหันต์
1 เมื่อท่านโดนภิกษุอื่นโจทอาบัติท่าน ถ้าท่านร้องขอ "สติวินัย" ต่อคณะสงฆ์
ถ้าคณะสงฆ์เห็นว่า ผู้ร้องขอเป็นพระอรหันต์มีสติบริบูรณ์ ไม่มีทางมีเจตนาทำผิดวินัยนั้นๆ คณะสงฆ์ก็จะสวดประกาศสติวินัยให้ภิกษุผู้ร้องขอ
แล้วคดีที่โดนภิกษุอื่นโจทอาบัติ ก็จะหลุดโดยทันที ไม่ต้องพิจารณาต่อ
แล้วต่อไป ถ้าท่านจะโดนฟ้องด้วยอาบัติอย่างนั้นอีก ก็ถือว่าการฟ้องเป็นโมฆะ เพราะท่านมีสติวินัยคุ้มครอง
แต่กรณีนี้คือ ภิกษุรูปดังกล่าวต้องร้องขอสติวินัยต่อสงฆ์ก่อน ไม่ใช่ได้โดยอัตโนมัติ
2 คล้ายข้อ 1 ต่างกันแต่ว่า เมื่อถูกโจทแล้ว พระพุทธเจ้าทรงสอบสวน แล้วทรงประกาศรับรองเองว่า ภิกษุนั้นๆ บริสุทธิ์
เพราะวาสนาแต่เก่าก่อน เป็นต้น
3 เป็นไปได้ว่า ภิกษุใดๆ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว แม้ยังไม่เคยขอ "สติวินัย"
แต่ภิกษุอื่นๆ ก็พลอยไม่คิดเพ่งโทษโจทอาบัติท่านโดยอัตโนมัติ เพราะศรัทธาว่าท่านมีสติอันยิ่ง ไม่มีเจตนาบาปแล้วเช่นกัน
กรณีภิกษุเลอะเลือน
4 คล้ายกับข้อ1 ต่างกันภิกษุเป็นบ้าไปล่วงอาบัติ ภายหลังหายเป็นบ้า แต่ยังถูกตามโจทอาบัติในอดีตไม่หยุด
คณะสงฆ์จะประกาศ อมูฬหวินัย เพื่อให้ยกฟ้องอาบัติเสีย
แสดงความคิดเห็น
ช่วยแปล และอธิบาย ศัพท์บาลี ตัวนี้ด้วยครับ "ปาปมุตฺโต"
ให้ความหมายว่า "ผู้พ้นจากข้อติเตียน"
ยกตัวอย่างเช่น .... ท่านหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ท่านพูด ใช้คำว่า " กู maumg " ท่านก็ไม่โดนว่าพูดคำหยาบ เป็นต้น
หมายเหตุ คำที่ ๒ ไม่ผ่านการตรวจ จึงต้องพิมพ์ปะกิต