เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อผมได้ซื้อตู้เย็น Mitsubishi รุ่น F23G ขนาด 7.1 คิวแล้วเกิดปัญหาน้ำแข็งเกาะที่ Fan Grill และ ปุ่มเลื่อนปรับอัตราไหลเวียนอากาศระหว่างช่องแช่แข็งและแช่เย็น หลังจากที่ได้แจ้งไปทางตัวแทนผู้ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย ก็ได้มีการแก้ไขดัดแปลงข้อบกพร่องที่เกิดจากกระบวนการออกแบบและผลิต โดยการนำโฟมไปบุใน Fan Grill หลังจากแก้ไขแล้วเสร็จปัญหาน้ำแข็งเกาะได้เริ่มก่อตัวขึ้นมาอีกทำให้เกิดข้อสงสัยมากมายจึงมาตั้งกระทู้สนทนาหารือกับเพื่อนๆ ด้วยประเด็นปัญหาดังนี้
1. การที่ทางตัวแทนผู้ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย ได้ทำการบุโฟมเพิ่มไปนั้น เท่ากับว่าเป็นการยอมรับแล้วหรือไมครับว่ามีการผิดพลาดในขั้นตอนกระบวนการผลิต
2. การแก้ปัญหาตามข้อ1. จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบหรือไม่ครับ
3. การแก้ปัญหาดัดแปลงตามข้อ 1. จะต้องตรวจสอบ มอก.ใหม่หรือไม่ครับ
4. ผมได้เปรียบกับตู้เย็น Hitachi รุ่น RT-230W ขนาด 8.1 ซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน ขนาดแตกต่างกันไม่มาก เป็นรุ่น 2 ประตูเหมือนกัน ช่องแช่แข็งอยู่บนเหมือนกันครับ แต่เครื่อง ของ Hitachi ไม่มีปัญหาดังกล่าว
5. คำตอบที่ผมได้รับ จากตัวแทนผู้ผลิตและจำหน่วยในประเทศไทยตั้งแต่ตอนแรก มีดังนี้ ตามลำดับ
5.1 คุณได้ตั้งค่าการใช้งานตู้เย็นผิดจึงเกิดน้ำแข็งเกาะ
5.2 หากคุณนำน้ำใส่ขันแช่ในตู้เย็นจะส่งผลให้น้ำแข็งเกาะด้วย
5.3 หากคุณเปิดปิดตู้บ่อยก็จะทำให้น้ำแข็งเกาะ
5.4 การที่คุณเปิดช่องแช่แข็งเพื่อถ่ายรูป จะทำให้น้ำแข็งเกาะที่ Fan Grill
5.5 น้ำแข็งที่เกาะบน Fan Grill เกิดจากแนวปะทะอาการร้อนกับเย็น (เหมือนพยากรอากาศเลยน๊ะ ปะกันแล้วเกิดฝน)
5.6 ยี่ห้ออื่นที่เป็นแบบนี้ก็มีน้ำแข็งเกาะทุกรุ่น (ผมมีอยู่ที่บ้านยี่ห้ออื่นไม่เกาะน๊ะ)
5.7 เราไม่กลัว สคบ. (แต่ก็น่าจะเกรงใจสื่อน๊ะ)
6. เป็นไปได้หรือไม่ ที่คอมเพรสเซอร์มีประสิทธิภาพการทำความเย็นที่สูงเกินไปจนไม่เหมาะสมกับปริมาตร
7. เพื่อนช่วยวิเคราะห์ปัญหาหน่อยครับ ว่ามีสาเหตุอื่นอีกหรือไม่ที่ทำให้เกิดปัญหานี้ครับ
รวมภาพต่างๆ
เมื่อใช้งานมาได้ราวๆ 6 เดือน
หลังจาก ได้รับการยกเครื่องไปแก้ไขโดยไม่แจ้งว่าผิดพลาดตรงไหนผ่านไปราวๆ 1 เดือน
ภายในช่องแช่แข็งก่อนเปลี่ยน Fan Grill
Fan Grill ตัวเก่า
Fan Grill ตัวใหม่
น้ำที่เกิดจากการละลายน้ำแข็งหลังจากใช้งานไปราวๆ 1 วัน
การใช้งานและข้อห้าม
Diagram
ภายในช่องแช่แข็ของ Hitachi
Diagram
ปล. Tag วิศวกรรมศาสตร์ เพราะเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์
ฟิสิกส์ เพราะต้องใช้วิชาหุณหพลศาสตร์ในการวิเคราะห์ปัญหา
ขอบพระคุณเพื่อนๆทุกท่านครับ
เปรียบเทียบตู้เย็น Mitsubishi และ ตู้เย็น Hitachi กับปัญหาน้ำแข็งเกาะเพื่อหาแนวทางการแก้ไขครับ
1. การที่ทางตัวแทนผู้ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย ได้ทำการบุโฟมเพิ่มไปนั้น เท่ากับว่าเป็นการยอมรับแล้วหรือไมครับว่ามีการผิดพลาดในขั้นตอนกระบวนการผลิต
2. การแก้ปัญหาตามข้อ1. จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบหรือไม่ครับ
3. การแก้ปัญหาดัดแปลงตามข้อ 1. จะต้องตรวจสอบ มอก.ใหม่หรือไม่ครับ
4. ผมได้เปรียบกับตู้เย็น Hitachi รุ่น RT-230W ขนาด 8.1 ซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน ขนาดแตกต่างกันไม่มาก เป็นรุ่น 2 ประตูเหมือนกัน ช่องแช่แข็งอยู่บนเหมือนกันครับ แต่เครื่อง ของ Hitachi ไม่มีปัญหาดังกล่าว
5. คำตอบที่ผมได้รับ จากตัวแทนผู้ผลิตและจำหน่วยในประเทศไทยตั้งแต่ตอนแรก มีดังนี้ ตามลำดับ
5.1 คุณได้ตั้งค่าการใช้งานตู้เย็นผิดจึงเกิดน้ำแข็งเกาะ
5.2 หากคุณนำน้ำใส่ขันแช่ในตู้เย็นจะส่งผลให้น้ำแข็งเกาะด้วย
5.3 หากคุณเปิดปิดตู้บ่อยก็จะทำให้น้ำแข็งเกาะ
5.4 การที่คุณเปิดช่องแช่แข็งเพื่อถ่ายรูป จะทำให้น้ำแข็งเกาะที่ Fan Grill
5.5 น้ำแข็งที่เกาะบน Fan Grill เกิดจากแนวปะทะอาการร้อนกับเย็น (เหมือนพยากรอากาศเลยน๊ะ ปะกันแล้วเกิดฝน)
5.6 ยี่ห้ออื่นที่เป็นแบบนี้ก็มีน้ำแข็งเกาะทุกรุ่น (ผมมีอยู่ที่บ้านยี่ห้ออื่นไม่เกาะน๊ะ)
5.7 เราไม่กลัว สคบ. (แต่ก็น่าจะเกรงใจสื่อน๊ะ)
6. เป็นไปได้หรือไม่ ที่คอมเพรสเซอร์มีประสิทธิภาพการทำความเย็นที่สูงเกินไปจนไม่เหมาะสมกับปริมาตร
7. เพื่อนช่วยวิเคราะห์ปัญหาหน่อยครับ ว่ามีสาเหตุอื่นอีกหรือไม่ที่ทำให้เกิดปัญหานี้ครับ
รวมภาพต่างๆ
เมื่อใช้งานมาได้ราวๆ 6 เดือน
หลังจาก ได้รับการยกเครื่องไปแก้ไขโดยไม่แจ้งว่าผิดพลาดตรงไหนผ่านไปราวๆ 1 เดือน
ภายในช่องแช่แข็งก่อนเปลี่ยน Fan Grill
Fan Grill ตัวเก่า
Fan Grill ตัวใหม่
น้ำที่เกิดจากการละลายน้ำแข็งหลังจากใช้งานไปราวๆ 1 วัน
การใช้งานและข้อห้าม
Diagram
ภายในช่องแช่แข็ของ Hitachi
Diagram
ปล. Tag วิศวกรรมศาสตร์ เพราะเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์
ฟิสิกส์ เพราะต้องใช้วิชาหุณหพลศาสตร์ในการวิเคราะห์ปัญหา
ขอบพระคุณเพื่อนๆทุกท่านครับ