ขอฝากถามด้วยครับ
ทำไมถึงมีคำสอนเรื่องการให้ฆ่ากัน ?
แล้วสามารถปรับเปลี่ยนได้มั้ยครับ ?
รายละเอียดข่างล่างนี้ ขอบคุณครับ
อัลกุรอานสอนความรุนแรงจนนำไปสู่ปัญหา
การก่อการร้ายกระนั้นหรือ ?
อ. อับดุลสุโก ดินอะ
เมื่อเราเปิดอัลกุรอานจะพบว่ามีบางข้อความ
ในอัลกุรอานพูดถึงความรุนแรงจริง
เช่นโองการที่หนึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสความว่า
"และจงฆ่าพวกเขา ณ ที่ใดก็ตาม
ที่สูเจ้าพบพวกเขา" (กุรอาน 2:191)
และโองการที่สองอัลลอฮฺได้ตรัสความว่า
"แต่ถ้าพวกเขาหันหลังให้ ก็จงจับพวกเขา
และฆ่าพวกเขา ณ ที่สูเจ้าจับพวกเขาได้
และ (ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม)
จงอย่าเอาพวกเขามาเป็นมิตรและผู้ช่วยเหลือ"
(กุรอาน 4:89)
ทำไม ?
คัมภีร์กุรอานถึงได้กล่าวเช่นนั้น
ความเป็นจริงข้อความข้างต้น
ยังมีข้อความก่อนหน้านี้
และข้อความต่อท้ายอีกหลายประโยค
หากนำเพียงข้อความข้างต้นอย่างเดียว
จะทำให้เข้าใจว่าอิสลามหรืออัลกุรอาน
สอนให้ฆ่าได้ทุกคน
ข้อความทั้งหมดในโองการที่หนึ่งมีดังนี้
อัลลอฮฺได้ตรัสความว่า
"และพวกเจ้าจงต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ
ต่อบรรดาผู้ที่ทำร้ายพวกเจ้า และจงอย่ารุกราน
แท้จริง อัลลอฮฺมิทรงรักผู้รุกราน
และจงฆ่าพวกเขา ณ ที่ใดก็ตามที่เจ้าพบพวกเขา
และจงขับไล่พวกเขาออกไปจากที่
ที่พวกเขาเคยขับไล่พวกเจ้าออกไป
เพราะการกดขี่ข่มเหงนั้นร้ายแรงยิ่งกว่าการฆ่า
และจงอย่าสู้รบกับพวกเขาในมัสญิดอัลฮะรอม
(เมืองมักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอารเบีย)
เว้นเสียแต่ว่าพวกเขาจะทำร้ายพวกเจ้าในที่นั้น
ถ้าหากพวกเขาต่อสู้พวกเจ้า ก็จงฆ่าเขาเสีย
เช่นนั้นแหละคือการตอบแทนผู้ปฏิเสธศรัทธา
แล้วถ้าหากพวกเขายุติ แน่นอน อัลลอฮฺนั้น
เป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ
และจงต่อสู้พวกเขาจนกว่าจะไม่มี
การก่อความวุ่นวายและการกดขี่เกิดขึ้น
และจนกว่าความยุติธรรม
และการเคารพภักดีทั้งหมด
จะเป็นสิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น
แต่ถ้าพวกเขายุติ
จงอย่าให้การเป็นศัตรูใดๆ เกิดขึ้น
เว้นแต่พวกที่สร้างความอธรรมเท่านั้น
เดือนต้องห้ามก็ด้วยเดือนต้องห้าม
และบรรดาสิ่งที่จำเป็นต้องเคารพนั้น
ก็มีกฎแห่งความเท่าเทียมกัน
ดังนั้นถ้าผู้ใดละเมิดต่อสูเจ้า ก็จงตอบโต้
(การป้องกันตัว) การละเมิดของเขา
เช่นเดียวกับที่เขาละเมิดพวกเจ้า
แต่จงเกรงกลัวอัลลอฮฺ
และจงรู้เถิดว่าอัลลอฮฺนั้น
ทรงอยู่กับบรรดาผู้ยำเกรง"
(กุรอาน 2:190-194)
ส่วนข้อโองการที่สองมีข้อความทั้งหมดดังนี้
"พวกเขาชอบถ้าหากพวกเจ้าปฏิเสธศรัทธา
เหมือนดังพวกเขา ดังนั้นพวกเจ้าจะได้กลายเป็น
ผู้ที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น
จงอย่าได้ยึดเอาใครในหมู่พวกเขาเป็นมิตร
จนกว่าพวกเขาจะอพยพในหนทางของอัลลอฮฺ
(จากสิ่งที่ต้องห้าม)
แต่ถ้าพวกเขาผินหลังให้ก็จงจับพวกเขาไว้
และฆ่าพวกเขา ณ ที่ที่สูเจ้าพบพวกเขา
และไม่ว่ากรณีใดก็ตามจงอย่าเอาผู้ใด
ในหมู่พวกเขามาเป็นมิตรและผู้ช่วยเหลือ
นอกจากบรรดาผู้ที่เข้าร่วมกับกลุ่ม
ที่พวกเจ้ามีสัญญาสันติภาพระหว่างกัน
หรือบรรดาผู้ที่เข้ามาหาเจ้าด้วยหัวใจที่ยับยั้ง
พวกเขามิให้ต่อสู้เจ้าเช่นเดียวกับ
ที่จะต้องต่อสู้กับพวกเขาเอง
และถ้าหากอัลลอฮฺทรงประสงค์แล้ว
พระองค์ทรงสามารถที่จะให้พวกเขา
มีอำนาจเหนือสูเจ้าและพวกเขาจะต่อสู้เจ้า
ดังนั้นถ้าหากพวกเขาถอนตัวออกไปจากพวกเจ้า
และไม่ต่อสู้พวกเจ้าแล้ว
และให้หลักประกันสันติภาพแก่พวกเจ้าแล้ว
ดังนั้น อัลลอฮฺก็มิทรงเปิดหนทางใดสำหรับเจ้า
(ที่จะทำสงครามต่อพวกเขา)
พวกเจ้าจะพบพวกอื่นๆ
ที่ต้องการจะได้รับความปลอดภัยจากพวกเจ้า
เช่นเดียวกับพวกเขาเอง
คราใดที่พวกเขาถูกส่งกลับไปสู่การล่อลวง
อีกพวกเขาก็จะกลับไปสู่สิ่งนั้นตามเดิม
ดังนั้น หากพวกเขามิได้ถอนตัวออกจากพวกเจ้า
และมิได้ให้(หลักประกัน)สันติภาพแก่พวกเจ้า
และมิได้ยับยั้งมือของพวกเขาไว้แล้ว
ก็จงจับพวกเขาไว้ และจงฆ่าพวกเขา
ณ ที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าพบพวกเขา
ในกรณีของพวกเขาเหล่านี้แหละ
ที่เราได้ให้อำนาจที่ชัดเจนต่อพวกเจ้า? "
(กุรอาน4:89-91)
เมื่ออ่านข้อความจากอัลกุรอานทั้งหมดนี้แล้ว
ไม่มีข้อความใดอนุญาตให้ฆ่าใครได้อย่างเสรี
และปราศจากเหตุผล
เมื่อพิจารณาภูมิหลังโองการดังกล่าวจะพบว่า
พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานข้อความอัลกุรอาน
แก่ท่านศาสดามุฮัมมัด
ในตอนที่ผู้ปฏิเสธศรัทธาแห่งมักกะฮฺ
(ประเทศซาอุดิอารเบียในปัจจุบัน)
โจมตีมุสลิมอยู่เป็นประจำ
นอกจากนั้นแล้วคนพวกนี้สร้างความตื่นตระหนก
ให้แก่ประชาคมมุสลิมในนครมะดีนะฮฺด้วย
มุสลิมจึงได้รับอนุญาตให้ตอบโต้ผู้รุกราน
เพื่อป้องกันตัวแต่ต้องอยู่ภายใต้จริยธรรม
ในการทำสงคราม
(โปรดดูญิฮาดหรือก่อการร้าย: อับดุลสุโก ดินอะ,
มติชน , 8/04/48,หน้า6-7)
ข้อความดังกล่าวนั้น มิใช่การอนุญาต
ให้มีลัทธิก่อการร้ายแต่อย่างใด
แต่เป็นการเตือน ผู้รุกรานหรือผู้ก่อการร้ายต่างหาก
แต่แม้จะเป็นการเตือนก็ตาม คำสั่งในอัลกุรอาน
เน้นให้มีการยับยั้งและระมัดระวังในการตอบโต้
ถ้าได้ศึกษาเนื้อหาคำสอนของอัลกุรอานแล้ว
ท่านจะต้องศึกษาเรื่องราวภูมิหลัง
ของคำสอนดังกล่าวด้วย เป็นเรื่องสำคัญมาก
มิเช่นนั้น คำสอนจะถูกนำไปตีความอย่างผิดๆ
หรือใช้เพื่อบิดเบือน เรื่องจริงที่มุสลิมบางคน
และบางกลุ่ม ที่มีแนวคิดสุดโต่ง
ได้นำเอาข้อความเหล่านี้ไปใช้เพื่อตนเอง
ความเป็นจริงการฆ่าผู้หนึ่งผู้ใด
โดยปราศจากความผิดเป็นถือเป็นบาปใหญ่
ในอัลกุรอานไม่อนุญาตให้ฆ่าคนบริสุทธิ์
โดยไม่คำนึงว่าเขาหรือเธอจะนับถือศาสนาใด
ชีวิตของมนุษย์ทุกคนมีค่าตามคำสอนของกุรอาน
และทางนำของศาสดามุฮัมมัด คัมภีร์กุรอาน
กล่าวถึงเรื่องการห้ามฆ่าไว้ความว่า
"และจงอย่าฆ่าชีวิตที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้
นอกจากด้วยสิทธิอันชอบธรรมเท่านั้น
ที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่พวกเจ้านั้น
ก็เพื่อพวกเจ้าจะได้ใช้สติปัญญา"
(กุรอาน6:151)
และอัลลอฮฺยังได้ตรัสไว้อีกความว่า
"และจงอย่าฆ่าชีวิตที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้
เว้นแต่เพื่อความยุติธรรม
และผู้ใดถูกฆ่าอย่างไม่เป็นธรรม
ดังนั้น เราได้ให้อำนาจแก่ผู้ปกครอง
(ที่จะลงโทษอย่างเท่าเทียมกันหรือให้อภัย)
ดังนั้นจงอย่าได้ล่วงเกินขอบเขตในเรื่องการฆ่า
เพราะเขา (ผู้ถูกอธรรม)จะได้รับความช่วยเหลือ"
(กุรอาน17:33)
"และการฆ่าผู้หนึ่งผู้ใดโดยปราศจากความผิด
ถือเป็นบาปใหญ่เหมือนการฆ่ามนุษยชาติ
และการไว้ชีวิตใครคนหนึ่งถือเป็นความดี
เหมือนกับการไว้ชีวิตมนุษย์ทั้งหมด"
(กุรอาน 5:32)
ความเป็นจริง ในคัมภีร์กุรอาน
มีข้อความมากมายที่กล่าวถึง
การส่งเสริมคนทำความดีละเว้นความชั่ว
และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างศาสนิก
แต่ผู้คนกลับไม่กล่าวถึงและนำมาปฏิบัติ
เมื่ออัลกุรอานเป็นคัมภีร์ ใช้ในการดำเนินชีวิต
ในทุกๆด้านและมิติทีเกี่ยวข้องกับมนุษย์
และบทบัญญัติที่มีอยู่ในคัมภีร์คือกฏหมาย
ที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติ
ดังนั้น จึงเสมือนดาบสองคม
ที่จะนำสู่สันติภาพของโลก
หากนำไปสนับสนุนความถูกต้อง
ในทางกลับกันมันจะนำไปสู่ความรุนแรง
และการก่อการร้ายระดับโลก
หากคำสอนของอัลกุอานถูกนำไปตีความผิดๆ
หรือใช้เพื่อบิดเบือน อย่างที่มุสลิมบางคน
และบางกลุ่มที่มีแนวคิดสุดโต่ง
ได้นำเอาข้อความเหล่านี้ไปใช้
เพื่อเป้าหมายของตนเอง
เพราะฉะนั้นเราต้องแยกแยะ
ระหว่างหลักการของศาสนาที่ถูกต้องกับมุสลิม
(ต่างศาสนิกก็เช่นกัน) เพราะผู้กระทำผิด
เป็นคนละส่วนกัน
ในขณะเดียวกัน เราจะต้องร่วมกันประณาม
การก่อการร้ายทุกรูปแบบ
ที่กระทำในนามของศาสนา(ไม่ว่ารัฐหรือเอกชน)
และเป็นกำลังใจต่อผู้กระทำความดี
อัลกุรอานสอนความรุนแรงจนนำไปสู่ปัญหา การก่อการร้ายกระนั้นหรือ ?
ทำไมถึงมีคำสอนเรื่องการให้ฆ่ากัน ?
แล้วสามารถปรับเปลี่ยนได้มั้ยครับ ?
รายละเอียดข่างล่างนี้ ขอบคุณครับ
อัลกุรอานสอนความรุนแรงจนนำไปสู่ปัญหา
การก่อการร้ายกระนั้นหรือ ?
อ. อับดุลสุโก ดินอะ
เมื่อเราเปิดอัลกุรอานจะพบว่ามีบางข้อความ
ในอัลกุรอานพูดถึงความรุนแรงจริง
เช่นโองการที่หนึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสความว่า
"และจงฆ่าพวกเขา ณ ที่ใดก็ตาม
ที่สูเจ้าพบพวกเขา" (กุรอาน 2:191)
และโองการที่สองอัลลอฮฺได้ตรัสความว่า
"แต่ถ้าพวกเขาหันหลังให้ ก็จงจับพวกเขา
และฆ่าพวกเขา ณ ที่สูเจ้าจับพวกเขาได้
และ (ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม)
จงอย่าเอาพวกเขามาเป็นมิตรและผู้ช่วยเหลือ"
(กุรอาน 4:89)
ทำไม ?
คัมภีร์กุรอานถึงได้กล่าวเช่นนั้น
ความเป็นจริงข้อความข้างต้น
ยังมีข้อความก่อนหน้านี้
และข้อความต่อท้ายอีกหลายประโยค
หากนำเพียงข้อความข้างต้นอย่างเดียว
จะทำให้เข้าใจว่าอิสลามหรืออัลกุรอาน
สอนให้ฆ่าได้ทุกคน
ข้อความทั้งหมดในโองการที่หนึ่งมีดังนี้
อัลลอฮฺได้ตรัสความว่า
"และพวกเจ้าจงต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ
ต่อบรรดาผู้ที่ทำร้ายพวกเจ้า และจงอย่ารุกราน
แท้จริง อัลลอฮฺมิทรงรักผู้รุกราน
และจงฆ่าพวกเขา ณ ที่ใดก็ตามที่เจ้าพบพวกเขา
และจงขับไล่พวกเขาออกไปจากที่
ที่พวกเขาเคยขับไล่พวกเจ้าออกไป
เพราะการกดขี่ข่มเหงนั้นร้ายแรงยิ่งกว่าการฆ่า
และจงอย่าสู้รบกับพวกเขาในมัสญิดอัลฮะรอม
(เมืองมักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอารเบีย)
เว้นเสียแต่ว่าพวกเขาจะทำร้ายพวกเจ้าในที่นั้น
ถ้าหากพวกเขาต่อสู้พวกเจ้า ก็จงฆ่าเขาเสีย
เช่นนั้นแหละคือการตอบแทนผู้ปฏิเสธศรัทธา
แล้วถ้าหากพวกเขายุติ แน่นอน อัลลอฮฺนั้น
เป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ
และจงต่อสู้พวกเขาจนกว่าจะไม่มี
การก่อความวุ่นวายและการกดขี่เกิดขึ้น
และจนกว่าความยุติธรรม
และการเคารพภักดีทั้งหมด
จะเป็นสิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น
แต่ถ้าพวกเขายุติ
จงอย่าให้การเป็นศัตรูใดๆ เกิดขึ้น
เว้นแต่พวกที่สร้างความอธรรมเท่านั้น
เดือนต้องห้ามก็ด้วยเดือนต้องห้าม
และบรรดาสิ่งที่จำเป็นต้องเคารพนั้น
ก็มีกฎแห่งความเท่าเทียมกัน
ดังนั้นถ้าผู้ใดละเมิดต่อสูเจ้า ก็จงตอบโต้
(การป้องกันตัว) การละเมิดของเขา
เช่นเดียวกับที่เขาละเมิดพวกเจ้า
แต่จงเกรงกลัวอัลลอฮฺ
และจงรู้เถิดว่าอัลลอฮฺนั้น
ทรงอยู่กับบรรดาผู้ยำเกรง"
(กุรอาน 2:190-194)
ส่วนข้อโองการที่สองมีข้อความทั้งหมดดังนี้
"พวกเขาชอบถ้าหากพวกเจ้าปฏิเสธศรัทธา
เหมือนดังพวกเขา ดังนั้นพวกเจ้าจะได้กลายเป็น
ผู้ที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น
จงอย่าได้ยึดเอาใครในหมู่พวกเขาเป็นมิตร
จนกว่าพวกเขาจะอพยพในหนทางของอัลลอฮฺ
(จากสิ่งที่ต้องห้าม)
แต่ถ้าพวกเขาผินหลังให้ก็จงจับพวกเขาไว้
และฆ่าพวกเขา ณ ที่ที่สูเจ้าพบพวกเขา
และไม่ว่ากรณีใดก็ตามจงอย่าเอาผู้ใด
ในหมู่พวกเขามาเป็นมิตรและผู้ช่วยเหลือ
นอกจากบรรดาผู้ที่เข้าร่วมกับกลุ่ม
ที่พวกเจ้ามีสัญญาสันติภาพระหว่างกัน
หรือบรรดาผู้ที่เข้ามาหาเจ้าด้วยหัวใจที่ยับยั้ง
พวกเขามิให้ต่อสู้เจ้าเช่นเดียวกับ
ที่จะต้องต่อสู้กับพวกเขาเอง
และถ้าหากอัลลอฮฺทรงประสงค์แล้ว
พระองค์ทรงสามารถที่จะให้พวกเขา
มีอำนาจเหนือสูเจ้าและพวกเขาจะต่อสู้เจ้า
ดังนั้นถ้าหากพวกเขาถอนตัวออกไปจากพวกเจ้า
และไม่ต่อสู้พวกเจ้าแล้ว
และให้หลักประกันสันติภาพแก่พวกเจ้าแล้ว
ดังนั้น อัลลอฮฺก็มิทรงเปิดหนทางใดสำหรับเจ้า
(ที่จะทำสงครามต่อพวกเขา)
พวกเจ้าจะพบพวกอื่นๆ
ที่ต้องการจะได้รับความปลอดภัยจากพวกเจ้า
เช่นเดียวกับพวกเขาเอง
คราใดที่พวกเขาถูกส่งกลับไปสู่การล่อลวง
อีกพวกเขาก็จะกลับไปสู่สิ่งนั้นตามเดิม
ดังนั้น หากพวกเขามิได้ถอนตัวออกจากพวกเจ้า
และมิได้ให้(หลักประกัน)สันติภาพแก่พวกเจ้า
และมิได้ยับยั้งมือของพวกเขาไว้แล้ว
ก็จงจับพวกเขาไว้ และจงฆ่าพวกเขา
ณ ที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าพบพวกเขา
ในกรณีของพวกเขาเหล่านี้แหละ
ที่เราได้ให้อำนาจที่ชัดเจนต่อพวกเจ้า? "
(กุรอาน4:89-91)
เมื่ออ่านข้อความจากอัลกุรอานทั้งหมดนี้แล้ว
ไม่มีข้อความใดอนุญาตให้ฆ่าใครได้อย่างเสรี
และปราศจากเหตุผล
เมื่อพิจารณาภูมิหลังโองการดังกล่าวจะพบว่า
พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานข้อความอัลกุรอาน
แก่ท่านศาสดามุฮัมมัด
ในตอนที่ผู้ปฏิเสธศรัทธาแห่งมักกะฮฺ
(ประเทศซาอุดิอารเบียในปัจจุบัน)
โจมตีมุสลิมอยู่เป็นประจำ
นอกจากนั้นแล้วคนพวกนี้สร้างความตื่นตระหนก
ให้แก่ประชาคมมุสลิมในนครมะดีนะฮฺด้วย
มุสลิมจึงได้รับอนุญาตให้ตอบโต้ผู้รุกราน
เพื่อป้องกันตัวแต่ต้องอยู่ภายใต้จริยธรรม
ในการทำสงคราม
(โปรดดูญิฮาดหรือก่อการร้าย: อับดุลสุโก ดินอะ,
มติชน , 8/04/48,หน้า6-7)
ข้อความดังกล่าวนั้น มิใช่การอนุญาต
ให้มีลัทธิก่อการร้ายแต่อย่างใด
แต่เป็นการเตือน ผู้รุกรานหรือผู้ก่อการร้ายต่างหาก
แต่แม้จะเป็นการเตือนก็ตาม คำสั่งในอัลกุรอาน
เน้นให้มีการยับยั้งและระมัดระวังในการตอบโต้
ถ้าได้ศึกษาเนื้อหาคำสอนของอัลกุรอานแล้ว
ท่านจะต้องศึกษาเรื่องราวภูมิหลัง
ของคำสอนดังกล่าวด้วย เป็นเรื่องสำคัญมาก
มิเช่นนั้น คำสอนจะถูกนำไปตีความอย่างผิดๆ
หรือใช้เพื่อบิดเบือน เรื่องจริงที่มุสลิมบางคน
และบางกลุ่ม ที่มีแนวคิดสุดโต่ง
ได้นำเอาข้อความเหล่านี้ไปใช้เพื่อตนเอง
ความเป็นจริงการฆ่าผู้หนึ่งผู้ใด
โดยปราศจากความผิดเป็นถือเป็นบาปใหญ่
ในอัลกุรอานไม่อนุญาตให้ฆ่าคนบริสุทธิ์
โดยไม่คำนึงว่าเขาหรือเธอจะนับถือศาสนาใด
ชีวิตของมนุษย์ทุกคนมีค่าตามคำสอนของกุรอาน
และทางนำของศาสดามุฮัมมัด คัมภีร์กุรอาน
กล่าวถึงเรื่องการห้ามฆ่าไว้ความว่า
"และจงอย่าฆ่าชีวิตที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้
นอกจากด้วยสิทธิอันชอบธรรมเท่านั้น
ที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่พวกเจ้านั้น
ก็เพื่อพวกเจ้าจะได้ใช้สติปัญญา"
(กุรอาน6:151)
และอัลลอฮฺยังได้ตรัสไว้อีกความว่า
"และจงอย่าฆ่าชีวิตที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้
เว้นแต่เพื่อความยุติธรรม
และผู้ใดถูกฆ่าอย่างไม่เป็นธรรม
ดังนั้น เราได้ให้อำนาจแก่ผู้ปกครอง
(ที่จะลงโทษอย่างเท่าเทียมกันหรือให้อภัย)
ดังนั้นจงอย่าได้ล่วงเกินขอบเขตในเรื่องการฆ่า
เพราะเขา (ผู้ถูกอธรรม)จะได้รับความช่วยเหลือ"
(กุรอาน17:33)
"และการฆ่าผู้หนึ่งผู้ใดโดยปราศจากความผิด
ถือเป็นบาปใหญ่เหมือนการฆ่ามนุษยชาติ
และการไว้ชีวิตใครคนหนึ่งถือเป็นความดี
เหมือนกับการไว้ชีวิตมนุษย์ทั้งหมด"
(กุรอาน 5:32)
ความเป็นจริง ในคัมภีร์กุรอาน
มีข้อความมากมายที่กล่าวถึง
การส่งเสริมคนทำความดีละเว้นความชั่ว
และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างศาสนิก
แต่ผู้คนกลับไม่กล่าวถึงและนำมาปฏิบัติ
เมื่ออัลกุรอานเป็นคัมภีร์ ใช้ในการดำเนินชีวิต
ในทุกๆด้านและมิติทีเกี่ยวข้องกับมนุษย์
และบทบัญญัติที่มีอยู่ในคัมภีร์คือกฏหมาย
ที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติ
ดังนั้น จึงเสมือนดาบสองคม
ที่จะนำสู่สันติภาพของโลก
หากนำไปสนับสนุนความถูกต้อง
ในทางกลับกันมันจะนำไปสู่ความรุนแรง
และการก่อการร้ายระดับโลก
หากคำสอนของอัลกุอานถูกนำไปตีความผิดๆ
หรือใช้เพื่อบิดเบือน อย่างที่มุสลิมบางคน
และบางกลุ่มที่มีแนวคิดสุดโต่ง
ได้นำเอาข้อความเหล่านี้ไปใช้
เพื่อเป้าหมายของตนเอง
เพราะฉะนั้นเราต้องแยกแยะ
ระหว่างหลักการของศาสนาที่ถูกต้องกับมุสลิม
(ต่างศาสนิกก็เช่นกัน) เพราะผู้กระทำผิด
เป็นคนละส่วนกัน
ในขณะเดียวกัน เราจะต้องร่วมกันประณาม
การก่อการร้ายทุกรูปแบบ
ที่กระทำในนามของศาสนา(ไม่ว่ารัฐหรือเอกชน)
และเป็นกำลังใจต่อผู้กระทำความดี