{O}องค์คุณของกาลามสูตร{O}<ที่แท้จริง>

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ

การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง
ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย


{O}เฉพาะที่พระองค์{O}

หลักธรรมในพระพุทธศาสนานี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ ที่อาศัยอยู่ในเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล เนื่องจากในสมัยนั้นมีผู้อวดอ้างตนในคุณวิเศษกันมากเชิดชูแต่ลัทธิของตัว พูดจากระทบกระเทียบดูหมิ่นลัทธิอื่น พร้อมทั้งชักจูงมิให้เชื่อลัทธิอื่น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเกสปุตตนิคมดินแดนที่เต็มไปด้วยผู้อวดอ้างชาวกาลามะได้ทูลถามด้วยความสงสัยว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ?

พระพุทธองค์จึงทรงแสดงกาลามสูตร ว่าด้วย วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย
หรือหลักความเชื่อ 10 ประการ เป็นหลักตัดสิน คือ

1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา


กลามสูตรนี้ป็นหลักฐานในการแสดงฐานะอันทรงพระปรีชาญาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะกาลนั้นด้วย เพราะเป็นเหตุที่ต้องยอมรับนำไปปฎิบัติตาม เพราะรู้โดยปรมัตถ์ธรรมแล้วโดยดุษฏีว่า ถูกต้องเป็นเลิศที่สุด ไม่มีผู้ใดเทียบเทียมได้

แต่ไม่ได้มีไว้ให้ผู้ใด นำไปใช้ประกอบในมานะทิฎฐิของตนเอง อย่างไม่รู้จักมานะธรรม(คุณธรรม) เพื่อโต้แย้งความเชื่ออื่นๆ ตามตรรกะความคิดของตน
อันที่จริงแล้ว กาลามสูตรนี้มีไว้เป็นรากฐาน เพื่อสั่งสอนให้รู้จัก การวางใจให้เป็นกลาง กับสิ่งต่างๆ และรู้จักใช้สติปัญญาคิดพิจารณาให้แยบคาย ในการตัดสินใจเพียงเท่านั้น


ส่วนข้อมูลรายละเอียด หากตั้งใจคงพอมองออก อยู่แล้วว่า ต้องอาศัยรายละเอียดเพิ่มเติมมาประกอบการพิจารณาด้วย แต่ที่พระองค์ตรัส ในกาลามสูตรคือหัวข้อใหญ่ รายละเอียดต่อไป ต่อหามาพิจารณาใคร่ครวญ ประมวลผล จำแนกแบ่งแยกชนิดด้วยสติปัญญาของตนเอง หรือ ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือหมู่คณะก็ได้ นี่จึงเป็นความคิดที่ถูกต้องตามหลักสัมมาทิฎฐิ เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความรู้ยิ่ง ไม่ใช่เพื่อความไม่รู้ และมีใจสำรวมในความรักใคร่สมัครสมานกลมเกลียว ลงเอยกันด้วยดี ไม่ใช่เพื่อการแตกความสามัคคี ราวฉานอื่นใด

ซึ่งสามารถใช้ในการตัดสินคดีความได้ไม่สิ้น



ตัวอย่าง
ธรรมกำเนิด๑๐นี่คือผลจากการพิจารณาอย่าแยบคาย ซึ่งได้มาจากองค์คุณของกลามสูตร ด้วยตนเอง นี่ก็เป็นจุดของการเริ่มพิจารณาแยกแยะใคร่ครวญ ซึ่งผู้ใดก็สามารถพิจารณาให้ถี่ถ้วนกว่านี้ได้ในตามแบบจริตธรรมของตนเอง

"ธรรมกำเนิด๑๐ นี้ในอดีตเราใช้เวลาพิจารณาแล้วบัญญัติสำเร็จในเวลา ๓-๕ นาที ถ้าท่านคิดว่าเป็นอารมณ์บัญญัติ ตรวจเนื้อความเถิดว่า เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการอันใด"

"พึงพิจารณาให้ละเอียดกว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีก ยังอดีตธรรมนี้ที่เราได้พิจารณาเป็นรากแก้ว เพื่อความเป็นไปของความอยู่รอด จวบจนตลอดอายุพระพุทธศาสนา เพราะเราเป็นผู้รู้อำนาจของคัมภีร์อักขระพยัญชนะมาร*โดยอัศจรรย์ อันเป็นคำสอน*มิจฉาทิฐิ* ของพวกเดียรถีย์"

{O} ว่าด้วยกำเนิดบุคคล ๑๐ จำพวก หลังจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน{O}

จำพวกที่ ๑ มีโอกาสที่จะได้รับรู้มีความเข้าใจ และปราถนาโดยเห็นว่า " ในรูปลักษณะต่างๆ ในสิ่งก่อสร้างในพระปฏิมาใดก็ตามที่ปรากฎขึ้นมาจนถึงในยุคปัจจุบันนั้น เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า แต่ไม่ปฏิบัติตามพระพุทธวจนะ ในพระปัจฉิมโอวาทโดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


จำพวกที่ ๒ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " พระธรรมคำสั่งสอนทั้งหมด ที่ปรากฎขึ้นมาจนถึงในยุคปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าตามพระพุทธวจนะ ตามพระปัจฉิมโอวาทโดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


จำพวกที่ ๓ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " ทั้งรูปพระปฏิมาและพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ควรอยู่เคียงคู่กันตลอดไปโดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


จำพวกที่ ๔ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " จะมีพระธรรมปฏิมาใดใดก็ตาม พระธรรมคำสั่งสอนใดใดก็ตาม แม้จะมีแค่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


จำพวกที่ ๕ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " ถึงแม้จะมีหรือไม่มีสิ่งใดก็ตาม จะเกิดธรรมอันประเสริฐ มีคุณวิเศษเพียงใดก็ตาม ที่ปรากฎในพระพุทธศาสนานี้ ก็หาได้มีความหมายหรือมีประโยชน์ ในการใดใดแก่ตนและพวกพ้อง

จำพวกที่ ๖ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " ยังลังเลสงสัยอยู่เมื่อได้ยิน และได้พบเห็นทุกๆสิ่งที่ปรากฎ ในพระพุทธศาสนา และยังก็ลังเลสงสัยอยู่อย่างนั้น โดยตลอดโดยไม่มีความเข้าใจว่าสิ่งใดที่มีประโยชน์ และสิ่งใดไม่มีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


จำพวกที่ ๗ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " สมควรเกลียดชัง กล่าวให้ร้ายป้ายสีและจ้องจะทำลาย อยู่เสมอๆในทุกๆสิ่งทุกๆอย่างที่ปรากฎ ในพระพุทธศาสนาเมื่อมีโอกาส ด้วยเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


" จำพวกที่ ๘ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " เห็นดีเห็นงามตามบางสิ่งบางอย่าง ในพระพุทธศาสนาและนำเอาไปประพฤติใช้ โดยเห็นว่าเป็นประโยชน์ แก่ตนและพวกพ้อง


จำพวกที่ ๙ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนา โดยเห็นว่า " ทุกสิ่งทุกอย่างในพระพุทธศาสนา ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสำนัก และในลัทธิ ในศาสนาที่ตนเองนับถืออยู่แล้ว โดยถือเอาเป็นของตน ด้วยเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


จำพวกที่ ๑๐ ไม่มีโอกาสที่จะได้รับรู้ด้วยห่างไกลตามภาวะกรรมบันดาล ทั้งไม่มีความเข้าใจและความปราถนา โดยการใดๆเลยในพระพุทธศาสนา ด้วยขาดการศึกษา,การเรียนรู้,การเจริญภาวนา,การพิจารณาไตร่ตรอง จึงไม่ก่อเกิดประโยชน์ใดใด แก่ตนและพวกพ้อง


สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่