สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี
(credit : wikipedia.org)
หมดควันหลงวันอุ่นเครื่องทีมชาติไทยไปเรียบร้อยทั้งสองชุด บวกกับวันนี้เป็นวันว่าง ๆ สำหรับออฟฟิศผมเลย เลยถือโอกาสเสริฟบทความร้อน ๆ ให้ชาวศุภชลาศัยได้อ่านกันเล่น ๆ แก้เซ็งครับ
โดยวันนี้ผมจิ้มไปที่ทีมระดับ "
ตำนาน" อีกทีมนึงของประเทศไทย นั่นคือ ทีม
สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เมืองไทยประกันภัย เอฟซี เรามาดูประวัติคร่าว ๆ ของทีมระดับตำนานทีมนี้กันครับ
แรกเริ่มเดิมที
สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เมืองไทยประกันภัย เอฟซี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2510 ในนาม
สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมี
พลตรี ประจวบ สุนทรางกูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นนายกสโมสร และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุนกีฬาฟุตบอลของการท่าเรือแห่งประเทศไทยอีกด้วย
พลเอก ประจวบ สุนทรากูร : ผู้ให้กำเนิดสโมสฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย
(credit : senate.go.th)
โดยหากดูตามข้อมูลเท่าที่ผมทราบมา ผมขอสรุปรวม ๆ เลยละกันนะครับ ว่าได้แชมป์ในระดับ ถ้วยพระราชทาน ง, ค, ข และ ก กี่ครั้ง โดยจะนับทั้งที่ส่งในชื่อของ "
สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย" และที่ (น่าจะ) ไปรวมกับสโมสรอื่น อาทิ การท่าเรือ-ตำรวจ, การท่าเรือ-ธนาคารไทยพณิชน์ ฯลฯ นะครับ
ระดับถ้วยพระราชทาน ง : แชมป์ปี พ.ศ. 2510, 2511, 2512, 2514 (ธนาคารกรุงเทพ-การท่าเรือฯ)
ระดับถ้วยพระราชทาน ค: แชมป์ปี พ.ศ. 2512, 2517, 2520, 2521
ระดับถ้วยพระราชทาน ข: แชมป์ปี พ.ศ. 2513, 2515 (ทหารอากาศ-การท่าเรือ), 2519, 2522, 2524 (การเท่าเรือ-ตำรวจ), 2535
ระดับถ้วยพระราชทาน ก (เดิม): แชมป์ปี พ.ศ. 2511, 2515, 2517, 2519, 2521, 2522, 2528, 2533 (
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2538 เทียบเท่าไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกในปัจจุบัน)
ฟุตบอลถ้วยควีนส์คัพ : แชมป์ปี 2520 (แชมป์ร่วม), 2521, 2522 (แชมป์ร่วม), 2523, 2530, 2536 และ รองแชมป์ปี 2527
สิริรวม "
สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย" ในยุคเริ่มแรก เถลิงบัลลังก์แชมป์ทุกระดับ ทุกรายการไป 28 ครั้ง นับเป็นความสำเร็จที่ยอดเยี่ยมสำหรับสโมสรแห่งนี้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 เมื่อสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้เปลี่ยนระบบการแข่งขันฟุตบอลถ้วยสูงสุดของประเทศ เป็นระบบอาชีพโดยให้ทีมในระดับถ้วย ก แต่ละสโมสรเป็นทีมยืนในปี พ.ศ. 2534 โดยให้สโมสรที่ได้สิทธิ์เล่นในระบบอาชีพ (เซมิโปรลีก)
ต้องมีเพียงทีมเดียวเท่านั้น ส่งผลให้สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย ต้องยกเลิกการส่งทีมฟุตบอลในทุกระดับเพื่อเรื่องทีมเข้าแข่งขันหนึ่งเดียวเท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2534 ฝ่ายจัดการแข่งขันไทยแลนด์เซมิโปรลีกได้คัดเลือกทีมที่มีความพร้อมทั้งหมด 6 ทีม โดย
สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย ก็เป็น 1 ใน 6 ทีมนั้น อันประกอบด้วย สโมสรทหารอากาศ, สโมสรทหารบก, สโมสรตำรวจ, สโมสรธนาคารกสิกรไทย, สโมสรราชประชา ใช้สนามแข่งขันคือ สนามศุภชลาศัย และ สนามธูปะเตมีย์ โดยเป็นการแข่งขันแบบกันหมด ทีมละ 2 นัด รวมเป็น 10 นัด โดยในปีนี้ การท่าเรือก็ได้ให้กำเนิดยอดนักฟุตบอลอย่าง
อรรถพล บุษปาคม ผู้ที่เป็นดาวซัลโวในการแข่งขันฤดูกาลนั้น โดยการยิงไป 7 ประตู (จาก 15 ประตูที่การท่าเรือทำได้) และจบฤดูกาลด้วยการเป็น "
แชมป์เซมิโปรลีก ครั้งที่ 1" และเป็นแชมป์แรกของการเล่นในระบบอาชีพของสโมสรอีกด้วย
อรรถพล บุษปาคม : ดาวซัลโวเซมิโปรลีก 2534
(credit : สารานุกรมฟุตบอลไทย)
ตารางคะแนนเซมิโปรลีก ครั้งที่ 1
(credit : สารานุกรมฟุตบอลไทย)
แต่ก็แอบงงข้อมูลอยู่ เพราะ ต่อมา ปี พ.ศ. 2535 พวกเขาไปเป็น "
แชมป์ถ้วยพระราชทาน ข" ซึ่งตอนปี 2534 ได้ยุบเหลือทีมเดียวเลย ผมเลยไม่เข้าใจระบบการจัดการแข่งขันแต่ก่อน รวมถึง ข้อมูล เซมิโปรลีกครั้งถัด ๆ ไป เลยขอยกเรื่องนี้ไว้ก่อนละกันนะครับ และขอเริ่มบทใหม่ในช่วง "
ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก พ.ศ. 2539" เลยนะครับ
ในปี พ.ศ. 2539 เมื่อลีกสูงสุดของประเทศ เปลี่ยนจาก
ถ้วยพระราชทาน ก มาเป็น
ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ในชื่ออย่างเป็นทางการว่า "
จอห์นนีวอล์กเกอร์ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก" สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย ก็ได้เข้าร่วมทำการฟาดแข้งในลีกสูงสุดครั้งนี้เช่นกัน แต่จบฤดูกาลที่อันดับ 11 ในฤดูกาลนั้น ห่างโซนตกชั้นแค่ 2 อันดับ นับว่าเป็นผลงานที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ในฤดูกาลนี้
ในปี พ.ศ. 2540 เป็นฤดูกาลที่พวกเขาสร้างสถิติเล็ก ๆ ไว้ คือ เป็นทีมเหย้าที่ชนะสูงสุด โดยการเอาชนะทีม ทหารบก ไปด้วยสกอร์ 5-1 และจนด้วยอันดับที่ 4
ในปี พ.ศ. 2541 พวกเขาก็ให้กำเนิดดาวซัลโวประจำฤดูกาลอย่าง
รณชัย สยมชัย ที่ซัดไป 23 ประตู จากการแข่งขัน 22 นัด และจบฤดูกาลที่อันดับ 4 เหมือนปีที่แล้ว
"จอมล้นลาน" รณชัย สยมชัย
(credit : youtube.com)
ในปี พ.ศ. 2542 พวกเขาก็ "
เกือบที่" จะ "
คว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก" มาครองเป็นสมัยแรกได้สำเร็จ จากการที่มีคะแนนเท่ากับ ทหารอากาศ, บีอีซี-เทโรศาสน และ โอสถสภา แต่ลูกได้เสียเป็นอันดับ 2 รองจากทหารอากาศเพียงแค่ 1 ประตูเท่านั้น พลาดโอกาสคว้าแชมป์ไปอย่างน่าเสียดาย ทำได้แค่อันดับ 2 ในฤดูกาลนี้ อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็สร้างสถิติทีมเยือนชนะสูงสุด เมื่อบุกไปถล่ม กทม. 0-3, ไดสตาร์กรุงเทพ 0-3 และ ธนาคารกรุงไทย 0-3
ในปี พ.ศ. 2543 พวกเขาจบอันดับที่ 5 อยู่กลางตาราง และ ปี พ.ศ. 2544 (ฤดูกาล 2544/2545) จบอันดับที่ 6 ไม่ได้มีอะไรโดดเด่นใน 2 ปีนี้
ในปี พ.ศ. 2545 (ฤดูกาลที่ 2545/2546) พวกเขาสามารถจบอันดับที่ 3 และให้กำเนินดาวยิงอีกหนึ่งคนมาประดับวงการฟุตบอลไทย คือ "
โจ้ 5 หลา"
ศรายุทธ ชัยคำดี โดยกดไป 12 ประตู จาก 18 นัด คว้ารางวัลดาวซัลโวไปในฤดูกาลนี้ รวมถึงสถิติทีมเหย้าชนะสูงสุด โดยการเปิดบ้านถล่ม พนักงานยาสูบ ไป 4-0 อีกด้วย
"
โจ้ 5 หลา"
ศรายุทธ ชัยคำดี
(credit : siamsport.co.th)
ในปี พ.ศ. 2546 (ฤดูกาลที่ 2546/2547) พวกเขาทำได้แค่อันดับที่ 5 และในปี พ.ศ. 2547 (ฤดูกาลที่ 2547/2548) จบได้เพียงอันดับที่ 4 แต่
ศรายุทธ ชัยคำดี ก็ยังได้ดาวซัลโวร่วมกับ ศุภกิจ จินะใจ ที่ 10 ประตู
ในปี พ.ศ. 2549 พวกเขาก็ยังทำผลงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร จบที่อันดับ 7 ของตาราง และในปีต่อมา พ.ศ. 2550 พวกเขาต้อง "
ดิ้นรน" หนีตกชั้น เมื่อจบที่อันดับ 12 ห่างโซนตกชั้นแค่ 1 คะแนนเท่านั้น รอดพ้นการตกชั้นไปอย่างเฉียดฉิว
ในปี พ.ศ. 2551 ก็ยังทำผลงานได้น่าผิดหวัง เมื่อพวกเขาต้องดิ้นรนหนีตกชั้นอีกครั้ง และจบอันดับที่ 13 ห่างโซนตกชั้นเพียง 1 คะแนนเท่าปีก่อน
ในปี พ.ศ. 2552 จะเรียกย่อ ๆ ว่า "
ปีปฏิวัติระบบฟุตบอลลีกอาชีพไทย" ก็ว่าได้ เมื่อ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ปรับปรุงมาตรฐานของทุกสโมสรภายในประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานของ AFC พวกเขาก็เปลี่ยนชื่อจาก "
สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย" มาเป็น "
การท่าเรือไทย เอฟซี" โดยใช้
สนามกีฬา PAT เป็นรังเหย้า อีกทั้งได้
พิเชฐ มั่นคง มาเป็นประธานสโมสร และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 6
สโมสกรการท่าเรือไทย เอฟซี
(credit : matichon.co.th)
พิเชฐ มั่นคง
(credit : siamsport.co.th)
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ พวกเขาก็ได้ครองโทรฟี่
มูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2552 เป็นสมัยแรก โดยการยิงจุดโทษเอาชนะ
บีอีซี-เทโรศาสน ไปได้ ด้วยสกอร์ 5-4 คว้าแชมป์รายการดังกล่าวมาครองได้สำเร็จ โดยชุดนั้นมียอดกุนซืออย่าง "
เสือเตี้ย"
สะสม พบประเสริฐ พร้อมกับผู้เล่นอย่าง พิพัฒน์ ต้นกันยา, จีระวัฒน์ มัครมย์, เอกชัย สำเร, อิทธิพล นนท์ศิริ, อารีฟ เปาะจิ, มูดูรู มอยเซ่, เอ็ดวัลโด้ เปอไรร่า, มาริโอ ดา ซิลวา และอื่น ๆ อีกมากมาย
สะสม พบประเสริฐ
(credit : temkhor.com)
ในปี พ.ศ. 2553 จบฤดูกาลด้วยอันดับ 4 แต่พวกเขาก็สามารถคว้าแชมป์ "
โตโยต้าลีกคัพ 2553" มาครองได้สำเร็จ ด้วยการเอาชนะ บุรีรัมย์ พีอีเอ ที่สนามศุภชลาศัย ไปด้วยสกอร์ 2-1 คว้าโทรฟี่รายการนี้มาครอง พร้อมเงินรางวัล 5 ล้านบาท บวกกับได้ไปแข่งในรายการโตโยต้า พรีเมียร์คัพ อีกด้วย
แชมป์โตโยต้าลีกคัพ 2553
(credit : siamsport.co.th)
ในปี พ.ศ. 2554 จบฤดูกาลด้วยอันดับ 8 แต่ก็ได้แชมป์
โตโยต้า พรีเมียร์ คัพ มาครองได้สำเร็จ ด้วยการเอาชนะ โชนัน เบลมาเร่ จากประเทศญี่ปุ่น ไปด้วยสกอร์ 2-1
ในปี พ.ศ. 2555 โดย
การท่าเรือ เอฟซี ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น
พอร์ต เอฟซี แต่ในสัปดาห์ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น
การท่าเรือ เอฟซี เหมือนเดิม และมีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีม จาก
ปิยกุล แก้วน้ำค้าง ที่ลาออก มาให้ อ
ดุลย์ ลือกิจนา มาดูแลชั่วคราว ก่อนที่จะแต่งตั้ง
วรกร วิจารณ์ณรงค์ และก็เป็นฤดูกาลที่ฝันร้ายที่สุดนับตั้งแต่เล่นในระดับลีกสูงสุดของประเทศมา เมื่อจบฤดูกาลด้วยการ "
ตกชั้น" ไปเล่นในระดับดิวิชั่น 1
การตกชั้นครั้งแรกในรอบ 16 ปี ของการท่าเรือ เอฟซี
(credit : sport.truelife.com)
ในปี พ.ศ. 2556 กับลีกระดับ
ยามาฮ่า ลีกวัน 2556 พวกเขาได้เปลี่ยนชื่อจาก "
สโมสรการท่าเรือ เอฟซี" มาเป็น "
สโมสรฟุตบอลสิงห์ท่าเรือ เอฟซี" พร้อมเปลี่ยนทีมงานสต๊าฟโค้ชทั้งหมด และได้ พล.ต.ท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง มาเป็นประธานกิติมศักดิ์ และพวกเขาสามารถที่จะกลับขึ้นสู่
ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ได้อีกครั้ง ด้วยการจบอันดับที่ 2 ภายใต้การคุมทีมของ
ดุสิต เฉลิมแสน และ การให้กำเนินดาวซัลโวประจำลีก อย่าง
เลอันโดร โอลิเวียร่า ที่กดไปคนเดียว 24 ประตู รั้งดาวซัลโว ยามาฮ่า ลีกวัน ฤดูกาลนั้น
"คิงเลอันโดร" เลอันโดร โอลิเวียร่า
(credit : bgfcwebboard.com)
ในปี พ.ศ. 2557 พวกเขาทำผลงานได้ไม่ดีนัก เมื่อจบที่อันดับ 13 และพวกเขาถูกหักคนละ 9 คะแนน
เนื่องจากเหตุทะเลาะวิวาทกันของแฟนบอล ระหว่างแมตซ์
เมืองทอง ยูไนเต็ด กับ
สิงห์ท่าเรือ และในช่วงจบฤดูกาลนั้น ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง จาก
สิงห์ท่าเรือ เป็น
การท่าเรือ เอฟซี โดยตั้ง บริษัทการท่าเรือ เอฟซี จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้ามาบริหารจัดการ โดยมี
พล.ร.อ. อภิชาติ เพ็งศรีทอง เป็นประธานสโมสร พร้อมด้วย
พลเรือโท ชัชรินทร์ ชูศรี เป็นผู้จัดการทีม และ
สมชาย ชวยบุญชุม เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน
สมชาย ชวยบุญชุม
(credit : siamsport.co.th)
** ต่อหน้า 2 ครับ **
การท่าเรือ เอฟซี : ทีมในตำนานที่ยังอยู่ในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก
สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี
(credit : wikipedia.org)
หมดควันหลงวันอุ่นเครื่องทีมชาติไทยไปเรียบร้อยทั้งสองชุด บวกกับวันนี้เป็นวันว่าง ๆ สำหรับออฟฟิศผมเลย เลยถือโอกาสเสริฟบทความร้อน ๆ ให้ชาวศุภชลาศัยได้อ่านกันเล่น ๆ แก้เซ็งครับ
โดยวันนี้ผมจิ้มไปที่ทีมระดับ "ตำนาน" อีกทีมนึงของประเทศไทย นั่นคือ ทีมสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เมืองไทยประกันภัย เอฟซี เรามาดูประวัติคร่าว ๆ ของทีมระดับตำนานทีมนี้กันครับ
แรกเริ่มเดิมที สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เมืองไทยประกันภัย เอฟซี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2510 ในนาม สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมี พลตรี ประจวบ สุนทรางกูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นนายกสโมสร และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุนกีฬาฟุตบอลของการท่าเรือแห่งประเทศไทยอีกด้วย
พลเอก ประจวบ สุนทรากูร : ผู้ให้กำเนิดสโมสฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย
(credit : senate.go.th)
โดยหากดูตามข้อมูลเท่าที่ผมทราบมา ผมขอสรุปรวม ๆ เลยละกันนะครับ ว่าได้แชมป์ในระดับ ถ้วยพระราชทาน ง, ค, ข และ ก กี่ครั้ง โดยจะนับทั้งที่ส่งในชื่อของ "สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย" และที่ (น่าจะ) ไปรวมกับสโมสรอื่น อาทิ การท่าเรือ-ตำรวจ, การท่าเรือ-ธนาคารไทยพณิชน์ ฯลฯ นะครับ
ระดับถ้วยพระราชทาน ง : แชมป์ปี พ.ศ. 2510, 2511, 2512, 2514 (ธนาคารกรุงเทพ-การท่าเรือฯ)
ระดับถ้วยพระราชทาน ค: แชมป์ปี พ.ศ. 2512, 2517, 2520, 2521
ระดับถ้วยพระราชทาน ข: แชมป์ปี พ.ศ. 2513, 2515 (ทหารอากาศ-การท่าเรือ), 2519, 2522, 2524 (การเท่าเรือ-ตำรวจ), 2535
ระดับถ้วยพระราชทาน ก (เดิม): แชมป์ปี พ.ศ. 2511, 2515, 2517, 2519, 2521, 2522, 2528, 2533 (ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2538 เทียบเท่าไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกในปัจจุบัน)
ฟุตบอลถ้วยควีนส์คัพ : แชมป์ปี 2520 (แชมป์ร่วม), 2521, 2522 (แชมป์ร่วม), 2523, 2530, 2536 และ รองแชมป์ปี 2527
สิริรวม "สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย" ในยุคเริ่มแรก เถลิงบัลลังก์แชมป์ทุกระดับ ทุกรายการไป 28 ครั้ง นับเป็นความสำเร็จที่ยอดเยี่ยมสำหรับสโมสรแห่งนี้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 เมื่อสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้เปลี่ยนระบบการแข่งขันฟุตบอลถ้วยสูงสุดของประเทศ เป็นระบบอาชีพโดยให้ทีมในระดับถ้วย ก แต่ละสโมสรเป็นทีมยืนในปี พ.ศ. 2534 โดยให้สโมสรที่ได้สิทธิ์เล่นในระบบอาชีพ (เซมิโปรลีก) ต้องมีเพียงทีมเดียวเท่านั้น ส่งผลให้สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย ต้องยกเลิกการส่งทีมฟุตบอลในทุกระดับเพื่อเรื่องทีมเข้าแข่งขันหนึ่งเดียวเท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2534 ฝ่ายจัดการแข่งขันไทยแลนด์เซมิโปรลีกได้คัดเลือกทีมที่มีความพร้อมทั้งหมด 6 ทีม โดย สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย ก็เป็น 1 ใน 6 ทีมนั้น อันประกอบด้วย สโมสรทหารอากาศ, สโมสรทหารบก, สโมสรตำรวจ, สโมสรธนาคารกสิกรไทย, สโมสรราชประชา ใช้สนามแข่งขันคือ สนามศุภชลาศัย และ สนามธูปะเตมีย์ โดยเป็นการแข่งขันแบบกันหมด ทีมละ 2 นัด รวมเป็น 10 นัด โดยในปีนี้ การท่าเรือก็ได้ให้กำเนิดยอดนักฟุตบอลอย่าง อรรถพล บุษปาคม ผู้ที่เป็นดาวซัลโวในการแข่งขันฤดูกาลนั้น โดยการยิงไป 7 ประตู (จาก 15 ประตูที่การท่าเรือทำได้) และจบฤดูกาลด้วยการเป็น "แชมป์เซมิโปรลีก ครั้งที่ 1" และเป็นแชมป์แรกของการเล่นในระบบอาชีพของสโมสรอีกด้วย
อรรถพล บุษปาคม : ดาวซัลโวเซมิโปรลีก 2534
(credit : สารานุกรมฟุตบอลไทย)
ตารางคะแนนเซมิโปรลีก ครั้งที่ 1
(credit : สารานุกรมฟุตบอลไทย)
แต่ก็แอบงงข้อมูลอยู่ เพราะ ต่อมา ปี พ.ศ. 2535 พวกเขาไปเป็น "แชมป์ถ้วยพระราชทาน ข" ซึ่งตอนปี 2534 ได้ยุบเหลือทีมเดียวเลย ผมเลยไม่เข้าใจระบบการจัดการแข่งขันแต่ก่อน รวมถึง ข้อมูล เซมิโปรลีกครั้งถัด ๆ ไป เลยขอยกเรื่องนี้ไว้ก่อนละกันนะครับ และขอเริ่มบทใหม่ในช่วง "ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก พ.ศ. 2539" เลยนะครับ
ในปี พ.ศ. 2539 เมื่อลีกสูงสุดของประเทศ เปลี่ยนจาก ถ้วยพระราชทาน ก มาเป็น ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ในชื่ออย่างเป็นทางการว่า "จอห์นนีวอล์กเกอร์ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก" สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย ก็ได้เข้าร่วมทำการฟาดแข้งในลีกสูงสุดครั้งนี้เช่นกัน แต่จบฤดูกาลที่อันดับ 11 ในฤดูกาลนั้น ห่างโซนตกชั้นแค่ 2 อันดับ นับว่าเป็นผลงานที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ในฤดูกาลนี้
ในปี พ.ศ. 2540 เป็นฤดูกาลที่พวกเขาสร้างสถิติเล็ก ๆ ไว้ คือ เป็นทีมเหย้าที่ชนะสูงสุด โดยการเอาชนะทีม ทหารบก ไปด้วยสกอร์ 5-1 และจนด้วยอันดับที่ 4
ในปี พ.ศ. 2541 พวกเขาก็ให้กำเนิดดาวซัลโวประจำฤดูกาลอย่าง รณชัย สยมชัย ที่ซัดไป 23 ประตู จากการแข่งขัน 22 นัด และจบฤดูกาลที่อันดับ 4 เหมือนปีที่แล้ว
"จอมล้นลาน" รณชัย สยมชัย
(credit : youtube.com)
ในปี พ.ศ. 2542 พวกเขาก็ "เกือบที่" จะ "คว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก" มาครองเป็นสมัยแรกได้สำเร็จ จากการที่มีคะแนนเท่ากับ ทหารอากาศ, บีอีซี-เทโรศาสน และ โอสถสภา แต่ลูกได้เสียเป็นอันดับ 2 รองจากทหารอากาศเพียงแค่ 1 ประตูเท่านั้น พลาดโอกาสคว้าแชมป์ไปอย่างน่าเสียดาย ทำได้แค่อันดับ 2 ในฤดูกาลนี้ อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็สร้างสถิติทีมเยือนชนะสูงสุด เมื่อบุกไปถล่ม กทม. 0-3, ไดสตาร์กรุงเทพ 0-3 และ ธนาคารกรุงไทย 0-3
ในปี พ.ศ. 2543 พวกเขาจบอันดับที่ 5 อยู่กลางตาราง และ ปี พ.ศ. 2544 (ฤดูกาล 2544/2545) จบอันดับที่ 6 ไม่ได้มีอะไรโดดเด่นใน 2 ปีนี้
ในปี พ.ศ. 2545 (ฤดูกาลที่ 2545/2546) พวกเขาสามารถจบอันดับที่ 3 และให้กำเนินดาวยิงอีกหนึ่งคนมาประดับวงการฟุตบอลไทย คือ "โจ้ 5 หลา" ศรายุทธ ชัยคำดี โดยกดไป 12 ประตู จาก 18 นัด คว้ารางวัลดาวซัลโวไปในฤดูกาลนี้ รวมถึงสถิติทีมเหย้าชนะสูงสุด โดยการเปิดบ้านถล่ม พนักงานยาสูบ ไป 4-0 อีกด้วย
"โจ้ 5 หลา" ศรายุทธ ชัยคำดี
(credit : siamsport.co.th)
ในปี พ.ศ. 2546 (ฤดูกาลที่ 2546/2547) พวกเขาทำได้แค่อันดับที่ 5 และในปี พ.ศ. 2547 (ฤดูกาลที่ 2547/2548) จบได้เพียงอันดับที่ 4 แต่ ศรายุทธ ชัยคำดี ก็ยังได้ดาวซัลโวร่วมกับ ศุภกิจ จินะใจ ที่ 10 ประตู
ในปี พ.ศ. 2549 พวกเขาก็ยังทำผลงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร จบที่อันดับ 7 ของตาราง และในปีต่อมา พ.ศ. 2550 พวกเขาต้อง "ดิ้นรน" หนีตกชั้น เมื่อจบที่อันดับ 12 ห่างโซนตกชั้นแค่ 1 คะแนนเท่านั้น รอดพ้นการตกชั้นไปอย่างเฉียดฉิว
ในปี พ.ศ. 2551 ก็ยังทำผลงานได้น่าผิดหวัง เมื่อพวกเขาต้องดิ้นรนหนีตกชั้นอีกครั้ง และจบอันดับที่ 13 ห่างโซนตกชั้นเพียง 1 คะแนนเท่าปีก่อน
ในปี พ.ศ. 2552 จะเรียกย่อ ๆ ว่า "ปีปฏิวัติระบบฟุตบอลลีกอาชีพไทย" ก็ว่าได้ เมื่อ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ปรับปรุงมาตรฐานของทุกสโมสรภายในประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานของ AFC พวกเขาก็เปลี่ยนชื่อจาก "สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย" มาเป็น "การท่าเรือไทย เอฟซี" โดยใช้สนามกีฬา PAT เป็นรังเหย้า อีกทั้งได้ พิเชฐ มั่นคง มาเป็นประธานสโมสร และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 6
สโมสกรการท่าเรือไทย เอฟซี
(credit : matichon.co.th)
พิเชฐ มั่นคง
(credit : siamsport.co.th)
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ พวกเขาก็ได้ครองโทรฟี่ มูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2552 เป็นสมัยแรก โดยการยิงจุดโทษเอาชนะ บีอีซี-เทโรศาสน ไปได้ ด้วยสกอร์ 5-4 คว้าแชมป์รายการดังกล่าวมาครองได้สำเร็จ โดยชุดนั้นมียอดกุนซืออย่าง "เสือเตี้ย" สะสม พบประเสริฐ พร้อมกับผู้เล่นอย่าง พิพัฒน์ ต้นกันยา, จีระวัฒน์ มัครมย์, เอกชัย สำเร, อิทธิพล นนท์ศิริ, อารีฟ เปาะจิ, มูดูรู มอยเซ่, เอ็ดวัลโด้ เปอไรร่า, มาริโอ ดา ซิลวา และอื่น ๆ อีกมากมาย
สะสม พบประเสริฐ
(credit : temkhor.com)
ในปี พ.ศ. 2553 จบฤดูกาลด้วยอันดับ 4 แต่พวกเขาก็สามารถคว้าแชมป์ "โตโยต้าลีกคัพ 2553" มาครองได้สำเร็จ ด้วยการเอาชนะ บุรีรัมย์ พีอีเอ ที่สนามศุภชลาศัย ไปด้วยสกอร์ 2-1 คว้าโทรฟี่รายการนี้มาครอง พร้อมเงินรางวัล 5 ล้านบาท บวกกับได้ไปแข่งในรายการโตโยต้า พรีเมียร์คัพ อีกด้วย
แชมป์โตโยต้าลีกคัพ 2553
(credit : siamsport.co.th)
ในปี พ.ศ. 2554 จบฤดูกาลด้วยอันดับ 8 แต่ก็ได้แชมป์ โตโยต้า พรีเมียร์ คัพ มาครองได้สำเร็จ ด้วยการเอาชนะ โชนัน เบลมาเร่ จากประเทศญี่ปุ่น ไปด้วยสกอร์ 2-1
ในปี พ.ศ. 2555 โดยการท่าเรือ เอฟซี ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น พอร์ต เอฟซี แต่ในสัปดาห์ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น การท่าเรือ เอฟซี เหมือนเดิม และมีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีม จาก ปิยกุล แก้วน้ำค้าง ที่ลาออก มาให้ อดุลย์ ลือกิจนา มาดูแลชั่วคราว ก่อนที่จะแต่งตั้ง วรกร วิจารณ์ณรงค์ และก็เป็นฤดูกาลที่ฝันร้ายที่สุดนับตั้งแต่เล่นในระดับลีกสูงสุดของประเทศมา เมื่อจบฤดูกาลด้วยการ "ตกชั้น" ไปเล่นในระดับดิวิชั่น 1
การตกชั้นครั้งแรกในรอบ 16 ปี ของการท่าเรือ เอฟซี
(credit : sport.truelife.com)
ในปี พ.ศ. 2556 กับลีกระดับ ยามาฮ่า ลีกวัน 2556 พวกเขาได้เปลี่ยนชื่อจาก "สโมสรการท่าเรือ เอฟซี" มาเป็น "สโมสรฟุตบอลสิงห์ท่าเรือ เอฟซี" พร้อมเปลี่ยนทีมงานสต๊าฟโค้ชทั้งหมด และได้ พล.ต.ท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง มาเป็นประธานกิติมศักดิ์ และพวกเขาสามารถที่จะกลับขึ้นสู่ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ได้อีกครั้ง ด้วยการจบอันดับที่ 2 ภายใต้การคุมทีมของ ดุสิต เฉลิมแสน และ การให้กำเนินดาวซัลโวประจำลีก อย่าง เลอันโดร โอลิเวียร่า ที่กดไปคนเดียว 24 ประตู รั้งดาวซัลโว ยามาฮ่า ลีกวัน ฤดูกาลนั้น
"คิงเลอันโดร" เลอันโดร โอลิเวียร่า
(credit : bgfcwebboard.com)
ในปี พ.ศ. 2557 พวกเขาทำผลงานได้ไม่ดีนัก เมื่อจบที่อันดับ 13 และพวกเขาถูกหักคนละ 9 คะแนน เนื่องจากเหตุทะเลาะวิวาทกันของแฟนบอล ระหว่างแมตซ์ เมืองทอง ยูไนเต็ด กับ สิงห์ท่าเรือ และในช่วงจบฤดูกาลนั้น ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง จาก สิงห์ท่าเรือ เป็น การท่าเรือ เอฟซี โดยตั้ง บริษัทการท่าเรือ เอฟซี จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้ามาบริหารจัดการ โดยมี พล.ร.อ. อภิชาติ เพ็งศรีทอง เป็นประธานสโมสร พร้อมด้วย พลเรือโท ชัชรินทร์ ชูศรี เป็นผู้จัดการทีม และ สมชาย ชวยบุญชุม เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน
สมชาย ชวยบุญชุม
(credit : siamsport.co.th)
** ต่อหน้า 2 ครับ **