ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในแง่มุมที่น่าสนใจ

(สรุปเนื้อหามาจากวารสารดักแด้แก้ดักดาน ของชมรมพัฒนาชีวิต จังหวัดลำปาง)

เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นชนเผ่ามงโกล ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชนเผ่ามงโกลอาศัยอยู่รอบๆทะเลสาบไบคาลในไซบีเรีย แต่เดิมทีทะเลสาบไบคาลเป็นทะเลนำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีทุ่งหญ้าอันอุดมสมบูรณ์อยู่โดยรอบ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่างๆ ชนเผ่ามงโกลแต่เดิมเป็นเผ่าที่เร่ร่อนไล่จับสัตว์บก สัตว์น้ำ เป็นอาหาร ได้มาตั้งเพิงพักอยู่รอบๆทะเลสาบไบคาล ดังปรากฏหลักฐานที่ขุดค้นได้และจัดนำมาแสดงในพิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์ ของชนเผ่ามงโกล ที่ริมทะเลสาบไบคาลในไซบีเรีย มีโครงกระดูกและอาวุธที่ทำด้วยหิน เครื่องมีเครื่องจับสัตว์บกสัตว์น้ำ และเรือขุดทำด้วยท่อนซุง                   

ครั้งเมื่อความหนาวปกคลุมถิ่นนี้มากขึ้น บรรดาสัตว์ต่างๆก็หนีความหนาวลงมาหาอากาศอุ่นทางใต้ ชนเผ่ามงโกลก็ติดตามไล่ล่าสัตว์เหล่านั้นลงมา ครั้งมีความรู้ในทางกสิกรรมและเลี้ยงสัตว์ ก็แยกย้ายกันตั้งบ้านเมืองนั้นเป็นประเทศต่างๆ ที่พอจะเห็นเป็นกลุ่มก้อนก็ประเทศมองโกเลีย ในบางพวกเช่นบรรพบุรุษของพระพุทธเจ้า ก็ข้ามภูเขาหิมาลัยเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย แถบประเทศเนปาลในปัจจุบัน ในยุคนั้นชนเผ่ามงโกลตั้งบ้านเรือนอยู่ใน ๔ แคว้น คือ แคว้นสักกะมีเมืองหลวงชื่อกรุงกบิลพัสดุ์ , แคว้นโกลียะ เมืองหลวงชื่อกรุงเทวท-หะ , แคว้นวัชชีเมืองหลวงชื่อกรุงไพศาลี และแคว้นมัลละเมืองหลวง ๒ แห่งคือปาวา และ กุสินารา ซึ่งแคว้นทั้ง ๔ นี้เป็นแคว้นเล็กๆที่ขึ้นอยู่กับแคว้นใหญ่คือแคว้นโกศล ที่ปกครองโดยพระเจ้าปเสนทิโกศลอีกทีหนึ่ง ในบาลีกล่าวว่าพระพุทธเจ้าและพระญาติวงศ์มีวรรณสีทองคือเป็นคนผิวสีเหลือง อันเป็นลักษณะของชนเผ่ามงโกล

กรุงกบิลพัสดุ์เป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นสักกะนั้นตั้งตามชื่อของ “กบิลฤๅษี” นักปราชญ์ชาวมงโกล ผู้ก่อตั้งลัทธิ “สางขยะ” ทฤษฎีของลัทธิสางขยะนั้นมีหลักการโดยย่อว่า “เพราะจิตที่เที่ยงไปถูกกักขังอยู่ในกายที่ไม่เที่ยง มันจึงดิ้นรนก่อให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน ดังนั้นต้องหาวิธีปฏิบัติ เพื่อแยกจิตออกจากกาย ด้วยการเพ่งจิตไปยังรูปเรียกว่า “รูปฌาน” มี ๔ ขั้น และเพ่งจิตไปยังสิ่งที่ไม่มีรูปเรียกว่า “อรูปฌาน” อีก ๔ ขั้น รวมกันเป็น ฌาน ๘ เรียกว่า “วิชาโยคะ” ซึ่งเมื่อกำลังเข้าฌานอยู่ ร่างกายก็ไม่รับรู้ความทุกข์ความเดือดร้อนได้ชั่วขณะ แต่พอออกจากฌานแล้ว ก็ยังมีความทุกข์ความเดือดร้อนอยู่อีก” ลัทธิสางขยะนี้ แพร่หลายมาตามแถบเชิงเขาหิมาลัย ผู้ปฏิบัติลัทธินี้ได้แก่พวกโยคีต่างๆ เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงเสด็จบรรพชาออกแสวงหา สัจธรรม ก็ได้เข้าไปรับการศึกษาจากอาฬารดาบสและอุทกดาบสจนจบหลักสูตรฌาน ๘ แต่ก็ทรงเห็นว่ายังไม่ใช่วิธีดับทุกข์สิ้นเชิงดังที่เราได้ทราบกันมาบ้าง แล้ว

ในยุคเดียวกันนั้นเอง ก็มีนักปราชญ์ชาวมงโกลอีกฝั่งหนึ่งชื่อว่า “ปาระศวนารถ” ได้แก่ตั้งลัทธิ “ไชนะ” ขึ้น ทฤษฎีของลัทธิไชนะมีหลักการโดยย่อว่า ความทุกข์ความเดือดร้อนเกิดขึ้นเพราะกิเลสตัณหา ถ้าข่มใจทรมานการให้กลั้นกิเลสตัณหาได้ ก็จะสิ้นความทุกข์ความเดือดร้อน เรียกว่าชนะใจตนเองได้ จึงถูกเรียกว่า “ลัทธิไชนะ” ซึ่งเจ้าชายสิทธัตถะหลังจากไปเรียนทำฌาน ๘ ได้จนจบวิชาโยคะแล้ว ได้ไปฝึกทรมานการตามลัทธิไชนะอยู่ที่ถ้ำดงคลิริหลายปีเห็นว่าไม่ใช่แนวทาง ที่ถูกต้อง จึงหันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต เมื่อจับหลักอนัตตาและหลักอริยสัจ ๔ ได้จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

อินเดียในยุคนั้นเรียกว่าเป็นยุค “อุปนิสัตว์" คือมีความเชื่อเรื่องว่า “จิต หรือ วิญญาณ ของคนเรานี้เป็นอัตตา (ตัวตนที่แท้จริง) ที่เที่ยงแท้ถาวร (อมตะ) ที่สามารถออกจากร่างกายที่ตายแล้วไปเกิดใหม่ได้" ซึ่งเป็นหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ (ที่ภายหลังได้ประยุกต์มาเป็นศาสนาฮินดู) แต่เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ขึ้นมาก็ไม่ทรงยอมรับหลักอัตตาของพราหมณ์ และได้ทรงนำหลักอนัตตา (ความไม่ใช่อัตตาหรือไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงอย่างของพราหมณ์) มาเผยแพร่ ซึ่งก็ต้องต่อสู้กับความเชื่อเรื่องอัตตาของพราหมณ์มาโดยตลอด จนทำให้ความเชื่อเรื่องอัตตาในยุคนั้นมีผู้เชื่อถือลดน้อยลง และทำให้ศาสนาพราหมณ์ในยุคนั้นเสื่อมทรามลง จนล่วงมาถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ที่มีอำนาจมาก (เป็นยุคหลังพุทธปรินิพพาน) ได้หันมาเอาในใส่พุทธศาสนา ก็ยิ่งทำให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้น จนศาสนาต่างๆโดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์อิจฉาแต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่