"สมชัย" โชว์เลือกตั้งแบบโอเพ่นลิสต์ ชี้ อนาคตบัตรเลือกตั้งใหญ่ทุบสถิติโลก คาดใช้เวลานับคะแนน 3 วัน ชี้หาก ปชช.เลือกพรรคที่ชอบเหมือนเดิมเท่ากับล้มเหลว
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 18 พฤษภาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง แถลงผลสรุปการสาธิตการลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ โอเพ่นลิสต์ ว่า จากการสาธิตลงคะแนนเลือกตั้ง รวมทั้งนับคะแนนพบว่ามีความซับซ้อนยุ่งยาก เสียเวลาในการนับคะแนนโดยเฉพาะหากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะให้มีการนับคะแนนรวมที่เขตเดียว เพราะจากตัวอย่างที่มาลงคะแนนในวันนี้มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 174 คน ใช้เวลาลงคะแนน 1 ชั่วโมง นับคะแนนอีก 90 นาที ซึ่งถ้ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปิดให้กลุ่มการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ก็ลองประเมินว่าหากมีพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง ลงสมัครเลือกตั้ง 280 พรรคและกลุ่มการเมือง จะทำให้บัตรเลือกตั้งมีขนาดใหญ่ กว้าง 60 ยาว 90 เซ็นติเมตร ทำให้บัตรเลือกตั้งติดสถิติกินเนสบุ๊กใหญ่ที่สุดในโลก
นายสมชัย กล่าวว่า สำหรับการนับคะแนนหากกำหนดให้นับที่หน่วยเลือกตั้งจะใช้เวลา 5 ชั่วโมง แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้การนับคะแนนรวมที่เขตเลือกตั้งที่เดียว คาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 60 ชั่วโมง หรือ 3 วัน กกต.จึงมองว่ากรณีดังกล่าวจะก่อปัญหาให้ประชาชนลำบากในการจดจำหมายเลขพรรค กลุ่มการเมือง และ ส.ส.แบบโอเพ่นลิสต์ รวมทั้งสร้างภาระต่อกรรมการประจำหน่วยที่ต้องมีการอบรมอย่างเข้มงวดในการเรียนรู้ขั้นตอนเลือกตั้งรูปแบบใหม่และทำให้เปลืองงบประมาณในการซื้ออุปกรณ์และการพิมพ์บัตรที่ใหญ่ขึ้นรวมทั้งอาจจะมีบัตรเสียเพิ่มมากขึ้นด้วย
"สรุปแล้วไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งรูปแบบไหนกกต.ก็อยู่ในวิสัยที่จัดการได้ แต่ที่สาธิตวันนี้เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงปัญหาข้อจำกัดและอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้กมธ.ยกร่างฯไปพิจารณาว่าจะได้คุ้มเสียหรือไม่ สิ่งที่ได้มาจะคุ้มกับที่ลงทุนหรือไม่เพราะการเลือกตั้งแบบโอเพ่นลิสต์ เป็นไปได้สูงที่ประชาชนจะเลือกรายชื่ออันดับต้นๆ หรือที่พรรคนำเสนอมา ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ร่างฯ ที่อยากให้สิทธิประชาชนในการเลือกส.ส.และพรรคที่ต้องการ ดังนั้นระบบโอเพ่น ลิสต์อาจไม่ประสบความสำเร็จ" นายสมชัยกล่าว
เมื่อถามว่ารูปแบบการเลือกตั้งแบบโอเพ่นลิสต์จะซ้ำซ้อนกับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตหรือไม่นายสมชัยกล่าวว่าตนขอวิจารณ์แค่ในทางเทคนิคและขั้นตอนการเลือกตั้งส่วนเจตนารมณ์ที่ให้มีการเลือกแบบโอเพ่น ลิสต์นั้นไม่ขอก้าวล่วง ส่วนกรณีที่ กมธ.ยกร่างฯจะให้มีคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) มาจัดการเลือกตั้งแทน กกต.นั้น กกต.ได้พูดคุยกันโดยมีความเห็นที่ยังไม่ใช่มติว่า ไหนๆจะให้มีกจต.ก็ไม่จำเป็นต้องไปเขียนในบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ กจต.มาจัดเลือกตั้งในครั้งต่อไป แต่ควรจะมาจัดเลือกตั้งที่จะถึงนี้ในทันที เพราะจะได้เรียนรู้วิธีการเลือกตั้งได้โดยเร็ว
http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431944936
+ + + "สมชัย" โชว์เลือกตั้งแบบโอเพ่นลิสต์ ชี้ อนาคตบัตรเลือกตั้งใหญ่ทุบสถิติโลก + + +
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 18 พฤษภาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง แถลงผลสรุปการสาธิตการลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ โอเพ่นลิสต์ ว่า จากการสาธิตลงคะแนนเลือกตั้ง รวมทั้งนับคะแนนพบว่ามีความซับซ้อนยุ่งยาก เสียเวลาในการนับคะแนนโดยเฉพาะหากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะให้มีการนับคะแนนรวมที่เขตเดียว เพราะจากตัวอย่างที่มาลงคะแนนในวันนี้มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 174 คน ใช้เวลาลงคะแนน 1 ชั่วโมง นับคะแนนอีก 90 นาที ซึ่งถ้ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปิดให้กลุ่มการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ก็ลองประเมินว่าหากมีพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง ลงสมัครเลือกตั้ง 280 พรรคและกลุ่มการเมือง จะทำให้บัตรเลือกตั้งมีขนาดใหญ่ กว้าง 60 ยาว 90 เซ็นติเมตร ทำให้บัตรเลือกตั้งติดสถิติกินเนสบุ๊กใหญ่ที่สุดในโลก
นายสมชัย กล่าวว่า สำหรับการนับคะแนนหากกำหนดให้นับที่หน่วยเลือกตั้งจะใช้เวลา 5 ชั่วโมง แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้การนับคะแนนรวมที่เขตเลือกตั้งที่เดียว คาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 60 ชั่วโมง หรือ 3 วัน กกต.จึงมองว่ากรณีดังกล่าวจะก่อปัญหาให้ประชาชนลำบากในการจดจำหมายเลขพรรค กลุ่มการเมือง และ ส.ส.แบบโอเพ่นลิสต์ รวมทั้งสร้างภาระต่อกรรมการประจำหน่วยที่ต้องมีการอบรมอย่างเข้มงวดในการเรียนรู้ขั้นตอนเลือกตั้งรูปแบบใหม่และทำให้เปลืองงบประมาณในการซื้ออุปกรณ์และการพิมพ์บัตรที่ใหญ่ขึ้นรวมทั้งอาจจะมีบัตรเสียเพิ่มมากขึ้นด้วย
"สรุปแล้วไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งรูปแบบไหนกกต.ก็อยู่ในวิสัยที่จัดการได้ แต่ที่สาธิตวันนี้เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงปัญหาข้อจำกัดและอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้กมธ.ยกร่างฯไปพิจารณาว่าจะได้คุ้มเสียหรือไม่ สิ่งที่ได้มาจะคุ้มกับที่ลงทุนหรือไม่เพราะการเลือกตั้งแบบโอเพ่นลิสต์ เป็นไปได้สูงที่ประชาชนจะเลือกรายชื่ออันดับต้นๆ หรือที่พรรคนำเสนอมา ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ร่างฯ ที่อยากให้สิทธิประชาชนในการเลือกส.ส.และพรรคที่ต้องการ ดังนั้นระบบโอเพ่น ลิสต์อาจไม่ประสบความสำเร็จ" นายสมชัยกล่าว
เมื่อถามว่ารูปแบบการเลือกตั้งแบบโอเพ่นลิสต์จะซ้ำซ้อนกับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตหรือไม่นายสมชัยกล่าวว่าตนขอวิจารณ์แค่ในทางเทคนิคและขั้นตอนการเลือกตั้งส่วนเจตนารมณ์ที่ให้มีการเลือกแบบโอเพ่น ลิสต์นั้นไม่ขอก้าวล่วง ส่วนกรณีที่ กมธ.ยกร่างฯจะให้มีคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) มาจัดการเลือกตั้งแทน กกต.นั้น กกต.ได้พูดคุยกันโดยมีความเห็นที่ยังไม่ใช่มติว่า ไหนๆจะให้มีกจต.ก็ไม่จำเป็นต้องไปเขียนในบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ กจต.มาจัดเลือกตั้งในครั้งต่อไป แต่ควรจะมาจัดเลือกตั้งที่จะถึงนี้ในทันที เพราะจะได้เรียนรู้วิธีการเลือกตั้งได้โดยเร็ว
http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431944936