*** แก้ไขหัวกระทู้ไม่ได้ จริงๆ เป็น สองล้อ สี่เท้า สามคน นะคะ ไปกันสามคนค่ะ ไม่ใช่สี่ ****
สวัสดีค่ะ เจ้าของกระทู้เป็นผู้พิการตั้งแต่ระดับอกลงมา (ความพิการช่วงล่างมีหลายระดับ เช่น ระดับเอวสามารถตั้งลำตัวตรงได้ สามารถยกของได้โดยอาศัยกล้ามเนื้อท้อง ระดับอกก็จะไม่สามารถตั้งลำตัวให้ตรงได้ เหมือนตุ๊กตาล้มลุกหากคือสามารถล้มไปข้างหน้าหรือข้างหลังได้หากไม่มีพนักพิงหรือที่ให้เกาะจับ) มีโอกาศไปเที่ยวญี่ปุ่นเป็นเวลา 12 วัน (+ 1 วัน เพราะเครื่องดีเลย์) ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ มากมายค่ะ อยากจะถ่ายทอดให้คนพิการด้วยกัน
หรือ ครอบครัวที่มีคนป่วยที่จำเป็นต้องใช้รถ wheelchair ในการเดินทาง เผื่อจะได้เป็นประโยชน์และสร้างความมั่นใจให้กับคนพิการอื่นๆ ได้มากขึ้นนะคะ จขกท เดินทางพร้อมเพื่อน 2 คนค่ะ เดินทางโดยสารการบินแอร์เอเซียทั้งไปและกลับ ไปเมืองต่างๆ ดังนี้ โอซาก้า โกเบ(ปราสามฮิเมจิ) เกียวโต โตเกียว ฮาโกดาเตะ คาวาฟูจิโกะ
การเดินทาง
- โดยเครื่องบิน ได้ใช้บริการสองสารการบินคือ แอร์เอเชีย ไปและกลับเมืองไทยญี่ปุ่น แวะเปลี่ยนเครื่องที่กัวลาลัมเปอร์ค่ะ (ดอนเมือง-กัวลาลัมเปอร์-คันไซ ) สารการบินที่สองคือ ANA บินจากโอซาก้าไปยังฮาโกดาเตะ
AIRASIA
การเตรียมตัว เนื่องจากแอร์เอเซียเป็นสารการบินราคาประหยัด ดังนั้นจะไม่ full service หมายถึงเราต้องเข้าไปกรอกว่าเป็นผู้พิการจำเป็นต้องใช้รถเข็นและเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ก่อนจะไปเชคอิน ให้ไปถึงเวลาเชคอินก่อนมากกว่าคนอื่น ไปถึงไม่ต้องไปเข้าแถวนะคะ ให้ไปถามเจ้าหน้าที่เลย เค้าจะพาเราไปเชคอินเคาเตอร์พิเศษค่ะ (ถ้าเป็นที่เมืองไทย ต้องเผื่อเวลามากๆ เพราะเจ้าหน้าที่เชคอิน ไม่ค่อยมืออาชีพ ดูสับสน และงงว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่ที่มาเลยเซีย ญี่ปุ่น ไม่มีปัญหาเลยค่ะ แค่เค้าเหลือบมาเห็นเรา เจ้าหน้าที่ก็พุ่งมาบริการ และจัดการทุกอย่างเรียบร้อย รวดเร็วดีค่ะ)
ขาไป
กรุงเทพ-กัวลาลัมเปอร์ เนื่องจากเครื่องบินลำเล็ก รถเข็นไม่สามารถเข้าถึงที่นั่งได้ พนักงาน เครื่องบินเลยต้องอุ้มเราไปนั่งที่ค่ะ เผอิญเราตัวเล็กเลยไม่ค่อยมีปัญหา นึกไม่ออกเหมือนกันว่าถ้าผู้โดยสารตัวใหญ่เค้าจะทำอย่างไร ไปถึงมาเลย์มีเจ้าหน้าที่เอารถเข็นของเราพร้อมรถเข็นสนามบินมารอรับที่ประตูเครื่องเลย ไม่มีปัญหาใดๆ กัวลาลัมเปอร์-คันไซ เครื่องบินลำใหญ่ เราไปถึงปากประตูเครื่องแล้วจะต้องเปลี่ยนไปนั่งรถเข็นคันเล็กที่เค้าเตรียมให้ รถเข็นคันเล็กนี้จะมีขนาดเล็กพอที่จะเคลื่อนตัวไปส่งยังที่นั่งของเราได้พอดี(มากๆ) ณ จุดนี้ คงไม่ค่อยมีคนพิการมาใช้งานรถเข็น ยังใหม่เอี่ยมถึงขนาดแกะพลาสติกออกมาเลย และแอร์คนสวย ก็ไม่รู้จักวิธีใช้งาน (แต่เธอก็พยายามมากนะ ลากเราพร้อมรถเข็นไป ทั้งๆ ที่รถเข็นยังล็อคล้ออยู่ แรงดีมากๆ )
ขากลับ เนื่องจากเครื่องมีปัญหา จึงได้เปลี่ยนเป็นบินตรงในวันถัดมาเป็น คันไซ-ดอนเมือง มาเครื่องลำใหญ่ เปลี่ยนรถเข็นที่ข้างประตูเครื่องเหมือนเดิม และปัญหาเดิม คือแอร์ใช้รถเข็นบนเครื่องไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะใช้สายรัดที่ติดมากับรถเข็นอย่างไร แต่ก็ไม่เป็นปัญหาอะไรมากนัก
ANA
ประทับใจตั้งแต่ตอนจองตั๋วแล้ว พอเราแจ้งว่ามี wheelchair มีเจ้าหน้าที่โทรมากลับมาถามรายละเอียดด้วย ใส่ใจมาก ๆ วันเดินทางเราไปขึ้นเครื่องที่สนามบินอิตามิ เป็นการเดินทางที่ราบรื่นประทับใจมาก พนักงานเต็มใจบริการ ไม่อารมณ์เสียเมื่อหันมาเจอว่าเรานั่งรถเข็น รู้ขั้นตอนปฏิบัติทันทีว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ตอนไปถึงที่นั่งบนเครื่องพบว่า ที่วางแขนได้ทำการยกขึ้นไว้ให้เรียบร้อย แล้วเพื่อให้เราสามารถย้ายตัวไปนั่งได้ทันที เยี่ยมมาก แถมแอร์พูดไทยได้เล็กน้อย (หน้าตาน่ารักอีกต่างหาก)
ข้อแนะนำสำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน : ถ้ามีเงินแนะนำให้บินสายการบินที่ full sevice จะสะดวกกว่าค่ะ แต่ถ้าบินโลว์คอส ต้องทำใจ (โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ในไทย ไม่รู้ว่าจะให้เรากรอกออนไลน์ไปทำไม เพราะทำหน้าไม่รู้เรื่องอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้จะให้กรอกรายละเอียดล่วงหน้าทำไม เพราะกรอกไป ก็ต้องไปเล่าใหม่ให้เจ้าหน้าที่ฟังอยู่ดี ระบบคอมพิวเตอร์นี่ไม่รู้มีไว้ทำไมกัน ตรงข้ามกับ ANA เค้ารู้ก่อนเราไปถึงอีกว่าลำนี้มีผู้โดยสารจำเป็นต้องใช้ wheelchair เค้าเอามาเตรียมไว้ให้ก่อนเราไปถึงเสียอีก)
การเดินทางในโอซาก้า
ส่วนใหญ่การเดินทางในโอซาก้า เรา subway เป็นหลัก เพราะซื้อคันไซพาส เกือบทุกสถานีมีลิฟท์สำหรับออกไปยังชั้นพื้นดิน
ปัญหาหลัก
1. ไม่มีลิฟท์ทุกสถานี subway(แต่ของ jr มีหมดทุกที่นะคะ เรียกลิฟท์ญี่ปุ่นไม่รู้จักต้องบอกว่า elevator) แต่ไม่ต้องกังวล ถึงไม่มีลิฟท์ ก็จะมีที่ยกแบบพิเศษที่ติดกับบันไดใช้แทนได้ บางมีปุ่มให้กดเรียกเจ้าหน้าที่ ไม่ต้องอธิบายมาก พูดสั้นว่า help me ก็พอ พูดยาวคุยกันไม่รู้เรื่องค่ะ
2. ไม่มีลิฟท์ทุกทางออก (exit)บางสถานที แต่ละทางออกไกลกันมาก ต้องดูให้ดีว่าโรงแรมเราอยู่ใกล้กับ exit ที่มีลิฟท์รึเปล่า แต่ก็นั่นหล่ะ ไม่ต้องกังวล ออกทางออกไหนก็ได้ขึ้นมาบนพื้นดินให้ได้ก่อน แล้วค่อยใช้ google map พาไปโรงแรมก็ได้ ที่ญี่ปุ่นผังเมืองเค้าดูง่ายค่ะ
3. เข้าลิฟท์ไปแล้ว ไม่รู้จะกดอะไร เพราะบางแห่งมีแต่ภาษาญี่ปุ่น ไม่ต้องกังวลค่ะ ลิฟท์ส่วนใหญ่จะไปแค่ชั้นเดียว ไม่ต้องเลือกชั้น มันจะพาไปเอง
4. เผื่อเวลาในการหาลิฟท์ให้มาก ๆ หลายสถานี มีหลายชั้นมาก หากขึ้นบันไดเลื่อนก็ไม่ค่อยมีปัญหา แต่พอขึ้นลิฟท์ ซึ่งบางทีไปแอบอยู่ด้านหลัง ออกมาแล้วจะค่อนข้างงง ว่าเราอยู่ที่ไหน จะกลับไปเส้นทางที่เราต้องการได้อย่างไร (โดยเฉพาะลิฟท์ของ subway หลายสถานี หายากมากกก และอยู่ในหลืบ แต่ถ้าเป็นสถานีของ JR จะหาลิฟท์ง่ายกว่าเยอะ (วางแผนผังดีกว่า) เราใช้วิธีดูเบลล์บล็อคร่วมกับหาป้ายลิฟท์ เพราะเกือบทุกเบลล์บล็อคจะพาไปยังลิฟท์เสมอ))
5.จากข้อ 4 เนื่องจากบางสถานทีมีหลายชั้น และลิฟท์ส่วนใหญ่มักจะล็อคให้ไปได้ทีละชั้น ดังนั้นการจะขึ้นจากชั้นใต้ดิน B3-B1(ชั้นพื้นดิน) จะต้องใช้ลิฟท์สองตัวค่ะ
6.ระมัดระวังเข้าลิฟท์ให้ถูกตัว ถ้าผิดตัวจะพาเราไปคนเส้นทาง (line) ที่เราต้องการ
7.อ่าน 1-6 แล้วคิดว่ามันยุ่งยากจัง ไม่ต้องทำไรเลยค่ะ เอาตัวไปให้เจ้าหน้าที่ดูแล้วบอกว่าจะไปลงสถานีไหนแค่นั้นก็ได้ เค้าจะพาเราไปลงลิฟท์ ส่งถึงหน้าประตูรถไฟ พร้อมแผ่นสไลด์ พอไปถึงปลายทางก็ไม่ต้องกลัวลงผิดสถานีนะคะ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่มารอเราอยู่แล้วเช่นกัน ไม่ว่าจะกี่ต่อ กี่สถานี เค้าก็จะมายืนรอเป็นทอด ๆ รับรองไม่หลง
8.อย่ากลับดึกมาก เพราะลิฟท์หลายๆ ตัวปิดหลังสามทุ่มนะคะ จะหาทางลง subway ยากสุดๆ
ข้อแนะนำ
ถ้าไปคนเดียว ติดต่อเจ้าหน้าที่ดีที่สุดค่ะ เพราะบางสถานี ช่องว่างระหว่างรถไฟกับชานชลากว้างพอสมควร หากไม่คนช่วยอาจจะเกิดอันตรายได้
จะมีตู้สำหรับคนใช้รถเข็นโดยเฉพาะ สังเกตุได้ที่พื้นชานชลา จะมีสัญลักษณ์รถเข็นอยู่ค่ะ
ทางเท้า
มีทางลาดและฟุตบาทที่ค่อนข้างกว้าง แต่ก็ยังไม่ค่อยเรียบเสมอกัน เข็นคนเดียวอาจจะเหนื่อยมากสักหน่อย เหมาะสำหรับ wheelchair ไฟฟ้า หรือ รถเข็นธรรมดาแต่คนช่วยเข็นบ้างค่ะ
ร้านอาหาร
ตามสไตล์ญี่ปุ่น ร้านจะค่อนข้างแคบ แต่ร้านที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว เท่าที่เจอมีลิฟท์ให้ขึ้นไปกินชั้นบนให้ค่ะ ทุกร้านมีทางลาด
ห้องน้ำ
มีเยอะ ตามห้างจะสะอาดมาก ตาม subway ก็จะมีกลิ่นบ้าง แต่ก็สะอาดกว่าบ้านเราอยู่ดี ถ้าเป็นสถานี jr จะสะอาดมาก เกือบทั้งหมดเป็นระบบอัตโนมัติ
รีวิว(แบบสรุป)กับการเดินทางท่องเที่ยวญี่ปุ่นโดยใช้ wheelchair : สองล้อ สี่เท้า สี่คน
สวัสดีค่ะ เจ้าของกระทู้เป็นผู้พิการตั้งแต่ระดับอกลงมา (ความพิการช่วงล่างมีหลายระดับ เช่น ระดับเอวสามารถตั้งลำตัวตรงได้ สามารถยกของได้โดยอาศัยกล้ามเนื้อท้อง ระดับอกก็จะไม่สามารถตั้งลำตัวให้ตรงได้ เหมือนตุ๊กตาล้มลุกหากคือสามารถล้มไปข้างหน้าหรือข้างหลังได้หากไม่มีพนักพิงหรือที่ให้เกาะจับ) มีโอกาศไปเที่ยวญี่ปุ่นเป็นเวลา 12 วัน (+ 1 วัน เพราะเครื่องดีเลย์) ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ มากมายค่ะ อยากจะถ่ายทอดให้คนพิการด้วยกัน
หรือ ครอบครัวที่มีคนป่วยที่จำเป็นต้องใช้รถ wheelchair ในการเดินทาง เผื่อจะได้เป็นประโยชน์และสร้างความมั่นใจให้กับคนพิการอื่นๆ ได้มากขึ้นนะคะ จขกท เดินทางพร้อมเพื่อน 2 คนค่ะ เดินทางโดยสารการบินแอร์เอเซียทั้งไปและกลับ ไปเมืองต่างๆ ดังนี้ โอซาก้า โกเบ(ปราสามฮิเมจิ) เกียวโต โตเกียว ฮาโกดาเตะ คาวาฟูจิโกะ
การเดินทาง
- โดยเครื่องบิน ได้ใช้บริการสองสารการบินคือ แอร์เอเชีย ไปและกลับเมืองไทยญี่ปุ่น แวะเปลี่ยนเครื่องที่กัวลาลัมเปอร์ค่ะ (ดอนเมือง-กัวลาลัมเปอร์-คันไซ ) สารการบินที่สองคือ ANA บินจากโอซาก้าไปยังฮาโกดาเตะ
AIRASIA
การเตรียมตัว เนื่องจากแอร์เอเซียเป็นสารการบินราคาประหยัด ดังนั้นจะไม่ full service หมายถึงเราต้องเข้าไปกรอกว่าเป็นผู้พิการจำเป็นต้องใช้รถเข็นและเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ก่อนจะไปเชคอิน ให้ไปถึงเวลาเชคอินก่อนมากกว่าคนอื่น ไปถึงไม่ต้องไปเข้าแถวนะคะ ให้ไปถามเจ้าหน้าที่เลย เค้าจะพาเราไปเชคอินเคาเตอร์พิเศษค่ะ (ถ้าเป็นที่เมืองไทย ต้องเผื่อเวลามากๆ เพราะเจ้าหน้าที่เชคอิน ไม่ค่อยมืออาชีพ ดูสับสน และงงว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่ที่มาเลยเซีย ญี่ปุ่น ไม่มีปัญหาเลยค่ะ แค่เค้าเหลือบมาเห็นเรา เจ้าหน้าที่ก็พุ่งมาบริการ และจัดการทุกอย่างเรียบร้อย รวดเร็วดีค่ะ)
ขาไป
กรุงเทพ-กัวลาลัมเปอร์ เนื่องจากเครื่องบินลำเล็ก รถเข็นไม่สามารถเข้าถึงที่นั่งได้ พนักงาน เครื่องบินเลยต้องอุ้มเราไปนั่งที่ค่ะ เผอิญเราตัวเล็กเลยไม่ค่อยมีปัญหา นึกไม่ออกเหมือนกันว่าถ้าผู้โดยสารตัวใหญ่เค้าจะทำอย่างไร ไปถึงมาเลย์มีเจ้าหน้าที่เอารถเข็นของเราพร้อมรถเข็นสนามบินมารอรับที่ประตูเครื่องเลย ไม่มีปัญหาใดๆ กัวลาลัมเปอร์-คันไซ เครื่องบินลำใหญ่ เราไปถึงปากประตูเครื่องแล้วจะต้องเปลี่ยนไปนั่งรถเข็นคันเล็กที่เค้าเตรียมให้ รถเข็นคันเล็กนี้จะมีขนาดเล็กพอที่จะเคลื่อนตัวไปส่งยังที่นั่งของเราได้พอดี(มากๆ) ณ จุดนี้ คงไม่ค่อยมีคนพิการมาใช้งานรถเข็น ยังใหม่เอี่ยมถึงขนาดแกะพลาสติกออกมาเลย และแอร์คนสวย ก็ไม่รู้จักวิธีใช้งาน (แต่เธอก็พยายามมากนะ ลากเราพร้อมรถเข็นไป ทั้งๆ ที่รถเข็นยังล็อคล้ออยู่ แรงดีมากๆ )
ขากลับ เนื่องจากเครื่องมีปัญหา จึงได้เปลี่ยนเป็นบินตรงในวันถัดมาเป็น คันไซ-ดอนเมือง มาเครื่องลำใหญ่ เปลี่ยนรถเข็นที่ข้างประตูเครื่องเหมือนเดิม และปัญหาเดิม คือแอร์ใช้รถเข็นบนเครื่องไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะใช้สายรัดที่ติดมากับรถเข็นอย่างไร แต่ก็ไม่เป็นปัญหาอะไรมากนัก
ANA
ประทับใจตั้งแต่ตอนจองตั๋วแล้ว พอเราแจ้งว่ามี wheelchair มีเจ้าหน้าที่โทรมากลับมาถามรายละเอียดด้วย ใส่ใจมาก ๆ วันเดินทางเราไปขึ้นเครื่องที่สนามบินอิตามิ เป็นการเดินทางที่ราบรื่นประทับใจมาก พนักงานเต็มใจบริการ ไม่อารมณ์เสียเมื่อหันมาเจอว่าเรานั่งรถเข็น รู้ขั้นตอนปฏิบัติทันทีว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ตอนไปถึงที่นั่งบนเครื่องพบว่า ที่วางแขนได้ทำการยกขึ้นไว้ให้เรียบร้อย แล้วเพื่อให้เราสามารถย้ายตัวไปนั่งได้ทันที เยี่ยมมาก แถมแอร์พูดไทยได้เล็กน้อย (หน้าตาน่ารักอีกต่างหาก)
ข้อแนะนำสำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน : ถ้ามีเงินแนะนำให้บินสายการบินที่ full sevice จะสะดวกกว่าค่ะ แต่ถ้าบินโลว์คอส ต้องทำใจ (โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ในไทย ไม่รู้ว่าจะให้เรากรอกออนไลน์ไปทำไม เพราะทำหน้าไม่รู้เรื่องอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้จะให้กรอกรายละเอียดล่วงหน้าทำไม เพราะกรอกไป ก็ต้องไปเล่าใหม่ให้เจ้าหน้าที่ฟังอยู่ดี ระบบคอมพิวเตอร์นี่ไม่รู้มีไว้ทำไมกัน ตรงข้ามกับ ANA เค้ารู้ก่อนเราไปถึงอีกว่าลำนี้มีผู้โดยสารจำเป็นต้องใช้ wheelchair เค้าเอามาเตรียมไว้ให้ก่อนเราไปถึงเสียอีก)
การเดินทางในโอซาก้า
ส่วนใหญ่การเดินทางในโอซาก้า เรา subway เป็นหลัก เพราะซื้อคันไซพาส เกือบทุกสถานีมีลิฟท์สำหรับออกไปยังชั้นพื้นดิน
ปัญหาหลัก
1. ไม่มีลิฟท์ทุกสถานี subway(แต่ของ jr มีหมดทุกที่นะคะ เรียกลิฟท์ญี่ปุ่นไม่รู้จักต้องบอกว่า elevator) แต่ไม่ต้องกังวล ถึงไม่มีลิฟท์ ก็จะมีที่ยกแบบพิเศษที่ติดกับบันไดใช้แทนได้ บางมีปุ่มให้กดเรียกเจ้าหน้าที่ ไม่ต้องอธิบายมาก พูดสั้นว่า help me ก็พอ พูดยาวคุยกันไม่รู้เรื่องค่ะ
2. ไม่มีลิฟท์ทุกทางออก (exit)บางสถานที แต่ละทางออกไกลกันมาก ต้องดูให้ดีว่าโรงแรมเราอยู่ใกล้กับ exit ที่มีลิฟท์รึเปล่า แต่ก็นั่นหล่ะ ไม่ต้องกังวล ออกทางออกไหนก็ได้ขึ้นมาบนพื้นดินให้ได้ก่อน แล้วค่อยใช้ google map พาไปโรงแรมก็ได้ ที่ญี่ปุ่นผังเมืองเค้าดูง่ายค่ะ
3. เข้าลิฟท์ไปแล้ว ไม่รู้จะกดอะไร เพราะบางแห่งมีแต่ภาษาญี่ปุ่น ไม่ต้องกังวลค่ะ ลิฟท์ส่วนใหญ่จะไปแค่ชั้นเดียว ไม่ต้องเลือกชั้น มันจะพาไปเอง
4. เผื่อเวลาในการหาลิฟท์ให้มาก ๆ หลายสถานี มีหลายชั้นมาก หากขึ้นบันไดเลื่อนก็ไม่ค่อยมีปัญหา แต่พอขึ้นลิฟท์ ซึ่งบางทีไปแอบอยู่ด้านหลัง ออกมาแล้วจะค่อนข้างงง ว่าเราอยู่ที่ไหน จะกลับไปเส้นทางที่เราต้องการได้อย่างไร (โดยเฉพาะลิฟท์ของ subway หลายสถานี หายากมากกก และอยู่ในหลืบ แต่ถ้าเป็นสถานีของ JR จะหาลิฟท์ง่ายกว่าเยอะ (วางแผนผังดีกว่า) เราใช้วิธีดูเบลล์บล็อคร่วมกับหาป้ายลิฟท์ เพราะเกือบทุกเบลล์บล็อคจะพาไปยังลิฟท์เสมอ))
5.จากข้อ 4 เนื่องจากบางสถานทีมีหลายชั้น และลิฟท์ส่วนใหญ่มักจะล็อคให้ไปได้ทีละชั้น ดังนั้นการจะขึ้นจากชั้นใต้ดิน B3-B1(ชั้นพื้นดิน) จะต้องใช้ลิฟท์สองตัวค่ะ
6.ระมัดระวังเข้าลิฟท์ให้ถูกตัว ถ้าผิดตัวจะพาเราไปคนเส้นทาง (line) ที่เราต้องการ
7.อ่าน 1-6 แล้วคิดว่ามันยุ่งยากจัง ไม่ต้องทำไรเลยค่ะ เอาตัวไปให้เจ้าหน้าที่ดูแล้วบอกว่าจะไปลงสถานีไหนแค่นั้นก็ได้ เค้าจะพาเราไปลงลิฟท์ ส่งถึงหน้าประตูรถไฟ พร้อมแผ่นสไลด์ พอไปถึงปลายทางก็ไม่ต้องกลัวลงผิดสถานีนะคะ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่มารอเราอยู่แล้วเช่นกัน ไม่ว่าจะกี่ต่อ กี่สถานี เค้าก็จะมายืนรอเป็นทอด ๆ รับรองไม่หลง
8.อย่ากลับดึกมาก เพราะลิฟท์หลายๆ ตัวปิดหลังสามทุ่มนะคะ จะหาทางลง subway ยากสุดๆ
ข้อแนะนำ
ถ้าไปคนเดียว ติดต่อเจ้าหน้าที่ดีที่สุดค่ะ เพราะบางสถานี ช่องว่างระหว่างรถไฟกับชานชลากว้างพอสมควร หากไม่คนช่วยอาจจะเกิดอันตรายได้
จะมีตู้สำหรับคนใช้รถเข็นโดยเฉพาะ สังเกตุได้ที่พื้นชานชลา จะมีสัญลักษณ์รถเข็นอยู่ค่ะ
ทางเท้า
มีทางลาดและฟุตบาทที่ค่อนข้างกว้าง แต่ก็ยังไม่ค่อยเรียบเสมอกัน เข็นคนเดียวอาจจะเหนื่อยมากสักหน่อย เหมาะสำหรับ wheelchair ไฟฟ้า หรือ รถเข็นธรรมดาแต่คนช่วยเข็นบ้างค่ะ
ร้านอาหาร
ตามสไตล์ญี่ปุ่น ร้านจะค่อนข้างแคบ แต่ร้านที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว เท่าที่เจอมีลิฟท์ให้ขึ้นไปกินชั้นบนให้ค่ะ ทุกร้านมีทางลาด
ห้องน้ำ
มีเยอะ ตามห้างจะสะอาดมาก ตาม subway ก็จะมีกลิ่นบ้าง แต่ก็สะอาดกว่าบ้านเราอยู่ดี ถ้าเป็นสถานี jr จะสะอาดมาก เกือบทั้งหมดเป็นระบบอัตโนมัติ