ได้มีการโพสต์เกี่ยวกับเจ้านายถึงความคืบหน้าหลังจากการผ่าตัดไป 1 ปี โดยได้โพสต์ไว้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2557 ดังนี้ :-
สืบเนื่องจากกระทู้เดิมเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 ผ่าน Pantip เกี่ยวกับการผ่าต่อมลูกหมาก และได้แชร์ข้อมูลประสบการณ์ของเจ้านายไป ปัจจุบันนี้หลังจาก 1 ปีกว่า ได้พบจากค่า PSA ว่า เนื้อร้ายมีเค้าว่าจะกำเริบขึ้น หมอผู้ทำการผ่าตัดก็เสนอให้ฉายแสงหรือทานยาโฮโมน์ และได้กล่าวว่าเป็นธรรมดามีโอกาสกำเริบเกิดขึ้นได้ 1 ใน 3 จากจำนวนผู้ถูกผ่าตัด จากเหตุนี้สรุปว่า เมื่อย้อนกลับไปแล้วเห็นว่าการตัดต่อมลูกหมากออกเมื่อ 1 ปีที่แล้วเป็นทางเลือกที่ไม่เหมาะ ควรจะฉายแสงหรือฝังแร่มากกว่า ซึ่งปัจจุบัน เจ้านายเริ่มรับการฉายแสงจาก รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ด้วยเทคนิคการฉายรังสีแบบ VMAT (Volumetric Modulated Arc Therapy) เป็นเทคนิคการฉายรังสีที่คิดว่าละเอียดดี ซึ่งได้ทำการมาครึ่งทาง ทั้งหมดที่จะต้องทำ 35 ครั้ง (7 อาทิตย์) ณ บัดนี้ ยังไม่มีผลข้างเคียงใดๆ
(ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการเล่าประสบการณ์ไม่ใช่ข้อแนะนำทางการแพทย์ แค่เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของผู้อื่น)
สามารถอ่านกระทู้เก่าได้ที่นี่ค่ะ :-
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 ได้โพสต์ เพื่อแชร์ประสบการณ์โดยมีข้อความดังนี้ :-
ท่านอายุย่าง 72 ปี ตรวจร่างกายทุกไตรมาส เมื่อเดือนกันยายน 2554 ได้วัด PSA ครั้งแรกได้ค่า 9 (อัตรายอมรับได้คือ 4) และได้พบหมอด้านต่อมลูกหมาก และได้ทำ DRE และ SCAN ก็มีความรู้สึกว่าไม่ได้โตนัก จึงให้รอดูการวัดค่า PSA ในคราวหน้า แต่ก็ได้มีการสืบหาหมอที่ช่ำชองเพื่อขอความเห็นที่ 2 ครั้งนั้น PSA พุ่งขึ้นเป็น 14 และคุณหมอได้ทำ biopsy โดยตัดชิ้นเนื้อออกมาจำนวน 13 ชิ้น และพบว่า 1 ชิ้นมีเค้าจะเป็นเนื้อร้าย ซึ่งอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของเนื้อชิ้นนั้น ในลักษณะเช่นนี้มีอยู่ 3 ทางเลือก
1). ให้เฝ้าดู (watchful) ว่า PSA จะสูงขึ้นต่อไปหรือไม่
2). เอ็กซ์เรย์ ฉายแสง หรือนำเม็ดเรย์เดียนฝังเข้าไปที่ต่อมลูกหมากเพื่อฆ่าเนื้อร้าย
3). ตัดต่อมลูกหมากออก
ทางเลือกที่ 1 ถึงแม้ตาม DNA ของครอบครัวมี PSA ที่สูงแต่ไม่เคยรักษาเลย พี่ชายของท่าน 10 ปีที่แล้วก็พบ PSA ที่สูงระดับ 8 และไม่ได้ทำอะไรทั้งสิ้น ปัจจุบันก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่เจ้านายก็มิได้เลือกทางนี้ เนื่องจากท่านไม่สบายใจที่อาจจะมีเนื้อร้ายในร่างกาย และอีกทั้งท่านเป็นบุคคลที่ชอบทานเนยแข็งมาเป็นเวลา 30 ปีแล้ว ท่านจึงไม่เลือกทางนี้
ทางเลือกที่ 2 ฉายแสง จาก Internet มีผลข้างเคียงมากที่สุด ถึงแม้มีเพื่อนแนะนำและเสนอให้ท่านไปฉายแสง Proton ที่ประเทศญี่ปุ่น ค่าใช้จ่ายประมาณ 3 ล้านบาท เป็นเวลา 3 เดือน เพราะขาได้ทำมาแล้ว และไม่มีผลร้ายข้างเคียงเลย
ทางเลือกที่ 3 ตัดออกเลย โดยมีทางเลือก 3 ทาง
ก). ผ่าตัดที่ท้องตามปกติ
ข). ใช้หุ่นยนต์
ค). ใช้หุ่นยนต์ระบบส่องกล้อง Da Vinci ซึ่งเป็นระบบที่ขยายภาพให้เห็นถึงตัวประสาทในต่อมลูกหมากหลายเท่า และคล่องแคล่วที่สุดในการเคลื่อนไหว ตามหลักถ้าคุณหมอมีความชำนาญจะมีผลข้างเคียงน้อย
ท่านได้ศึกษาจาก Internet และพูดคุยกับผู้รู้ที่ได้เคยผ่านระบบการผ่าตัดผ่านกล้องหุ่นยนต์ Da Vinci และผลสุดท้ายได้ปรึกษานายแพทย์ผู้ที่รู้จักดีในวงการคือ รศ.นพ.สุนัย ลีวันแสงทอง (อาจารย์ทาง Uro ประจำอยู่ที่รพ.ศิริราช และบางเวลาอยู่ที่ รพ.กรุงเทพ) ท่านได้เลือกผ่าตัดระบบส่องกล้อง Da Vinci เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 55 ผลที่ออกมาคือ มีความเจ็บน้อยมาก ทานยาลดไข้พาราเพียงครั้งเดียว กลับบ้านได้ภายในเวลา 3 วัน และดึงสายพันธะต่างๆ ภายในเวลา 7 วัน และมีผลข้างเคียง Incontinence และ ED ที่น้อยมาก (คาดว่าสภาพลดหย่อนไปไม่เกิน 10%) การดูแลจากพยาบาลดีมากๆ ในตึกใหม่เชิงพาณิชย์ของโรงพยาบาลศิริราชในครั้งนี้
แต่รายงานจากฝ่าย Pathology (พยาธิวิทยา) เมื่อ 7 วันครบแล้วจากการศึกษาจากต่อมลูกหมากที่ตัดออกไปมีเค้าว่า อาจจะมีเนื้อร้ายค้างอยู่ตามขอบประมาณ 30% (positive margin) ทั้งนี้ คุณหมอก็บอกว่า ไม่ต้องกังวลอย่างมากก็ต้องฉายแสง ทั้งนี้ก็ต้องให้รอตรวจ PSA ในอีก 3 สัปดาห์ข้างหน้าก่อน ซึ่งเมื่อวานนี้ (7 ส.ค. 55) ตรวจเลือด PSA เป็นครั้งแรกหลังจากส่องกล้องแล้ว PSA ออกมา <= 0.05 ซึ่งถือได้ว่า ปลอดภัยในระดับหนึ่ง โดยสถิติที่ยอมรับคือ <= 0.2 ทั้งนี้ คุณหมอดีใจพร้อมกับคนไข้ด้วย ทำให้ทราบว่าผลตรวจของ Pathology อาจจะคลาดเคลื่อนได้ ทั้งนี้คุณหมอก็ได้แจ้งให้ควรจะตรวจเลือดหาระดับ PSA ทุกไตรมาสเป็นเวลา 5 ปีตามสถิติโอกาสที่เนื้อร้ายจะกำเริบนี้มีอยู่ 10% ภายใน 5 ปี พ้น 5 ปีแล้ว หากไม่มีการกำเริบเลยก็ถือว่าปลอดภัย 100%
เจ้านายบอกว่า โรคนี้สับสนมาก ต้องตัดสินใจด้วยตนเองถึงความพร้อมของสมรรถภาพทางร่างกาย และค่าใช้จ่ายต่างๆ Da Vinci เป็นอุปกรณ์เฉพาะซึ่งมีราคาแพง ค่าใช้จ่ายครั้งนี้รวมแล้วประมาณ 550,000 บาท ส่วนวิธีอื่นอาจจะดีหรือดีกว่าก็ได้ ทั้งนี้ บางครั้งคิดว่าอาจจะขึ้นอยู่กับโชคชะตาด้วย
ทั้งนี้เหตุผลที่แจ้งมา เพราะข้อมูลในไทยมีน้อยมาก จึงอยากจะเพิ่มข้อมูลให้กับผู้ประสบปัญหาด้านนี้ ไม่ได้ตั้งใจจะเชียร์วิธีส่องกล้องทั้งสิ้น เพียงแต่อยากให้ทราบถึงประสบการณ์ ท่านเป็นคนไข้ลำดับที่ 689 ที่คุณหมอได้ผ่าตัดมาตามระบบ Da Vinci ซึ่งมีที่โรงพยาบาลศิริราชแห่งแรกเมื่อ 7 ปีก่อน จาก Internet ส่วนใหญ่จะกล่าวว่าอุปกรณ์ดีก็จริง แต่ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของหมอที่ปฏิบัติการที่สำคัญที่สุด
หลังจากนั้นวันที่ 24 กันยายน 2557 คุณ Cj_aGj ได้เข้ามาตั้งคำถามดังนี้ :-
อยากทราบว่าเจ้านายคุณเล็กปัจจุบันหลังจากฉายแสงครบแล้วเป็นอย่างไรบ้าง
ค่าPSA ก่อนและหลังฉายเท่าไหร่คะ และมีอาการเตือนการกลับมาอย่างไรมั้ยคะ
และการผ่าตัดที่คุณหมอว่าอาจเป็นทางเลือกที่ไม่เหมาะสมหมายถึงว่ามีผลด้านใดคะ
ได้ตอบคำถามคุณ Cj_aGj นี้เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557 ดังนี้ :-
จากข้อมูลของเจ้านายมีดังนี้ค่ะ
ก่อนผ่าตัดค่า PSA อยู่ที่ 14 ผ่าตัดเสร็จโดยใช้วิธีหุ่นยนต์ ระบบ da Vinci เดือนสิงหาคม 2555 ค่า PSA 0.05 และอยู่ในระดับนั้น ถึง เดือน เมษายน 2556 ไตรมาสกรกฎา 2556 เป็น 0.07 เพิ่มขึ้นในไตรมาสต่อๆไปเป็น 0.09 และ 0.10 และมาตกใจเข้าในไตรมาสในเดือนเมษายน2557 เป็น 0.22 ซึ่งคุณหมอผู้ตัดต่อมลูกหมากออก กล่าวว่าไม่ดีแน่แต่ไม่ต้องห่วงฉายแสง หรือกิน hormone ก็แก้ได้ (เป็นไปตาม Internet ว่า เมื่อตัดแล้ว ควรจะเหลือ 0.00 หรือ ใกล้เคียง เมื่อใดก็ตาม PSA เพิ่มขึ้น เท่าตัว ก็หมายความว่ากำเริบแล้วต้องฉายแสงหรือทาน hormone hormone มีผลดีทันทีเลยแต่เมื่อทานเลย 2 หรือ 3 ปีแล้วจะไม่มีผลในการรักษา)
เจ้านายก็ย้ายไปฉายแสงที่โรงพยาบาลเอกชน ทุกๆวัน เว้นเสาร์และอาทิตย์เป็นเวลา 35 ครั้ง (7 อาทิตย์) เสร็จแล้ววัดค่า PSA ได้ 0.065 ในเดือนสิงหาคม 2557 ค่า PSA 0.042 ในเดือนกันยายน และ 0.044 ในเดือนตุลาคม 2557 ตอนนี้ทั้งคุณหมอและคนไข้ลุ้นให้ลงเรื่อยๆเลยให้เหลือ 0 ซึ่งเป็นจุดที่ดีที่สุด แต่ก็ต้องดูกันต่อไป
คุณพ่อของผู้กระทู้อยู่ในข่ายที่เจ้านายหนูอิจฉาค่ะ การฉายแสงของเจ้านายไม่มีผลข้างเคียงเลย และสบายมากๆเวลาฉายแสงแต่ที่แย่หน่อยคือต้องกลั้นปัสสาวะไว้เต็มๆแต่ไม่กี่ครั้งก็ชินไปเองค่ะ
หากมองหวนหลังแล้ว คิดว่าควรจะฉายแสงหรือฝังแร่ตั้งแต่ต้นแทนการผ่าตัด หากเลือกผ่าตัดก็อาจจะเลือกแบบปกติคือผ่าแบบเปิดเลยเพราะจะเห็นได้ครบถ้วนกว่า เพราะหลังจากนั้นเจ้านายผ่าตัดแบบทั่วไปที่ปอดถึงทราบว่าความเจ็บนั้นพอจะรับได้ และการฉายแสงไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอย่างที่คิด
ขอบคุณที่ถามค่ะ เจ้านายว่าก็เป็นการทบทวนอย่างหนึ่งถึงตอนที่เจ้านายมืดแปดด้าน และเดี๋ยวนี้เขียนบอกเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่คนไข้ต่อไปที่ตกที่นั่งคล้ายเจ้านาย
ขอแชร์ประสบการณ์ของเจ้านายเกี่ยวกับการผ่าตัดและฉายแสงของ "มะเร็งต่อมลูกหมาก" (รวบรวมมาลงใหม่ค่ะ)
สืบเนื่องจากกระทู้เดิมเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 ผ่าน Pantip เกี่ยวกับการผ่าต่อมลูกหมาก และได้แชร์ข้อมูลประสบการณ์ของเจ้านายไป ปัจจุบันนี้หลังจาก 1 ปีกว่า ได้พบจากค่า PSA ว่า เนื้อร้ายมีเค้าว่าจะกำเริบขึ้น หมอผู้ทำการผ่าตัดก็เสนอให้ฉายแสงหรือทานยาโฮโมน์ และได้กล่าวว่าเป็นธรรมดามีโอกาสกำเริบเกิดขึ้นได้ 1 ใน 3 จากจำนวนผู้ถูกผ่าตัด จากเหตุนี้สรุปว่า เมื่อย้อนกลับไปแล้วเห็นว่าการตัดต่อมลูกหมากออกเมื่อ 1 ปีที่แล้วเป็นทางเลือกที่ไม่เหมาะ ควรจะฉายแสงหรือฝังแร่มากกว่า ซึ่งปัจจุบัน เจ้านายเริ่มรับการฉายแสงจาก รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ด้วยเทคนิคการฉายรังสีแบบ VMAT (Volumetric Modulated Arc Therapy) เป็นเทคนิคการฉายรังสีที่คิดว่าละเอียดดี ซึ่งได้ทำการมาครึ่งทาง ทั้งหมดที่จะต้องทำ 35 ครั้ง (7 อาทิตย์) ณ บัดนี้ ยังไม่มีผลข้างเคียงใดๆ
(ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการเล่าประสบการณ์ไม่ใช่ข้อแนะนำทางการแพทย์ แค่เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของผู้อื่น)
สามารถอ่านกระทู้เก่าได้ที่นี่ค่ะ :-
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 ได้โพสต์ เพื่อแชร์ประสบการณ์โดยมีข้อความดังนี้ :-
ท่านอายุย่าง 72 ปี ตรวจร่างกายทุกไตรมาส เมื่อเดือนกันยายน 2554 ได้วัด PSA ครั้งแรกได้ค่า 9 (อัตรายอมรับได้คือ 4) และได้พบหมอด้านต่อมลูกหมาก และได้ทำ DRE และ SCAN ก็มีความรู้สึกว่าไม่ได้โตนัก จึงให้รอดูการวัดค่า PSA ในคราวหน้า แต่ก็ได้มีการสืบหาหมอที่ช่ำชองเพื่อขอความเห็นที่ 2 ครั้งนั้น PSA พุ่งขึ้นเป็น 14 และคุณหมอได้ทำ biopsy โดยตัดชิ้นเนื้อออกมาจำนวน 13 ชิ้น และพบว่า 1 ชิ้นมีเค้าจะเป็นเนื้อร้าย ซึ่งอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของเนื้อชิ้นนั้น ในลักษณะเช่นนี้มีอยู่ 3 ทางเลือก
1). ให้เฝ้าดู (watchful) ว่า PSA จะสูงขึ้นต่อไปหรือไม่
2). เอ็กซ์เรย์ ฉายแสง หรือนำเม็ดเรย์เดียนฝังเข้าไปที่ต่อมลูกหมากเพื่อฆ่าเนื้อร้าย
3). ตัดต่อมลูกหมากออก
ทางเลือกที่ 1 ถึงแม้ตาม DNA ของครอบครัวมี PSA ที่สูงแต่ไม่เคยรักษาเลย พี่ชายของท่าน 10 ปีที่แล้วก็พบ PSA ที่สูงระดับ 8 และไม่ได้ทำอะไรทั้งสิ้น ปัจจุบันก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่เจ้านายก็มิได้เลือกทางนี้ เนื่องจากท่านไม่สบายใจที่อาจจะมีเนื้อร้ายในร่างกาย และอีกทั้งท่านเป็นบุคคลที่ชอบทานเนยแข็งมาเป็นเวลา 30 ปีแล้ว ท่านจึงไม่เลือกทางนี้
ทางเลือกที่ 2 ฉายแสง จาก Internet มีผลข้างเคียงมากที่สุด ถึงแม้มีเพื่อนแนะนำและเสนอให้ท่านไปฉายแสง Proton ที่ประเทศญี่ปุ่น ค่าใช้จ่ายประมาณ 3 ล้านบาท เป็นเวลา 3 เดือน เพราะขาได้ทำมาแล้ว และไม่มีผลร้ายข้างเคียงเลย
ทางเลือกที่ 3 ตัดออกเลย โดยมีทางเลือก 3 ทาง
ก). ผ่าตัดที่ท้องตามปกติ
ข). ใช้หุ่นยนต์
ค). ใช้หุ่นยนต์ระบบส่องกล้อง Da Vinci ซึ่งเป็นระบบที่ขยายภาพให้เห็นถึงตัวประสาทในต่อมลูกหมากหลายเท่า และคล่องแคล่วที่สุดในการเคลื่อนไหว ตามหลักถ้าคุณหมอมีความชำนาญจะมีผลข้างเคียงน้อย
ท่านได้ศึกษาจาก Internet และพูดคุยกับผู้รู้ที่ได้เคยผ่านระบบการผ่าตัดผ่านกล้องหุ่นยนต์ Da Vinci และผลสุดท้ายได้ปรึกษานายแพทย์ผู้ที่รู้จักดีในวงการคือ รศ.นพ.สุนัย ลีวันแสงทอง (อาจารย์ทาง Uro ประจำอยู่ที่รพ.ศิริราช และบางเวลาอยู่ที่ รพ.กรุงเทพ) ท่านได้เลือกผ่าตัดระบบส่องกล้อง Da Vinci เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 55 ผลที่ออกมาคือ มีความเจ็บน้อยมาก ทานยาลดไข้พาราเพียงครั้งเดียว กลับบ้านได้ภายในเวลา 3 วัน และดึงสายพันธะต่างๆ ภายในเวลา 7 วัน และมีผลข้างเคียง Incontinence และ ED ที่น้อยมาก (คาดว่าสภาพลดหย่อนไปไม่เกิน 10%) การดูแลจากพยาบาลดีมากๆ ในตึกใหม่เชิงพาณิชย์ของโรงพยาบาลศิริราชในครั้งนี้
แต่รายงานจากฝ่าย Pathology (พยาธิวิทยา) เมื่อ 7 วันครบแล้วจากการศึกษาจากต่อมลูกหมากที่ตัดออกไปมีเค้าว่า อาจจะมีเนื้อร้ายค้างอยู่ตามขอบประมาณ 30% (positive margin) ทั้งนี้ คุณหมอก็บอกว่า ไม่ต้องกังวลอย่างมากก็ต้องฉายแสง ทั้งนี้ก็ต้องให้รอตรวจ PSA ในอีก 3 สัปดาห์ข้างหน้าก่อน ซึ่งเมื่อวานนี้ (7 ส.ค. 55) ตรวจเลือด PSA เป็นครั้งแรกหลังจากส่องกล้องแล้ว PSA ออกมา <= 0.05 ซึ่งถือได้ว่า ปลอดภัยในระดับหนึ่ง โดยสถิติที่ยอมรับคือ <= 0.2 ทั้งนี้ คุณหมอดีใจพร้อมกับคนไข้ด้วย ทำให้ทราบว่าผลตรวจของ Pathology อาจจะคลาดเคลื่อนได้ ทั้งนี้คุณหมอก็ได้แจ้งให้ควรจะตรวจเลือดหาระดับ PSA ทุกไตรมาสเป็นเวลา 5 ปีตามสถิติโอกาสที่เนื้อร้ายจะกำเริบนี้มีอยู่ 10% ภายใน 5 ปี พ้น 5 ปีแล้ว หากไม่มีการกำเริบเลยก็ถือว่าปลอดภัย 100%
เจ้านายบอกว่า โรคนี้สับสนมาก ต้องตัดสินใจด้วยตนเองถึงความพร้อมของสมรรถภาพทางร่างกาย และค่าใช้จ่ายต่างๆ Da Vinci เป็นอุปกรณ์เฉพาะซึ่งมีราคาแพง ค่าใช้จ่ายครั้งนี้รวมแล้วประมาณ 550,000 บาท ส่วนวิธีอื่นอาจจะดีหรือดีกว่าก็ได้ ทั้งนี้ บางครั้งคิดว่าอาจจะขึ้นอยู่กับโชคชะตาด้วย
ทั้งนี้เหตุผลที่แจ้งมา เพราะข้อมูลในไทยมีน้อยมาก จึงอยากจะเพิ่มข้อมูลให้กับผู้ประสบปัญหาด้านนี้ ไม่ได้ตั้งใจจะเชียร์วิธีส่องกล้องทั้งสิ้น เพียงแต่อยากให้ทราบถึงประสบการณ์ ท่านเป็นคนไข้ลำดับที่ 689 ที่คุณหมอได้ผ่าตัดมาตามระบบ Da Vinci ซึ่งมีที่โรงพยาบาลศิริราชแห่งแรกเมื่อ 7 ปีก่อน จาก Internet ส่วนใหญ่จะกล่าวว่าอุปกรณ์ดีก็จริง แต่ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของหมอที่ปฏิบัติการที่สำคัญที่สุด
หลังจากนั้นวันที่ 24 กันยายน 2557 คุณ Cj_aGj ได้เข้ามาตั้งคำถามดังนี้ :-
อยากทราบว่าเจ้านายคุณเล็กปัจจุบันหลังจากฉายแสงครบแล้วเป็นอย่างไรบ้าง
ค่าPSA ก่อนและหลังฉายเท่าไหร่คะ และมีอาการเตือนการกลับมาอย่างไรมั้ยคะ
และการผ่าตัดที่คุณหมอว่าอาจเป็นทางเลือกที่ไม่เหมาะสมหมายถึงว่ามีผลด้านใดคะ
ได้ตอบคำถามคุณ Cj_aGj นี้เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557 ดังนี้ :-
จากข้อมูลของเจ้านายมีดังนี้ค่ะ
ก่อนผ่าตัดค่า PSA อยู่ที่ 14 ผ่าตัดเสร็จโดยใช้วิธีหุ่นยนต์ ระบบ da Vinci เดือนสิงหาคม 2555 ค่า PSA 0.05 และอยู่ในระดับนั้น ถึง เดือน เมษายน 2556 ไตรมาสกรกฎา 2556 เป็น 0.07 เพิ่มขึ้นในไตรมาสต่อๆไปเป็น 0.09 และ 0.10 และมาตกใจเข้าในไตรมาสในเดือนเมษายน2557 เป็น 0.22 ซึ่งคุณหมอผู้ตัดต่อมลูกหมากออก กล่าวว่าไม่ดีแน่แต่ไม่ต้องห่วงฉายแสง หรือกิน hormone ก็แก้ได้ (เป็นไปตาม Internet ว่า เมื่อตัดแล้ว ควรจะเหลือ 0.00 หรือ ใกล้เคียง เมื่อใดก็ตาม PSA เพิ่มขึ้น เท่าตัว ก็หมายความว่ากำเริบแล้วต้องฉายแสงหรือทาน hormone hormone มีผลดีทันทีเลยแต่เมื่อทานเลย 2 หรือ 3 ปีแล้วจะไม่มีผลในการรักษา)
เจ้านายก็ย้ายไปฉายแสงที่โรงพยาบาลเอกชน ทุกๆวัน เว้นเสาร์และอาทิตย์เป็นเวลา 35 ครั้ง (7 อาทิตย์) เสร็จแล้ววัดค่า PSA ได้ 0.065 ในเดือนสิงหาคม 2557 ค่า PSA 0.042 ในเดือนกันยายน และ 0.044 ในเดือนตุลาคม 2557 ตอนนี้ทั้งคุณหมอและคนไข้ลุ้นให้ลงเรื่อยๆเลยให้เหลือ 0 ซึ่งเป็นจุดที่ดีที่สุด แต่ก็ต้องดูกันต่อไป
คุณพ่อของผู้กระทู้อยู่ในข่ายที่เจ้านายหนูอิจฉาค่ะ การฉายแสงของเจ้านายไม่มีผลข้างเคียงเลย และสบายมากๆเวลาฉายแสงแต่ที่แย่หน่อยคือต้องกลั้นปัสสาวะไว้เต็มๆแต่ไม่กี่ครั้งก็ชินไปเองค่ะ
หากมองหวนหลังแล้ว คิดว่าควรจะฉายแสงหรือฝังแร่ตั้งแต่ต้นแทนการผ่าตัด หากเลือกผ่าตัดก็อาจจะเลือกแบบปกติคือผ่าแบบเปิดเลยเพราะจะเห็นได้ครบถ้วนกว่า เพราะหลังจากนั้นเจ้านายผ่าตัดแบบทั่วไปที่ปอดถึงทราบว่าความเจ็บนั้นพอจะรับได้ และการฉายแสงไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอย่างที่คิด
ขอบคุณที่ถามค่ะ เจ้านายว่าก็เป็นการทบทวนอย่างหนึ่งถึงตอนที่เจ้านายมืดแปดด้าน และเดี๋ยวนี้เขียนบอกเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่คนไข้ต่อไปที่ตกที่นั่งคล้ายเจ้านาย