"การบรรลุธรรมนั้น ไม่เกี่ยวกับเพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือว่าเพศชาย ไม่มีความต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสะอาดของจิตเท่านั้น"
ไม่ว่าจะเป็น อุบาสก,อุบาสิกา,สามเณร,ภิกษุสงฆ์,ภิกษุณีสงฆ์ จะบรรลุธรรมได้ถึงขั้นไหน ให้ดูที่การตัดละกิเลสสังโยชน์10เป็นสำคัญ (ว่าตัดละได้กี่ข้อ)
"การบรรลุธรรมนั้น ไม่เกี่ยวกับการถือศีลมากข้อ (ไม่จำเป็นจะต้องบวชเป็นพระสงฆ์เท่านั้น ฆราวาสก็สามารถที่จะบรรลุธรรมได้)"
การถือศีลของพุทธศาสนิกชนนั้น เป็นการถือศีลตามสถานะเท่านั้น (5,8,10,227ข้อ) (แล้วแต่ว่าใครกำลังอยู่ในสถานะอะไร) ถ้าฆราวาสก็เริ่มต้นที่ศีล5
(ไม่ได้หมายความว่า การถือศีลมากข้อ แล้วจิตจะสะอาดมากตามไปด้วย)
"ศีล เป็นเพียงแค่เครื่องตีกรอบความประพฤติของคนไว้เฉยๆ ไม่ได้หมายความว่าจิตใจของคนผู้นั้น จะสะอาดมากตามจำนวนข้อศีลที่ถืออยู่"
(จิตจะสะอาดมากเท่าไร ให้ดูที่การตัดละกิเลสสังโยชน์10 เป็นสำคัญ ว่าตัดละได้กี่ข้อ) (ถ้าไม่สนใจการตัดละกิเลส จะถือศีลซัก1,000,000ข้อ ก็เท่านั้น)
"สำหรับฆราวาสนั้น(ไม่ว่าหญิงหรือว่าชาย) จะต้องมีศีล5บริสุทธิ์ เป็นอย่างน้อย ถึงจะบรรลุความเป็นพระอริยะเจ้าขั้นต้นได้(พระโสดาบัน)"
ความจริงแล้วไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือว่าฆราวาส แค่ศีล10 ก็สามารถที่จะบรรลุธรรมได้ (สามเณรในสมัยพุทธกาล ก็บรรลุอรหันต์แล้ว)
แต่เหตุที่พระสงฆ์ต้องถือศีลถึง227ข้อ ก็เพราะว่าเป็นปูชนียบุคคล ต้องอยู่ในฐานะที่จะต้องมีผู้คนมากราบไหว้ และนับถือเป็นครูบาอาจารย์
และต้องเป็นผู้สืบทอดศาสนา จึงต้องมีศีลมากข้อเพื่อให้สำรวม เพื่อคงความดีงามของพระพุทธศาสนา
การบวชเป็นพระสงฆ์นั้น แม้จะถือศีล227ข้อ โดยที่ศีลไม่ขาดเลย ตลอดระยะเวลา 100ปี
ก็จะเป็นเพียงแค่ "สมมติสงฆ์" ไปตลอดเท่านั้น ถ้ายังตัดละสังโยชน์ได้ไม่ครบ 3ข้อแรก (พระโสดาบัน)
ถ้าใครยังพูดวนเวียนอยู่แต่กับความต่างเรื่องเพศ คิดว่าเพศหญิงมีโอกาสบรรลุธรรมน้อยกว่าชาย
หรือว่าถ้ายังมัวพูดถึงแต่เรื่องความต่างของจำนวนข้อศีลที่ถืออยู่ของแต่ละคน คิดว่าผู้บวชเป็นพระสงฆ์ย่อมใกล้นิพพานมากกว่าฆราวาส
คนที่พูดแบบนี้ แสดงว่ายังมีความเข้าใจผิดอยู่ ความจริงแล้วพุทธศาสนิกชน
ถือศีลตามสถานะเท่านั้น
(ต่อให้คุณบวชเป็นพระสงฆ์ถือศีล227ข้อ แต่ถ้าถือศีลไม่บริสุทธิ์ ก็อาจจะสู้ฆราวาสที่มีศีล5บริสุทธิ์ไม่ได้)
(การบวชพระทำให้มีเวลาว่างมากกว่าฆราวาส ทำให้เหมาะแก่การเจริญสมณธรรม แต่ใครจะใกล้นิพพานมากกว่ากัน ขึ้นอยู่กับความสะอาดของจิตของคนๆนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าใครจะถือศีลมากข้อกว่ากัน)
ถ้าเป็นพระสงฆ์ ก็ start ที่ศีล 227
ถ้าเป็นฆราวาส ก็ start ที่ศีล 5
(ใครถึงนิพพานก่อนกัน ขึ้นอยู่ที่ความสะอาดของจิต ไม่ได้เกี่ยวกับว่าใครบวชพระหรือไม่บวชพระ และก็ไม่ได้เกี่ยวกับว่าเป็นเพศใด)
(ฆราวาสเมื่อบรรลุเป็นพระอริยะเจ้าขั้นต้นแล้ว(พระโสดาบัน) ก็จะพอใจการถือครองศีลที่มากข้อยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆเอง จนบรรลุธรรม)
****************************************************************************************************
ให้สังเกตดูอารมณ์จิตของตัวเองว่าตัดละสังโยชน์ในข้อใดได้ "อย่างเด็ดขาด" บ้าง ถึงขั้นไหนแล้ว
พระอริยะเจ้าจะมีอารมณ์เด็ดขาดในทุกระดับ สิ่งใดที่ตัดละได้แล้ว จะไม่มีอาการกำเริบของจิตอีก
ถ้ายังมีอารมณ์กลับไป-กลับมา นั่นแสดงว่ายังไม่ได้ในข้อนั้น
****************************************************************************************************
ความจริงแล้ว พระอริยะเจ้าทุกระดับ ตัดละที่ตัวเดียวกัน "สักกายทิฏฐิ" (สังโยชน์ข้อที่1)
(ตัดละตัวนี้เพียงตัวเดียวลงได้
"อย่างเด็ดขาด" ก็เป็นพระอรหันต์ได้)
เพราะว่า สิ่งที่หวงแหนที่สุดของคนเรานั้นก็คือ ร่างกายของตนเอง
การมีกิเลส ต้องการทรัพย์สิน,ต้องการกามราคะ ก็เพื่อที่จะสนองให้กับร่างกายของตนเอง
ทรัพย์สินและสิ่งเร้าทั้งหลายจะไม่มีความหมาย ถ้าเราไม่มีร่างกายที่จะเสพ
เพราะฉนั้นกำลังใจในการตัดละร่างกายตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่หวงแหนมากที่สุดลงได้อย่างเด็ดขาดนั้น
จึงเป็นกำลังใจที่สูงที่สุด จึงเป็นการตัดละกิเลสข้อที่เหลือทั้งหมดลงไปด้วย
พระอริยะเจ้าทุกระดับตัดละที่ตัวเดียวกัน "สักกายทิฏฐิ" เหมือนกัน แต่อารมณ์ในการเข้าถึงต่างกัน จึงมีอารมณ์หนัก-เบา ในการตัดละตัวนี้ไม่เท่ากัน
(ยิ่งเป็นพระอริยะเจ้าในระดับสูงขึ้นไปมากเท่าใด ก็จะยิ่งมีอารมณ์หนักแน่นในการตัดละสักกายทิฏฐิมากขึ้นเท่านั้น)
อารมณ์ความหนักแน่นในการตัดละ สักกายทิฏฐิ ของพระอริยะเจ้า จะมี3ระดับ (หรือ 3ขั้น)
1.พระโสดาบันและพระสกิทาคามี ยังมองเห็นโทษของการมีร่างกายน้อย อารมณ์ในการตัดละสักกายทิฏฐิ(ร่างกาย) จึงตัดละได้แค่เบาๆเบื้องต้น
สักกายทิฏฐิ ของพระโสดาบันและพระสกิทาคามี จึงรู้สึกแค่ว่า......
"รู้ว่าเราจะต้องตาย" หรือ "ไม่ลืมความตาย" หรือ
"มีความตายเป็นอารมณ์" เท่านั้น (ทั้งสามตัวนี้แปลได้ใจความเดียวกัน)
2.สักกายทิฏฐิ ของพระอนาคามี จะรู้สึกว่า
"ร่างกายสกปรก มีความเบื่อหน่ายในร่างกาย"
(อารมณ์ในการตัดละสักกายทิฏฐิหนักแน่นขึ้นมาอีกขั้นนึง เพราะเห็นว่าร่างกายสกปรกอย่างชัดเจน จึงตัดกาม ตัดโกรธ ได้)
3.สักกายทิฏฐิ ของพระอรหันต์ จะรู้สึกว่า
"ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา"
(อารมณ์ตัดละร่างกายได้หมดจด อารมณ์สูงสุดของการตัดละสักกายทิฏฐิ)
((((( หมายเหตุ ))))) เรื่องตัดละ สักกายทิฏฐิ นั้น มีคนตีความหมายผิด และเข้าใจผิดทางกันเยอะมาก
โดยเข้าใจว่า พระโสดาบัน ตัดละสักกายทิฏฐิได้หมดจดแล้ว แต่ความจริงแล้ว พระโสดาบันตัดละสังโยชน์ในข้อนี้ได้เพียงแค่เบาๆเท่านั้น
ถ้า สักกายทิฏฐิ ตัดกร๊วบได้ทีเดียวขาดเลย อันนี้แสดงว่าคนผู้นั้นบรรลุความเป็นอรหัตผลแล้ว
สักกายทิฏฐิ ตัวนี้ จะตัดละได้อย่างเด็ดขาดหมดจด ก็ต่อเมื่อบรรลุอรหัตผลแล้วเท่านั้น
สำหรับพระอริยะเจ้าขั้นต้นเช่น พระโสดาบัน นั้นยังมีอารมณ์ตัดละสักกายทิฏฐิ(ร่างกาย) ได้เพียงแค่เบาๆขั้นต้นเท่านั้น
สักกายทิฏฐิ ของพระโสดาบันและพระสกิทาคามี จึงมีความรู้สึกแค่ว่า.....
"รู้ว่าเราจะต้องตาย" หรือ "ไม่ลืมความตาย" หรือ "มีความตายเป็นอารมณ์" เท่านั้น (ทั้งสามตัวนี้แปลได้ใจความเดียวกัน)
(ตัวอย่างที่ชัดเจนที่ยืนยันในเรื่องนี้ก็คือ นางวิสาขา บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ปี แต่งงานมีสามีตอนอายุ 16 ปี และมีลูกถึง 20 คน)
(ถ้าพระโสดาบัน ตัดละสักกายทิฏฐิได้หมดจดแล้ว ก็แสดงว่าเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว ก็คงไม่มาแต่งงานมีสามี แล้วมีลูกได้ถึง 20 คน)
พระโสดาบัน ยังตัดละสักกายทิฏฐิได้ไม่หมดจด และยังตัดละกามฉันทะไม่ได้ พระโสดาบันจึงแต่งงานมีครอบครัวได้ และยังมีลูกได้อยู่
และการที่พระโสดาบัน ยังเป็นผู้ที่ยังต้องเกิดอยู่(ไม่เกิน7ชาติ) ก็เป็นเครื่องยืนยันว่า พระโสดาบัน นั้น ยังตัดละสักกายทิฏฐิไม่ได้หมดจดในคราวเดียว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ไม่ต้องเสียใจไป ทั้งหญิงและชาย สามารถบรรลุธรรมในเพศฆราวาสได้ ไ่ม่จำเป็นจะต้องบวชเป็นพระภิกษุเสมอไป
และต่อให้บวชเป็นพระสงฆ์นานถึง100พรรษา แต่ถ้าจิตตัดละสังโยชน์3ข้อแรกไม่ได้ คนผู้นั้นก็จะเป็นเพียงแค่ "สมมติสงฆ์" เท่านั้น
เพราะฉนั้นผู้หญิงถ้าอยากจะเป็นพระ ก็ทำตัวเองให้บรรลุความเป็นพระโสดาบัน คุณก็ได้เป็น "พระ" เหมือนกัน
ไม่ต้องไปเสียดายว่าไม่มีโอกาสได้ห่มผ้าเหลือง เพราะต่อให้คุณสามารถบวชเป็นพระภิกษุณีได้จริง ได้ห่มผ้าเหลืองจริง
แต่ถ้าจิตคุณตัดละสังโยชน์ 3 ข้อแรกไม่ได้ คุณก็จะเป็นเพียง "สมมติสงฆ์" เหมือนกัน
การบวชเป็นพระโดยพิธีกรรมที่ไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้เกิดความคลางแคลงใจในการบวชนั้น อาจจะเป็นหนามตำใจในการปฏิบัติ เพราะคุณไม่แน่ใจในสถานะของตัวเอง
สู้เป็นฆราวาสที่ถือศีลมั่นคง มีสถานะแน่นอนในใจ ไม่ลังเลสงสัยในความดีของตนเอง กลับจะทำให้มีความก้าวหน้ามากกว่า
และถ้าคุณไปบวชกับคนที่ไม่ได้เป็นพระภิกษุณีจริง คุณก็จะไม่ได้เป็นพระภิกษุณี แต่คุณจะกลายเป็นคนที่แต่งตัวเลียนแบบสงฆ์แทน
อานิสงส์ในการบวชเป็นพระก็จะไม่ได้ รวมทั้งคนที่มาทำบุญกับคุณก็จะไม่ได้อานิสงส์ในการทำบุญกับพระ
บทความเรื่อง "การบรรลุธรรม เพศหญิงหรือเพศชายไม่ต่างกัน ฆราวาสก็สามารถบรรลุธรรมได้ ไม่จำเป็นจะต้องบวชเป็นพระ"
"การบรรลุธรรมนั้น ไม่เกี่ยวกับเพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือว่าเพศชาย ไม่มีความต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสะอาดของจิตเท่านั้น"
ไม่ว่าจะเป็น อุบาสก,อุบาสิกา,สามเณร,ภิกษุสงฆ์,ภิกษุณีสงฆ์ จะบรรลุธรรมได้ถึงขั้นไหน ให้ดูที่การตัดละกิเลสสังโยชน์10เป็นสำคัญ (ว่าตัดละได้กี่ข้อ)
"การบรรลุธรรมนั้น ไม่เกี่ยวกับการถือศีลมากข้อ (ไม่จำเป็นจะต้องบวชเป็นพระสงฆ์เท่านั้น ฆราวาสก็สามารถที่จะบรรลุธรรมได้)"
การถือศีลของพุทธศาสนิกชนนั้น เป็นการถือศีลตามสถานะเท่านั้น (5,8,10,227ข้อ) (แล้วแต่ว่าใครกำลังอยู่ในสถานะอะไร) ถ้าฆราวาสก็เริ่มต้นที่ศีล5
(ไม่ได้หมายความว่า การถือศีลมากข้อ แล้วจิตจะสะอาดมากตามไปด้วย)
"ศีล เป็นเพียงแค่เครื่องตีกรอบความประพฤติของคนไว้เฉยๆ ไม่ได้หมายความว่าจิตใจของคนผู้นั้น จะสะอาดมากตามจำนวนข้อศีลที่ถืออยู่"
(จิตจะสะอาดมากเท่าไร ให้ดูที่การตัดละกิเลสสังโยชน์10 เป็นสำคัญ ว่าตัดละได้กี่ข้อ) (ถ้าไม่สนใจการตัดละกิเลส จะถือศีลซัก1,000,000ข้อ ก็เท่านั้น)
"สำหรับฆราวาสนั้น(ไม่ว่าหญิงหรือว่าชาย) จะต้องมีศีล5บริสุทธิ์ เป็นอย่างน้อย ถึงจะบรรลุความเป็นพระอริยะเจ้าขั้นต้นได้(พระโสดาบัน)"
ความจริงแล้วไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือว่าฆราวาส แค่ศีล10 ก็สามารถที่จะบรรลุธรรมได้ (สามเณรในสมัยพุทธกาล ก็บรรลุอรหันต์แล้ว)
แต่เหตุที่พระสงฆ์ต้องถือศีลถึง227ข้อ ก็เพราะว่าเป็นปูชนียบุคคล ต้องอยู่ในฐานะที่จะต้องมีผู้คนมากราบไหว้ และนับถือเป็นครูบาอาจารย์
และต้องเป็นผู้สืบทอดศาสนา จึงต้องมีศีลมากข้อเพื่อให้สำรวม เพื่อคงความดีงามของพระพุทธศาสนา
การบวชเป็นพระสงฆ์นั้น แม้จะถือศีล227ข้อ โดยที่ศีลไม่ขาดเลย ตลอดระยะเวลา 100ปี
ก็จะเป็นเพียงแค่ "สมมติสงฆ์" ไปตลอดเท่านั้น ถ้ายังตัดละสังโยชน์ได้ไม่ครบ 3ข้อแรก (พระโสดาบัน)
ถ้าใครยังพูดวนเวียนอยู่แต่กับความต่างเรื่องเพศ คิดว่าเพศหญิงมีโอกาสบรรลุธรรมน้อยกว่าชาย
หรือว่าถ้ายังมัวพูดถึงแต่เรื่องความต่างของจำนวนข้อศีลที่ถืออยู่ของแต่ละคน คิดว่าผู้บวชเป็นพระสงฆ์ย่อมใกล้นิพพานมากกว่าฆราวาส
คนที่พูดแบบนี้ แสดงว่ายังมีความเข้าใจผิดอยู่ ความจริงแล้วพุทธศาสนิกชน ถือศีลตามสถานะเท่านั้น
(ต่อให้คุณบวชเป็นพระสงฆ์ถือศีล227ข้อ แต่ถ้าถือศีลไม่บริสุทธิ์ ก็อาจจะสู้ฆราวาสที่มีศีล5บริสุทธิ์ไม่ได้)
(การบวชพระทำให้มีเวลาว่างมากกว่าฆราวาส ทำให้เหมาะแก่การเจริญสมณธรรม แต่ใครจะใกล้นิพพานมากกว่ากัน ขึ้นอยู่กับความสะอาดของจิตของคนๆนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าใครจะถือศีลมากข้อกว่ากัน)
ถ้าเป็นพระสงฆ์ ก็ start ที่ศีล 227
ถ้าเป็นฆราวาส ก็ start ที่ศีล 5
(ใครถึงนิพพานก่อนกัน ขึ้นอยู่ที่ความสะอาดของจิต ไม่ได้เกี่ยวกับว่าใครบวชพระหรือไม่บวชพระ และก็ไม่ได้เกี่ยวกับว่าเป็นเพศใด)
(ฆราวาสเมื่อบรรลุเป็นพระอริยะเจ้าขั้นต้นแล้ว(พระโสดาบัน) ก็จะพอใจการถือครองศีลที่มากข้อยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆเอง จนบรรลุธรรม)
****************************************************************************************************
ให้สังเกตดูอารมณ์จิตของตัวเองว่าตัดละสังโยชน์ในข้อใดได้ "อย่างเด็ดขาด" บ้าง ถึงขั้นไหนแล้ว
พระอริยะเจ้าจะมีอารมณ์เด็ดขาดในทุกระดับ สิ่งใดที่ตัดละได้แล้ว จะไม่มีอาการกำเริบของจิตอีก
ถ้ายังมีอารมณ์กลับไป-กลับมา นั่นแสดงว่ายังไม่ได้ในข้อนั้น
****************************************************************************************************
ความจริงแล้ว พระอริยะเจ้าทุกระดับ ตัดละที่ตัวเดียวกัน "สักกายทิฏฐิ" (สังโยชน์ข้อที่1)
(ตัดละตัวนี้เพียงตัวเดียวลงได้ "อย่างเด็ดขาด" ก็เป็นพระอรหันต์ได้)
เพราะว่า สิ่งที่หวงแหนที่สุดของคนเรานั้นก็คือ ร่างกายของตนเอง
การมีกิเลส ต้องการทรัพย์สิน,ต้องการกามราคะ ก็เพื่อที่จะสนองให้กับร่างกายของตนเอง
ทรัพย์สินและสิ่งเร้าทั้งหลายจะไม่มีความหมาย ถ้าเราไม่มีร่างกายที่จะเสพ
เพราะฉนั้นกำลังใจในการตัดละร่างกายตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่หวงแหนมากที่สุดลงได้อย่างเด็ดขาดนั้น
จึงเป็นกำลังใจที่สูงที่สุด จึงเป็นการตัดละกิเลสข้อที่เหลือทั้งหมดลงไปด้วย
พระอริยะเจ้าทุกระดับตัดละที่ตัวเดียวกัน "สักกายทิฏฐิ" เหมือนกัน แต่อารมณ์ในการเข้าถึงต่างกัน จึงมีอารมณ์หนัก-เบา ในการตัดละตัวนี้ไม่เท่ากัน
(ยิ่งเป็นพระอริยะเจ้าในระดับสูงขึ้นไปมากเท่าใด ก็จะยิ่งมีอารมณ์หนักแน่นในการตัดละสักกายทิฏฐิมากขึ้นเท่านั้น)
อารมณ์ความหนักแน่นในการตัดละ สักกายทิฏฐิ ของพระอริยะเจ้า จะมี3ระดับ (หรือ 3ขั้น)
1.พระโสดาบันและพระสกิทาคามี ยังมองเห็นโทษของการมีร่างกายน้อย อารมณ์ในการตัดละสักกายทิฏฐิ(ร่างกาย) จึงตัดละได้แค่เบาๆเบื้องต้น
สักกายทิฏฐิ ของพระโสดาบันและพระสกิทาคามี จึงรู้สึกแค่ว่า......
"รู้ว่าเราจะต้องตาย" หรือ "ไม่ลืมความตาย" หรือ "มีความตายเป็นอารมณ์" เท่านั้น (ทั้งสามตัวนี้แปลได้ใจความเดียวกัน)
2.สักกายทิฏฐิ ของพระอนาคามี จะรู้สึกว่า "ร่างกายสกปรก มีความเบื่อหน่ายในร่างกาย"
(อารมณ์ในการตัดละสักกายทิฏฐิหนักแน่นขึ้นมาอีกขั้นนึง เพราะเห็นว่าร่างกายสกปรกอย่างชัดเจน จึงตัดกาม ตัดโกรธ ได้)
3.สักกายทิฏฐิ ของพระอรหันต์ จะรู้สึกว่า "ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา"
(อารมณ์ตัดละร่างกายได้หมดจด อารมณ์สูงสุดของการตัดละสักกายทิฏฐิ)
((((( หมายเหตุ ))))) เรื่องตัดละ สักกายทิฏฐิ นั้น มีคนตีความหมายผิด และเข้าใจผิดทางกันเยอะมาก
โดยเข้าใจว่า พระโสดาบัน ตัดละสักกายทิฏฐิได้หมดจดแล้ว แต่ความจริงแล้ว พระโสดาบันตัดละสังโยชน์ในข้อนี้ได้เพียงแค่เบาๆเท่านั้น
ถ้า สักกายทิฏฐิ ตัดกร๊วบได้ทีเดียวขาดเลย อันนี้แสดงว่าคนผู้นั้นบรรลุความเป็นอรหัตผลแล้ว
สักกายทิฏฐิ ตัวนี้ จะตัดละได้อย่างเด็ดขาดหมดจด ก็ต่อเมื่อบรรลุอรหัตผลแล้วเท่านั้น
สำหรับพระอริยะเจ้าขั้นต้นเช่น พระโสดาบัน นั้นยังมีอารมณ์ตัดละสักกายทิฏฐิ(ร่างกาย) ได้เพียงแค่เบาๆขั้นต้นเท่านั้น
สักกายทิฏฐิ ของพระโสดาบันและพระสกิทาคามี จึงมีความรู้สึกแค่ว่า.....
"รู้ว่าเราจะต้องตาย" หรือ "ไม่ลืมความตาย" หรือ "มีความตายเป็นอารมณ์" เท่านั้น (ทั้งสามตัวนี้แปลได้ใจความเดียวกัน)
(ตัวอย่างที่ชัดเจนที่ยืนยันในเรื่องนี้ก็คือ นางวิสาขา บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ปี แต่งงานมีสามีตอนอายุ 16 ปี และมีลูกถึง 20 คน)
(ถ้าพระโสดาบัน ตัดละสักกายทิฏฐิได้หมดจดแล้ว ก็แสดงว่าเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว ก็คงไม่มาแต่งงานมีสามี แล้วมีลูกได้ถึง 20 คน)
พระโสดาบัน ยังตัดละสักกายทิฏฐิได้ไม่หมดจด และยังตัดละกามฉันทะไม่ได้ พระโสดาบันจึงแต่งงานมีครอบครัวได้ และยังมีลูกได้อยู่
และการที่พระโสดาบัน ยังเป็นผู้ที่ยังต้องเกิดอยู่(ไม่เกิน7ชาติ) ก็เป็นเครื่องยืนยันว่า พระโสดาบัน นั้น ยังตัดละสักกายทิฏฐิไม่ได้หมดจดในคราวเดียว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้