โหมโรง เดอะ มิวสิคัล :
เก่ายังไม่ไป ใหม่ก็จะมา
คอลัมน์ หนึ่งคำถามล้านคำตอบ โดย นิ้วกลม
1 ผมเดินเข้าโรงละคร "โหมโรง เดอะ มิวสิคัล" ด้วยความไม่แน่ใจ
เกรงนิดๆ ว่าละครเวทีเรื่องนี้จะมีเนื้อหาชักชวนเราหวนกลับไปหาวันคืนดีๆ เมื่อครั้งเก่าและปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ พร้อมทั้งมอบบทผู้ร้ายให้กับความเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า เพราะคำโปรยผ่านสื่อต่างๆ ทำท่าว่าจะไปทางนั้น เช่น คำโปรยบนใบปิดหลักอย่าง "ไร้ราก ไร้แผ่นดิน" หรือบนโปสเตอร์รูปพันโทวีระยืนทำหน้าดุที่ว่า "โบราณต้องเปลี่ยนแปลง ล้าหลังต้องหมดไป" ดูก็รู้ว่าอีตานี่เป็นตัวโหดของเรื่องแน่ๆ
แต่กระนั้นก็อยากดู เพราะเชื่อว่าระดับ "โต๊ะกลม" แล้วย่อมไม่ทำให้ผิดหวัง
แม้ละครจะหยิบประเด็นความขัดแย้งของ "ใหม่" และ "เก่า" ขึ้นมาไฮไลต์ แต่เมื่อได้ชมละครเรื่องนี้จริงๆ กลับปรากฏว่าผมได้ยินเสียงดนตรีสอดแทรกขึ้นมาตลอดเวลาระหว่างที่ฝ่ายเก่าและฝ่ายใหม่ถกเถียงกัน
เสียงดนตรีคือสิ่งที่เด่นชัดที่สุดใน "โหมโรง เดอะ มิวสิคัล"
เสียงที่ศร-พระเอกของเรื่องย้ำเตือนอยู่เสมอว่า "อย่าให้มันหายไป"
2 บทละครเวทีเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของ พี่อิท-อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์-ผู้กำกับฯ "โหมโรง" ฉบับภาพยนตร์อันลือลั่นในปี พ.ศ.2547
เนื้อเรื่องและแก่นแกนยังคงเดิม คือเรื่องราวของ ศร ศิลปบรรเลง (หลวงประดิษฐ์ไพเราะ)-นักระนาดอัจฉริยะ ผู้มีความมุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งในแผ่นดิน
แต่เพื่อจะไปถึงฝันนั้นเขาจะต้องเอาชนะขุนอิน-นักระนาดผู้ครองตำแหน่ง "หนึ่งในแผ่นดิน" ไปให้ได้เสียก่อน
เรื่องราวเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อญี่ปุ่นเริ่มแผ่อิทธิพลมายังดินแดนในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทย
ในตอนนั้น "ท่านผู้นำ" มีนโยบายทำประเทศให้ทันสมัย ศิวิไลซ์ และมีวัฒนธรรมเหมือนชาวตะวันตก
มีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้น เพื่อสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมใหม่ จัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศ โดยประกาศรัฐนิยมฉบับต่างๆ
เช่น สั่งห้ามประชาชนกินหมากโดยเด็ดขาด ให้ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน เปลี่ยนมานุ่งผ้าถุงแทน ให้สวมหมวก สวมรองเท้า ควบคุมศิลปะและดนตรีไทยเดิมอย่างเคร่งครัด ฯลฯ
นับว่ารัฐเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชน โดยประชาชนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตามคำขวัญที่ว่า "เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย"
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือนักดนตรีไทย รวมถึงผู้ที่หลงใหลในเสียงดนตรีและการเล่นดนตรีไทยมาตลอดชีวิตอย่าง ศร ศิลปบรรเลง หรือหลวงประดิษฐ์ไพเราะนี่เอง
สำหรับนักดนตรีที่เล่นดนตรีไทยเป็นอาชีพ พวกเขาต้องเปลี่ยนอาชีพการงาน บ้างไปแบกข้าวสาร ใช้แรงงาน เพราะนักดนตรีใน "ประเทศไทย" ต้องมีใบอนุญาต ต้องเล่นดนตรีในแบบที่รัฐอยากให้เล่น กระทั่งการนั่งเล่นกับพื้นก็แสดงถึงความไม่ศิวิไลซ์ ห้ามทำโดยเด็ดขาด
แต่สำหรับหลวงประดิษฐ์ไพเราะผู้ที่หลงใหลในเสียงดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ได้ดิบได้ดีจากการเล่นดนตรี กระทั่งดนตรีไทยเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขา
ความเจ็บปวดนั้นกัดเซาะลงไปถึงในใจ ภาพระนาดที่ถูกห่มคลุมไว้เพราะถูก "ทางการ" สั่งให้เลิกบรรเลงไม่ต่างอะไรจาก "ศพ" ของระนาดที่ถูกผ้าคลุมร่าง แลดูเหมือนไม่มีโอกาสจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก
ในเรื่อง หลวงประดิษฐ์ไพเราะยังคงเล่นดนตรีไทยตราบจนลมหายใจสุดท้าย ก่อนสิ้นลมท่านยังฝากถ้อยคำสุดท้ายเอาไว้ด้วยว่า "มันยังดังอยู่นั่นไง ได้ยินไหม อย่าปล่อยให้มันหายไป"
3 ในบริบทของสถานการณ์จริง คงมีเรื่องให้ทำความเข้าใจและถกเถียงกันได้มากมายว่าเหตุใดรัฐไทยในขณะนั้นจึงดำเนินนโยบายเช่นนั้น สถานการณ์โลก สงครามโลกที่คืบคลานเข้ามาส่งผลต่อวิธีคิดและแนวนโยบายมากน้อยแค่ไหนอย่างไร แต่จากเรื่องราวบนเวที ผมคิดว่าละครเพลงเรื่องนี้มีสิ่งชวนคิดอยู่ไม่น้อย
ก่อนอื่นคงต้องบอกก่อนว่า สำหรับผม (ซึ่งดูละครเวทีมาไม่มากนัก) "โหมโรง เดอะมิวสิคัล" นับเป็นละครเวทีฝีมือคนไทยที่ลงตัวและเต็มอิ่มมากที่สุดเรื่องหนึ่ง
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดน่าจะเป็นดนตรีที่นำเอาวงปี่พาทย์และระนาดเอกมาเล่นสดให้ได้ฟังจนกระทั่งอยากไปซื้อหามาฟังเพิ่ม
ละครเรื่องนี้ทำให้ดนตรีไทยมีเสน่ห์ มีสีสัน แปลกใหม่ และไม่เชย แต่ที่โดดเด่นไม่แพ้กันเลยคือการออกแบบฉากและเวที ที่สามารถสร้างมิติในจินตนาการขึ้นมาในหัวของคนดูได้อย่างน่าสนใจ
การเล่นมิติ ซ้อนเหลื่อม เปลี่ยนฉาก เปลี่ยนเวลา จากอดีตไปสู่อนาคต จากบนพื้นดินไปสู่ใต้ดิน ข้างนอก-ข้างใน ความจริง-จินตนาการ เลื่อนไหลได้อย่างน่าอัศจรรย์
บางฉากก็ "น้อย" แต่ได้ผล คือใช้เพียงการออกแบบแสงและเงาก็ทำให้เราเข้าใจว่าตัวละครอยู่ที่ไหน
บางฉากที่เป็นบ้านก็ออกแบบเพียงเค้าโครงของบ้านเพื่อให้มองทะลุเข้าไปเห็นกิจกรรมภายในบ้าน ไม่ได้ออกแบบให้สมจริงไปเสียทั้งหมด แต่กลับทำให้รู้สึกจริง
ขณะที่ฉากซึ่งต้องการความอลังการทางอารมณ์ก็ทำออกมาได้ดีเยี่ยม ทุกการปรากฏตัวของขุนอินชวนให้ขนลุกขนพองด้วยความขลัง น่าเกรงขาม ขณะเดียวกันก็สวยงามและไพเราะอำมหิต
อีกฉากหนึ่งที่ทำได้สวยงามชวนฝันคือฉากที่ศรนอนอยู่ในเรือที่ลอยละล่องไปในแม่น้ำใต้ทิวมะพร้าว คนดูจะรู้สึกว่าตัวเองเหมือนเป็นนกที่กำลังบินอยู่กลางเวหาแล้วมองลงไป
เสียดายนิดหน่อยที่ภาพกราฟิกประกอบมีความก้ำกึ่งระหว่างความสมจริงกับแฟนตาซี ส่วนตัวแล้วคิดว่า ถ้าให้สุดไปสักทางเลยจะทำให้ฉากนี้สวยงามมาก
สำหรับเรื่องการร้องเพลง นักแสดงที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็น คุณสาธิดา พรหมพิริยะ ผู้แสดงเป็น "แม่โชติ" เมื่อเธอเปล่งเสียงออกมาแต่ละทีนี่เล่นเอาดอกลั่นทมอยากจะหุบตัวเองหนีหน้าไป เสียงสวยและไพเราะเหมือนผ่านการปรับแต่งจากคอมพิวเตอร์มาแล้วเรียบร้อย กระทั่งหลายคนสงสัยว่าเป็นลิปซิ้ง
ส่วนนักแสดงคนอื่นอาจต้องบอกว่าพาร์ตการร้องเพลงนั้นนับเป็นจุดด้อย (ซึ่งมีอยู่น้อยมาก) ของละครเรื่องนี้ ยกเว้นก็แต่ คุณโย่ง อาร์มแชร์ ที่เปล่งพลังเสียงได้ขึงขังสมเป็นทหารดุ แต่ทั้งหมดทั้งมวลก็ถูกแทนที่ด้วยฝีมือการเล่นดนตรีไทยที่ทำให้เราเคลิ้มไป โยกหัวตาม หรือบางจังหวะก็กระดิกเท้าเมามันโดยไม่รู้ตัว
และนี่เป็นสิ่งที่ละครเวทีเรื่องนี้ทำสำเร็จอีกครั้งหลังจากที่ฉบับภาพยนตร์ทำสำเร็จมาแล้ว
นั่นคือความรู้สึกว่า "ดนตรีไทยมันเท่ดีว่ะ" นำมาซึ่งความอยากฟัง อยากเล่น อยากหยิบมาสร้างสรรค์ต่อ
อีกสิ่งที่ผมชอบมากคือการหั่นซอยเรื่องราวออกเป็นฉากสั้นๆ ถึง 38 ฉาก ทำให้การดำเนินเรื่องเป็นไปอย่างฉับไว ไม่มีจังหวะให้เบื่อ ซึ่งเหมาะมากกับคนดูในยุคนี้ที่ไม่สามารถทนอยู่กับอะไรเดิมๆ ได้นาน ต้องเปลี่ยนวินโดวส์ กดรีเฟรชตลอดเวลา ผมคิดว่านี่เป็นวิธีออกแบบบทละครแบบ "ทวิตเตอร์" คือทวีตทีละสั้นๆ แล้วก็เปลี่ยนฉากเปลี่ยนเรื่อง มิได้ลากเรื่องแต่ละช่วงยาวนานเหมือนกำลังอ่านนิยาย
ในส่วนโปรดักชั่นต้องบอกว่า ประทับใจมาก แล้วในส่วนเนื้อหาล่ะ
(มีเนื้อหาต่อข้างล่างค่ะ)
"นิ้วกลม" มอง...โหมโรง เดอะ มิวสิคัล : เก่ายังไม่ไป ใหม่ก็จะมา
เก่ายังไม่ไป ใหม่ก็จะมา
คอลัมน์ หนึ่งคำถามล้านคำตอบ โดย นิ้วกลม
1 ผมเดินเข้าโรงละคร "โหมโรง เดอะ มิวสิคัล" ด้วยความไม่แน่ใจ
เกรงนิดๆ ว่าละครเวทีเรื่องนี้จะมีเนื้อหาชักชวนเราหวนกลับไปหาวันคืนดีๆ เมื่อครั้งเก่าและปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ พร้อมทั้งมอบบทผู้ร้ายให้กับความเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า เพราะคำโปรยผ่านสื่อต่างๆ ทำท่าว่าจะไปทางนั้น เช่น คำโปรยบนใบปิดหลักอย่าง "ไร้ราก ไร้แผ่นดิน" หรือบนโปสเตอร์รูปพันโทวีระยืนทำหน้าดุที่ว่า "โบราณต้องเปลี่ยนแปลง ล้าหลังต้องหมดไป" ดูก็รู้ว่าอีตานี่เป็นตัวโหดของเรื่องแน่ๆ
แต่กระนั้นก็อยากดู เพราะเชื่อว่าระดับ "โต๊ะกลม" แล้วย่อมไม่ทำให้ผิดหวัง
แม้ละครจะหยิบประเด็นความขัดแย้งของ "ใหม่" และ "เก่า" ขึ้นมาไฮไลต์ แต่เมื่อได้ชมละครเรื่องนี้จริงๆ กลับปรากฏว่าผมได้ยินเสียงดนตรีสอดแทรกขึ้นมาตลอดเวลาระหว่างที่ฝ่ายเก่าและฝ่ายใหม่ถกเถียงกัน
เสียงดนตรีคือสิ่งที่เด่นชัดที่สุดใน "โหมโรง เดอะ มิวสิคัล"
เสียงที่ศร-พระเอกของเรื่องย้ำเตือนอยู่เสมอว่า "อย่าให้มันหายไป"
2 บทละครเวทีเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของ พี่อิท-อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์-ผู้กำกับฯ "โหมโรง" ฉบับภาพยนตร์อันลือลั่นในปี พ.ศ.2547
เนื้อเรื่องและแก่นแกนยังคงเดิม คือเรื่องราวของ ศร ศิลปบรรเลง (หลวงประดิษฐ์ไพเราะ)-นักระนาดอัจฉริยะ ผู้มีความมุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งในแผ่นดิน
แต่เพื่อจะไปถึงฝันนั้นเขาจะต้องเอาชนะขุนอิน-นักระนาดผู้ครองตำแหน่ง "หนึ่งในแผ่นดิน" ไปให้ได้เสียก่อน
เรื่องราวเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อญี่ปุ่นเริ่มแผ่อิทธิพลมายังดินแดนในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทย
ในตอนนั้น "ท่านผู้นำ" มีนโยบายทำประเทศให้ทันสมัย ศิวิไลซ์ และมีวัฒนธรรมเหมือนชาวตะวันตก
มีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้น เพื่อสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมใหม่ จัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศ โดยประกาศรัฐนิยมฉบับต่างๆ
เช่น สั่งห้ามประชาชนกินหมากโดยเด็ดขาด ให้ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน เปลี่ยนมานุ่งผ้าถุงแทน ให้สวมหมวก สวมรองเท้า ควบคุมศิลปะและดนตรีไทยเดิมอย่างเคร่งครัด ฯลฯ
นับว่ารัฐเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชน โดยประชาชนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตามคำขวัญที่ว่า "เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย"
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือนักดนตรีไทย รวมถึงผู้ที่หลงใหลในเสียงดนตรีและการเล่นดนตรีไทยมาตลอดชีวิตอย่าง ศร ศิลปบรรเลง หรือหลวงประดิษฐ์ไพเราะนี่เอง
สำหรับนักดนตรีที่เล่นดนตรีไทยเป็นอาชีพ พวกเขาต้องเปลี่ยนอาชีพการงาน บ้างไปแบกข้าวสาร ใช้แรงงาน เพราะนักดนตรีใน "ประเทศไทย" ต้องมีใบอนุญาต ต้องเล่นดนตรีในแบบที่รัฐอยากให้เล่น กระทั่งการนั่งเล่นกับพื้นก็แสดงถึงความไม่ศิวิไลซ์ ห้ามทำโดยเด็ดขาด
แต่สำหรับหลวงประดิษฐ์ไพเราะผู้ที่หลงใหลในเสียงดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ได้ดิบได้ดีจากการเล่นดนตรี กระทั่งดนตรีไทยเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขา
ความเจ็บปวดนั้นกัดเซาะลงไปถึงในใจ ภาพระนาดที่ถูกห่มคลุมไว้เพราะถูก "ทางการ" สั่งให้เลิกบรรเลงไม่ต่างอะไรจาก "ศพ" ของระนาดที่ถูกผ้าคลุมร่าง แลดูเหมือนไม่มีโอกาสจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก
ในเรื่อง หลวงประดิษฐ์ไพเราะยังคงเล่นดนตรีไทยตราบจนลมหายใจสุดท้าย ก่อนสิ้นลมท่านยังฝากถ้อยคำสุดท้ายเอาไว้ด้วยว่า "มันยังดังอยู่นั่นไง ได้ยินไหม อย่าปล่อยให้มันหายไป"
3 ในบริบทของสถานการณ์จริง คงมีเรื่องให้ทำความเข้าใจและถกเถียงกันได้มากมายว่าเหตุใดรัฐไทยในขณะนั้นจึงดำเนินนโยบายเช่นนั้น สถานการณ์โลก สงครามโลกที่คืบคลานเข้ามาส่งผลต่อวิธีคิดและแนวนโยบายมากน้อยแค่ไหนอย่างไร แต่จากเรื่องราวบนเวที ผมคิดว่าละครเพลงเรื่องนี้มีสิ่งชวนคิดอยู่ไม่น้อย
ก่อนอื่นคงต้องบอกก่อนว่า สำหรับผม (ซึ่งดูละครเวทีมาไม่มากนัก) "โหมโรง เดอะมิวสิคัล" นับเป็นละครเวทีฝีมือคนไทยที่ลงตัวและเต็มอิ่มมากที่สุดเรื่องหนึ่ง
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดน่าจะเป็นดนตรีที่นำเอาวงปี่พาทย์และระนาดเอกมาเล่นสดให้ได้ฟังจนกระทั่งอยากไปซื้อหามาฟังเพิ่ม
ละครเรื่องนี้ทำให้ดนตรีไทยมีเสน่ห์ มีสีสัน แปลกใหม่ และไม่เชย แต่ที่โดดเด่นไม่แพ้กันเลยคือการออกแบบฉากและเวที ที่สามารถสร้างมิติในจินตนาการขึ้นมาในหัวของคนดูได้อย่างน่าสนใจ
การเล่นมิติ ซ้อนเหลื่อม เปลี่ยนฉาก เปลี่ยนเวลา จากอดีตไปสู่อนาคต จากบนพื้นดินไปสู่ใต้ดิน ข้างนอก-ข้างใน ความจริง-จินตนาการ เลื่อนไหลได้อย่างน่าอัศจรรย์
บางฉากก็ "น้อย" แต่ได้ผล คือใช้เพียงการออกแบบแสงและเงาก็ทำให้เราเข้าใจว่าตัวละครอยู่ที่ไหน
บางฉากที่เป็นบ้านก็ออกแบบเพียงเค้าโครงของบ้านเพื่อให้มองทะลุเข้าไปเห็นกิจกรรมภายในบ้าน ไม่ได้ออกแบบให้สมจริงไปเสียทั้งหมด แต่กลับทำให้รู้สึกจริง
ขณะที่ฉากซึ่งต้องการความอลังการทางอารมณ์ก็ทำออกมาได้ดีเยี่ยม ทุกการปรากฏตัวของขุนอินชวนให้ขนลุกขนพองด้วยความขลัง น่าเกรงขาม ขณะเดียวกันก็สวยงามและไพเราะอำมหิต
อีกฉากหนึ่งที่ทำได้สวยงามชวนฝันคือฉากที่ศรนอนอยู่ในเรือที่ลอยละล่องไปในแม่น้ำใต้ทิวมะพร้าว คนดูจะรู้สึกว่าตัวเองเหมือนเป็นนกที่กำลังบินอยู่กลางเวหาแล้วมองลงไป
เสียดายนิดหน่อยที่ภาพกราฟิกประกอบมีความก้ำกึ่งระหว่างความสมจริงกับแฟนตาซี ส่วนตัวแล้วคิดว่า ถ้าให้สุดไปสักทางเลยจะทำให้ฉากนี้สวยงามมาก
สำหรับเรื่องการร้องเพลง นักแสดงที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็น คุณสาธิดา พรหมพิริยะ ผู้แสดงเป็น "แม่โชติ" เมื่อเธอเปล่งเสียงออกมาแต่ละทีนี่เล่นเอาดอกลั่นทมอยากจะหุบตัวเองหนีหน้าไป เสียงสวยและไพเราะเหมือนผ่านการปรับแต่งจากคอมพิวเตอร์มาแล้วเรียบร้อย กระทั่งหลายคนสงสัยว่าเป็นลิปซิ้ง
ส่วนนักแสดงคนอื่นอาจต้องบอกว่าพาร์ตการร้องเพลงนั้นนับเป็นจุดด้อย (ซึ่งมีอยู่น้อยมาก) ของละครเรื่องนี้ ยกเว้นก็แต่ คุณโย่ง อาร์มแชร์ ที่เปล่งพลังเสียงได้ขึงขังสมเป็นทหารดุ แต่ทั้งหมดทั้งมวลก็ถูกแทนที่ด้วยฝีมือการเล่นดนตรีไทยที่ทำให้เราเคลิ้มไป โยกหัวตาม หรือบางจังหวะก็กระดิกเท้าเมามันโดยไม่รู้ตัว
และนี่เป็นสิ่งที่ละครเวทีเรื่องนี้ทำสำเร็จอีกครั้งหลังจากที่ฉบับภาพยนตร์ทำสำเร็จมาแล้ว
นั่นคือความรู้สึกว่า "ดนตรีไทยมันเท่ดีว่ะ" นำมาซึ่งความอยากฟัง อยากเล่น อยากหยิบมาสร้างสรรค์ต่อ
อีกสิ่งที่ผมชอบมากคือการหั่นซอยเรื่องราวออกเป็นฉากสั้นๆ ถึง 38 ฉาก ทำให้การดำเนินเรื่องเป็นไปอย่างฉับไว ไม่มีจังหวะให้เบื่อ ซึ่งเหมาะมากกับคนดูในยุคนี้ที่ไม่สามารถทนอยู่กับอะไรเดิมๆ ได้นาน ต้องเปลี่ยนวินโดวส์ กดรีเฟรชตลอดเวลา ผมคิดว่านี่เป็นวิธีออกแบบบทละครแบบ "ทวิตเตอร์" คือทวีตทีละสั้นๆ แล้วก็เปลี่ยนฉากเปลี่ยนเรื่อง มิได้ลากเรื่องแต่ละช่วงยาวนานเหมือนกำลังอ่านนิยาย
ในส่วนโปรดักชั่นต้องบอกว่า ประทับใจมาก แล้วในส่วนเนื้อหาล่ะ
(มีเนื้อหาต่อข้างล่างค่ะ)