"บาปสีขาว" (การวิจัยในคน)

หลายคนอาจจะไม่เคยรู้.....
.....ว่า.....
การทำวิจัยในคนนั้น เป็นเรื่องที่อ่อนไหวมากๆ  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มักจะมี "มาตรการ"   "กฎระเบียบ"  "ข้อบังคับ" ต่างๆ  เพื่อปกป้อง คนไข้ ที่จะต้องกลายเป็น หนูทดลอง  
เพราะฉะนั้น.......  
หน่วยงานภายนอกหรือองค์กรวิจัยต่างชาติ มักจะเข้ามาในรูปแบบของเจ้าของทุนวิจัย
โดยยื่นข้อเสนอ คือ "ให้มีชื่อผู้สนับสนุนทุนในผลงานวิจัย" ระดับนานาชาติ
(เรียกว่า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย)
.........
การเข้ามาขององค์กรวิจัยต่างชาตินั้น จะเริ่มจาก ให้ทุนวิจัยกับสถาบันการศึกษา (ระดับอุดมศึกษา) แล้วขอตั้งหน่วยงานในสถาบันการศึกษา จากนั้นก็ดึงอาจารย์ระดับผู้บริหาร เข้ามาบริหารงาน-------->เมื่อขอบข่ายงานวิจัยต้องเก็บข้อมูลกับคนไข้ในส่วนภูมิภาค.... ก็อาศัยชื่อสถาบันการศึกษาที่ตนอาศัยอยู่ (ที่มีชื่อเสียง) ติดต่อขอตั้งหน่วยงานในโรงพยาบาล

------->เมื่อตั้งหน่วยงานในโรงพยาบาลสำเร็จ---->องค์กรวิจัยต่างชาติ ก็จะดึงหมอๆ จากโรงพยาบาลนั้นแหล่ะ มาร่วมทำวิจัย และทุกสิ่งทุกอย่างก็จะง่าย ราวกับหายใจไปวันๆ ^^
........
อย่างว่าหล่ะฮะ... พี่น้อง...
"สมัยก่อน... กรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่2 เพราะคนใน
ปัจจุบันก็ไม่ต่างกันหรอกฮะพี่น้อง...."
.....



การที่หน่วยงานวิจัยภายนอกแทรกซึม.... และฝังตัวอยู่ภายในโรงพยาบาลก็เพราะประโยชน์ในหลายๆ อย่าง คือ
1. ค่าน้ำ ค่าไฟ ไม่ต้องเสีย ----> เปิดแอร์ให้ยา ให้เชื้อที่ใช้ทำวิจัย 24 ชม. ครับ พี่น้องครับ!!!
2. อยากเก็บอะไร จากคนไข้ ก็ส่งเจ้าหน้าที่เดินขึ้นวอร์ด ชิว ชิว ---->ไม่ต้องคง ไม่ต้องขอใคร
3. สวัสดิการที่ชาวโรงพยาบาลตัวจริงได้ คนของหน่วยงานแอบแฝงก็ได้ฮะ (ในกรณีที่เป็นสวัสดิการย่อยๆๆ ที่ไม่ได้มีการตรวจสอบจริงจัง เช่น การเข้าฝึกอบรมวิชาการ การเป็นสมาชิกห้องสมุด ฯลฯ
ฯลฯ
และที่สำคัญที่สุด คือ สามารถเก็บข้อมูลจากคนไข้ ได้อย่างง่ายดาย ดังนี้

(1) การวิจัยที่ต้องใช้ "เวชระเบียนคนไข้"
แม้แต่การทำวิจัยที่ใช้ข้อมูลในเวชระเบียนคนไข้ (แฟ้มประวัฒิผู้ป่วย). ผู้วิจัยก็ต้องยื่นขอรับการรับรองจริยธรรมฯ ก่อนการทำวิจัย
...................
"เวชระเบียนคนไข้". ถือว่าเป็นเอกสารลับและสำคัญ. ดังนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายเวชระเบียนจะหวงมากๆๆๆๆๆ....
..........
ถ้าหน่วยงานภายนอกจะขอข้อมูลคนไข้จากเวชระเบียน.... จะต้องผ่านขบวนการหลายขั้นตอนและใช้เวลานานมาก.... คือ.
(1) ทำหนังสือราชการขอใช้ข้อมูลในเวชระเบียน
(2) ถ้าโรงพยาบาลนั้นมี EC. ก็ต้องผ่าน EC. ก่อน (ในขั้นตอนพิจารณาอย่างเร็วที่สุดก็ 2 เดือนฮะ)
(3) ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่าย
ดังนั้น หน่วยงานวิจัยภายนอกจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากคนภายในโรงพยาบาล และคน คนนั้นก็ต้องเป็นแพทย์. (ถ้าได้ ผอ. รพ. ร่วมมือด้วย ทุกอย่างยิ่งรวดเร็วทันใจมากๆๆๆ  หัวเราะหัวเราะหัวเราะ).
เช่น. การมีชื่อในผลงานวิจัยร่วมกัน (วินวินทั้งคู่อมยิ้ม15อมยิ้ม15อมยิ้ม15). ---> การขอข้อมูลสนเวชระเบียนก็จะง่ายขึ้น. แค่เจ้าหน้าที่วิจัยภายใต้ชื่องานของหมอXX. เดินเข้าไปขอที่ห้องเวชระเบียน. ทุกอย่างก็จบฮะ





(2)  อาศัยชื่อโรงพยาบาล ทุกอย่างก็ราบรื่น
หน่วยงานภายนอกที่แอบแฝงในโรงพยาบาล... จะได้เปรียบตรงที่....
สะดวกในการติดต่อกับคนไข้เพื่อขอเก็บข้อมูล. เพียงแค่บอกว่า "เป็นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลXX."
คนไข้ก็จะให้ความร่วมมืออย่างดีมากๆๆ เพราะคิดว่า "เป็นโรงพยาบาลที่รักษาตน"

ป.ล. ข้อมูลที่อยู่. เบอร์โทรศัพท์. โรคที่เป็น ก็ได้มาจากเวชระเบียนคนไข้ที่ได้มาจากกรรมวิธีในข้อที่1 นั้นแหล่ะฮะ!!! พี่น้อง อมยิ้ม10อมยิ้ม10อมยิ้ม10

ป.ล. ที่2 ถ้าถามว่า. "ผิดหลักจริยธรรมไหม?" ก็จะขอตอบเลยฮะว่า "ไม่ผิด!!!" เพราะจริยธรรมฯ จะรองรับในกรณีที่เอาข้อมูลมาใช้. ซึ่งในกรณีนี้ เป็นการเก็บข้อมูลไว้เฉยๆ และจะนำไปทำวิจัยในอนาคต. และเมื่อถึงวันนั้นค่อยขอ EC.
ถ้าจะผิด.... ก็ผิดที่จริยธรรมในใจตนนี่แหล่ะฮะพี่น้อง....





(3)
ก่อนทำการวิจัยจริงๆ นักวิจัยจะลองเก็บข้อมูลดูก่อนว่า"สามารถทำได้จริงหรือป่าว?"
เช่น.....
เก็บเลือด 30cc. พอไหม? สำหรับการส่งตรวจหาเชื้อXx.
แต่ละวันต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์เท่าไหร่?
เก็บได้กี่คน?
ฯลฯ
สำหรับหน่วยงานวิจัยแอบแฝงใน รพ. ก็หวานหมูสิครับพี่น้อง!!!   อยากลองเก็บอะไรเป็นตัวอย่างก็เดินไปจิ้มๆๆๆๆ คนไข้เลย...

ถามว่าคนไข้รู้ไหม?
ไม่รู้!!! และคิดว่า "หมอของโรงพยาบาล ทำไปก็เพื่อรักษาตน"......
แล้วสักพักพยาบาลที่เป็นคนของโรงพยาบาลจริงๆ ก็มาเจาะเก็บเลือดอีก....

ถามว่า"คนไข้ตายไหม?"  ถูกเก็บเลือดซ้ำซ้อนแบบนี้?!
ไม่ตาย!!!! แต่ถ้าเป็นเรา... เราอยากจะเจ็บตัวเกินความจำเป็นโดยไม่รู้อิโหน่อิเหน่ไหมฮะ!!!
(แอดมินคนนึงแหล่ะที่ไม่อยากถูกกระทำแบบนั้นฮะ  เม่าตกใจ)
............
ป.ล. เคยเจอ case ที่เป็นญาติของเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์วิจัยป่วยเอง.. และคนไข้รายนี้ก็เข้าข่ายที่จะต้องเก็บ ปรากฏว่า "เจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้เก็บของญาติตนเอง".  เต่าเอือมเต่าเอือมเต่าเอือม

ป.ล. 2 กรณีแบบนี้ EC. เอื่อมไม่ถึงฮะ. เรื่องนี้ต้องอาศัยความเมตตาจากคุณหมอคุณพยาบาลที่ทำวิจัย เท่านั้นฮะ😣😣😣. หากเป็นไปได้ไม่อยากให้คนไข้เจ็บมากกว่าการรักษาฮะ





(4)
และเพื่อให้ได้ข้อมูลในการวิจัยอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย....  หน่วยงานวิจัยแอบแฝงในรพ. จะนัดคนไข้ให้มารับยาที่โรงพยาบาลที่ตนอยู่ (ซึ่งมักจะเป็นโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในตัวจังหวัด) เพื่อเก็บข้อมูล....
แม้ว่าคนไข้รายนั้นบ้านจะอยู่ไกลจากโรงพยาบาล 100 กว่าโล  
โดยไม่คำนึงถึงความลำบากของคนไข้ที่จะต้องเดินทางไกลแค่ไหน....
ค่าใช้จ่ายในการมาแต่ละครั้งหมายถึงเงินเก็บทั้งอาทิตย์ของเขาหรือไม่?
...........
ทั้งๆที่ ความจริงแล้ว โรงพยาบาลชุมชนก็สามารถจ่ายให้คนไข้ได้....  (ซึ่งโรงพยาบาลชุมชนอยู่ใกล้บ้านคนไข้ในท้องถิ่นแน่นอนฮะ!!)
........





ในแต่ละปี....
ทุนสนับสนุนวิจัยทางการแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่า 100 ล้าน..
มีโครงการวิจัยมากกว่า 100 โครง
มีผู้วิจัยทางการแพทย์ไม่ต่ำกว่า 1000 คนทั่วประเทศ
.......,
แต่ละปีที่ผ่านไป... สุดท้ายผลลัพธ์คือ "............"



ท้ายที่สุดสิ่งที่อยากจะฝากถึง  "ผู้วิจัย" ในมนุษย์ ทุกท่าน.....
สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้.....    
....คนไข้ไม่สามารถปกป้องสิทธิของตนเองได้  เพราะ ไม่รู้.....
.... EC  ไม่สามารถคุ้มครองศักดิ์ศรีของอาสาสมัครได้  เพราะ  เอื่อมไม่ถึง
.....คนที่รู้ดีที่สุด  คือ ตัวนักวิจัยเอง .... และ หลักจริยธรรมที่ดีที่สุด  คือ  "จริยธรรมในใจตนเอง"  ...


www.facebook.com/pages/หมอฮะ-เฮฮา/1457344274520883
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่