ชลบุรีเอฟซี เฮ้ เฮ แม็ตช์ไหนก็ไม่เคยถอย
ฉลามน้อยจะต้องเป็นแชมป์
อีกทีมนึงที่ผมอยากจะเขียนถึงพวกเขามาตั้งนานแล้ว เพราะสำหรับผม นี่คือทีมจังหวัดที่ "
น่าจะ" ประสบความสำเร็จอย่างสูงที่สุด นับตั้งแต่มีการตั้งฟุตบอลอาชีพมา ทั้งในด้านการบริหารทีม, การปลุกปั้นเยาวชน พร้อมทั้งทรัพยากรทางด้านฟุตบอลอย่างครบครัน ที่เอื้ออำนวยต่อความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง
เรามาดูประวัติโดยย่อของ "
ฉลามแห่งภาคตะวันออก" ทีมนี้กันครับ
เดิมที
สโมสชลบุรี เอฟซี ได้เริ่มจากการใช้ชื่อ "
ทีมสโมสรฟุตบอลของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา" ลงแข่งในระดับ "
ถ้วยพระราชทาน" ทั้ง ข และ ก โดยลำดับ ต่อมาได้ผนวกรวมกับ "
สโมสรสันนิบาตสมุทรปราการ" โดยใช้ชื่อใหม่ว่า "
สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ" และเข้าแข่งขันในระดับดิวิชั่น 1
จนในปี พ.ศ. 2544
สโมสรฟุตบอลชลบุรี ได้แยกตัวออกจาก
สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ ที่เล่นอยู่ในระดับดิวิชั่น 1 เพื่อมาเล่นในฟุตบอลโปรวินเชียลลีก และทำผลงานได้อันดับที่ 3 ในปีฤดูกาลนั้น โดยผู้เล่นส่วนใหญ่จะนำมาจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการเปลี่ยนชื่อทีมอีกครั้ง จาก "
สโมสรฟุตบอลชลบุรี" เป็น "
สโมสรชลบุรี ชาร์ค" (ด้วยสาเหตุอะไร ตรงนี้ผู้เขียนไม่ทราบจริง ๆ ครับ แต่เดาว่าน่าจะมาจากกระแสการเปลี่ยนชื่อสโมสรให้มีความหลากหลายในยุคนั้น ที่เบื่อพวก "
เอฟซี" หรือ "
ยูไนเต็ด" อะไรทำนองนั้นกระมังครับ เลยมีการเปลี่ยนชื่อต่อท้าย อาทิ บางกอก บราโว่, สุพรรณบุรี วอริเออร์, นครสวรรค์ ไลอ้อน ฯลฯ เป็นต้น)
และพวกเขาก็สามารถคว้าแชมป์แรกมาประดับสโมสรได้ ด้วยการครองแชมป์โปรวิเชียลลีก ฤดูกาล 2548 มาได้สมใจ และได้สิทธิ์เข้าแข่งขันในลีกสูงสุดของประเทศอย่าง "
ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2549" ได้สำเร็จ
โดยในปี 2549 ทางสโมสรได้มีร่วมลงแข่งขันฟุตบอลควีนส์คัพ ในนามสโมสร "
ราชประชา" โดยอยู่ร่วมสายกับ สโมสรตำรวจ และ สโมสรด่องตัมลองอัน จากประเทศเวียดนาม โดยสามารถเอาชนะทีมสโมสรด่องตัมลองอัน ไปได้ด้วยสกอร์ 2-0 จาก เจษฏากร เหมแดง และ พิภพ อ่อนโม้ แต่ก็มาพ่ายแพ้กับสโมสรตำรวจไป 1-3 ได้เป็นที่ 2 ของสายและตกรอบไปอย่างน่าเสียดาย และ ในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2549 พวกเขาก็ทำผลงานไม่ค่อยดีนัก เมื่อจบแค่อันดับ 8 เท่านั้น
พิภพ อ่อนโม้
(credit : songtainews.com)
ต่อมาปี พ.ศ. 2550 พวกเขาได้เฮดโค้ชคลื่นลูกใหม่ไฟแรง อย่าง
"เซอร์เด็จ" จเต็ด มีลาภ ซึ่งตอนนั้นอายุได้เพียงแค่ 35 ปี สามารถร่ายมนต์พาฉลามแห่งภาคตะวันออก เถลิงบัลลังก์
แชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ครั้งแรกของสโมสรได้สำเร็จ และคว้าสิทธิ์ไปเล่น AFC Champion League 2008 อีกด้วย
จเด็จ มีลาภ
(credit : goal.com)
เหล่าฉลามฉลองชัย
(credit : chonburifootballclub.com)
ในปี พ.ศ. 2551 พวกเขาเริ่มต้นฤดูกาลด้วยการคว้าแชมป์ถ้วยพระราชทาน ก ประจำปี 2550 มาได้สำเร็จ แต่ก็ไม่สามารถที่จะป้องกันแชมป์ไว้ได้ โดยการเสียแชมป์ให้กับ สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งสโมสรชลบุรี จบคว้าตำแหน่งรองแชมป์ โดยมีแต้มห่างจากแชมป์เพียงแค่ 2 คะแนนเท่านั้น อย่างไรก็ตามพวกเขาก็คว้าสิทธิ์ไปเล่น AFC Cup 2009 เป็นรางวัลปลอบใจ
แต่การไปเล่นในรายการระดับเอเซียอย่าง AFC Champion League 2008 ครั้งแรกของพวกเขานั้น พวกเขาต้องเจอกับยอดทีมในระดับเอเซีย เพื่อนร่วมสาย G ได้แก่ กัมบะ โอซาก้า, ชุนนัม ดราก้อน และ เมลเบิร์น วิคตอรี่ โดยที่นัดแรกนั้น พวกเขาสามารถสร้างเซอร์ไพร้ให้กับแฟนบอลทั้งเอเซีย โดยการบุกไปยันเสมอ กัมบะ โอซาก้า ทีมชั้นนำของญี่ปุ่น ด้วยสกอร์ 1-1 โดยได้ประตูขึ้นนำก่อนจาก
อาทิตย์ สุนทรพิธ และ สามารถถล่มเมลเบริ์น วิคตอรี่ ขาดลอยถึง 3-1 ที่สนามศุภชลาศัย โดยได้ประตูจาก เนย์ ฟาเบียโน่ และ สองประตูจาก จูเลส บราก้า แต่สุดท้ายพวกเขาก็ไม่สามารถที่จะยืนระยะได้ จบการแข่งขันเพียงรอบแบ่งกลุ่ม โดยมี 5 คะแนนและรั้งอันดับสุดท้าย ตกรอบไปอย่างน่าเสียดาย
ในปี พ.ศ. 2552 ทางสโมสรได้มีการเปลี่ยนตัวเฮดโค้ช จาก
จเด็จ มีลาภ มาเป็น
"ซิโก้" เกียรติ์ศักดิ์ เสนาเมือง ซึ่งประเดิมฤดูกาลด้วยการคว้าแชมป์ถ้วยพระราชทาน ก มาครองได้อีกหนึ่งสมัย แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะจบอันดับด้วยการคว้าแชมป์ได้ ทำได้แค่อันดับที่ 2 รองจาก สโมสรเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด
เกียรติ์ศักดิ์ เสนาเมือง
(credit : steptep.com)
ส่วนในรายการ AFC Cup 2009 นั้นพวกเขาทำผลงานได้ดีเลยทีเดียว เมื่อสามารถเป็นแชมป์กลุ่ม G เก็บ 15 แต้ม ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ และสามารถผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายได้ โดยการเปิดบ้านถล่ม เปอร์ซิตวน เซปัก โบลา เมดาน จากประเทศอินโดนีเซียไป 4-0 แต่ก็ต้องหยุดเพียงแค่รอบ 8 ทีมเท่านั้น เมื่อพวกเขาถูก สโมสร บิน เยืองห์ จากประเทศเวียดนาม หยุดไว้ด้วยสกอร์รวมสองนัด 2-4 หยุดเส้นทางใน AFC Cup 2009 เพียงเท่านี้
ชลบุรี เอฟซี นัดพ่ายบิน เยืองห์
(credit : manuclub.com)
ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการเปลี่ยนเฮดโค้ชอีกครั้ง และเป็นการกลับมาครั้งที่ 2 ของ
จเด็จ มีลาภ และ มีการเปลี่ยนรังเหย้า จาก
สนามสิรินธร โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา มาที่
สนามสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ซึ่งในปีนี้แม้พวกเขาจะจบอันดับในลีกได้เพียงแค่อันดับที่ 3 แต่พวกเขาก็สามารถคว้าแชมป์
มูลนิธิไทยคม เอฟเอ คัพ มาครองได้สำเร็จ โดยการเอาชนะ เมืองทอง ยูไนเต็ด ไปด้วยสกอร์ 2-1 พร้อมทั้งคว้าสิทธิ์ไปเล่นรายการ AFC Cup 2011
ในปี พ.ศ. 2554 ทางสโมสรได้มีการเปลี่ยนรังเหย้าอีกครั้ง จาก
สนามสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี มาเป็น
สนามชลบุรีสเตเดียม และได้มีการดึง
วิทยา เลาหกุล มาทำงานร่วมกับ
จเด็จ มีลาภ พร้อมทั้งประเดิมฤดูกาลด้วยการคว้าถ้วยพระราชทาน ก มาครองได้อีกหนึ่งสมัย แต่ในลีกก็ยังไม่สามารถที่จะกลับมาคว้าแชมป์ได้ ทำได้เพียงอันดับที่ 2 รองจาก สโมสรบุรีรัมย์ พีอีเอ แต่ก็ยังได้สิทธิ์ไปเล่นในรายการ AFC Champion League 2012 เนื่องจากในฤดูกาลนี้ สโมสรบุรีรัมย์ พีอีเอ ได้ตำแหน่งชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีกและชนะเลิศเอฟเอคัพทั้งสองรายการ ทำให้สิทธิตัวแทนประเทศไทยอีกทีมจึงตกเป็นของสโมสรชลบุรี
"โค้ชเฮง" วิทยา เลาหกุล
(credit : ballthaifc.com)
และใน AFC Cup 2011 นั้น พวกเขาก็ยังทำผลงานได้ดี ด้วยการเป็นที่หนึ่งของกลุ่ม H มี 13 แต้ม ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย และสามารถผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้าย เมื่อสามารถเอาชนะ ศรีวิจายา เอฟซี จากประเทศอินโดนีเซียไปได้ ด้วยสกอร์ 3-0 แต่ก็ต้องมาอกหักในรอบ 8 ทีมสุดท้ายอีกครั้ง เมื่อพ่ายจุดโทษให้กับ นาซาฟ การ์ชิ สโมสรจากประเทศ อุซเบกิสถาน ไปด้ยสกอร์ 3-4 (เสมอในเวลา 1-1) หยุดเส้นทางในระดับเอเซียไว้เพียงแค่รอบนี้
ในปี พ.ศ. 2555 พวกเขาก็ประเดิมฤดูกาลด้วยการคว้าแชมป์ถ้วยพระราชทาน ก มาครองไว้ได้อีกหนึ่งสมัย และได้
ไนกี้ บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านกีฬาเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ให้กับทางสโมสร อย่างไรก็ตามในปีนี้พวกเขาได้เสีย
จเด็จ มีลาภ ที่ออกไปคุมทีมสงขลา ยูไนเต็ด รวมถึงในลีกพวกเขาก็ยังทำผลงานได้เพียงแค่ รองชนะเลิศ เท่านั้น
ส่วนผลงานในรายการ AFC Champion League 2012 ก็น่าผิดหวัง เมื่อพวกเขาตกรอบคัดเลือกโซนเอเซียตะวันออก โดยการบุกไปพ่ายยอดทีมของเกาหลีใต้ อย่าง โปฮัง สตีลเลอร์ อดีตแชมป์ AFC Champion League 3 สมัย ด้วยสกอร์ 2-0 หมดสิทธิ์เข้ารอบแบ่งกลุ่มไปในฤดูกาลนี้
ชลบุรี เอฟซี บุกพ่าย โปฮัง สตีลเลอร์
(credit : udclick.com)
อย่างไรก็ตาม พวกแม้จะตกรอบรายการใหญ่ของเอเซีย แต่พวกเขาก็ยังได้สิทธิ์ในการไปเล่น AFC Cup 2012 และทำผลงานได้ดี ด้วยการเป็นแชมป์กลุ่ม G มี 14 แต้ม ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย และเข้าไปสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายอีกครั้ง โดยการเอาชนะ อัล ซาวารา เอสซี ไปด้วยสกอร์ 1-0 และสามารถผ่านเข้าสู่รอบ 4 ทีมสุดท้ายในรายการนี้ เป็นประวัติศาสตร์สโมสร ด้วยการเอาชนะ อัล ชอร์ต้า จากประเทศ ซีเรีย ไปด้วยสกอร์รวม 5-4 แต่ก็ต้องหยุดเพียงรอบ 4 ทีมสุดท้าย เมื่อต้องพ่ายให้กับ อาร์บิล ยอดทีมจากประเทศอิรัก ด้วยสกอร์รวม 8-2 หยุดเส้นทางในรายการนี้ไปอย่างน่าเสียดาย
ชลบุรี เอฟซี นัดเอาชนะ อัล ซาวารา
(credit : siamsport.co.th)
ในปี พ.ศ. 2556 พวกเขาได้ตัวหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่ ชื่อว่า
วรวุฒิ ศรีมะฆะ อดีตนักเตะทีมชาติไทย และแต่งตั้ง
เทอดศักดิ์ ใจมั่น ให้เป็น "
ผู้เล่น + โค้ช" รวมถึงการประกาศสละตำแหน่งของ
วิทยา เลาหกุล เพื่อขึ้นไปนั่งเป็นประธานพัฒนาเทคนิคให้กับสโมสร อีกทั้งมีการแต่งตั้ง
มาซาฮิโระ วาดะ มาทำหน้าที่แทน อย่างไรก็ตาม สโมสรก็ยังจบได้แค่อันดับที่ 3 พร้อมความสิทธิ์ไปเล่นรอบคัดเลือกรอบสอง AFC Champion League 2014
วรวุฒิ ศรีมะฆะ
(credit : manager.co.th)
มาซาฮิโระ วาดะ
(credit : soccersucktv.com)
ในปี พ.ศ. 2557 พวกเขาเกือบที่จะทำ "
ดับเบิ้ลแชมป์" ได้สำเร็จ แต่ก็น่าเสียดายที่ต้องจบฤดูกาลด้วย "
ดับเบิ้ลรองแชมป์" โดยการคว้ารองแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก และพ่ายให้กับ บางกอกกล๊าส เอฟซี ในแมตซ์ชิงถ้วยมูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ ไปด้วยสกอร์ 1-0 พลาดคว้าแชมป์ไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งผลงานดังกล่าวทำให้
มาซาฮิโระ วาดะ และ
วรวุฒิ ศรีมะฆะ ประกาศลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบที่ไม่สามารถพาสโมสรแห่งนี้คว้าแชมป์รายการใด ๆ ได้เลย
“ผมคิดว่า ชลบุรี เอฟซี เป็นทีมที่ดี และมีความสามารถพอที่จะกลับมาคว้าแชมป์ได้ในปีหน้า หากพวกเรายังคงร่วมแรงร่วมใจกันสู้ต่อไป ผมขอโทษที่ไม่สามารถ นำความสุข หรือ ถ้วยแชมป์ ที่เราคาดหวังเอาไว้ได้ ซึ่งในฐานะผู้จัดการทีมผมยินดีที่จะรับผิดชอบต่อสิ่งนี้” หนึ่งในคำแถลงการณ์ประกาศลาออกของ มาซาฮิโระ วาดะ
ส่วนในรายการ AFC Champion League 2014 รอบคัดเลือกรอบสอง พวกเขาทำได้ดี ด้วยการเปิดบ้านถล่ม สโมสรเซาท์ ไชน่า จากประเทศฮ่องกง ไปด้วยสกอร์ 4-0 แต่ก็ต้องผิดหวังอีกครั้งเมื่อบุกไปพ่าย "
พญาเต่า" ปักกิ่ง กั๋วอัน ในรอบคัดเลือกรอบสาม ด้วยสกอร์ 4-0 ตกรอบไปอย่างน่าผิดหวัง
ชลบุรี เอฟซี นัดบุกพ่าย ปักกิ่ง กั๋วอัน
(credit : goal.com)
จนในฤดูกาลปัจจุบัน (พ.ศ. 2558) พวกเขาผ่านรอบคัดเลือกรอบสอง AFC Champion League 2015 ด้วยการถล่ม สโมสรคิตฉี จากประเทศฮ่องกง ไป 4-1 แต่ก็ต้องตกรอบเพลย์ออฟ ไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อบุกไปพ่าย คาชิวะ เรย์โซล ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ด้วยสกอร์ 3-2 อีกทั้งในลีกพวกเขาก็ยังทำผลงานไม่ดีเท่าที่ควร แม้ว่าจะเป็นการกลับมาคุมทีมรอบที่สามของ
"เซอร์เด็จ" เจด็จ มีลาภ ก็ตาม
(อ่านต่อ Rep 1 ครับ)
ชลบุรี เอฟซี : ฉลามน้อยที่รอวันพิสูจน์ตัวเอง
ฉลามน้อยจะต้องเป็นแชมป์
อีกทีมนึงที่ผมอยากจะเขียนถึงพวกเขามาตั้งนานแล้ว เพราะสำหรับผม นี่คือทีมจังหวัดที่ "น่าจะ" ประสบความสำเร็จอย่างสูงที่สุด นับตั้งแต่มีการตั้งฟุตบอลอาชีพมา ทั้งในด้านการบริหารทีม, การปลุกปั้นเยาวชน พร้อมทั้งทรัพยากรทางด้านฟุตบอลอย่างครบครัน ที่เอื้ออำนวยต่อความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง
เรามาดูประวัติโดยย่อของ "ฉลามแห่งภาคตะวันออก" ทีมนี้กันครับ
เดิมทีสโมสชลบุรี เอฟซี ได้เริ่มจากการใช้ชื่อ "ทีมสโมสรฟุตบอลของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา" ลงแข่งในระดับ "ถ้วยพระราชทาน" ทั้ง ข และ ก โดยลำดับ ต่อมาได้ผนวกรวมกับ "สโมสรสันนิบาตสมุทรปราการ" โดยใช้ชื่อใหม่ว่า "สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ" และเข้าแข่งขันในระดับดิวิชั่น 1
จนในปี พ.ศ. 2544 สโมสรฟุตบอลชลบุรี ได้แยกตัวออกจาก สโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ ที่เล่นอยู่ในระดับดิวิชั่น 1 เพื่อมาเล่นในฟุตบอลโปรวินเชียลลีก และทำผลงานได้อันดับที่ 3 ในปีฤดูกาลนั้น โดยผู้เล่นส่วนใหญ่จะนำมาจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการเปลี่ยนชื่อทีมอีกครั้ง จาก "สโมสรฟุตบอลชลบุรี" เป็น "สโมสรชลบุรี ชาร์ค" (ด้วยสาเหตุอะไร ตรงนี้ผู้เขียนไม่ทราบจริง ๆ ครับ แต่เดาว่าน่าจะมาจากกระแสการเปลี่ยนชื่อสโมสรให้มีความหลากหลายในยุคนั้น ที่เบื่อพวก "เอฟซี" หรือ "ยูไนเต็ด" อะไรทำนองนั้นกระมังครับ เลยมีการเปลี่ยนชื่อต่อท้าย อาทิ บางกอก บราโว่, สุพรรณบุรี วอริเออร์, นครสวรรค์ ไลอ้อน ฯลฯ เป็นต้น)
และพวกเขาก็สามารถคว้าแชมป์แรกมาประดับสโมสรได้ ด้วยการครองแชมป์โปรวิเชียลลีก ฤดูกาล 2548 มาได้สมใจ และได้สิทธิ์เข้าแข่งขันในลีกสูงสุดของประเทศอย่าง "ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2549" ได้สำเร็จ
โดยในปี 2549 ทางสโมสรได้มีร่วมลงแข่งขันฟุตบอลควีนส์คัพ ในนามสโมสร "ราชประชา" โดยอยู่ร่วมสายกับ สโมสรตำรวจ และ สโมสรด่องตัมลองอัน จากประเทศเวียดนาม โดยสามารถเอาชนะทีมสโมสรด่องตัมลองอัน ไปได้ด้วยสกอร์ 2-0 จาก เจษฏากร เหมแดง และ พิภพ อ่อนโม้ แต่ก็มาพ่ายแพ้กับสโมสรตำรวจไป 1-3 ได้เป็นที่ 2 ของสายและตกรอบไปอย่างน่าเสียดาย และ ในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2549 พวกเขาก็ทำผลงานไม่ค่อยดีนัก เมื่อจบแค่อันดับ 8 เท่านั้น
พิภพ อ่อนโม้
(credit : songtainews.com)
ต่อมาปี พ.ศ. 2550 พวกเขาได้เฮดโค้ชคลื่นลูกใหม่ไฟแรง อย่าง "เซอร์เด็จ" จเต็ด มีลาภ ซึ่งตอนนั้นอายุได้เพียงแค่ 35 ปี สามารถร่ายมนต์พาฉลามแห่งภาคตะวันออก เถลิงบัลลังก์แชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ครั้งแรกของสโมสรได้สำเร็จ และคว้าสิทธิ์ไปเล่น AFC Champion League 2008 อีกด้วย
จเด็จ มีลาภ
(credit : goal.com)
เหล่าฉลามฉลองชัย
(credit : chonburifootballclub.com)
ในปี พ.ศ. 2551 พวกเขาเริ่มต้นฤดูกาลด้วยการคว้าแชมป์ถ้วยพระราชทาน ก ประจำปี 2550 มาได้สำเร็จ แต่ก็ไม่สามารถที่จะป้องกันแชมป์ไว้ได้ โดยการเสียแชมป์ให้กับ สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งสโมสรชลบุรี จบคว้าตำแหน่งรองแชมป์ โดยมีแต้มห่างจากแชมป์เพียงแค่ 2 คะแนนเท่านั้น อย่างไรก็ตามพวกเขาก็คว้าสิทธิ์ไปเล่น AFC Cup 2009 เป็นรางวัลปลอบใจ
แต่การไปเล่นในรายการระดับเอเซียอย่าง AFC Champion League 2008 ครั้งแรกของพวกเขานั้น พวกเขาต้องเจอกับยอดทีมในระดับเอเซีย เพื่อนร่วมสาย G ได้แก่ กัมบะ โอซาก้า, ชุนนัม ดราก้อน และ เมลเบิร์น วิคตอรี่ โดยที่นัดแรกนั้น พวกเขาสามารถสร้างเซอร์ไพร้ให้กับแฟนบอลทั้งเอเซีย โดยการบุกไปยันเสมอ กัมบะ โอซาก้า ทีมชั้นนำของญี่ปุ่น ด้วยสกอร์ 1-1 โดยได้ประตูขึ้นนำก่อนจาก อาทิตย์ สุนทรพิธ และ สามารถถล่มเมลเบริ์น วิคตอรี่ ขาดลอยถึง 3-1 ที่สนามศุภชลาศัย โดยได้ประตูจาก เนย์ ฟาเบียโน่ และ สองประตูจาก จูเลส บราก้า แต่สุดท้ายพวกเขาก็ไม่สามารถที่จะยืนระยะได้ จบการแข่งขันเพียงรอบแบ่งกลุ่ม โดยมี 5 คะแนนและรั้งอันดับสุดท้าย ตกรอบไปอย่างน่าเสียดาย
ในปี พ.ศ. 2552 ทางสโมสรได้มีการเปลี่ยนตัวเฮดโค้ช จาก จเด็จ มีลาภ มาเป็น "ซิโก้" เกียรติ์ศักดิ์ เสนาเมือง ซึ่งประเดิมฤดูกาลด้วยการคว้าแชมป์ถ้วยพระราชทาน ก มาครองได้อีกหนึ่งสมัย แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะจบอันดับด้วยการคว้าแชมป์ได้ ทำได้แค่อันดับที่ 2 รองจาก สโมสรเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด
เกียรติ์ศักดิ์ เสนาเมือง
(credit : steptep.com)
ส่วนในรายการ AFC Cup 2009 นั้นพวกเขาทำผลงานได้ดีเลยทีเดียว เมื่อสามารถเป็นแชมป์กลุ่ม G เก็บ 15 แต้ม ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ และสามารถผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายได้ โดยการเปิดบ้านถล่ม เปอร์ซิตวน เซปัก โบลา เมดาน จากประเทศอินโดนีเซียไป 4-0 แต่ก็ต้องหยุดเพียงแค่รอบ 8 ทีมเท่านั้น เมื่อพวกเขาถูก สโมสร บิน เยืองห์ จากประเทศเวียดนาม หยุดไว้ด้วยสกอร์รวมสองนัด 2-4 หยุดเส้นทางใน AFC Cup 2009 เพียงเท่านี้
ชลบุรี เอฟซี นัดพ่ายบิน เยืองห์
(credit : manuclub.com)
ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการเปลี่ยนเฮดโค้ชอีกครั้ง และเป็นการกลับมาครั้งที่ 2 ของ จเด็จ มีลาภ และ มีการเปลี่ยนรังเหย้า จาก สนามสิรินธร โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา มาที่ สนามสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ซึ่งในปีนี้แม้พวกเขาจะจบอันดับในลีกได้เพียงแค่อันดับที่ 3 แต่พวกเขาก็สามารถคว้าแชมป์มูลนิธิไทยคม เอฟเอ คัพ มาครองได้สำเร็จ โดยการเอาชนะ เมืองทอง ยูไนเต็ด ไปด้วยสกอร์ 2-1 พร้อมทั้งคว้าสิทธิ์ไปเล่นรายการ AFC Cup 2011
ในปี พ.ศ. 2554 ทางสโมสรได้มีการเปลี่ยนรังเหย้าอีกครั้ง จาก สนามสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี มาเป็น สนามชลบุรีสเตเดียม และได้มีการดึง วิทยา เลาหกุล มาทำงานร่วมกับ จเด็จ มีลาภ พร้อมทั้งประเดิมฤดูกาลด้วยการคว้าถ้วยพระราชทาน ก มาครองได้อีกหนึ่งสมัย แต่ในลีกก็ยังไม่สามารถที่จะกลับมาคว้าแชมป์ได้ ทำได้เพียงอันดับที่ 2 รองจาก สโมสรบุรีรัมย์ พีอีเอ แต่ก็ยังได้สิทธิ์ไปเล่นในรายการ AFC Champion League 2012 เนื่องจากในฤดูกาลนี้ สโมสรบุรีรัมย์ พีอีเอ ได้ตำแหน่งชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีกและชนะเลิศเอฟเอคัพทั้งสองรายการ ทำให้สิทธิตัวแทนประเทศไทยอีกทีมจึงตกเป็นของสโมสรชลบุรี
"โค้ชเฮง" วิทยา เลาหกุล
(credit : ballthaifc.com)
และใน AFC Cup 2011 นั้น พวกเขาก็ยังทำผลงานได้ดี ด้วยการเป็นที่หนึ่งของกลุ่ม H มี 13 แต้ม ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย และสามารถผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้าย เมื่อสามารถเอาชนะ ศรีวิจายา เอฟซี จากประเทศอินโดนีเซียไปได้ ด้วยสกอร์ 3-0 แต่ก็ต้องมาอกหักในรอบ 8 ทีมสุดท้ายอีกครั้ง เมื่อพ่ายจุดโทษให้กับ นาซาฟ การ์ชิ สโมสรจากประเทศ อุซเบกิสถาน ไปด้ยสกอร์ 3-4 (เสมอในเวลา 1-1) หยุดเส้นทางในระดับเอเซียไว้เพียงแค่รอบนี้
ในปี พ.ศ. 2555 พวกเขาก็ประเดิมฤดูกาลด้วยการคว้าแชมป์ถ้วยพระราชทาน ก มาครองไว้ได้อีกหนึ่งสมัย และได้ ไนกี้ บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านกีฬาเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ให้กับทางสโมสร อย่างไรก็ตามในปีนี้พวกเขาได้เสีย จเด็จ มีลาภ ที่ออกไปคุมทีมสงขลา ยูไนเต็ด รวมถึงในลีกพวกเขาก็ยังทำผลงานได้เพียงแค่ รองชนะเลิศ เท่านั้น
ส่วนผลงานในรายการ AFC Champion League 2012 ก็น่าผิดหวัง เมื่อพวกเขาตกรอบคัดเลือกโซนเอเซียตะวันออก โดยการบุกไปพ่ายยอดทีมของเกาหลีใต้ อย่าง โปฮัง สตีลเลอร์ อดีตแชมป์ AFC Champion League 3 สมัย ด้วยสกอร์ 2-0 หมดสิทธิ์เข้ารอบแบ่งกลุ่มไปในฤดูกาลนี้
ชลบุรี เอฟซี บุกพ่าย โปฮัง สตีลเลอร์
(credit : udclick.com)
อย่างไรก็ตาม พวกแม้จะตกรอบรายการใหญ่ของเอเซีย แต่พวกเขาก็ยังได้สิทธิ์ในการไปเล่น AFC Cup 2012 และทำผลงานได้ดี ด้วยการเป็นแชมป์กลุ่ม G มี 14 แต้ม ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย และเข้าไปสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายอีกครั้ง โดยการเอาชนะ อัล ซาวารา เอสซี ไปด้วยสกอร์ 1-0 และสามารถผ่านเข้าสู่รอบ 4 ทีมสุดท้ายในรายการนี้ เป็นประวัติศาสตร์สโมสร ด้วยการเอาชนะ อัล ชอร์ต้า จากประเทศ ซีเรีย ไปด้วยสกอร์รวม 5-4 แต่ก็ต้องหยุดเพียงรอบ 4 ทีมสุดท้าย เมื่อต้องพ่ายให้กับ อาร์บิล ยอดทีมจากประเทศอิรัก ด้วยสกอร์รวม 8-2 หยุดเส้นทางในรายการนี้ไปอย่างน่าเสียดาย
ชลบุรี เอฟซี นัดเอาชนะ อัล ซาวารา
(credit : siamsport.co.th)
ในปี พ.ศ. 2556 พวกเขาได้ตัวหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่ ชื่อว่า วรวุฒิ ศรีมะฆะ อดีตนักเตะทีมชาติไทย และแต่งตั้ง เทอดศักดิ์ ใจมั่น ให้เป็น "ผู้เล่น + โค้ช" รวมถึงการประกาศสละตำแหน่งของ วิทยา เลาหกุล เพื่อขึ้นไปนั่งเป็นประธานพัฒนาเทคนิคให้กับสโมสร อีกทั้งมีการแต่งตั้ง มาซาฮิโระ วาดะ มาทำหน้าที่แทน อย่างไรก็ตาม สโมสรก็ยังจบได้แค่อันดับที่ 3 พร้อมความสิทธิ์ไปเล่นรอบคัดเลือกรอบสอง AFC Champion League 2014
วรวุฒิ ศรีมะฆะ
(credit : manager.co.th)
มาซาฮิโระ วาดะ
(credit : soccersucktv.com)
ในปี พ.ศ. 2557 พวกเขาเกือบที่จะทำ "ดับเบิ้ลแชมป์" ได้สำเร็จ แต่ก็น่าเสียดายที่ต้องจบฤดูกาลด้วย "ดับเบิ้ลรองแชมป์" โดยการคว้ารองแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก และพ่ายให้กับ บางกอกกล๊าส เอฟซี ในแมตซ์ชิงถ้วยมูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ ไปด้วยสกอร์ 1-0 พลาดคว้าแชมป์ไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งผลงานดังกล่าวทำให้ มาซาฮิโระ วาดะ และ วรวุฒิ ศรีมะฆะ ประกาศลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบที่ไม่สามารถพาสโมสรแห่งนี้คว้าแชมป์รายการใด ๆ ได้เลย
“ผมคิดว่า ชลบุรี เอฟซี เป็นทีมที่ดี และมีความสามารถพอที่จะกลับมาคว้าแชมป์ได้ในปีหน้า หากพวกเรายังคงร่วมแรงร่วมใจกันสู้ต่อไป ผมขอโทษที่ไม่สามารถ นำความสุข หรือ ถ้วยแชมป์ ที่เราคาดหวังเอาไว้ได้ ซึ่งในฐานะผู้จัดการทีมผมยินดีที่จะรับผิดชอบต่อสิ่งนี้” หนึ่งในคำแถลงการณ์ประกาศลาออกของ มาซาฮิโระ วาดะ
ส่วนในรายการ AFC Champion League 2014 รอบคัดเลือกรอบสอง พวกเขาทำได้ดี ด้วยการเปิดบ้านถล่ม สโมสรเซาท์ ไชน่า จากประเทศฮ่องกง ไปด้วยสกอร์ 4-0 แต่ก็ต้องผิดหวังอีกครั้งเมื่อบุกไปพ่าย "พญาเต่า" ปักกิ่ง กั๋วอัน ในรอบคัดเลือกรอบสาม ด้วยสกอร์ 4-0 ตกรอบไปอย่างน่าผิดหวัง
ชลบุรี เอฟซี นัดบุกพ่าย ปักกิ่ง กั๋วอัน
(credit : goal.com)
จนในฤดูกาลปัจจุบัน (พ.ศ. 2558) พวกเขาผ่านรอบคัดเลือกรอบสอง AFC Champion League 2015 ด้วยการถล่ม สโมสรคิตฉี จากประเทศฮ่องกง ไป 4-1 แต่ก็ต้องตกรอบเพลย์ออฟ ไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อบุกไปพ่าย คาชิวะ เรย์โซล ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ด้วยสกอร์ 3-2 อีกทั้งในลีกพวกเขาก็ยังทำผลงานไม่ดีเท่าที่ควร แม้ว่าจะเป็นการกลับมาคุมทีมรอบที่สามของ "เซอร์เด็จ" เจด็จ มีลาภ ก็ตาม
(อ่านต่อ Rep 1 ครับ)