เห็นข่าวนี้แล้วอึ้งมาก..แต่ที่อึ้งเข้าไปอีกคือเมนท์ต่างๆที่ประดังถาโถมมาจากผู้ใช้บริการรพ.นี้
และหลายความคิด หลายความรู้สึก ที่มีตรรกะแบบ..
- ถ้าคุณไม่เต็มใจทำงานก็ลาออกไปสิ เงินเดือนของพวกคุณก็ภาษีของประชาชน..
- คนเป็นพยาบาลน่าจะทำหน้าที่ได้ดีกว่านี้นะ ถ้าจะแสดงกิริยา มารยาท ทรามๆ แบบนี้
- พวกเ_งเลือกที่เรียนพยาบาล มาเรียนแพทย์กันทำไม จรรยาบรรณไม่มีเลยหรือไง
เฮ้ยย! นี่คนประเทศเราไม่รู้และไม่เข้าใจเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขภาครัฐ “อย่างแรง”
รพ.รัฐ ไม่ว่าจะในเมืองหรือต่างจังหวัดต่างก็ประสบปัญหาคล้ายกันหลายเรื่อง นโยบายการจัดการ, งบประมาณจัดซื้อจัดจ้าง, ความไม่สมดุลกันของจำนวนบุคลากรทางการแพทย์-ผู้ใช้บริการ เป็นต้น
รพ.ศิริราช ราชวิถี ตากสิน ในกทม.ก็ดี, รพ.มหาราชนครราชสีมา, รพ.หาดใหญ่, รพ.พุทธชินราช พิษณุโลก ทุกรพ.ของรัฐเจอปัญหาเหล่านี้ทั้งสิ้น ที่ดีขึ้นมาหน่อยคือ รพ.ที่มีโรงเรียนแพทย์ (คณะแพทยศาสตร์) เพราะจะมีบุคลากรที่เป็นแพทย์ประจำบ้าน หรือแพทย์ใช้ทุน (เป็นชื่อเรียกระดับขั้นแบบหนึ่งของหมอ มาจาก residency และ intern) เพิ่มขึ้นมาทำให้มีจำนวนบุคลากรทำงานเพิ่มมาบ้าง
ในหลายๆประเทศ จากประสบการณ์ใกล้ตัว กว่าผู้ป่วยจะได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ต้องใช้เวลานานมาก หากอาการที่เจ้าหน้าที่พยาบาลประเมินเบื้องต้นไม่ได้ฉุกเฉิน เราแทบจะไม่ได้เจอหมอเลยนะ พยาบาลดูๆจับๆวัดๆ จ่ายยา จ่ายเงิน กลับบ้าน
ส่วนบางราย ต้องมีการเฝ้าดูอาการ ซึ่งจะมีระยะเวลาเฝ้าดูตามหลักทางการแพทย์อยู่ ญาติคนป่วยที่ไม่เข้าใจอาจคิดไปว่าหมอไม่สนใจ มาถามๆแล้วก็ปล่อยให้นอนเฉยๆ ก็พาลไปโกรธหมอหงุดหงิดพยาบาลซะงั้น
หากตัวเรารู้และเข้าใจปัญหาแบบนี้ รู้จักดูแลสุขภาพและสวัสดิการส่วนตนอย่างพอประมาณ เราก็จะลดความเสี่ยงในการไปใช้บริการกับรพ.ได้มาก ลดภาระที่ไม่ควรเกิดกับเจ้าหน้าที่รพ. แต่ภาพความเป็นจริงของบ้านเรา ที่พบเจอได้ทุกวัน ย้ำ!!ว่าทุกวัน คือ คนกินเหล้า เมา ขี่มอไซด์ล้ม, เด็กวัยรุ่นไม่ใส่หมวกกันน๊อคยกล้อแล้วไปชนกะรถกระบะ ไอ้อุบัติเหตุที่ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและต้นทุนทางเวลาของบุคลากรตั้งแต่คนขับรถฉุกเฉิน คนเข็นเปล พยาบาล และแพทย์ รวมถึงตัวผู้ประสบเหตุเองที่ต้องมาเจ็บตัวหรือเสียชีวิต นี่มันน่าจะค่อยๆลดลงได้หากเรารู้จักดูแลตนอย่างจริงจัง และ”ผู้ใหญ่” ปฏิบัติจริง
ตัวอย่างนึงที่เห็นอยู่ทุกๆปี ในบ้านในเมืองนี้ และจะยิ่งหนักมากขึ้นๆ คือ การปล่อยให้คนขี่มอไซด์เล่นน้ำสงกรานต์ หรือ ออกเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษต่างๆ โดยละเลยการใส่เครื่องป้องกันและระมัดระวัง เจ้าตัวคนที่ทำก็แย่ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจกลับละเลยปล่อยให้ความคิดว่าปล่อยผีให้เด็กๆมันสนุกกันบ้าง ใส่หมวกเล่นน้ำเด๋วจะไม่มันส์ นั่นไง.. เลยได้ปล่อยให้ลูกให้หลานกลายเป็นผีกันจริงๆ
นี่แค่เพียงข้อมูลบางส่วนของวงการนี้ ยังไม่ได้กล่าวถึง ระดับนโยบายกระทรวง, สปสช., และอื่นๆ
ขอยกคำกล่าวของ อาจารย์ พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา ที่ปรึกษาประธานประชาคมสาธารณสุข ที่เคยพูดถึงกรณีข้อร้องเรียนผ่านกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารสุข “..เมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ สิ่งหนึ่งที่โรงพยาบาลต้องให้ความสำคัญก็คือ การดูแลในเรื่องของคุณภาพทั้งวิชาการ การจัดการ ซึ่งเป็นส่วนที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องช่วยกันดูแล “ส่วนประชาชนก็ต้องเข้าใจภาระงานหรือการบริการในจำนวนมากๆ ของโรงพยาบาลรัฐด้วย”
.....
..... -______-!
จากเพจบันทึกหมอโหด เหตุการณ์ที่รพ.สุราษฎร์ธานี ทำให้เศร้าหนักมาก
และหลายความคิด หลายความรู้สึก ที่มีตรรกะแบบ..
- ถ้าคุณไม่เต็มใจทำงานก็ลาออกไปสิ เงินเดือนของพวกคุณก็ภาษีของประชาชน..
- คนเป็นพยาบาลน่าจะทำหน้าที่ได้ดีกว่านี้นะ ถ้าจะแสดงกิริยา มารยาท ทรามๆ แบบนี้
- พวกเ_งเลือกที่เรียนพยาบาล มาเรียนแพทย์กันทำไม จรรยาบรรณไม่มีเลยหรือไง
เฮ้ยย! นี่คนประเทศเราไม่รู้และไม่เข้าใจเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขภาครัฐ “อย่างแรง”
รพ.รัฐ ไม่ว่าจะในเมืองหรือต่างจังหวัดต่างก็ประสบปัญหาคล้ายกันหลายเรื่อง นโยบายการจัดการ, งบประมาณจัดซื้อจัดจ้าง, ความไม่สมดุลกันของจำนวนบุคลากรทางการแพทย์-ผู้ใช้บริการ เป็นต้น
รพ.ศิริราช ราชวิถี ตากสิน ในกทม.ก็ดี, รพ.มหาราชนครราชสีมา, รพ.หาดใหญ่, รพ.พุทธชินราช พิษณุโลก ทุกรพ.ของรัฐเจอปัญหาเหล่านี้ทั้งสิ้น ที่ดีขึ้นมาหน่อยคือ รพ.ที่มีโรงเรียนแพทย์ (คณะแพทยศาสตร์) เพราะจะมีบุคลากรที่เป็นแพทย์ประจำบ้าน หรือแพทย์ใช้ทุน (เป็นชื่อเรียกระดับขั้นแบบหนึ่งของหมอ มาจาก residency และ intern) เพิ่มขึ้นมาทำให้มีจำนวนบุคลากรทำงานเพิ่มมาบ้าง
ในหลายๆประเทศ จากประสบการณ์ใกล้ตัว กว่าผู้ป่วยจะได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ต้องใช้เวลานานมาก หากอาการที่เจ้าหน้าที่พยาบาลประเมินเบื้องต้นไม่ได้ฉุกเฉิน เราแทบจะไม่ได้เจอหมอเลยนะ พยาบาลดูๆจับๆวัดๆ จ่ายยา จ่ายเงิน กลับบ้าน
ส่วนบางราย ต้องมีการเฝ้าดูอาการ ซึ่งจะมีระยะเวลาเฝ้าดูตามหลักทางการแพทย์อยู่ ญาติคนป่วยที่ไม่เข้าใจอาจคิดไปว่าหมอไม่สนใจ มาถามๆแล้วก็ปล่อยให้นอนเฉยๆ ก็พาลไปโกรธหมอหงุดหงิดพยาบาลซะงั้น
หากตัวเรารู้และเข้าใจปัญหาแบบนี้ รู้จักดูแลสุขภาพและสวัสดิการส่วนตนอย่างพอประมาณ เราก็จะลดความเสี่ยงในการไปใช้บริการกับรพ.ได้มาก ลดภาระที่ไม่ควรเกิดกับเจ้าหน้าที่รพ. แต่ภาพความเป็นจริงของบ้านเรา ที่พบเจอได้ทุกวัน ย้ำ!!ว่าทุกวัน คือ คนกินเหล้า เมา ขี่มอไซด์ล้ม, เด็กวัยรุ่นไม่ใส่หมวกกันน๊อคยกล้อแล้วไปชนกะรถกระบะ ไอ้อุบัติเหตุที่ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและต้นทุนทางเวลาของบุคลากรตั้งแต่คนขับรถฉุกเฉิน คนเข็นเปล พยาบาล และแพทย์ รวมถึงตัวผู้ประสบเหตุเองที่ต้องมาเจ็บตัวหรือเสียชีวิต นี่มันน่าจะค่อยๆลดลงได้หากเรารู้จักดูแลตนอย่างจริงจัง และ”ผู้ใหญ่” ปฏิบัติจริง
ตัวอย่างนึงที่เห็นอยู่ทุกๆปี ในบ้านในเมืองนี้ และจะยิ่งหนักมากขึ้นๆ คือ การปล่อยให้คนขี่มอไซด์เล่นน้ำสงกรานต์ หรือ ออกเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษต่างๆ โดยละเลยการใส่เครื่องป้องกันและระมัดระวัง เจ้าตัวคนที่ทำก็แย่ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจกลับละเลยปล่อยให้ความคิดว่าปล่อยผีให้เด็กๆมันสนุกกันบ้าง ใส่หมวกเล่นน้ำเด๋วจะไม่มันส์ นั่นไง.. เลยได้ปล่อยให้ลูกให้หลานกลายเป็นผีกันจริงๆ
นี่แค่เพียงข้อมูลบางส่วนของวงการนี้ ยังไม่ได้กล่าวถึง ระดับนโยบายกระทรวง, สปสช., และอื่นๆ
ขอยกคำกล่าวของ อาจารย์ พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา ที่ปรึกษาประธานประชาคมสาธารณสุข ที่เคยพูดถึงกรณีข้อร้องเรียนผ่านกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารสุข “..เมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ สิ่งหนึ่งที่โรงพยาบาลต้องให้ความสำคัญก็คือ การดูแลในเรื่องของคุณภาพทั้งวิชาการ การจัดการ ซึ่งเป็นส่วนที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องช่วยกันดูแล “ส่วนประชาชนก็ต้องเข้าใจภาระงานหรือการบริการในจำนวนมากๆ ของโรงพยาบาลรัฐด้วย”
.....
..... -______-!