เอพี - เศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณชะลอตัวรอบใหม่ หลังจากยอดนำเข้า-ส่งออก เดือนเม.ย. หดตัวลง กดดันรัฐบาลปักกิ่งเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาจนหลายฝ่ายพากันวิตกกังวล
รายงานข่าว (8 พ.ค.) เผยมูลค่าการนำเข้าของประเทศจีนลดลงร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตกลงไปอยู่ที่ 176.3 พันล้านดอลลาร์ เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกที่ลดลงร้อยละ 6.4 ไปอยู่ที่ 142.1 พันล้านดอลลาร์ โดยตัวเลขเดียวกันของเดือนมี.ค. ก่อนหน้าต่างก็ลดลงร้อยละ 12 และร้อยละ 15 ตามลำดับ
เศรษฐกรจากแคปปิตอล อีโคโนมิกส์ (Capital Economics) ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจในกรุงลอนดอน จูเลียน อีแวนส์-พริตชาร์ด กล่าวว่า ตัวเลขอันไม่คาดฝันนี้ชี้ว่าความต้องการภายในประเทศและต่างประเทศได้อ่อนตัวลงเรื่อยมาจนถึงไตรมาสปัจจุบัน
แม้รัฐบาลจีนจะพยายามประคับประคองเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เน้นการบริโภคภายในประเทศและลดการพึ่งพาการค้าการลงทุนต่างชาติ แต่ภาวะชะลอตัวรุนแรงนับแต่กลางปี 2557 ก็ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการว่างงานตามมา
ดังนั้นเพื่อค้ำจุนการเติบโตให้เป็นไปตามแผน ปักกิ่งจึงสั่งลดอัตราดอกเบี้ยลงสองครั้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และยังปรับมาตรการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (RRR) ของธนาคารในประเทศลง เพื่อกระตุ้นการกู้ยืมเงินอีกด้วย
ด้านผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์กล่าวคำมั่นระหว่างการประชุมระดับสูงเมื่อสองสัปดาห์ก่อน ว่าจะดำเนินมาตรการเสริมเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ หลังตัวเลขเติบโตในไตรมาสแรกของปี 2558 ตกลงไปอยู่ที่ร้อยละ 7 ซึ่งนับว่าต่ำสุดตั้งแต่ปี 2552
ขณะที่ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศซึ่งเซื่องซึมเพราะผลพวงจากวิกฤตการเงินโลก ก็เพิ่มความเสี่ยงว่า เศรษฐกิจจีนในไตรมาสสองอาจดิ่งลงต่ำกว่าร้อยละ 7 สำทับความหวั่นกลัวของทางการเกี่ยวกับปัญหาว่างงานและหนี้เสียที่พุ่งสูงขึ้น
ก่อนหน้านี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ระบุว่าเศรษฐกิจจีนอาจชะลออยู่ที่ร้อยละ 6 ภายในปี 2560 และทรงตัวอยู่ในระดับราวๆ นี้ต่อไป
“แบบนี้เท่ากับว่ายากจะบรรลุเป้าหมายเติบโตร้อยละเจ็ด ความซบเซาในไตรมาสแรกที่นึกว่าชั่วคราวกลับอยู่ยาวแทน” ทิม คอนดอน จากไอเอ็นจี (ING) ในสิงคโปร์กล่าว “ผมหวังให้เกิดการตัดลดอัตราดอกเบี้ยอีกในปลายสัปดาห์”
ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) เผยผลสำรวจว่า ภาคการผลิตของจีนหดตัวครั้งรุนแรงในรอบปีเมื่อเดือนเม.ย. โดยเฉพาะคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานที่ต่างลดลงทั้งคู่ ส่วนซิตี้กรุ๊ป (Citigroup) ก็เสริมว่า การจ้างงานในจีนตกสู่จุดต่ำสุดตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
“สัญญาณล่าสุดของภาวะตกต่ำในตลาดแรงงาน ชี้ให้เห็นว่าภาคเศรษฐกิจเกิดใหม่ รวมถึงภาคการบริการ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาการว่างงานของภาคเศรษฐกิจเดิมเท่าไรนัก” นักเศรษฐศาสตร์ของซิตี้กรุ๊ปกล่าวในรายงานที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อไม่กี่วันมานี้
ทั้งนี้ อัตราการนำเข้าและส่งออกในช่วงสี่เดือนแรกที่ผ่านมาของจีนลดลงร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหมายความว่าพรรคฯ ไม่น่าจะบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางการค้าร้อยละ 6 ในปีนี้ได้
ซ้ำร้ายมาตรการที่ทางการจีนปล่อยออกมายับยั้งภาคการลงทุนซึ่งเบ่งบานตัวนั้น ก็ลดความต้องการเหล็กเส้นนำเข้าและวัตถุดิบอุตสาหกรรมอื่นๆ กระเทือนถึงกลุ่มประเทศผู้ส่งออกหลัก อาทิ ออสเตรเลียและบราซิล เป็นต้น
http://www.manager.co.th/china/ViewNews.aspx?NewsID=9580000052727
เศรษฐกิจจีนซบเซา หลังนำเข้า-ส่งออกหดตัวต่อเนื่อง
รายงานข่าว (8 พ.ค.) เผยมูลค่าการนำเข้าของประเทศจีนลดลงร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตกลงไปอยู่ที่ 176.3 พันล้านดอลลาร์ เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกที่ลดลงร้อยละ 6.4 ไปอยู่ที่ 142.1 พันล้านดอลลาร์ โดยตัวเลขเดียวกันของเดือนมี.ค. ก่อนหน้าต่างก็ลดลงร้อยละ 12 และร้อยละ 15 ตามลำดับ
เศรษฐกรจากแคปปิตอล อีโคโนมิกส์ (Capital Economics) ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจในกรุงลอนดอน จูเลียน อีแวนส์-พริตชาร์ด กล่าวว่า ตัวเลขอันไม่คาดฝันนี้ชี้ว่าความต้องการภายในประเทศและต่างประเทศได้อ่อนตัวลงเรื่อยมาจนถึงไตรมาสปัจจุบัน
แม้รัฐบาลจีนจะพยายามประคับประคองเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เน้นการบริโภคภายในประเทศและลดการพึ่งพาการค้าการลงทุนต่างชาติ แต่ภาวะชะลอตัวรุนแรงนับแต่กลางปี 2557 ก็ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการว่างงานตามมา
ดังนั้นเพื่อค้ำจุนการเติบโตให้เป็นไปตามแผน ปักกิ่งจึงสั่งลดอัตราดอกเบี้ยลงสองครั้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และยังปรับมาตรการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (RRR) ของธนาคารในประเทศลง เพื่อกระตุ้นการกู้ยืมเงินอีกด้วย
ด้านผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์กล่าวคำมั่นระหว่างการประชุมระดับสูงเมื่อสองสัปดาห์ก่อน ว่าจะดำเนินมาตรการเสริมเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ หลังตัวเลขเติบโตในไตรมาสแรกของปี 2558 ตกลงไปอยู่ที่ร้อยละ 7 ซึ่งนับว่าต่ำสุดตั้งแต่ปี 2552
ขณะที่ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศซึ่งเซื่องซึมเพราะผลพวงจากวิกฤตการเงินโลก ก็เพิ่มความเสี่ยงว่า เศรษฐกิจจีนในไตรมาสสองอาจดิ่งลงต่ำกว่าร้อยละ 7 สำทับความหวั่นกลัวของทางการเกี่ยวกับปัญหาว่างงานและหนี้เสียที่พุ่งสูงขึ้น
ก่อนหน้านี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ระบุว่าเศรษฐกิจจีนอาจชะลออยู่ที่ร้อยละ 6 ภายในปี 2560 และทรงตัวอยู่ในระดับราวๆ นี้ต่อไป
“แบบนี้เท่ากับว่ายากจะบรรลุเป้าหมายเติบโตร้อยละเจ็ด ความซบเซาในไตรมาสแรกที่นึกว่าชั่วคราวกลับอยู่ยาวแทน” ทิม คอนดอน จากไอเอ็นจี (ING) ในสิงคโปร์กล่าว “ผมหวังให้เกิดการตัดลดอัตราดอกเบี้ยอีกในปลายสัปดาห์”
ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) เผยผลสำรวจว่า ภาคการผลิตของจีนหดตัวครั้งรุนแรงในรอบปีเมื่อเดือนเม.ย. โดยเฉพาะคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานที่ต่างลดลงทั้งคู่ ส่วนซิตี้กรุ๊ป (Citigroup) ก็เสริมว่า การจ้างงานในจีนตกสู่จุดต่ำสุดตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
“สัญญาณล่าสุดของภาวะตกต่ำในตลาดแรงงาน ชี้ให้เห็นว่าภาคเศรษฐกิจเกิดใหม่ รวมถึงภาคการบริการ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาการว่างงานของภาคเศรษฐกิจเดิมเท่าไรนัก” นักเศรษฐศาสตร์ของซิตี้กรุ๊ปกล่าวในรายงานที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อไม่กี่วันมานี้
ทั้งนี้ อัตราการนำเข้าและส่งออกในช่วงสี่เดือนแรกที่ผ่านมาของจีนลดลงร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหมายความว่าพรรคฯ ไม่น่าจะบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางการค้าร้อยละ 6 ในปีนี้ได้
ซ้ำร้ายมาตรการที่ทางการจีนปล่อยออกมายับยั้งภาคการลงทุนซึ่งเบ่งบานตัวนั้น ก็ลดความต้องการเหล็กเส้นนำเข้าและวัตถุดิบอุตสาหกรรมอื่นๆ กระเทือนถึงกลุ่มประเทศผู้ส่งออกหลัก อาทิ ออสเตรเลียและบราซิล เป็นต้น
http://www.manager.co.th/china/ViewNews.aspx?NewsID=9580000052727