1. ทำในสิ่งที่ชอบ
GoPro ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดสร้างกล้องพร้อมสายคล้องรอบเอวนักโต้คลื่นช่วยให้ Woodman เก็บภาพตัวเองและเพื่อนๆขณะโต้คลื่นได้ เขาทดลองใช้ไอเดียดังกล่าวขณะเดินทางไปเล่นโต้คลื่นในต่างประเทศ ก่อนตัดสินใจสร้างกล้อง เคสและสายหนังออกวางจำหน่าย วู้ดแมนกล่าวว่า “ตอนอยู่ปีสุดท้ายที่ไฮล์สคูลผมลาออกจากทีมกีฬาอื่นเพื่อหันมาเล่นโต้คลื่นจริงจังและขลุกตัวอยู่กับการประดิษฐ์เครื่องบินบังคับรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์อื่นที่ชื่นชอบ สิ่งเหล่านี้จุดประกายให้ผมก่อตั้งบริษัท GoPro ขึ้นมา” ความหลงใหลดังกล่าวกลายมาเป็นความคลั่งไคล้ชนิดที่ว่าเจ้าตัวลาออกจากทีมกีฬาอื่นและหันมาทุ่มเทให้กับกีฬาโต้คลื่นโดยไม่สนใจงานอดิเรกหรือกีฬาไหนอีก
2. กลัวความล้มเหลว
Woodman หวาดกลัวความล้มเหลว โดยก่อนเริ่มก่อตั้งโกโปร เขาเคยลงทุนมาก่อน 2 ครั้ง และล้มเหลวทั้ง 2 ครั้ง เขากล่าวว่าใครๆก็ไม่อยากล้มเหลว แต่ที่แย่กว่าคือการเสียเงินลงทุนและทำให้คนอื่นที่คาดหวังหมดความเชื่อมั่นในตัวเขา “เมื่อคุณก้าวพลาด คุณจะเริ่มถามตนเองว่า ไอเดียเราเข้าท่าแค่ไหน” Woodmanถือว่าการปิดตัวลงของทั้ง 2 บริษัทเป็นความผิดพลาดของเขาคนเดียวและทำให้กลับมามุ่งมั่นอีกครั้งโดยประดิษฐ์กล้องบันทึกภาพขนาด 35 มิลลิเมตรออกวางจำหน่ายในเดือนกันยายนปี 2004
3. มุ่งมั่นผลิตสินค้า
คนที่รู้เบื้องลึกการก่อตั้ง GoPro จะทราบดีว่า Woodman ทุ่มเทให้กับสิ่งที่ตนสนใจมากเพียงใด เขาหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ชื่นชอบ ก่อนเริ่มก่อตั้ง GoPro เขาทำงานเจ็ดวันต่อสัปดาห์ วันละ 20 ชั่วโมง เรียกได้ว่าชีวิตมีแต่งาน หลัง “ทุ่มเกินร้อย” วู้ดแมนในวัย 26 ปีก็ค้นพบไอเดียใหม่ๆ และไม่รีรอที่จะลงมือทำ เขานั่งอยู่ที่โต๊ะเป็นชั่วโมงๆ ง่วนอยู่กับจักรเย็บผ้าเพื่อผลิตสายรัดกล้องไม่ก็ใช้สว่านเจาะรูพลาสติกเพื่อสร้างแบบสินค้าตามที่ต้องการ ทุกวันนี้ วู้ดแมนยังควบคุมการผลิตสินค้าอย่างใกล้ชิดและโกโปรมีวิศวกรทำงานประจำถึง 130 คน
4. มีหัวด้านการตลาด
Woodman เป็นนักการตลาดโดยสายเลือด ด้วยความที่มีวิสัยทัศน์และความมั่นใจในตัวสินค้า ผู้ก่อตั้งโกโปรรายนี้เรียนรู้ว่าเมื่อไหร่ควรทำและเลิกสัญญา จากสมัยเด็กที่เคยขายน้ำมะนาวข้างถนนและวัยรุ่นที่ขายเสื้อทีเชิ้ตในการแข่งขันฟุตบอลของโรงเรียน วู้ดแมนกลายเป็นคนหาเงินเก่ง ในปีแรกหลังการก่อตั้ง GoPro เขาจำหน่ายเข็มขัดที่นำเข้าจากอินโดนีเซียได้ในราคา 50 เท่าของราคาที่ซื้อมา ขับรถเลียบชายฝั่งแคลิฟอร์เนียเพื่อเข้าถึงผู้คนตามชายหาดไม่ก็ไปตามคอนเสิร์ตเพื่อขายสินค้าดังกล่าว โดยเจ้าตัวเผยว่า “ผมขายสินค้าที่ตนเองภูมิใจได้เสมอ แต่สำหรับสิ่งที่ผมไม่ภูมิใจแล้วล่ะก็ ทำยังไงก็ขายไม่ออก”
5. ปรับตัวเพื่ออยู่รอด
หลังเปิดตัวกล้องรุ่นแรก Woodman รู้ทันทีว่ากล้องรุ่นต่อไปต้องเป็นดิจิตอล นักการตลาดเคยเตือนว่า “เฮ้พวก! ได้เวลาเปลี่ยนแล้ว นายขายกล้องฟิล์มในยุคดิจิตอลไม่ออกแน่ๆ!” ภายใน 2 ปีหลังการก่อตั้ง บริษัทก็วางจำหน่ายกล้องดิจิตอลตัวแรก Woodman กล่าวว่า GoPro ต้องพัฒนาอยู่เสมอเพื่อความอยู่รอด และเราเชื่อมั่นในความสามารถด้านการพัฒนาและสร้างสรรค์สินค้าที่โดนใจผู้บริโภค
Credit : forbes / Marketeer.com
==================================================================================
ติดตามข่าวสาร ศูนย์รวมความรู้-บทความเรื่องการลงทุนและธุรกิจ เพิ่มเติมได้ที่
Thinkvestment Fanpage :
https://www.facebook.com/thinkvestment
เคล็ดลับความสำเร็จของ Nicholas Woodman ซีอีโอบริษัท GoPro (กล้องที่กำลังฮิตอยู่ในขณะนี้)
1. ทำในสิ่งที่ชอบ
GoPro ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดสร้างกล้องพร้อมสายคล้องรอบเอวนักโต้คลื่นช่วยให้ Woodman เก็บภาพตัวเองและเพื่อนๆขณะโต้คลื่นได้ เขาทดลองใช้ไอเดียดังกล่าวขณะเดินทางไปเล่นโต้คลื่นในต่างประเทศ ก่อนตัดสินใจสร้างกล้อง เคสและสายหนังออกวางจำหน่าย วู้ดแมนกล่าวว่า “ตอนอยู่ปีสุดท้ายที่ไฮล์สคูลผมลาออกจากทีมกีฬาอื่นเพื่อหันมาเล่นโต้คลื่นจริงจังและขลุกตัวอยู่กับการประดิษฐ์เครื่องบินบังคับรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์อื่นที่ชื่นชอบ สิ่งเหล่านี้จุดประกายให้ผมก่อตั้งบริษัท GoPro ขึ้นมา” ความหลงใหลดังกล่าวกลายมาเป็นความคลั่งไคล้ชนิดที่ว่าเจ้าตัวลาออกจากทีมกีฬาอื่นและหันมาทุ่มเทให้กับกีฬาโต้คลื่นโดยไม่สนใจงานอดิเรกหรือกีฬาไหนอีก
2. กลัวความล้มเหลว
Woodman หวาดกลัวความล้มเหลว โดยก่อนเริ่มก่อตั้งโกโปร เขาเคยลงทุนมาก่อน 2 ครั้ง และล้มเหลวทั้ง 2 ครั้ง เขากล่าวว่าใครๆก็ไม่อยากล้มเหลว แต่ที่แย่กว่าคือการเสียเงินลงทุนและทำให้คนอื่นที่คาดหวังหมดความเชื่อมั่นในตัวเขา “เมื่อคุณก้าวพลาด คุณจะเริ่มถามตนเองว่า ไอเดียเราเข้าท่าแค่ไหน” Woodmanถือว่าการปิดตัวลงของทั้ง 2 บริษัทเป็นความผิดพลาดของเขาคนเดียวและทำให้กลับมามุ่งมั่นอีกครั้งโดยประดิษฐ์กล้องบันทึกภาพขนาด 35 มิลลิเมตรออกวางจำหน่ายในเดือนกันยายนปี 2004
3. มุ่งมั่นผลิตสินค้า
คนที่รู้เบื้องลึกการก่อตั้ง GoPro จะทราบดีว่า Woodman ทุ่มเทให้กับสิ่งที่ตนสนใจมากเพียงใด เขาหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ชื่นชอบ ก่อนเริ่มก่อตั้ง GoPro เขาทำงานเจ็ดวันต่อสัปดาห์ วันละ 20 ชั่วโมง เรียกได้ว่าชีวิตมีแต่งาน หลัง “ทุ่มเกินร้อย” วู้ดแมนในวัย 26 ปีก็ค้นพบไอเดียใหม่ๆ และไม่รีรอที่จะลงมือทำ เขานั่งอยู่ที่โต๊ะเป็นชั่วโมงๆ ง่วนอยู่กับจักรเย็บผ้าเพื่อผลิตสายรัดกล้องไม่ก็ใช้สว่านเจาะรูพลาสติกเพื่อสร้างแบบสินค้าตามที่ต้องการ ทุกวันนี้ วู้ดแมนยังควบคุมการผลิตสินค้าอย่างใกล้ชิดและโกโปรมีวิศวกรทำงานประจำถึง 130 คน
4. มีหัวด้านการตลาด
Woodman เป็นนักการตลาดโดยสายเลือด ด้วยความที่มีวิสัยทัศน์และความมั่นใจในตัวสินค้า ผู้ก่อตั้งโกโปรรายนี้เรียนรู้ว่าเมื่อไหร่ควรทำและเลิกสัญญา จากสมัยเด็กที่เคยขายน้ำมะนาวข้างถนนและวัยรุ่นที่ขายเสื้อทีเชิ้ตในการแข่งขันฟุตบอลของโรงเรียน วู้ดแมนกลายเป็นคนหาเงินเก่ง ในปีแรกหลังการก่อตั้ง GoPro เขาจำหน่ายเข็มขัดที่นำเข้าจากอินโดนีเซียได้ในราคา 50 เท่าของราคาที่ซื้อมา ขับรถเลียบชายฝั่งแคลิฟอร์เนียเพื่อเข้าถึงผู้คนตามชายหาดไม่ก็ไปตามคอนเสิร์ตเพื่อขายสินค้าดังกล่าว โดยเจ้าตัวเผยว่า “ผมขายสินค้าที่ตนเองภูมิใจได้เสมอ แต่สำหรับสิ่งที่ผมไม่ภูมิใจแล้วล่ะก็ ทำยังไงก็ขายไม่ออก”
5. ปรับตัวเพื่ออยู่รอด
หลังเปิดตัวกล้องรุ่นแรก Woodman รู้ทันทีว่ากล้องรุ่นต่อไปต้องเป็นดิจิตอล นักการตลาดเคยเตือนว่า “เฮ้พวก! ได้เวลาเปลี่ยนแล้ว นายขายกล้องฟิล์มในยุคดิจิตอลไม่ออกแน่ๆ!” ภายใน 2 ปีหลังการก่อตั้ง บริษัทก็วางจำหน่ายกล้องดิจิตอลตัวแรก Woodman กล่าวว่า GoPro ต้องพัฒนาอยู่เสมอเพื่อความอยู่รอด และเราเชื่อมั่นในความสามารถด้านการพัฒนาและสร้างสรรค์สินค้าที่โดนใจผู้บริโภค
Credit : forbes / Marketeer.com
==================================================================================
ติดตามข่าวสาร ศูนย์รวมความรู้-บทความเรื่องการลงทุนและธุรกิจ เพิ่มเติมได้ที่
Thinkvestment Fanpage : https://www.facebook.com/thinkvestment