พรุ่งนี้ก็จะถึงวันเลือกตั้งทั่วไปที่อังกฤษ......กะว่าจะไปโหวตหลังเลิกงานแล้ว ที่อังกฤษดีไปอย่าง หน่วยงาน กกต. ของเขาส่งรายละเอียดพร้อมบัตรแสดงการใช้สิทธิ์มาถึงบ้านมากกว่าหนึ่งเดือนล่วงหน้า ที่นี่ไม่ใช้บัตรประชาชน ไม่ต้องใชพาสปอร์ตแสดงตน ถือบัตรที่ กกต.เขาส่งมาให้ล่วงหน้านั่นแหละไปแสดงตน
ขณะที่กำลังพิมพ์อยู่นี้เป็นเวลาเกือบๆ จะเที่ยงคืนที่อังกฤษ....จนป่านนี้ยังไม่มีหมาตัวไหนร้องสักแอะเดียว
ค่ำคืนก่อนจะถึงวันเลือกตั้งคืนนี้ที่อังกฤษ.....ทำให้ใจผมประหวัดไปถึงวันคืนที่ยอดดอยแม่เสรียงเลยยี่สิบปีผ่านมาแล้ว อาชีพครูดอย....นอกจากสอนหนังสือแล้ว ยังต้องเป็นที่พึ่งอีกจิปาถะของชาวเขา เป็นแพทย์ เป็นลูกจ้าง เป็นนายจ้าง เป็นผู้พิพากษาร่วม เป็นแม้กระทั่ง "ศิราณี" ทำไงได้? เสร็จจากงานสอนแล้วไม่สามารถเตร่ไปไหนต่อไหนได้สะดวก ที่พักครูก็อยู่ในโรงเรียน เวลาชาวบ้านเดือดร้อนอะไรมาก็มาหาครู เรียกได้ว่าชั่วโมงการทำงานยาวกว่าพนักงานเซเว่นสองคนรวมกัน แต่เป็นอาชีพที่ผมได้อาสาสมัครไปด้วยความเต็มใจและภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของ "ต้นกล้า" เล็กๆ ได้เจริญงอกงาม แม้จะไม่ได้ออกมาอวดสายตาชาวเมืองมากนัก แต่ก็สามารถเจริญงอกงามในแหล่งที่ตนอยู่ได้
ความที่ชาวบ้านให้ความเคารพและคุ้นเคย ครูในชนบทที่ห่างไกลจึงเป็นเป้าหมายหนึ่งที่ "นักลงทุน" ทางการเมืองจะส่งลูกน้องมาติดต่อให้พูดเกลี้ยกล่อมชาวบ้นให้เลือกนายของตน ผมเองก็ไม่เว้น...แม้จะเป็นครูดอยเล็กๆ ด้อยค่าในสายตาของสังคมในเมืองก็ตาม
ผมเฝ้ามองการเลือกตั้งในระยะหลายปีที่ผ่านมาด้วยความเจ็บปวดลึกๆ หลากหลายเหตุการณ์ที่ไม่เชื่อว่าจะได้เห็นและได้ยินมันได้เห็นและได้ยินแล้ว....
-ไม่ว่าจะเป็น
ภาพอาจารย์รัฐศาสตร์ระดับรองศาสตราจารย์เดินทางไปหน่วยเลือกตั้งไม่กี่อึดใจเพื่อไปฉีกบัตรเลือกตั้ง ในขณะที่ผมเคยร่วมขบวนกับชาวเขาเดินทางพร้อมเสบียงข้ามเขาเป็นลูกๆ ไปยังหน่วยเลือกตั้งที่ใกล้ที่สุดเพื่อไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง จากนั้นก็เดินทางกลับเส้นทางเดิมกินเวลาเกือบวัน
-ไม่ว่าจะได้ยินเสียง
"เหยียดหยาม" จากผู้มีการศึกษาที่มองคนห่างไกลความเจริญว่าไม่มีคุณภาพเท่า "เสียงจากคนกรุง"ต่อกรณีการลงคะแนนเลือกตั้ง หรือแม้แต่การยกอ้างลิงบาบูนให้สูงกว่า เรื่องนี้จะจริงเท็จตามคำกล่าวอย่างไร ผมคงไม่มีสิทธิที่จะไปห้ามใคร เพียงแต่อยากบอกในฐานะอดีตครูดอยในส่วนที่ได้ไปสัมผัสมาจริง(ไม่ได้นั่งมโน)ว่าผมยังไม่เคยเห็นชาวเขาจิตทรามที่เปรียบเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกต่ำกว่าความเป็นมนุษย์ด้วยกัน
บรรกาศก่อนการเลือกตั้งทั่วๆ ไปในอังกฤษเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองไทยแล้วมีความเข้มข้นน้อยกว่ามาก ในด้านของ "ผู้มีสิทธิ์" ไปลงคะแนนนั้นแทบจะไม่ได้ยินเสียงบ่นเปรียบเทียบเรื่อง "คุณภาพ" เสียงเลย ในส่วนของการรณรงค์หาเสียงนั้น หลายคนไม่รู้ผู้รับลงสมัครในเขตของตนเลย คำถามที่ถามกันโดยทั่วไปก็คือ " Which party are you going vote?" (พรรคไหนที่คุณจะไปลงคะแนนให้) ในส่วนของผู้สมัครเองจะลงทุนเดินไปเคาะประตูบ้านด้วยตัวเอง ซึ่งเขาจะเดินไปกับเพื่อนพรรคเดียวกันสองหรือสามคน (ผมไม่เคยเห็นเกินสี่คน) ไม่มีพวงมาลัยคล้องคอ ไม่มี "ลิ่วล้อ" บอรด์ดีการ์ดแห่แหนกันไปเป็นขบวนรถเหมือนเมืองไทย การปราศัยบนเวทีสาธารณะเชื่อว่าน่าจะมี แต่ผมไม่เคยเห็นสักทีส่วนใหญ่ตัวเบ้งๆ จะปราศัยในนามพรรคผ่านทีวีหรือดีเบท
ตีหนึ่งแล้ว...ผมต้องเข้านอนล่ะ ตอนนี้ที่เมืองไทยก็คงเจ็ดโมงเช้าแล้วสินะ เห็นต้องพูดว่า ราตรีสวัสดิ์และ อรุณสวัสดิ์ในเวลาเดียวกัน
........."The howling dogs' night" (คืนวันหมาหอน)ก่อนวันเลือกตั้ง....ที่อังกฤษ.......
ขณะที่กำลังพิมพ์อยู่นี้เป็นเวลาเกือบๆ จะเที่ยงคืนที่อังกฤษ....จนป่านนี้ยังไม่มีหมาตัวไหนร้องสักแอะเดียว
ค่ำคืนก่อนจะถึงวันเลือกตั้งคืนนี้ที่อังกฤษ.....ทำให้ใจผมประหวัดไปถึงวันคืนที่ยอดดอยแม่เสรียงเลยยี่สิบปีผ่านมาแล้ว อาชีพครูดอย....นอกจากสอนหนังสือแล้ว ยังต้องเป็นที่พึ่งอีกจิปาถะของชาวเขา เป็นแพทย์ เป็นลูกจ้าง เป็นนายจ้าง เป็นผู้พิพากษาร่วม เป็นแม้กระทั่ง "ศิราณี" ทำไงได้? เสร็จจากงานสอนแล้วไม่สามารถเตร่ไปไหนต่อไหนได้สะดวก ที่พักครูก็อยู่ในโรงเรียน เวลาชาวบ้านเดือดร้อนอะไรมาก็มาหาครู เรียกได้ว่าชั่วโมงการทำงานยาวกว่าพนักงานเซเว่นสองคนรวมกัน แต่เป็นอาชีพที่ผมได้อาสาสมัครไปด้วยความเต็มใจและภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของ "ต้นกล้า" เล็กๆ ได้เจริญงอกงาม แม้จะไม่ได้ออกมาอวดสายตาชาวเมืองมากนัก แต่ก็สามารถเจริญงอกงามในแหล่งที่ตนอยู่ได้
ความที่ชาวบ้านให้ความเคารพและคุ้นเคย ครูในชนบทที่ห่างไกลจึงเป็นเป้าหมายหนึ่งที่ "นักลงทุน" ทางการเมืองจะส่งลูกน้องมาติดต่อให้พูดเกลี้ยกล่อมชาวบ้นให้เลือกนายของตน ผมเองก็ไม่เว้น...แม้จะเป็นครูดอยเล็กๆ ด้อยค่าในสายตาของสังคมในเมืองก็ตาม
ผมเฝ้ามองการเลือกตั้งในระยะหลายปีที่ผ่านมาด้วยความเจ็บปวดลึกๆ หลากหลายเหตุการณ์ที่ไม่เชื่อว่าจะได้เห็นและได้ยินมันได้เห็นและได้ยินแล้ว....
-ไม่ว่าจะเป็นภาพอาจารย์รัฐศาสตร์ระดับรองศาสตราจารย์เดินทางไปหน่วยเลือกตั้งไม่กี่อึดใจเพื่อไปฉีกบัตรเลือกตั้ง ในขณะที่ผมเคยร่วมขบวนกับชาวเขาเดินทางพร้อมเสบียงข้ามเขาเป็นลูกๆ ไปยังหน่วยเลือกตั้งที่ใกล้ที่สุดเพื่อไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง จากนั้นก็เดินทางกลับเส้นทางเดิมกินเวลาเกือบวัน
-ไม่ว่าจะได้ยินเสียง "เหยียดหยาม" จากผู้มีการศึกษาที่มองคนห่างไกลความเจริญว่าไม่มีคุณภาพเท่า "เสียงจากคนกรุง"ต่อกรณีการลงคะแนนเลือกตั้ง หรือแม้แต่การยกอ้างลิงบาบูนให้สูงกว่า เรื่องนี้จะจริงเท็จตามคำกล่าวอย่างไร ผมคงไม่มีสิทธิที่จะไปห้ามใคร เพียงแต่อยากบอกในฐานะอดีตครูดอยในส่วนที่ได้ไปสัมผัสมาจริง(ไม่ได้นั่งมโน)ว่าผมยังไม่เคยเห็นชาวเขาจิตทรามที่เปรียบเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกต่ำกว่าความเป็นมนุษย์ด้วยกัน
บรรกาศก่อนการเลือกตั้งทั่วๆ ไปในอังกฤษเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองไทยแล้วมีความเข้มข้นน้อยกว่ามาก ในด้านของ "ผู้มีสิทธิ์" ไปลงคะแนนนั้นแทบจะไม่ได้ยินเสียงบ่นเปรียบเทียบเรื่อง "คุณภาพ" เสียงเลย ในส่วนของการรณรงค์หาเสียงนั้น หลายคนไม่รู้ผู้รับลงสมัครในเขตของตนเลย คำถามที่ถามกันโดยทั่วไปก็คือ " Which party are you going vote?" (พรรคไหนที่คุณจะไปลงคะแนนให้) ในส่วนของผู้สมัครเองจะลงทุนเดินไปเคาะประตูบ้านด้วยตัวเอง ซึ่งเขาจะเดินไปกับเพื่อนพรรคเดียวกันสองหรือสามคน (ผมไม่เคยเห็นเกินสี่คน) ไม่มีพวงมาลัยคล้องคอ ไม่มี "ลิ่วล้อ" บอรด์ดีการ์ดแห่แหนกันไปเป็นขบวนรถเหมือนเมืองไทย การปราศัยบนเวทีสาธารณะเชื่อว่าน่าจะมี แต่ผมไม่เคยเห็นสักทีส่วนใหญ่ตัวเบ้งๆ จะปราศัยในนามพรรคผ่านทีวีหรือดีเบท
ตีหนึ่งแล้ว...ผมต้องเข้านอนล่ะ ตอนนี้ที่เมืองไทยก็คงเจ็ดโมงเช้าแล้วสินะ เห็นต้องพูดว่า ราตรีสวัสดิ์และ อรุณสวัสดิ์ในเวลาเดียวกัน