ช่วงเดือนที่ผ่านมา มีข่าวอุบัติเหตุเกี่ยวกับจักรยานมากมาย
ทั้งที่ออกข่าวช่องทางหลัก เพราะมีผู้เสียชีวิต และคู่กรณีเป็นรถยนต์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ข่าวเก่าเคยเขียนถึงไปที่ http://ppantip.com/topic/33526224 ส่วนข่าวใหม่ คงเสพย์กันไปเยอะแล้ว ขอไม่ท้าวความนะครับ
และข่าวอุบัติเหตุที่อยู่เฉพาะในโลกโซเชียล เพราะคู่กรณีเป็นจักรยาน
และเกิดขึ้นในพื้นที่ของจักรยาน (แน่นอน เรื่องพวกนี้เค้าก็มักจะเก็บเอาไว้เงียบๆ ในวงของเค้า)
หลายคนพยายามพูดถึงเรื่อง
“จิตสำนึก” แต่โดยส่วนตัว ผมไม่เชื่อหรอกครับก
การรณรงค์สร้างจิตสำนึกโดยส่วนใหญ่มันก็แค่ได้ความสะใจของผู้เห็นด้วยกับการรณรงค์
สะใจกับ copy เก๋ๆ print ad เท่ๆ โฆษณาโดนใจ
แต่สุดท้ายก็เห็นกันอยู่ ว่าอุบัติเหตุก็ไม่ได้ลดลง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หรือถ้าลากไปการเมือง แม้เราจะรณรงค์เรื่องคอรัปชั่นเพิ่มมากขึ้น แต่ทำไมมันดันเพิ่มขึ้นฟระ
คนขับเร็วก็ขับเหมือนเดิม คนขับรถไปกินเหล้าก็ทำเหมือนเดิม คนขับไหล่ทางก็ขับเหมือนเดิม
ถ้าชาวจักรยานอยากแสดงพลัง เพื่อปกป้องชีวิตของผู้ใช้จักรยาน แทนที่จะพยายามยามกระตุ้น “จิตสำนึก”
ผมว่าปัญหามันอยู่ที่ 2 สิ่งนี้มากกว่า
ปัญหาแรกคือการบังคับใช้กฎหมาย
การใช้ความเร็วสูง วิ่งบนไหล่ทาง และขับรถในขณะมึนเมา คือ ตัวการที่ก่อให้เกิดเหตุสลดใจในหลายๆ เหตุการณ์ที่ผ่านมา
ซึ่งกฎหมายในประเทศไทยก็มีข้อห้าม และบทลงโทษอยู่ ยิ่งขับรถในขณะมึนเมานี่ก็ทั้งรณรงค์ทั้งเพิ่มโทษ
ร้านเหล้าก็ยังเพิ่มเป็นดอกเห็ด ผู้ผลิตก็เป็นมหาเศรษฐี
แสดงว่าที่เราทำอยู่มันมีปัญหาอะไรบางอย่าง ที่ทำให้ปัญหาต่างๆ ยังมีอยู่
ส่วนตัวแม้จะไม่เห็นด้วยกับนายกเกี่ยวกับนโยบายจักรยานหลายๆ เรื่อง
แต่ก็เห็นด้วยที่ท่านให้ไปไล่บี้สถานประกอบการว่าเปิดเกินเวลามั้ย และกวดขันการตั้งด่านตรวจแอลกอฮอล์
เพราะถ้าปิดตามเวลา คนที่เมาแล้วขับเค้าต้องกลับบ้าน ไม่ก็สร่างไปแล้ว ไม่สามารถมาเมาแล้วขับจนเกิดเหตุได้ในวันก่อน
ล่าสุดได้ยินว่าจะมีการรวมตัวกันแสดงพลัง เพื่อปั่นจักรยานรณรงค์กันเอง แล้วไปชูป้ายตามจุดต่างๆ
ผมว่าไปรวมตัวกันแค่ 2 ที่ก็พอครับ
1. ทำเนียบรัฐบาล
2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เพราะผลักดันการบังคับใช้กฎหมายหลักๆ 2 ที่น่าจะเพียงพอ
ส่วนประเด็นที่ 2 คือเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวยในการใช้จักรยานอย่างปลอดภัย
เราคงต้องยอมรับกันว่า ถนนในประเทศไทยส่วนใหญ่ ถูกออกแบบมาสำหรับรถยนต์เป็นหลัก
การออกแบบทุกสิ่งอย่าง ถูกทำให้ผู้ใช้รถยนต์มีความสะดวกที่สุด ไปได้เร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้
ในขณะผู้ใช้ถนนกลุ่มอื่น ไม่ว่าจะเป็นคนเดินเท้า รถเข็น จักรยาน หรือแม้แต่จักรยานยนต์
ล้วนต้องปรับตัว เพื่อเอาตัวรอดกับถนนที่ออกแบบมาสำหรับรถยนต์ทั้งนั้น
อุปสรรคที่เลวร้ายที่สุดของรถยนต์ คือ ตัวรถยนต์ด้วยกันเอง กับไฟแดง จะข้ามถนน รถยนต์จะมีจุดกลับรถ มีสะพานกลับรถ
ในขณะที่คนเดินเท้าถูกบีบให้ต้องเดินขึ้นสะพานลอย ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่
เพราะทางม้าลายมีน้อยลงเรื่อยๆ ที่มีอยู่รถก็ไม่ค่อยจะหยุดให้
ในขณะที่รถจักรยานยนต์ก็ต้องปรับตัว ปาดขวา เสี่ยงตายเพื่อไปกลับรถกับเขาด้วย
ส่วนจักรยานก็ครึ่งบก ครึ่งน้ำ บางอารมณ์ก็อยากทำตัวเป็นแบบรถยนต์
บางอารมณ์ก็ทำตัวเป็นคนเดินเท้า จูงข้ามทางม้าลายบ้าง แบกข้ามสะพานลอยบ้าง
ปัญหาจักรยานจึงไม่ได้อยู่ที่การสร้างทางจักรยาน
แต่เป็นการจัดสรรค์พื้นที่ถนนให้กับผู้ใช้ถนนทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยให้รถยนต์เป็นใหญ่อีกต่อไป
สำหรับจักรยานคงต้องมาดูล่ะครับ ว่าจะใช้แบบไหน ใช้ร่วมกับใคร
บางช่วงอาจใช้ร่วมกับจักรยานยนต์ บางช่วงใช้กับคนเดินถนน
แล้วแต่ความเหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป
แต่อย่างที่เคยแลกเปลี่ยนความเห็นกันเอาไว้ คือ ผู้เกี่ยวข้องควรลากเส้นเลย
ว่าจักรยานจะให้ใช้เส้นทางไหนเป็นเส้นหลักในการเดินทาง เส้นไหนเป็นเส้นรอง
แล้ว
ปรับกายภาพของถนนให้ปลอดภัย และสอดคล้องกับพื้นที่
ทางเหนือเข้ามา จะใช้วิภาวดี หรือพหลโยธิน หรือเส้นอื่น
ตะวันออกเข้ามา สุขุมวิทเอาไง รามคำแหงทำไง ไปปรับปรุงเส้นเลียบคลองมั้ย
หรือกรณีข้ามจังหวัด ทำทางแยกจากถนนขนานกันมั้ย
เพราะถ้าการเดินทางเชิงท่องเที่ยวรอบๆ กรุงเทพฯ 50-100 กม. เกิด
การใช้จ่ายก็เพิ่มได้เหมือนกัน
จะแสดงพลังหรือ ก็ง่ายๆ ไปหน้ากทม. กับกระทรวงคมนาคมครับ ยังไม่ขยับก็ไปทวงถามเรื่อยๆ
อย่าไปเสียเวลาล่าแม่มดทีละคน
เพราะมันไม่ได้มีฆาตกรโรคจิตขับรถไล่ชนจักรยานต่อเนื่อง
มันมีแต่คนที่ละเลยการทำตามกติการ่วมกันของสังคม
แล้วมีบางคนพลาดไปชนคนอื่นทำให้เกิดเหตุสลดใจ (เพราะถ้าลงข้างทางก็คงไม่เป็นข่าว)
กับสภาพถนนที่ไม่เป็นใจ ทำให้เหตุดังกล่าวมันเกิดง่ายไปหน่อยเท่านั้นเอง
ขอบคุณครับ
อย่าถามหาถึงจิตสำนึกเลยครับ ไปกดดันให้บังคับใช้กฎหมาย กับสร้างทางปลอดภัยให้จักรยานดีกว่า
ทั้งที่ออกข่าวช่องทางหลัก เพราะมีผู้เสียชีวิต และคู่กรณีเป็นรถยนต์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และข่าวอุบัติเหตุที่อยู่เฉพาะในโลกโซเชียล เพราะคู่กรณีเป็นจักรยาน
และเกิดขึ้นในพื้นที่ของจักรยาน (แน่นอน เรื่องพวกนี้เค้าก็มักจะเก็บเอาไว้เงียบๆ ในวงของเค้า)
หลายคนพยายามพูดถึงเรื่อง “จิตสำนึก” แต่โดยส่วนตัว ผมไม่เชื่อหรอกครับก
การรณรงค์สร้างจิตสำนึกโดยส่วนใหญ่มันก็แค่ได้ความสะใจของผู้เห็นด้วยกับการรณรงค์
สะใจกับ copy เก๋ๆ print ad เท่ๆ โฆษณาโดนใจ
แต่สุดท้ายก็เห็นกันอยู่ ว่าอุบัติเหตุก็ไม่ได้ลดลง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คนขับเร็วก็ขับเหมือนเดิม คนขับรถไปกินเหล้าก็ทำเหมือนเดิม คนขับไหล่ทางก็ขับเหมือนเดิม
ถ้าชาวจักรยานอยากแสดงพลัง เพื่อปกป้องชีวิตของผู้ใช้จักรยาน แทนที่จะพยายามยามกระตุ้น “จิตสำนึก”
ผมว่าปัญหามันอยู่ที่ 2 สิ่งนี้มากกว่า
ปัญหาแรกคือการบังคับใช้กฎหมาย
การใช้ความเร็วสูง วิ่งบนไหล่ทาง และขับรถในขณะมึนเมา คือ ตัวการที่ก่อให้เกิดเหตุสลดใจในหลายๆ เหตุการณ์ที่ผ่านมา
ซึ่งกฎหมายในประเทศไทยก็มีข้อห้าม และบทลงโทษอยู่ ยิ่งขับรถในขณะมึนเมานี่ก็ทั้งรณรงค์ทั้งเพิ่มโทษ
ร้านเหล้าก็ยังเพิ่มเป็นดอกเห็ด ผู้ผลิตก็เป็นมหาเศรษฐี
แสดงว่าที่เราทำอยู่มันมีปัญหาอะไรบางอย่าง ที่ทำให้ปัญหาต่างๆ ยังมีอยู่
ส่วนตัวแม้จะไม่เห็นด้วยกับนายกเกี่ยวกับนโยบายจักรยานหลายๆ เรื่อง
แต่ก็เห็นด้วยที่ท่านให้ไปไล่บี้สถานประกอบการว่าเปิดเกินเวลามั้ย และกวดขันการตั้งด่านตรวจแอลกอฮอล์
เพราะถ้าปิดตามเวลา คนที่เมาแล้วขับเค้าต้องกลับบ้าน ไม่ก็สร่างไปแล้ว ไม่สามารถมาเมาแล้วขับจนเกิดเหตุได้ในวันก่อน
ล่าสุดได้ยินว่าจะมีการรวมตัวกันแสดงพลัง เพื่อปั่นจักรยานรณรงค์กันเอง แล้วไปชูป้ายตามจุดต่างๆ
ผมว่าไปรวมตัวกันแค่ 2 ที่ก็พอครับ
1. ทำเนียบรัฐบาล
2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เพราะผลักดันการบังคับใช้กฎหมายหลักๆ 2 ที่น่าจะเพียงพอ
ส่วนประเด็นที่ 2 คือเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวยในการใช้จักรยานอย่างปลอดภัย
เราคงต้องยอมรับกันว่า ถนนในประเทศไทยส่วนใหญ่ ถูกออกแบบมาสำหรับรถยนต์เป็นหลัก
การออกแบบทุกสิ่งอย่าง ถูกทำให้ผู้ใช้รถยนต์มีความสะดวกที่สุด ไปได้เร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้
ในขณะผู้ใช้ถนนกลุ่มอื่น ไม่ว่าจะเป็นคนเดินเท้า รถเข็น จักรยาน หรือแม้แต่จักรยานยนต์
ล้วนต้องปรับตัว เพื่อเอาตัวรอดกับถนนที่ออกแบบมาสำหรับรถยนต์ทั้งนั้น
อุปสรรคที่เลวร้ายที่สุดของรถยนต์ คือ ตัวรถยนต์ด้วยกันเอง กับไฟแดง จะข้ามถนน รถยนต์จะมีจุดกลับรถ มีสะพานกลับรถ
ในขณะที่คนเดินเท้าถูกบีบให้ต้องเดินขึ้นสะพานลอย ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่
เพราะทางม้าลายมีน้อยลงเรื่อยๆ ที่มีอยู่รถก็ไม่ค่อยจะหยุดให้
ในขณะที่รถจักรยานยนต์ก็ต้องปรับตัว ปาดขวา เสี่ยงตายเพื่อไปกลับรถกับเขาด้วย
ส่วนจักรยานก็ครึ่งบก ครึ่งน้ำ บางอารมณ์ก็อยากทำตัวเป็นแบบรถยนต์
บางอารมณ์ก็ทำตัวเป็นคนเดินเท้า จูงข้ามทางม้าลายบ้าง แบกข้ามสะพานลอยบ้าง
ปัญหาจักรยานจึงไม่ได้อยู่ที่การสร้างทางจักรยาน
แต่เป็นการจัดสรรค์พื้นที่ถนนให้กับผู้ใช้ถนนทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยให้รถยนต์เป็นใหญ่อีกต่อไป
สำหรับจักรยานคงต้องมาดูล่ะครับ ว่าจะใช้แบบไหน ใช้ร่วมกับใคร
บางช่วงอาจใช้ร่วมกับจักรยานยนต์ บางช่วงใช้กับคนเดินถนน
แล้วแต่ความเหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป
แต่อย่างที่เคยแลกเปลี่ยนความเห็นกันเอาไว้ คือ ผู้เกี่ยวข้องควรลากเส้นเลย
ว่าจักรยานจะให้ใช้เส้นทางไหนเป็นเส้นหลักในการเดินทาง เส้นไหนเป็นเส้นรอง
แล้วปรับกายภาพของถนนให้ปลอดภัย และสอดคล้องกับพื้นที่
ทางเหนือเข้ามา จะใช้วิภาวดี หรือพหลโยธิน หรือเส้นอื่น
ตะวันออกเข้ามา สุขุมวิทเอาไง รามคำแหงทำไง ไปปรับปรุงเส้นเลียบคลองมั้ย
หรือกรณีข้ามจังหวัด ทำทางแยกจากถนนขนานกันมั้ย
เพราะถ้าการเดินทางเชิงท่องเที่ยวรอบๆ กรุงเทพฯ 50-100 กม. เกิด
การใช้จ่ายก็เพิ่มได้เหมือนกัน
จะแสดงพลังหรือ ก็ง่ายๆ ไปหน้ากทม. กับกระทรวงคมนาคมครับ ยังไม่ขยับก็ไปทวงถามเรื่อยๆ
อย่าไปเสียเวลาล่าแม่มดทีละคน
เพราะมันไม่ได้มีฆาตกรโรคจิตขับรถไล่ชนจักรยานต่อเนื่อง
มันมีแต่คนที่ละเลยการทำตามกติการ่วมกันของสังคม
แล้วมีบางคนพลาดไปชนคนอื่นทำให้เกิดเหตุสลดใจ (เพราะถ้าลงข้างทางก็คงไม่เป็นข่าว)
กับสภาพถนนที่ไม่เป็นใจ ทำให้เหตุดังกล่าวมันเกิดง่ายไปหน่อยเท่านั้นเอง
ขอบคุณครับ