วันนี้เราจะมาพูดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund (เจ้าตัวนี้ไม่ใช่ประกันสังคมและ RMF นะครับ)
เจ้ากองทุนเนี้ยจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความสมัครใจขององค์กรนั้นๆ ส่วนใหญ่องค์กรหรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่หรือเป็นที่รู้จักในระดับนึงก็จะมีเกือบทั้งนั้นแหละครับ
โดยนายจ้างก็จะหักจากค่าจ้างเราเนี่ยแหละครับ 2-15% ของค่าจ้างและสบทบไม่ต่ำกว่าเงินที่หักจากเรา แล้วแต่กฎเกณฑ์ขององค์กรนะครับ เช่น ปีแรกสมทบ 20% ปีที่ 2-5 50% ปีที่ 5 ขึ้นไป 100% หรือจะแบบ 100% ตั้งแต่เริ่มทำงาน อันนี้คุณต้องไปสอบถามองค์กรของคุณดูนะครับ และเมื่อเราทำงานถึงระดับที่สมทบ 100& คือไม่ต่ำกว่าเงินที่หักจากเรา
เท่ากับว่าเรายิ่งหักมากเท่าไหร่เงินที่เราได้ยิ่งเพิ่มขึ้น อย่าคิดว่าหักเยอะไม่ดีนะครับ ถ้าเงินใช้จ่ายคุณมากพอคุณสามารถขอให้นายจ้างหัก 15% เลยก็ได้ ถ้าในองค์กรใหญ่ๆ เขาให้สบายๆครับ แต่ถ้าขนาดกลางหรือเล็กลงมาหน่อยนายจ้างอาจมีบ่นหรืออาจให้ไม่ถึง 15% อันนี้อยู่ที่การพูดคุยตลกลงนะครับ
แต่ก็ต้องดูที่ความสบายใจคุณด้วยว่าอยากจะหักเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณเป็นคนมีเงินเดือนมากพอที่จะหัก 15% แล้วยังใช้จ่ายได้สบายๆ และยังไม่ได้มีการลงทุนอย่างจริงจัง ผมแนะนำว่าให้เขาหักไปเลยครับ (โดยต้องดูควบคู่กับการตัดสินใจลงทุนขององค์กรคุณด้วยนะครับ ส่วนนี้ไม่ขอพูดถึงคุณต้องไปดูขององค์กรคุณเอง)
อย่างที่บอกครับถ้าคุณไม่ได้มีการลงทุนอะไรจริงจังไม่ได้มีการวางแผนไว้แนะนำว่าหักไปเต็มเม็ดเต็มหน่วยเลยครับเหมือนเราได้การลงทุนที่ผลตอบแทน 100% แต่แค่หนึ่งปี คือวางเงินไปเท่าไหร่ก็ได้อีกเท่านึงเลย ไม่ได้หาได้ง่ายๆนะครับผลตอบแทนแบบนี้ ยังไม่รวมถึงผลตอบแทนจากการลงทุนจากกองทุนตามนโยบายการลงทุนขององค์กร
แต่มีสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งเลยครับที่อยากจะพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ มีแค่คนส่วนน้อยที่ทำงานที่เดียวจนเกษียณและเงินส่วนเนี้ย ที่มันมีจุดประสงค์ที่จะเป็นเงินไว้ใช้ยามเกษียณถูกนำออกมาเป็นเงินก้อนในเวลาที่เหมาะสมคือเวลาที่คุณไม่ได้มีรายได้จากการทำงานแล้ว >>แต่<< คนส่วนใหญ่ไม่ใช่อย่างงั้น อาจะมีการเปลี่ยนงานตอน 30 35 40 50 แล้วแต่คนไปและเมื่อเปลี่ยนองค์กร/บริษัท เงินส่วนนี้จะถูกนำออกมาจากกองทุนเป็นเงินก้อนมาให้คุณ
และ!!!!! พูดได้เลยว่าคนส่วนใหญ่ 70-80%+ เมื่อเห็นเงินก้อนในยามที่มันใช้จริงๆ จะเกิดความเสี่ยงนึงขึ้นมาครับครับเรียกว่า ความเสี่ยงจากการลงทุนต่อ (Reinvestment Risk)คือการได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่ากับ การเสี่ยงที่เราจะนำเงินส่วนนี้ไปใช้ >>>> ใช่ครับคนส่วนใหญ่ทำงานไปสิบปี สิบห้าปี ยี่สิบปี พอเปลี่ยนที่ได้เงินก้อนมา ช่วงนั้น motor show พอดี ดาวน์รถ ซื้อบ้าน เป็นอย่างงี้ทั้งนั้นครับ
ในความเป็นจริงถ้าบริษัทใหม่ที่จะเข้าไปทำมี Provident Fund เหมือนกันคุณสามารถขอย้ายได้ครับ นำเงินก้อนนี้ไปเข้ากับกองทุนของบริษัทใหม่ที่คุณอยู่เพื่อให้เงินก้อนนี้ออกมาเป็นเงินก้อนที่ใหญ่ขึ้น >>และ<< ออกมาในเวลาที่เหมาะสมที่คุณจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนี้จริงๆครับ
ผมอยากให้ทุกคนใจเย็นๆ กับเงินก้อนนี้ครับ ไม่ว่าจะซื้อบ้านซื้อรถหรือทำอะไร ถามตัวเองว่ามันจำเป็นจริงๆ มั้ย ถ้าจำเป็นก็อาจจะแบ่งไปบ้าง แต่ถ้าไม่จำเป็น ลองหาทางนำเงินให้มันพอกพูนต่อดีกว่าครับ วางมันไว้เฉยๆก่อนก็ได้ถ้ายังคิดอะไรไม่ออก
ส่วนเรื่องผลประโยชน์อื่นหรือเรื่องภาษีเราจะมาพูดกันวันหลังนะครับ
อย่าลืมนะครับ ใจเย็นๆ ใจเย็นๆ
ผิดตรงไหนช่วยคอมเม้นด้วยนะครับ
ติดตามผลงานเขียนและรีวิวหนังสือดีดีที่
https://www.facebook.com/Moneyandtimebyatthawit
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) เรื่องใกล้ตัว
เจ้ากองทุนเนี้ยจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความสมัครใจขององค์กรนั้นๆ ส่วนใหญ่องค์กรหรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่หรือเป็นที่รู้จักในระดับนึงก็จะมีเกือบทั้งนั้นแหละครับ
โดยนายจ้างก็จะหักจากค่าจ้างเราเนี่ยแหละครับ 2-15% ของค่าจ้างและสบทบไม่ต่ำกว่าเงินที่หักจากเรา แล้วแต่กฎเกณฑ์ขององค์กรนะครับ เช่น ปีแรกสมทบ 20% ปีที่ 2-5 50% ปีที่ 5 ขึ้นไป 100% หรือจะแบบ 100% ตั้งแต่เริ่มทำงาน อันนี้คุณต้องไปสอบถามองค์กรของคุณดูนะครับ และเมื่อเราทำงานถึงระดับที่สมทบ 100& คือไม่ต่ำกว่าเงินที่หักจากเรา
เท่ากับว่าเรายิ่งหักมากเท่าไหร่เงินที่เราได้ยิ่งเพิ่มขึ้น อย่าคิดว่าหักเยอะไม่ดีนะครับ ถ้าเงินใช้จ่ายคุณมากพอคุณสามารถขอให้นายจ้างหัก 15% เลยก็ได้ ถ้าในองค์กรใหญ่ๆ เขาให้สบายๆครับ แต่ถ้าขนาดกลางหรือเล็กลงมาหน่อยนายจ้างอาจมีบ่นหรืออาจให้ไม่ถึง 15% อันนี้อยู่ที่การพูดคุยตลกลงนะครับ
แต่ก็ต้องดูที่ความสบายใจคุณด้วยว่าอยากจะหักเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณเป็นคนมีเงินเดือนมากพอที่จะหัก 15% แล้วยังใช้จ่ายได้สบายๆ และยังไม่ได้มีการลงทุนอย่างจริงจัง ผมแนะนำว่าให้เขาหักไปเลยครับ (โดยต้องดูควบคู่กับการตัดสินใจลงทุนขององค์กรคุณด้วยนะครับ ส่วนนี้ไม่ขอพูดถึงคุณต้องไปดูขององค์กรคุณเอง)
อย่างที่บอกครับถ้าคุณไม่ได้มีการลงทุนอะไรจริงจังไม่ได้มีการวางแผนไว้แนะนำว่าหักไปเต็มเม็ดเต็มหน่วยเลยครับเหมือนเราได้การลงทุนที่ผลตอบแทน 100% แต่แค่หนึ่งปี คือวางเงินไปเท่าไหร่ก็ได้อีกเท่านึงเลย ไม่ได้หาได้ง่ายๆนะครับผลตอบแทนแบบนี้ ยังไม่รวมถึงผลตอบแทนจากการลงทุนจากกองทุนตามนโยบายการลงทุนขององค์กร
แต่มีสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งเลยครับที่อยากจะพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ มีแค่คนส่วนน้อยที่ทำงานที่เดียวจนเกษียณและเงินส่วนเนี้ย ที่มันมีจุดประสงค์ที่จะเป็นเงินไว้ใช้ยามเกษียณถูกนำออกมาเป็นเงินก้อนในเวลาที่เหมาะสมคือเวลาที่คุณไม่ได้มีรายได้จากการทำงานแล้ว >>แต่<< คนส่วนใหญ่ไม่ใช่อย่างงั้น อาจะมีการเปลี่ยนงานตอน 30 35 40 50 แล้วแต่คนไปและเมื่อเปลี่ยนองค์กร/บริษัท เงินส่วนนี้จะถูกนำออกมาจากกองทุนเป็นเงินก้อนมาให้คุณ
และ!!!!! พูดได้เลยว่าคนส่วนใหญ่ 70-80%+ เมื่อเห็นเงินก้อนในยามที่มันใช้จริงๆ จะเกิดความเสี่ยงนึงขึ้นมาครับครับเรียกว่า ความเสี่ยงจากการลงทุนต่อ (Reinvestment Risk)คือการได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่ากับ การเสี่ยงที่เราจะนำเงินส่วนนี้ไปใช้ >>>> ใช่ครับคนส่วนใหญ่ทำงานไปสิบปี สิบห้าปี ยี่สิบปี พอเปลี่ยนที่ได้เงินก้อนมา ช่วงนั้น motor show พอดี ดาวน์รถ ซื้อบ้าน เป็นอย่างงี้ทั้งนั้นครับ
ในความเป็นจริงถ้าบริษัทใหม่ที่จะเข้าไปทำมี Provident Fund เหมือนกันคุณสามารถขอย้ายได้ครับ นำเงินก้อนนี้ไปเข้ากับกองทุนของบริษัทใหม่ที่คุณอยู่เพื่อให้เงินก้อนนี้ออกมาเป็นเงินก้อนที่ใหญ่ขึ้น >>และ<< ออกมาในเวลาที่เหมาะสมที่คุณจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนี้จริงๆครับ
ผมอยากให้ทุกคนใจเย็นๆ กับเงินก้อนนี้ครับ ไม่ว่าจะซื้อบ้านซื้อรถหรือทำอะไร ถามตัวเองว่ามันจำเป็นจริงๆ มั้ย ถ้าจำเป็นก็อาจจะแบ่งไปบ้าง แต่ถ้าไม่จำเป็น ลองหาทางนำเงินให้มันพอกพูนต่อดีกว่าครับ วางมันไว้เฉยๆก่อนก็ได้ถ้ายังคิดอะไรไม่ออก
ส่วนเรื่องผลประโยชน์อื่นหรือเรื่องภาษีเราจะมาพูดกันวันหลังนะครับ
อย่าลืมนะครับ ใจเย็นๆ ใจเย็นๆ
ผิดตรงไหนช่วยคอมเม้นด้วยนะครับ
ติดตามผลงานเขียนและรีวิวหนังสือดีดีที่
https://www.facebook.com/Moneyandtimebyatthawit