เรียน"เจ้าหน้าที่รัฐ"ครับ ขอพื้นที่ให้"อาชีพศิลปิน"ได้เล่นดนตรีเปิดหมวกบ้างเถอะนะ

สวัสดีฮะเพื่อนๆชาวพันทิป
วันนี้เราได้ทราบข่าวจากพี่ที่เป็นนักไวโอลินเปิดหมวกได้บอกกับเราว่ามีรุ่นน้องที่เป็นนักดนตรี ซึ่งเป็นนักไวโอลินและเป็นครูสอนดนตรีคลาสสิค ชื่อครูโอ่ง ไปหมวกที่จตุจักรแล้วถูกไล่ ไม่ให้เล่น ต้องมีเอกสารให้ถูกต้อง พอทำเรื่องขอ ก็ยืดเยื้อ ปัดเรื่องไปมา สามสี่ รอบ พอไปขอที่ตรอกข้าวสารก็ถูกไล่ ไปทำเอกสารใหม่ หลายครั้ง และที่น่าประหลาดใจมาก คือ ไม่มีรูปแบบฟอร์มให้กรอก เด็กต้องทำขึ้นมาเอง
เราเลยขอเบอร์ติดต่อ และเดินทางไปคุยกับเจ้าตัว คือน้องกาย ที่เป็นคนเล่นดนตรีเปิดหมวกและเป็นผู้ขอทำเรื่อง กับอีกคนคือ ครูโอ่ง ที่ช่วยกันร่างเอกสารช่วยเด็กคนนี้


และนี่คือคำบอกเล่าจากพวกเขาทั้งสอง ที่ขอเปิดหมวกแล้วโดนไล่ ทำเอกสารก็ยืดเยื้อ โยนไปมา

น้องกายเล่าให้เราฟังว่า ก่อนหน้าที่จะไปขอเล่นที่จตุจักร ได้ใช้บัตรนักเรียน ไปยื่นให้ฝ่ายสถานที่ ก็เล่นได้ปกติ ไม่มีปัญหาอะไรแต่พอครั้งนี้ไปยื่นขออนุญาตใช้สถานที่ เขาก็บอกว่าต้องมีใบเซ็นอนุมัติจากทางโรงเรียนถึงจะเล่นได้ และก็พูดด้วยน้ำเสียงที่ดังขึ้นมาว่า มีหนังสือไหม น้องเขาก็ถามกลับ ใช้บัตรนักเรียนไม่ได้หรอ เพราะทุกทีก็ใช้บัตรนักเรียนได้ เขาก็บอกไม่ได้มันต้องมีหนังสือ เซ็นจากโรงเรียนมา
"พอครั้งที่สองผมไปอีก เจ้าหน้าที่ก็บอกให้ไปยื่นที่กองอำนวยการ และต้องมีหนังสือที่ต้องออกให้ในนามของโรงเรียน คือต้องมีลายเซ็น อนุมัติมา และเขาก็บอกต้องทำเรื่องขออย่างน้อยล่วงหน้า 1 เดือน ถึงจะเปิดหมวกได้"


หลังจากที่ยื่นเรื่องขอเล่นดนตรีที่จตุจักรแล้วเจอเจ้าหน้าที่พูดจาไม่ดี ทำเรื่องเอกสารไม่ผ่านหลายต่อหลายครั้ง น้องกายก็ปรึกษากับครูโอ่งที่เป็นครูสอนดนตรีให้น้องกาย ครูโอ่งก็เลยแนะนำว่าค่อยไปใหม่อีกครั้ง ลองไปเปิดหมวกที่ถนนข้าวสารก่อน จากนั้นก็ได้เดินทางไปทำเรื่องขอเปิดหมวกที่สน.ชนะสงคราม ซึ่งที่นี่ก็ยืดเยื้อ โยนเรื่องไปมา ถึงขั้นต้องไปให้ที่กระทรวงมหาดไทยเซ็นอนุมัติ

ครูโอ่งเป็นฝ่ายเล่าให้เราฟังต่อไปว่า ตอนไปขอครั้งแรกเขาก็ให้ยื่นจดหมาย ก็กลับไปทำเอกสารให้น้องกาย ทีนี้มาใหม่อีกรอบ พร้อมจดหมายเพื่อขอใช้พื้นที่เปิดหมวก
"ไปครั้งที่สองก็ยังไม่ได้ วันรุ่งขึ้นเจ้าหน้าที่เขาโทรมาจากสถานีตำรวจ บอกไม่ได้นะ การเรี่ยไร ตามกฏหมายจะต้องไปทำเรื่องขอเรี่ยไรที่กระทรวงมหาดไทย สน.อนุมัติไม่ได้หรอก

พอถามว่านี่เราเป็นศิลปิน เล่นดนตรีเปิดหมวก ไม่ใช่ขอทาน ควรจะแบ่งประเภทบ้าง ครูโอ่งก็บอกว่าเจ้าหน้าที่บอกพวกเปิดหมวกก็จัดอยู่ในหมวดเดียวกัน ประเทศไทยศิลปินเปิดหมวก ไม่มี มีแต่ขอทาน
"เจ้าหน้าที่ตำรวจบอกว่าอะไรที่มีการเปิดหมวกเรี่ยไรก็แล้วแต่ ต้องไปที่กระทรวงมหาดไทย ทำจดหมายแบบนี้ไม่ได้ ต้องเขียนโครงการ มีวัตถุประสงค์ให้ชัด และก็ถามเราต่ออีกว่า ดนตรีสัญจรเนี่ยกองทุนจดทะเบียนหรือยัง ถามแบบจะเอาเรื่อง ประมาณว่าอย่ามานะ"
ต่อมาพอครูโอ่งไปขอทำเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยเสร็จ ก็กลับมาที่สน.เรื่องก็ยังไม่จบ เจ้าหน้าที่ที่สน.บอก.  ต้องเสนอโครงการให้ทางการกว่านี้ เขาถึงก็จะเปิดให้ แล้วก็ต้องเอาโครงการนี้ไปขอที่เขตพระนครต่ออีก ซึ่งเป็นฝ่ายดูแล จัดสรรพื้นที่ในแถบถนน ให้เขาออกจดหมายอนุญาตให้  

"เขาขอเอกสารเราเหมือนเดิม แต่พอถามว่าต้องใช้เอกสาร หลักฐานอะไรบ้าง ตำรวจรู้แค่ว่า ต้องทำโครงการมาเสนอ พูดเหมือนเดิม กลายเป็นว่าโอกาสที่จะเล่นแทบไม่มี และเจ้าหน้าที่ก็บอกว่าต้องไม่ทำให้พ่อค้า แม่ค้าเดือดร้อน ถ้ามีมาแจ้งจากแผงลอย ก็เปิดหมวกไม่ได้"
กลายเป็นว่า ทำเรื่องไปสามสี่ครั้ง ก็ยังไม่ได้เล่น

สมัยก่อนหน้าที่ยังไม่มีการอนุมัติ พรบ.ควบคุมขอทาน 2484 ครูโอ่งบอกกับเราว่าเคยเล่นที่ตรอกข้าวสารโดยจัดโครงการดนตรีสัญจร กองทุนเพื่อการศึกษา เด็กและเยาวชน ในปี 2013 ก็พาน้องๆกลุ่มนักดนตรีคลาสสิคไปเล่นไปที่ถนนข้าวสาร 3 ครั้ง ถนนพระอาทิตย์อีก1ครั้ง  ก็ไปเล่นทั้งต่างจังหวัด และในกรุงเทพฯ มาปีนี้ที่น้องกายเขาโดนไล่ จะทำให้ถูกกฏหมายมันยาก แล้วแบบนี้จ่ายใต้โต๊ะไม่ดีกว่าหรอ
" ถ้าเด็กจะเปิดหมวก เล่นดนตรี จะทำเรื่องซับซ้อน มากมายขนาดนั้นได้ยังไง และถ้าไม่มีผู้ใหญ่ช่วยเดินเรื่องให้ ก็คงไม่ได้เล่น นี่ขนาดมีผู้ใหญ่ช่วย ร่างเอกสารยังไม่ผ่านเลย"
ครูโอ่งเล่าถึงโครงการดนตรี สัญจรให้ฟังที่ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2013 ก็เปิดหมวกกันหน้าสน.ชนะสงคราม ไม่มีปัญหาอะไร และเงินที่ได้มา ก็ไม่ได้ใช้กันส่วนตัว แต่จะรวบรวมฝากบัญชีไว้เป็นกองทุน บริจาค และเวลาที่นักดนตรีในวงเดือดร้อนต้องใช้เงินเรียนหนังสือ ครูโอ่งก็จะนำเงินตรงนั้นไปช่วยเหลือ น้องๆ"
"พอเราเห็นว่าเป็นความฝันของเด็ก ที่เขามาบอกกับเราว่าอยากทำวงดนตรี จะนำโครงการครูโอ่งมาทำใหม่อีกครั้ง ซึ่งมันเป็นความใฝ่ฝันของเด็กที่อยากจะทำวงกัน เราก็เลยอยากให้เด็กมีโอกาสได้แสดงฝีมือ แต่พอมาเจอปัญหาทำเรื่องขอ ยืดเยื้อ โอกาสที่จะเล่นก็แทบไม่มี เราก็ไม่รู้ว่าจะทำตามกฏหมายไปทำไม"
  ครูโอ่งบอกกับเราว่า สองที่แรกทำเรื่องขออนุญาต ไม่ผ่านสักที ก็เลยมีความหวังกับที่เอเชียทีค ซึ่งเป็นสถานที่เอกชน ไม่ต้องทำเรื่องขออนุญาตหน่วยงานราชการ ถ้าเจ้าของสถานที่ให้เล่น ก็เปิดหมวกได้เลย
แต่ปรากฏว่าที่นี่ก็ปิดโอกาสไม่ให้เล่น เนื่องจากมีระบบเส้นสาย
"ที่เอเชียทีค เห็นมีคนเปิดอยู่หลายคน ก็จะมีตีขิมบ้าง เล่นไวโอลินบ้าง ก็จะมีเล่นอยู่หลายมุม ก็พาไปขอที่สำนักงาน ตอนนั้นสำนักงานปิด เขาก็เลยให้เบอร์คนจัดคิวมา ก็ให้น้องเขาขอ ว่าเป็นนักเรียน นักศึกษา จะขอเล่นดนตรีเปิดหมวกได้ไหม

ซึ่งก่อนหน้านั้น สมัยที่ผมจัดโครงการดนตรีสัญจร ผมเคยมาเปิดที่เอเชียทีคกับเพื่อนกลุ่มหนึ่ง และมีคนเล่น ที่รู้จักกับคนจัดคิว ก็คุยกันว่าจะไปเปิดหมวกที่เอเชียทีคเป็นกลุ่ม ไปถึงก็ได้เล่นเลย ไม่มีปัญหาแต่พอคราวนี้ ผมพาน้องเขาไปเปิด เขาบอกว่าที่เต็ม ไม่ได้หรอก ต้องโทรมาใหม่เดือนหน้า พอโทรไปอีกครั้งถามว่ามีตารางไหม จะได้จองล่วงหน้า เขาก็บอกถ้าจะเล่นก็เดือนหน้า ค่อยโทรมาอีกที เราก็ถามว่าถ้าเดือนหน้าเต็มละ เขาก็บอกว่าก็ไม่ต้องเล่น เต็มยันปีหน้า และครั้งสุดท้ายที่ผมโทรไป ผมก็ยืนอยู่ตรงที่ที่มันว่างที่ผมเคยเล่น เขาก็บอกว่า ตรงนั้นมีคนจองแล้ว"
ทั้งๆที่ดนตรีมารับใช้สังคม มาเผยแพร่ แต่ก็ถูกจำกัด ครูโอ่งบอกกับเรา
และครูโอ่งก็ได้ฝากไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐว่าถ้าหากเด็กมีความสามารถทางด้านดนตรี อยากเล่นดนตรีเปิดหมวก เอาเงินตรงนี้แบ่งเบาภาระให้แก่พ่อแม่ จะทำยังไง จะต้องมีเส้นสายหรอ ถึงจะเล่นได้ ต้องให้มีคนอยู่เบื้องหลังใช่ไหม ถ้าทำถูกกฏหมายแล้วยาก ทำผิด จ่ายใต้โต๊ะไม่ดีกว่าหรอ


อาชีพศิลปิน เปิดหมวกที่ได้ใช้ความสามารถทางด้านดนตรี โชว์ฝีมือบนท้องถนน และได้รับสินน้ำใจเป็นเงินตอบแทนกลับมา เพราะผู้คนฟังดนตรี แล้วมีความสุข
ศิลปินแท้จริงจึงไม่ใช่ขอทาน เจ้าหน้าที่รัฐโปรดเข้าใจใหม่อีกครั้ง
เพราะเงินที่ได้มา ไม่ได้มีค่าไปมากกว่า การที่ได้เล่นดนตรี และมีคนหยุดฟัง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่